ไทยผลิตน้ำมันได้มาก แต่ทำไมน้ำมันไทยจึงราคาสูง เพราะมีคนปล้นชาติจริงหรือ

ไทยเราผลิตน้ำมันได้มากเป็นอันดับ 30 ต้นๆของโลก(ตามเว็ปของ cia factbook,และ eia) แต่ทำไมเราจึงยังใช้น้ำมันราคาแพงอยู่ครับ แพงกว่าประเทศที่ผลิตน้ำมันไม่ได้หรือผลิตได้น้อย เช่น พม่า เวียดนาม อีกละครับ


และอีกอย่าง ตามที่คลิปเขาได้เอ่ยถึงในเว็ป cia factbook นั้น ข้อมูลน่าสนใจมากคือ ไทยเรามีการผลิตน้ำมันได้เยอะขึ้นทุกๆปี และมีการให้สัมปทานเยอะขึ้นด้วย
แต่ทำไมราคาน้ำมันในบ้านเราจึงยังแพงกว่าที่ควรจะเป็น และภาครัฐกลับไม่รับค่าส่วนแบ่ง แต่ประเทศอื่นภาครัฐกลับได้ถึง 70-80% แล้วค่าส่วนแบ่งนี้ไปอยู่กลับใคร ผมว่าบ.ที่ลงทุนไม่ได้เอาไปคนเดียวแน่ๆ

คลิปนี้น่าเชื่อถือมากครับ มีข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง กรุณาดูให้จบนะครับ เพราะข้อมูลทุกตอนสำคัญ ประเทศเรามีพื้นที่ที่มีน้ำมันมากกว่าพื้นที่ที่ไม่มีซะอีก และหากน้ำมันมันเกรดไม่ดี คุณภาพไม่ดีตามที่หลายฝ่ายอ้างกัน ทำไมจึงมีการมาขุดเพิ่ม ให้สัมปทานเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดขนาดนี้ ซึ่งมันขัดแย้งกันนะครับ แสงดว่ามันดี ไม่ใช่ไม่ดีตามที่อ้างกันรึเปล่า

หลายๆท่านคิดว่าไงบ้างครับ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
1 ประเทศไทยผลิตน้ำมันดิบได้เป็นอันดับที่ 32 ของโลกจริง https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_oil_production     แต่ปริมาณการผลิตนั้นมันอยู่ที่แค่ 228,318 บาร์เรลต่อวันเท่านั้น    ขณะที่การใช้น้ำมันในประเทศไทยนั้นเกือบล้านบาร์เรลต่อวัน     ต้องนำเข้าน้ำมันดิบวันละเกิน 8 แสนบาร์เรล https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_oil_imports

2 ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบและน้ำมันสำรองของไทยจัดว่าน้อยมาก    ไม่มีผลต่อราคาตลาดโลก

3 การให้สัมปทานนั้นเราต้องดูด้วย     ว่ามันคือการให้สัมปทานไปขุดเจาะค้นหาบ่อน้ำมันดิบ    ซึ่งหากพื้นที่ที่ให้สัมปทานไปไม่มีน้ำมันดิบก็คือบริษัทน้ำมันนั้นๆเสียค่าสัมปทานไปฟรีๆ     จึงมีแค่ไม่กี่บริษัทที่สามารถมาประมูลสัมปทานเพื่อค้นหาน้ำมันดิบได้

4 การเจรจากับบริษัทน้ำมันนั้นมันมีทั้งให้สัมปทานและแบ่งปันผลผลิตรายได้     แต่เราก็ต้องดูสภาพด้วยว่าปริมาณน้ำมันของเรามีแค่ไหน    เราใช้วิธีแบ่งปันผลผลิตรายได้มันก็ได้อยู่     แต่ก็อาจไม่มีบริษัทน้ำมันรายไหนมาทำสัญญาด้วยเลย

5 ราคาน้ำมันในไทยนั้นเราต้องแยกเป็นสามส่วน    คือราคาเนื้อน้ำมัน  ค่าการตลาด  ภาษี

6 ราคาของเนื้อน้ำมันนั้นเรากลั่นออกมาแล้วราคาไม่ได้แตกต่างจากของประเทศอื่นๆ    แต่มันจะต้องมาบวกค่าภาษีต่างๆเพิ่มอีกหลายส่วน     เนื่องจากเป็นรายได้ของประเทศชาติ    

7 ประเทศอื่นที่ราคาน้ำมันถูกสาเหตุหลักก็เพราะเก็บภาษีน้ำมันน้อย

8 เราจะคิดภาษีน้อยๆเพื่อให้ราคาน้ำมันลงก็ได้   แต่มันก็คือการทำให้คนใช้น้ำมันแบบไม่รู้คุณค่า    สุดท้ายเราก็ต้องเสียดุลการค้าหนักขึ้นไปเรื่อยๆเพราะต้องนำเข้าน้ำมัน     รวมถึงรายได้ของประเทศชาติก็หายไปอย่างมาก
ความคิดเห็นที่ 12
1. "การให้สัมปทาน" นั้น เป็นเพียงการอนุญาตให้บริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการ "สำรวจ" ในขอบเขตพื้นที่ที่กำหนดให้ในแต่ละครั้ง มีระยะเวลาจำกัด และภาครัฐก็ไม่ได้ให้การรับประกันใดๆ ว่าจะสำรวจแล้วพบปิโตรเลียม หรือ พบแล้วจะมากเพียงพอที่จะลงทุนผลิตหรือไม่ การให้สัมปทาน จะให้เป็นระยะเวลา 6+3 ปี คือ ให้แน่ๆ 6 ปี ถ้าหากถึงปีที่ 6 แล้วคิดว่ามีโอกาสหรือยังมีทุนที่จะสำรวจต่อ ถึงจะต่ออายุได้อีก 3 ปี
2. ในช่วงระยะเวลาสัมปทาน 6+3 ปีนั้น ทุกๆ 3 ปี เอกชนจะต้องคืนสิทธิในพื้นที่สำรวจครึ่งหนึ่ง เช่น ในตอนที่ได้สัมปทาน ได้พื้นที่สำรวจ 3,000 ไร่ พอถึงปีที่ 4 จะเหลือพื้นที่สำรวจ 1500 ไร่ พอถึงปีที่ 7 จะเหลือพื้นที่ 750 ไร่ เป็นการบีบบังคับกลายๆ ให้เอกชนต้องมุ่งจุดสนใจของตัวเองให้พบ และเปิดโอกาสให้รัฐได้เอาพื้นที่มาออกสัมปทานซ้ำได้ในบริเวณที่สำรวจขั้นต้นแล้ว
3. เมื่อสำรวจพบ และยืนยันได้ว่ามีปิโตรเลียมมากพอที่จะคุ้มค่าการลงทุน ต้องยื่นขออนุญาตผลิตอีก ซึ่งหากได้รับอนุญาต พื้นที่ผลิตที่ได้อาจไม่เท่ากับพื้นที่สัมปทานทั้งหมด และได้ระยะเวลาผลิต 20 ปี ต่ออายุได้ 10 ปี 1 ครั้ง
4. จะระบบสัมปทาน หรือ แบ่งปันผลผลิต สิ่งสำคัญคือ รัฐได้รับรายได้ในสัดส่วนเท่าไร รัฐต้องร่วมลงทุนไหม รัฐต้องเข้าไปร่วมในการบริหารจัดการหรือเปล่า.
4.1 ระบบสัมปทานของไทย กำหนดให้รัฐมีรายได้ 3 ส่วน ได้แก่
- เมื่อผลิตปิโตรเลียมขึ้นมาแล้วขายได้ รัฐหัก "ค่าภาคหลวง" ส่วนแรก 5-15% จากยอดขายทั้งหมดก่อน เช่น ขายได้ 100 รัฐรับไปก่อนเลย 15
- ส่วนที่เหลือ ให้เอกชนหักต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการผลิตปิโตรเลียมก่อน เหลือเป็นกำไรเท่าไร รัฐเก็บ "ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม" อีกครึ่งหนึ่งของกำไร เช่น จากตัวอย่างข้างต้น หักค่าภาคหลวงไปแล้วเหลือ 85 สมมติบริษัทมีต้นทุน 60 แปลว่าเหลือกำไร 85-60=25 รัฐหักภาษีเงินได้ปิโตรเลียมอีก 17.5
- เมื่อสิ้นปี รัฐจะพิจารณาจากตัวเลขทั้งปี ว่า ปีนั้น ราคาน้ำมันดิบขึ้นสูงกว่าอัตราที่คาดไว้หรือไม่ บริษัทลงทุนน้อยกว่าที่ประมาณการไว้หรือไม่ แล้วเรียกเก็บ "ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ" อีกชั้นนึง (ตรงนี้ผมไม่มีตัวเลขชัดเจนว่าคิดอย่างไร แต่ที่ทราบคือซับซ้อนเอาเรื่อง) ซึ่งจะทำให้รัฐได้ประโยชน์มากขึ้นอีก
4.2 ระบบแบ่งปันผลผลิต ฟังดูเหมือนรัฐจะเก็บเอาเป็นเนื้อปิโตรเลียมไปขายเอง แต่เอาเข้าจริงก็ให้เอกชนขายให้แล้วรับเป็นเงินนั่นแหละ ซึ่งในระบบนี้ รัฐจะต้องเข้าไปมีส่วนในการกำหนดแนวทาง ฟังดูเหมือนรัฐจะรักษาผลประโยชน์ตัวเองได้ แต่เอาเข้าจริงกลับกลายเป็นทำให้การดำเนินงานหลายๆ อย่างล่าช้า (ตามขั้นตอนราชการ) หรือ ผิดไปจากแนวทางที่จะได้ประโยชน์สูงสุด ในระบบนี้ รัฐอาจต้องลงทุนร่วมด้วยในการสำรวจ

5. ในระบบสัมปทานที่ไทยใช้อยู่นั้น ขั้นตอนที่มีความเสี่ยงสูงสุด คือ ระยะเวลาการสำรวจ ที่ใช้เงินเยอะ และมีความเสี่ยงสูงที่จะไม่ได้อะไรกลับมาเลย ลองคิดดูสิ หากรัฐไทยลงทุนสำรวจปิโตรเลียม โดยการเจาะสำรวจ 1 หลุม เป็นวงเงินหลักร้อยล้านบาทในระยะเวลาเพียงครึ่งเดือน แล้วไม่ได้อะไรกลับมาเลย ฝ่ายค้านในสภาจะกระหน่ำรัฐบาลขนาดไหน

6. คลิปที่คุณอ้างอิงมา ผมจัดอยู่ในการนำเสนอแบบ half truth คือ นำเสนอข้อมูลไม่ครบ เอาแค่ในหน้าที่แสดงข้อมูลจาก CIA ที่บอกว่าไทยผลิตได้เท่าไร ในหน้าเดียวกันก็มีตัวเลขปริมาณการใช้ ซึ่งผู้นำเสนอเลือกที่จะไม่พุด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่