PM 2.5 กรุงเทพฯ ช่วง COVID-19 แม้ว่ารถจะน้อยลง(มากๆ)แล้ว แต่ทำไม PM 2.5 ยังสูงอยู่

พอดีมีคำถามในในใจ 
อันดับแรกเลยคือ เปิด google (เพราะคนในนี้ชอบไล่ไปเปิด google ก่อนมาถามใน pantip)

ก็ไปเจอเว็บของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เค้าก็บอกว่า 
PM 2.5 ส่วนใหญ่มาจากการเผาในที่โล่ง รองๆลงมาก็ การคมนาคม และการผลิตไฟฟ้า 
โดยมีข้อมูล PM 2.5 ช่วงที่ไม่มีการเผา (ช่วง พ.ค. ถึง พ.ย.)
เค้าก็บอกว่า เนี่ยฉันก็เดินเครื่องปั่นไฟตลอดเวลา แต่ช่วงเนี้ย แต่ทำไม PM 2.5 มันต่ำได้ล่ะ
แสดงว่า ปัญหาหลักของ PM 2.5 ไม่ได้มาจากโรงไฟฟ้านะ

(ในที่นี้จะพูดถึงพื้นที่กรุงเทพ จะให้ดูกราฟแท่งสีม่วง มุมซ้ายล่าง เป็นข้อมูลของเขตดินแดง)


แต่พอเข้ามาดูเว็บ  
https://www.greenpeace.org/thailand/story/6239/pm25-bkk/
ก็พูดกันไปคนละเรื่องอีก 
บอกว่า อย่าไปโทษเกษตรกรที่เผาที่ทำการเกษตรเลย PM 2.5 ในกรุงเทพ มันมาจากโรงไฟฟ้า และคมนาคม !?!?!?!?!?!?!?


โอเค รถยนต์มันเป็นส่วนหนึ่งของการผลิต PM2.5
แต่ช่วง COVID-19 ทำให้รู้ว่า รถยนต์ไม่ใช่ผู้ผลิตรายใหญ่ 
เพราะฉะนั้นที่เราถกเถียงกันก่อนหน้านี้ว่า
- จำกัดปริมาณรถเข้าเขตรอบในกรุงเทพ
- ขึ้นภาษีรถ 7-10 ปี เพราะมาตรฐานไอเสียไม่ดี 
- จำกัดใช้รถวันคู่วันคี่ 
- สนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า 
- ขึ้นรถสาธารณะกันเถอะ 
- จับปรับกระบะควันดำ (อันนี้เห็นด้วย)
ฯลฯ
มันจะเกาไม่ถูกที่คันหรือเปล่า 
เหมือนน้ำในถังรั่ว แต่เราไปอุดรูเล็ก มันช่วยประหยัดได้ แต่ช่วยได้นิดเดียว 

ที่ตั้งกระทู้ก็อยากให้ Discuss กันถึงสาเหตุใหญ่แล้วแก้ไขตรงนั้นดีกว่า จะได้บรรเทาปัญหาได้ 
(จะมีท่านผู้ทรงเกือกมาอ่านกระทู้ผมบ้างมั้ยเนี่ย)
ไม่งั้นต้องมานั่งดมฝุ่นทุก ธ.ค. - เม.ย. แล้วรอลมหนาว หรือลมฝนช่วยพัดฝุ่นไปเอง แบบนี้ทุกปี 
ผมว่าไม่ดี ปอดจะพังก่อนเป็นโควิดซะอีกมั้ง

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่