[CR] ปี 2564 กรมขนส่งให้รถยนต์อายุการใช้งานเกิน 7 ปี ยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปีออนไลน์ได้แล้ว

ปี  2564 กรมขนส่งอนุญาตให้รถยนต์อายุการใช้งานเกิน 7 ปี และจักรยานยนต์อายุการใช้งานเกิน 5 ปี ยื่นชำระภาษีประจำปี(ต่อทะเบียน)ทางออนไลน์ได้แล้ว
*****แต่ต้องนำไปตรวจสภาพสภาพรถ จากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.)  ก่อน


หากเพื่อนสมาชิกท่านใดรถเพิ่งครบอายุการใช้งาน 7 ปีเป็นครั้งแรก การนำรถไปตรวจสภาพ ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ต้องนำเอกสารไปด้วยดังนี้
1. เล่มทะเบียนรถตัวจจริง หรือสำเนาก็ได
2. ค่าตรวจสภาพรถประมาณ 200 บาท (กรณีรถไม่ติดแก๊ส)

หลังจากตรวจสภาพรถแล้ว สำหรับท่านที่เคยใช้บริการยื่นชำระภาษีต่อทะเบียนรถยนต์ออนไลน์ ก็สามารถทำต่อไปได้เลย ที่เว็บไซค์เดิมดังนี้

https://eservice.dlt.go.th

แต่สำหรับเพื่อนสมาชิกที่ยังไม่เคยยื่นชำระภาษีออนไล์
1. ต้องสมัครสมาชิกก่อน
2. ต้องกรอกรายละเอียดของรถที่ต้องการจะยื่นชำระภาษี (ถ้ามีรถหลายคันก็สามารถกรอกไปได้เท่าจำนวนรถที่มี)

โดยเงื่อนไขในการยื่นชำระภาษีรถยนต์ หรือต่อทะเบียน ต้องมีดังนี้
1. ตรวจสภาพรถ ที่ ตรอ. เรียบร้อย
2. มี พรบ. ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ราคาประมาณ 640 บาท สำหรับรถยนต์ ถ้ายังไม่ซื้อมาก่อน สามารถซื้อได้ในเว็บไซค์ของกรมขนส่ง ในขั้นตอนการต่อทะเบียนออนไลน์ได้เลย)

ในกรณีที่ยังไม่นำรถไปตรวจสภาพ เมื่อกด"ยื่นชำระภาษี" ข้อความแจ้งขึ้นมาว่าให้นำไปตรวจสภาพก่อน ตามภาพ

*****หลังจากตรวจสาภพรถที่ ตรอ. แล้วต้องทำอย่างไร ในขั้นตอนต่อไป ต้องยื่นเอกหลักฐานจาก ตรอ. เหมือนไปต่อที่ขนส่งหรือไม่?
หลังจากตรวจสภาพเสร็จแล้ว ไม่ต้องทำอะไรเลย ให้เก็บเอกสารจาก ตรอ. ไว้ เพราะข้อมูลการตรวจสภาพรถของเราจะถูกส่งไปยังกรมขนส่งทันที เพราะหลังจากผมตรวจสภาพรถ ที่ ตรอ. เสร็จแล้วประมาณ 10 นาที ก็สามารถเข้าไปยื่นชำระ ต่อทะเบียนรถยนต์ทางออนไลน์ได้เลย เพราะข้อมูลในการตรวจสภาพที่ ตรอ. ได้ถูกส่งไปที่กรมขนส่งแล้ว


เพิ่มเติม...

ป้ายเสียภาษีติดหน้ารถ หรือป้ายวงกลม จะส่งมาทาง EMS ใช้เวลาประมาณ 3 วันทำการครับ
ชื่อสินค้า:   ต่อทะเบียนรถยนต์ (อายุงานเกิน 7 ปี) แบบออนไลน์
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่