จบแล้ว มาสด้า ศาลฎีกาไม่อนุญาตให้ฎีกา คดีดังเมื่อ3ปีก่อน ฟ้องลูกค้า

#ชนะเเล้ว #คดียุติเด็ดขาด #3ปีกว่า #ไม่รับคำร้องขออนุญาตฎีกา
วันนี้5/5/64 วันสำคัญของผู้บริโภค เช้าวันนี้ ศาลจังหวัดนนทบุรี นัดฟังคำสั่งศาลฎีกา เลขที่ ครพ.12153/63 ลงวันที่29 ธันวาคม 2563 คดีดำที่2610/2560 คดีแดงที่2801/2561 ระหว่าง ผู้ประกอบการค่ายรถค่ายหนึ่ง โจทก์ กับผู้บริโภค ภ. จำเลยที่ 1 และผู้บริโภค ส. จำเลยที่2 มูลคดีละเมิดไขข่าว เเละใช้สิทธิเกินส่วน เรียกค่าเสียหาย 84 ล้าน 
ศาลลงนั่งบัลลังก์ เวลา 9.30 น. มีคำสั่งเป็นที่ยุติเด็ดขาด ไม่รับคำร้องอนุญาตฎีกา ของโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม.249  ไม่เห็นว่าปัญหาตามฎีกานั้นเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ไม่ขัดกับคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดของศาลอื่น หรือจำเป็นต่อการพัฒนาการตีความกฎหมาย
  ยกคำร้องให้คืนคำฟ้องฎีกาพร้อมค่าธรรมเนียมในชั้นฎีกาแก่โจทก์ โจทก์ไม่มาศาล จำเลยที่ 1 มาศาล จำเลยที่2 ทนายจำเลยที่ 2 ติดว่าคดีศาลอื่น ไม่มาศาล
  กรณีที่ศาลฎีกามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ฎีกา ให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2562 ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ซึ่งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้อง จำเลยทั้ง2 ไม่มีความผิดตามฟ้อง ย่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์"ในสมัยปัจจุบันอันมีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องป้องกว่ามาตรการควบคุมทาง สังคมแต่ดั้งเดิมในอดีต การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ผ่านกระบวนการทางศาลโดยมี คำขอท้ายฟ้องในลักษณะเช่นนี้น่าเชื่อว่าเป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริต ทั้งสุ่มเสี่ยงต่อ ปัญหาการขาดจริยธรรมทางธุรกิจ และธรรมาภิบาลหรือความรับผิดชอบต่อสังคม ของผู้ประกอบธุรกิจที่ดีอย่างซ้ำซ้อนเสียยิ่งกว่าซึ่งไม่ใช่พฤติกรรมทางธุรกิจของบริษัทแม่ ของโจทก์ในประเทศญี่ปุ่นที่เรียกคืนรถยนต์รุ่นมาสด้า 2 Skyactiv ดีเซล จากตลาด และผู้บริโภค พบว่าสินค้ารถยนต์ดังกล่าวมีปัญหา แต่พฤติการณ์ของโจทก์ รวมทั้ง การใช้สิทธิทางศาลฟ้องร้องต่อจําเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้บริโภค ดังที่ปรากฏในคดีนี้น่าจะ เป็นแรงสะท้อนกลับส่งผลต่อความมั่นคงในการประกอบธุรกิจของโจทก์ในประเทศไทย ตามที่โจทก์หวาดกลัวอันกระทบถึงผลกำไรไปสู่ผู้ถือหุ้นของโจทก์ได้ในท้ายที่สุด พฤติการณ์เช่นนี้จึงมิควรได้รับการรับรอง คุ้มครองหรือสนับสนุนแต่อย่างใด สําหรับ อุทธรณ์ในส่วนอื่นนอกเหนือจากนี้ เป็นรายละเอียดปลีกย่อย
ถึงขนาดที่จะทำให้ผลแห่งคำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องเปลี่ยนแปลงไป ไม่จำต้องวินิจฉัย ที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้อง รวมทั้งให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลย ทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความ 30,000 บาท มาด้วยนั้นชอบแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 1เห็นพ้องด้วยในผล  อุทธรณ์ของโจทก์ทุกข้อล้วนฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ "
#ขอบคุณทนายจิณณะ Jinna Jin Yamoaum  #ทนายศิรา #ทนายเดียร์  #ทนายไก่ #ทนายโต๋(อัยการ) #พี่สารี Saree Aongsomwang #มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
ที่มาข่าว :https://m.facebook.com/groups/1850077688582639/permalink/2915965278660536/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่