JJNY : แฉแก๊งขนแรงงานเถื่อน/สมุทรสาครติดเชื้อ765/ร้านกาแฟ3.8หมื่นล.เดือด/18จว.จมฝุ่นพิษ/อนุสรณ์จี้ปมดัชนีรับรู้การทุจริต

แฉพฤติการณ์แก๊งเหลือบไร ฮั้วเจ้าหน้าที่ขี้ฉ้อ ขนแรงงานเถื่อน ต้นเหตุโควิดระบาด
https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2021936
 

 
• หนึ่งในปัญหาสะท้อนผ่านสถานการณ์โควิดระบาดรอบสอง คือ ความหละหลวมในการเปิดรับแรงงานต่างด้าวกลับเข้ามาทำงาน
 
• หากดูแลชายแดนอย่างจริงจัง และเข้มงวดตามกฎหมายป้องกันการลักลอบขนแรงงานผิดกฎหมายเข้ามา และไม่มีพวก “ผีพนัน” ก็จะไม่เกิดซุปเปอร์สเปรดเดอร์ อีกรอบ
 
• สร้างความเสียหาย ก่อให้เกิดความสูญเสียทางด้านทรัพยากรในการควบคุมการระบาด และเกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาลหลายแสนล้านบาท
 
"ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์" ผู้อำนวยการวิจัยนโยบายทรัพยากรมนุษย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ ระบุ การระบาดของ "โควิด" รอบใหม่ จะทำให้สถานการณ์การว่างงานหนักกว่าการระบาดครั้งที่แล้ว เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการในเดือน ม.ค. ยังไม่มีผลอะไรมากที่เอื้อต่อเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้คนว่างงานเพิ่มขึ้นชัดเจน จากการที่ธุรกิจชะลอตัวไปทั้งหมด น่าจะมีคนตกงานใกล้ๆ 1 ล้านคน ในช่วง 3 เดือนแรก จากเดิมที่เคยประเมินไว้ 7 แสน 5 หมื่นคน
 
คนทำธุรกิจที่สายป่านขาดแล้ว โดยเฉพาะเอสเอ็มอีจะแย่หนัก เมื่อมาเจอโควิดรอบสอง ทุนหมดไม่มีเงินเปิดกิจการ ก็ต้องปิดตัวลง ทำให้ลูกจ้างจำนวนมากไม่มีงาน ต้องรอว่าวันใดนายจ้างจะเรียกกลับมาทำงาน หรือทำงานแค่ 4 ชั่วโมงต่อวัน มีจำนวนเพิ่มขึ้นเกือบ 3 ล้านคน ทำให้รายได้ไม่เท่าเดิม รัฐต้องเข้าไปช่วยเหลือให้มีกินมีใช้ และทำได้เฉพาะไตรมาสแรก หรือเพียง 2 เดือน เพราะเงินไม่พอ ยกเว้นไปกู้มาอีก เพราะโควิดไม่จบง่ายๆ มีการระบาดคลัสเตอร์ใหญ่ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว ต้องตรวจหาเรียงหน้ากระดาน
 
แฉขบวนการเหลือบไร แรงงานเถื่อน โกยเงินจนร่ำรวย
 
ส่วนต้นเหตุการระบาดของโควิดครั้งนี้ มาจากการลักลอบขน "แรงงานเถื่อน" เป็นกลุ่มพวกเหลือบไรในกิจการที่ต้องจ้างต่างด้าว ซึ่งเป็นขบวนการใหญ่ทำมานานในช่วง 10 ปี จนร่ำรวยในเวลาอันรวดเร็ว ยิ่งกฎหมายเข้มงวดมาก ยิ่งทำให้ค่าตัวต่างด้าวที่จะเข้ามาไทยก็แพงขึ้น จาก 1 หมื่นบาท ขยับมา 3 หมื่นบาท
 
เพราะฉะนั้นเมื่อนายจ้างจะทำธุรกิจอะไรบางอย่างที่ใช้แรงงานต่างด้าว ต้องยอมจ่ายค่าดำเนินการให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ กระทั่งโควิดระบาด เรื่องจึงแดงขึ้นมา ซึ่งแต่ก่อนสามารถหลบซ่อนทำได้ แต่เมื่อเรื่องแดงออกมา จึงมีการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2 แสนกว่าคนให้เรียบร้อย นำขึ้นจากใต้ดินมาบนดิน มีการนิรโทษกรรมแบบไม่สมบูรณ์ ให้เป็นศูนย์ทั้งหมด ซึ่งควรมีความโปร่งใสที่สุด แต่ขั้นตอนเงื่อนไขต่างๆ ยังต้องผ่านหลายกระทรวง สุดท้ายต้องพึ่งพวกเหลือบไรดำเนินการให้
  
สรุปแล้วการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างด้าว แยกเป็น 2 รูปแบบ คือ 
 
1.ผ่านขั้นตอนที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ต้องจ่ายค่านายหน้าให้อำนวยความสะดวก รวมเบ็ดเสร็จประมาณ 3 หมื่นบาท ถูกแบ่งให้เจ้าหน้าที่ทั้ง 2 ฝั่ง ทั้งๆ ที่ค่าดำเนินการอยู่ที่ 1 หมื่นบาท
 
รูปแบบที่ 2.เป็นกลุ่มลักลอบขนแรงงานต่างด้าวกลุ่มเล็กๆ ไม่ถูกกฎหมาย เพื่อชดเชยแรงงานที่ขาดหายไป ซึ่งต่างด้าวกลุ่มนี้จะเข้าๆ ออกๆ ประเทศ ผ่านนายหน้าให้เป็นผู้พามา โดยจ่ายเบี้ย 6 พันบาทต่อหัว และเมื่อโควิดระบาดหนัก ค่าเบี้ยต่อหัวได้ขยับแพงมากขึ้น
 
หละหลวมปล่อยปละ เจ้าหน้าที่เห็นแก่ได้ เสียหายมหาศาล
 
ที่ผ่านมาเคยส่งสัญญาณในขณะที่สถานการณ์โควิดในไทยเริ่มดีขึ้นเมื่อช่วงเดือน ส.ค.2563 ให้รัฐบาลเตรียมความพร้อมรับมือปัญหาแรงงานบางส่วนที่กลับมาจากประเทศเพื่อนบ้าน และถ้าดูแลไม่ดีจะทำให้เกิดการระบาดของโควิดรอบสอง ทั้งเรื่องสุขอนามัย ความแออัดในการพักอาศัยร่วมกัน รวมถึงความรับผิดชอบของผู้นำแรงงานเข้ามาทำงาน
 
ข้อเสนอครั้งนั้นได้ย้ำให้เจ้าหน้าที่รัฐ ระมัดระวังการลักลอบเข้ามาทำงานของแรงงานต่างด้าว โดยไม่ผ่านการตรวจโควิด และเตรียมพร้อมรับการกักตัวแรงงาน โดยหาแนวทางจูงใจให้นายจ้างมีพื้นที่กักตัวลูกจ้าง ก่อนนำเข้าแรงงานกลับเข้ามาทำงาน แต่ต้องไม่สร้างภาระแก่นายจ้างมากเกินไป โดยลดค่าดูแลกักตัวลูกจ้างจากประมาณ 1,600 บาท เหลือประมาณ 1,000 บาทต่อคนต่อวัน และให้คู่สามีภรรยาอยู่ด้วยกันได้
 
ที่ผ่านมามีการตั้งพื้นที่กักกันโรค บริเวณชายแดนภาคใต้ แต่สำหรับค่าดูแล ยังไม่มีข้อมูลว่าทางราชการได้มีการนำข้อเสนอแนะไปพิจารณาหรือไม่ กระทั่งไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 ก็เกิดความหละหลวม ปล่อยให้มีการลักลอบเข้ามาทำงานของแรงงานต่างด้าว โดยไม่ผ่านการตรวจโควิด กลายเป็นจุดเริ่มเกิดการระบาดอย่างรุนแรง ในเขตที่มีแรงงานต่างด้าวอยู่อย่างหนาแน่น คือ จ.สมุทรสาคร รวมไปถึงการลักลอบข้ามแดนของกลุ่มคนทำงานในสถานบันเทิง และผู้เล่นพนันในฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลลุกลามมาจนถึงทุกวันนี้
 
ถ้าดูแลชายแดนอย่างจริงจังกว่านี้ มีความเข้มงวดจริงจังปฏิบัติตามกฎหมายทั้งกับนายจ้าง และนายหน้าเถื่อน ผู้นำแรงงานผิดกฎหมายเข้ามา และถ้าไม่มีพวกผีพนัน ก็จะไม่เกิดซุปเปอร์สเปรดเดอร์อีกรอบ เป็นปัญหาให้เกิดความสูญเสียทางด้านทรัพยากรในการควบคุมการระบาด และทางเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาลหลายแสนล้านบาท
 
ธุรกิจสีเทา จับมือผู้ดูแลก.ม. จนเรื่องแดง เพราะโควิด
 
ปัญหาการระบาดโควิดรอบนี้ เกิดขึ้นทั้งในส่วนกลุ่มที่ทำธุรกิจสีเทา หรือธุรกิจใต้ดิน ที่อาศัยนายหน้าเถื่อน ซึ่งเป็นคนต่างด้าว และผีพนันคนไทย ที่ไม่ใช้ช่องทางทำสัมมาอาชีพตามปกติ และจากความเห็นแก่ได้ของเจ้าพนักงานและผู้บังคับใช้กฎหมายที่สมประโยชน์ร่วมด้วย ทำให้เกิดช่องโหว่การระบาดอย่างรุนแรงในรอบสอง
 
ประเด็นแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย เป็นเรื่องที่เกิดในสภาวะ “ตบมือข้างเดียวไม่ดัง” มีนายจ้างบางคนยอมเสี่ยงใช้คนผิดกฎหมายมาทำงาน เพื่อแลกกับค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าการนำเข้าตามปกติ ซึ่งมีต้นทุนไม่ต่ำกว่า 3-4 หมื่นบาทต่อคน ต่อการเข้ามาทำงาน 2 ปี คือจ่ายเพียงประมาณ 6,000-10,000 บาทต่อคน และไม่ต้องจ่ายค่าตรวจโรค ค่าใบอนุญาตทำงาน (Work permits) ค่าประกันสังคม ขณะที่แรงงานต่างด้าวเองไม่ต้องจ่ายเงินค่านายหน้าหลายหมื่นบาท
 
“ธุรกิจสีเทาสนับสนุนแรงงานผิดกฎหมาย เกิดจากตัวกลาง 2 ฝ่าย คือ นายหน้าเถื่อน และเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลกฎหมายในทุกระดับ ถ้าไม่เกิดการระบาดของโควิดอีก คงไม่มีปัญหาอะไร ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ปิดเงียบ แต่คราวนี้เรื่องมาแดง ตรงที่คนต่างด้าวผิดกฎหมายลักลอบเข้ามาอยู่ปนเปกับเพื่อนฝูง ญาติพี่น้องอย่างแออัด ขาดสุขอนามัยในชุมชน ต่างด้าวนำเอาโควิดติดเข้ามาด้วย คาดว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่ สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ทั้งในหมู่คนไทยที่เกี่ยวข้อง กับคนงานต่างด้าวที่ติดเชื้อมา”.
 

 
สมุทรสาคร พบผู้ติดเชื้อวันนี้ 765 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้ว 8,845 คน
https://www.matichon.co.th/covid19/news_2552302
 
เมื่อวันที่ 29 มกราคม สำนักงานประชาสัมพันธ์ จังหวัดสมุทรสคร เปิดเผย ว่า วันที่ 28 มกราคม เวลา 24.00 น. สถานการณ์การติดเชื้อโควิด 19 ของจ.สมุทรสาคร รายใหม่ยืนยัน 765 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 8,845 คน ปายป่วยแล้ว 3,846 ราย เสียชีวิตสะสม 3 ราย
 
โดยเป็นการคนหาเชิงรุก 13,322 คน ผลตรวจแล็บ 7,615 คน และ พบเชื้อ 686 ราย
 

 
ร้านกาแฟ 3.8 หมื่นล้านเดือด OR เข้าตลาดหุ้น หนุน “อเมซอน” โตกระฉูด
https://www.prachachat.net/marketing/news-602114
 
ตลาดร้านกาแฟ 3.8 หมื่นล้านร้อนฉ่า “อเมซอน” กางแผนผุดสาขาแบบรัว ๆ หลังบริษัทแม่ “โออาร์” เข้าตลาดหุ้น ตั้งเป้า 5 ปี ทะลุ 5,800 แห่ง เฉลี่ยปีละกว่า 500 สาขา สยายปีกลุยนอกปั๊มน้ำมัน วงการชี้การแข่งขันรุนแรงมากขึ้น รายกลาง-รายเล็กดิ้นปรับตัวฝุ่นตลบ โอดอำนาจต่อรองไม่พอ หาทำเลทอง-วัตถุดิบยาก ทำต้นทุนสูง
 
หลังการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯของ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ ด้วยการระดมทุนมากถึง 5.3 หมื่นล้านบาท พร้อมกับเป้าหมายการขยายสาขาร้านกาแฟอเมซอน หนึ่งในธุรกิจเรือธงให้มีจำนวนสาขาถึง 5,800 แห่งภายในปี 2568 จากปัจจุบันที่มีสาขามากกว่า 3,200 แห่ง หรือเฉลี่ยต้องเปิดแบบปูพรมมากกว่า 520 สาขา/ปี
 
อีกด้านหนึ่งก็ทำให้ตลาดกาแฟสดที่ว่ากันว่ามีมูลค่าตลาดรวมมากกว่า 3.8 หมื่นล้านบาท กระเพื่อมขึ้นมาทันที
 
แหล่งข่าวระดับสูงจากวงการร้านกาแฟและเจ้าของแฟรนไชส์ร้านกาแฟสดรายหนึ่งเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การเร่งสปีดขยายสาขาของร้านอเมซอนดังกล่าวจะเอฟเฟ็กต์กับตลาดร้านกาแฟสดมากขึ้น จากเดิมที่ตลาดนี้ก็มีการแข่งขันรุนแรงอยู่แล้ว โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้ประกอบการรายเล็กและรายกลางที่จะได้รับผลกระทบมากขึ้น
 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการขยายสาขาและการหาทำเลหรือโลเกชั่นดี ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาคารสำนักงาน สถานที่หรือหน่วยงานราชการ จะทำได้ยากขึ้น หรือหากทำได้ก็จะมีต้นที่สูงขึ้น จากอำนาจต่อรองและเงินทุนที่เป็นรอง เนื่องจากปัจจุบันโลเกชั่นหลักในการขยายธุรกิจของร้านกาแฟอเมซอนก็ไม่ใช่ในปั๊มแล้ว แต่ที่ผ่านมาได้เริ่มขยายสาขาไปโลเกชั่นรองลงมา ไม่ว่าจะเป็น อาคารพาณิชย์ตามชุมชน คอมมิวนิตี้มอลล์ และอื่น ๆ
 
จากการแข่งขันที่สูงขึ้น จากนี้ไปจะต้องปรับแผนการดำเนินและกลยุทธ์ทางการตลาดเป็นระยะ ๆ เช่น สาขาไหนที่ไม่มีกำไรหรือเลี้ยงตัวเองไม่ได้ก็ต้องปิด และหาทำเลใหม่มาทดแทน ขณะเดียวกันก็ต้องมีการทำการตลาดในหลากหลายรูปแบบมากขึ้น
 
สอดคล้องกับความเห็นของผู้บริหารร้านกาแฟระดับเอสเอ็มอีรายหนึ่งที่กล่าวในเรื่องนี้ว่า จากการที่ ปตท.มีการเตรียมความพร้อมมาระยะหนึ่ง และมีเน็ตเวิร์กที่ใหญ่สำหรับการดำเนินธุรกิจร้านกาแฟในอนาคต ทั้งโรงงานคั่วกาแฟ โรงเบเกอรี่ ระบบซัพพลายและโลจิสติกส์ที่เข้มแข็ง ซึ่งทำให้สามารถคุมต้นทุนในบริษัทได้เป็นอย่างดี มีกำไรมากขึ้น เนื่องจากสเกลของธุรกิจที่ใหญ่ขึ้น จะเป็นผลดีต่อระบบการขยายแบบแฟรนไชส์ และสามารถขยายและเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น
 
อย่างไรก็ตาม อีกด้านหนึ่งก็จะทำให้ธุรกิจร้านกาแฟจากนี้ไปมีการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น โดยกลุ่มร้านขนาดเล็กที่จะได้รับผลกระทบบ้างพอสมควรในเรื่องของต้นทุนที่สูงกว่า และอาจจะทำให้ต้องขายสินค้าในราคาสูงกว่า ขณะเดียวกันก็จะหาทำเลได้ยากขึ้น
 
ดังนั้น ผู้ประกอบการรายเล็กจะต้องเร่งปรับตัวด้วยการเพิ่มลูกเล่น มีมิติมากขึ้น เช่น การเพิ่มโปรดักต์กาแฟ ที่อาจจะออกมาในรูปของสเปเชียลตี้คอฟฟี่มากขึ้น เพื่อรองรับการแข่งขัน
 
ปีนี้ธุรกิจร้านกาแฟน่าจะมีความคึกคักและมีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น เนื่องจากผู้เล่นในตลาดล้วนเป็นผู้เล่นรายใหญ่ นอกจาก อเมซอน คาเฟ่ ก็ยังมีอินทนิลของบางจาก มีออลล์ คาเฟ่ ของเซเว่นอีเลฟเว่น รวมทั้งยังมีบาวคาเฟ่ ของซีเจ เอ็กซ์เพรส เป็นต้น
 
แหล่งข่าวระดับสูงจากร้านกาแฟรายใหญ่เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากความได้เปรียบในเรื่องของเงินทุน เชื่อว่าจากนี้ไปการขยายสาขาของร้านกาแฟอเมซอน จะมุ่งไปที่โลเกชั่นระดับรอง ๆ มากขึ้น เช่น การเปิดทำเลนอกปั๊ม อาคารพาณิชย์ และพื้นที่อื่น ๆ ขณะเดียวกันก็จะทำให้ตลาดร้านกาแฟมีการแข่งขันที่รุนแรงและหลากหลายรูปแบบมากขึ้น และทำให้ธุรกิจร้านกาแฟรายอื่น ๆ ต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับการแข่งขันหรือไม่นั้น มองว่าเป็นเรื่องของยุทธศาสตร์ของแต่ละค่ายที่จะปรับทัพออกมารับมือกับปรากฏการณ์ดังกล่าว ซึ่งโดยส่วนตัวมองว่าร้านกาแฟเมืองไทยหลังจากนี้จะมีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างแน่นอน
 
ขณะที่ นายมารุต ชุ่มขุนทด ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท คลาส คอฟฟี่ จำกัด เจ้าของร้านกาแฟ “คลาส คาเฟ่” (Class Cafe) แสดงความเห็นในเรื่องนี้ว่า ธุรกิจร้านกาแฟเป็นตลาดใหญ่ ทำให้มีนักลงทุนทั้งรายใหญ่และรายเล็กกระโดดเข้ามาจำนวนมาก แต่ในทางกลับกันการทำตลาดนั้นไม่ง่าย นอกจากเรื่องต้นทุนแล้ว ยังมีเรื่องการแข่งขันสูง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่