ทางภาคอีสานในอดีต มีราชวงค์ มีเจ้าเมืองปกครอง สืบทอดเชื้อสายมาถึงปัจจุบันมั้ยครับ

ภาคอีสานมีเจ้าเมืองปกครองสืบเชื้อสายเป็นเจ้า เหมือนกับภาคเหนือ ล้านนา มั้ยครับ เช่น เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ น่าน
แบบมีอาณาจักร ประตูเมือง วังประทับ เชื้อสายเป็นเจ้า มีสรรพนามเรียกว่า เจ้า... อะไรทำนองนี้
อย่างเชียงใหม่จะมี สรรพนามเรียก เจ้า...... อะไรแบบนี้ หรือ วังที่ประทับ ประตูเมือง ก็ไม่เห็นมีหลงเหลือแบบภาคเหนือ หรือผมไม่รู้ก็ไม่ทราบ แบบไม่เคยได้ยิน

เผอิญไปเจอข้อมูล ของสกลนคร เช่น "พระยาประจันตประเทศธานี" อ่านๆดูก็เหมือนเป็นเจ้าครองนคร นครที่ครองเทียบได้กับล้านนามั้ยครับ มีเชื้อสายวงค์วาน ทหารปกครอง เป็นของตัวเองมั้ยครับ  
แล้วตอนรวมประเทศ ทำไมไม่เคยอ่านเจอว่ามีปัญหาเหมือนตอน รวมล้านนา หรือเค้ายอมแต่โดยดี  หรือเค้าไม่ได้มีอำนาจปกครองจริง เหมือนส่วนกลางแต่งตั้งขึ้นไป

รบกวนผู้รู้อธิบายหน่อยครับ ของคุณครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
https://sites.google.com/site/thailandsurname/namskul-say-cea-meuxng/say-cea-thang-xisan

สายเจ้าทางอีสาน

    พรมประกาย ณ นครพนม
    โพธิเสน สืบสายมาจาก พระยาวุฒิธรรมมประดิษฐ์ เป็นต้นตระกูล โพธิเสน
    โพธิเสน ณ หนองคาย ลูกหลานของพระยาวุฒาธิคุณ (แพ) เป็นผู้ขอใช้นามสกุล
    สูตรสุคนธ์ ณ นครพนม
    พิมพานนท์ ณ นครพนม
    สิงหะวาระ (สายนครพนม)
    นาครทรรภ (สายนครพนม)
    กิติศรีวรพันธุ์ (เจ้าเมืองท่าอุเทน นครพนม)
    แก้วมณีชัย (เจ้าเมืองเรณูนคร นครพนม)
    เตโช (อุปราชเมืองเรณูนคร นครพนม)
    รามางกูร (ตาแสงธาตุพนม นครพนม)
    พรหมสาขา ณ สกลนคร
    จันทรสาขา (เจ้าเมืองมุกดาหาร)
    สิทธิรัตน์ (สายนครพนม)
    ยอดเพ็ช (พระยอดเมืองขวาง หรือขำ เจ้าเมืองคำม่วน ลาว)
    ณ หนองคาย
    ณ ร้อยเอ็จ
    ณ กาฬสินธุ์
    ณ จำปาสัก
    ณ พล ( เจ้าเมืองพล ขอนแก่น)
    ดีบุญมี ณ ชุมแพ (ขุนบริบาลบำรุง หรือเลี้ยง กำนันชุมแพ ขอนแก่น)
    สุวรรณเลิศ (เจ้าเมืองกันทรวิชัยหรือคันธารวิไชย์ มหาสารคาม)
    สุวรรณวงศ์ (สมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ราชอาณาจักรลาว)
    เรืองสุวรรณ (เจ้าทางอีสานที่มีเชื้อพระเจ้าไชยเชษฐามหาราช ล้านช้าง)
    ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม
    ณ เมืองแปะ (เจ้าเมืองบุรีรัมย์)
    ราชาโคตร (เจ้าเขมรหนีมาอยู่อีสานล่าง)
    วรบุตร (เจ้าเมืองแก่นท้าว เลย ปัจจุบันอยู่ลาว นามสกุลหลวงปู่หลุย จันทสโร)
    แก่นแก้ว ( เพียแก่นท้าวเปนต้นตระกูล นามสกุลหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
    ลาวัณบุตร (เจ้าเมืองจตุรัสสี่มุม ชัยภูมิ)
    มังคละคีรี ( เจ้านครพนม)
    หงษ์ภักดี (เจ้านครพนม)
    พรหมวงศานนท์ (เจ้าอุบล)
    เสนจันทฒิไชย (เจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการเมืองไชยบุรี นครพนม)
    ณ ยโสธร
    ณ จำปาศักดิ์
    อินทร์เอี่ยม
    อินทร์เอี่ยม ณ จำปาศักดิ์
    ณ หนองคาย - คือ พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา ณ หนองคาย) มีพระยาวุฒาธิคุณ(แพ) รับพระราชทานนามสกุล จาก ร.6
    รักขพันธ์ ณ หนองคาย - คือ ลูกหลานพระยาวุฒาธิคุณ (แพ) ซึ่งจัดตั้งนามสกุลนี้ขึ้นมาใหม่
    วุฒาธิวงศ์ ณ หนองคาย - คือ บุตรชายของพระยาวุฒาธิคุณ(แพ) ได้จัดตั้งใหม่ โดยนำนามของบิดาคือ พระยาวุฒาธิคุณ(แพ)มาบวกกับคำว่า อนุวงศ์
    มหาศิริพันธุ์ - คือ พระยามหาเสนา (คง มหาศิริพันธุ์) ผู้ช่วยในการปราบกบฎฮ่อ ที่เมืองหนองคาย
    สกุลคู - คือ ขุนพิพัฒน์โภคา (ชาวไทยเชื้อสายจีน ซึ่งทำคุณประโยชน์แก่จังหวัดหนองคายในอดีต ตอนช่วงน้ำท่วม)
    สกุลมีฤทธิ์ - (ผู้ที่ทำความดีความชอบผู้หนึ่ง ในเมืองหนองคายในอดีตเป็นต้นสกุล)
    ระวิวรรณ - (ผู้ที่ทำความดีความชอบผู้หนึ่ง ในเมืองหนองคายในอดีตเป็นต้นสกุล)
    ภมรศิริ - หลวงนครนิคมพิทักษ์
    สุริยวงศ์ - พระปทุมสุริยวงศ์ บุตรชายคือ เจ้าคุณพระนคร มีบุตรสาวคือ สุข สุริยวงศ์ (หม่อมสุข ทองใหญ่) ซึ่งเป็นหม่อมใน กรมหลวงประจักษ์ฯ
    สาริโก - ตระกูลพ่อค้าร่ำรวยในหัวเมืองโพนพิสัย
    พุฒคำ - ตระกูลพ่อค้าร่ำรวยในหัวเมืองหนองค่าย
    สิงหศิริ - พระยาสุนทรธรรมธาดา (ผู้บริหารราชการในหัวเมืองโพนพิสัย)
    นาครทรรพ - เจ้าคุณอุ้ย นาคทรรรพ
    วัฒนสุข - เจ้าคุณสุข วันสุข
    สีมะสิงห์ - ขุนธนาภาลบริรักษ์ ภูไท
    ณ อุบล- สกุลนี้สืบเชื้อสายพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ และเจ้าอุปราชธรรมเทโวแห่งนครจำปาสัก ทางฝ่ายพระมารดา สายอุปฮาด (สุดตา) และอุปฮาด (โท) ผู้ขอรับพระราชทานนามสกุลสายนี้คือ พระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ ณ อุบล) กรมการเมืองพิเศษเมืองอุบลราชธานีในสมัยรัชกาลที่ 5
    สุวรรณกูฏ - สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีลำดับที่3 บุตรของพระประทุมฯ ,พระบริคุฏคามเขต (โหง่นคำ สุวรรณกูฏ) เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล
    สิงหัษฐิต - สายนี้สืบเชื้อสายมาจากพระเกษโกมลสิงห์ขัตติยะ หลานของพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 3 ผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล คือ พระวิภาคย์พจนกิจ (หนูเล็ก สิงหัษฐิต - บิดาของเติม วิภาคย์พจนกิจ ผู้เขียนหนังสือ ประวัติศาสตร์อีสาน)
    ทองพิทักษ์ - สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางอุปฮาด (สุดตา) พี่ชายของพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) บุตรของพระประทุมฯ ท้าวไกรยราช (พู) บุตรของอุปฮาด (สุดตา) เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล
    อมรดลใจ - สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางพระอมรดลใจ (ท้าวสุริยวงศ์ อ้ม) เจ้าเมืองตระการพืชผลคนแรก ท่านนี้เป็นบุตรพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 3 และเป็นเขยเจ้าครองนครจำปาสัก
    โทนุบล - สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางเจ้าเมืองมหาชนะชัย (คำพูน สุวรรณกูฏ) ผู้ซึ่งเป็นบุตรของพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 3 โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามท้าวคำพูนว่า "พระเรืองชัยชนะ" เมืองมหาชนะชัยขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี โดยต่อมาภายหลังเมืองมหาชนะชัยได้ถูกลดฐานะเป็นอำเภอภายใต้เมืองอุบลราชธานี โดยหลวงวัฒนวงศ์ โทนุบล (โทน สุวรรณกูฏ) ผู้เป็นหลานของพระเรืองชัยชนะ เป็นนายอำเภอคนแรก
    บุตโรบล - สายนี้สืบมาจากเจ้าราชบุตร (สุ่ย) และราชบุตร (คำ) บุตรของเจ้าสีหาราช (พลสุข) และเจ้าโครต (ท้าวโคต) ทั้งสองท่านเป็นบุตรของเจ้าพระตา และเป็นอนุชาของพระปทุมฯ ผู้รับพระราชทานสกุลคือ พระอุบลกิจประชากร (บุญเพ็ง บุตโรบล) สายสกุลนี้เป็นสายสกุลของอัญญานางเจียงคำ บุตโรบล (หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา) ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
    ไกรศรีวรรธนะ - ต้นสกุล คือ อำมาตย์โท พระศรีทรงไชย ผู้ว่าราชการเมืองภูเวียง ร.ศ.๑๑๙ ตรงกับ พ.ศ.๒๔๔๓ ( บรรดาศักดิ์เดิม คือ ท้าวสุทธิสาร ( พร ไกรศรีวรรธนะ ) บุตรของ พระรัตนราชภักดี จางวาง ( พระศรีทรงไชย เจ้าเมืองภูเวียง )
    วงศ์ปัดสา - สายสกุล วงศ์ปัดสา สืบสายสกุลมาจากเจ้าครองนครเขมราฐ คือพระเทพวงศา (พ่วย) ต้นปฐมสายนี้คิอพระเทพวงศา (ก่ำ) ผู้เป็นบุตรพระวอ
    สายสกุลทายาทเจ้าแก้วมงคล
    ธนสีลังกูร (พระราชทาน)
    ณ ร้อยเอ็จ (พระราชทาน)
    ขัติยวงศ์
    ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม (พระราชทาน)
    สุวรรณเลิศ
    เรืองสุวรรณ
    เจริญศิริ
    อัตถากร
    รักษิกกะจันทน์ หรือ รักษิกจันทร์ (พระราชทาน)
    รัตนะวงศะวัต (พระราชทาน)
    รัตนวงศา
    ประจันตเสน (พระราชทาน)
    เสนอพระ
    นครศรีบริรักษ์
    อุปฮาด
    สุนทรพิทักษ์
    สุนทรพิพิธ
    สุวรรณธาดา (พระราชทาน)
    สิงหศิริ (พระราชทาน)
    สิงคศิริ
    สิงคสิริ
    สิมะสิงห์
    สิริสิงห์
    สิระสิงห์
    สังขศิลา
    พิสัยพันธ์
    พงษ์สุวรรณ
    ไชยสุกา
    เรืองสนาม
    วลัยศรี
    แสงสุระ
    รักษาเมือง
    พิทักษ์เขื่อนขันธุ์
    วรฉัตร
    วงศ์ณรัตน์


อ้างอิง "คลิกดูแหล่งที่มาสายสกุลทายาทเจ้าแก้วมงคล" https://th.wikipedia.org/wiki/เจ้าแก้วมงคล
ความคิดเห็นที่ 9
น่าจะมีเมืองเดียวที่จัดเป็นเจ้าประเทศราชคืออุบลราชธานี แต่มันก็คงแตกต่างจากเจ้าทางเหนือเยอะ เพราะอุบลฯตอนนั้นยังเอาตัวแทบไม่รอด เป็นอาณาจักรอยู่ได้ไม่กี่ปี มีแค่สองรุ่น รุ่นพ่อตั้งตัวเป็นอิสระอยู่ที่หนองบัวลำภู(นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน) มีเมืองหน้าด่านคือภูเวียง กับภูเขียว แสดงว่าอาณาเขตไม่มาก เป็นอิสระอยู่ได้ไม่กี่ปีก็โดนล้านช้างเวียงจันทน์ตีแตก อพยพหลบหนีไปตั้งมั่นอยู่ที่อุบลฯ ก็โดนตามตีเห็นท่าสู้ไม่ได้แน่ เลยยอมสวามิภักดิ์ต่อกรุงธนบุรี ก็เลยรอดมาได้เพราะกรุงธนบุรีไปช่วยไว้ เท่านั้นยังไม่พอธนบุรียังอ้างเหตุว่าล้านช้างมาบุกอุบลฯซึ่งเป็นของธนบุรีก็เลยบุกกินรวบล้านช้างมาไว้ในอำนาจซะด้วยเลย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาล้านช้างก็ไม่เคยเป็นอิสระอีกเลยจนฝรั่งเศสถอนตัวออกไปได้จัดตั้งเป็นประเทศลาว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่