การเข้ารับราชการในสังกัดส่วนกลาง กระทรวงหรือกรมใดกรมใดหนึ่งในสมัยนี้ สถาบันการศึกษาที่จบออกมาก็เป็นปัจจัยที่มีส่วนในการพิจารณาให้ได้งานไหม
ขอแชร์ประสบการณ์และความเห็นส่วนตัวน่ะครับ...คือตัวเจ้าของกระทู้เองก็รับราชการครับ (ย่างปีที่ 10) ตัวเจ้าของกระทู้เองจบจากมหาวิทยาลัยของรัฐระดับ Top 3 ของประเทศ อายุก็ 30+ แล้วครับ .... เพื่อนๆที่จบมาจากคณะเดียวและมหาลัยเดียวกับเจ้าของกระทู้ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีใครรับราชการกันครับ ส่วนใหญ่ไปงานเอกชนกันหมด
ตอนแรกที่เจ้าของกระทู้สมัครเข้ารับราชการก็จะมีแต่คนบอกว่างานราชการเป็นสถานที่รวมคนไม่เก่ง รวมเด็กที่จบจากมหาวิทยาลัยท้องถิ่นบ้างหรือมหาวิทยาลัยไม่ดังบ้าง (ไม่มีเจตนาจะบุลลี่หรือดูถูกน่ะครับ เพราะ จขกท.คิดว่าคนจะเก่งหรือไม่เก่งอยู่ที่ตัวบุคคล อันนี้เอาประสบการณ์ที่ได้สัมผัสมาเล่า)
และก็เป็นอย่างนั้นเกือบจริงครับเพราะว่าคนที่รับราชการก่อนเจ้าของกระทู้ 5 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่จบจากมหาวิทยาลัยพวกนี้ทั้งสิ้น ...พวกมหาวิทยาลัยรัฐดังๆ ก็มีแต่ว่ามีอยู่ประมาณ 20 - 30 เปอร์เซ็นต์ เจ้าของกระทู้ก็เลยคิดว่าก่อนหน้าเจ้าของกระทู้จะมารับราชการ ตอนนั้นคือเงินเดือนข้าราชการระดับป. ตรียังไม่ถึง 15,000 บาท เลยคิดว่าแรงจูงใจที่จะทำให้คนที่จบจาก ม.รัฐดังๆ เข้ามารับราชการมีน้อย (แต่ผู้บริหารส่วนใหญ่เท่าที่เห็นโปรไฟล์จบจาก ม.รัฐดังๆนะ ) ที่ได้มาส่วนใหญ่ก็คือคนที่เก่งประมาณหนึ่งที่จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษารองๆ ลงไป (ไม่ว่าจะจบจากไหนมามาบรรจุราชการได้ ก็ถือว่าเก่งประมาณหนึ่งจริงๆ แหละ เพราะอย่างน้อยก็ต้องสอบภาคก. ภาคข. และภาค ค.เข้ามา ยกเว้นมาด้วยเส้น) ดังนั้นเจ้าของกระทู้จึงคิดว่าในช่วงระยะเวลาประมาณก่อน 10 ปีที่แล้วย้อนขึ้นไป การเข้ารับราชการสถาบันการศึกษามีผลต่อการคัดคนเข้ารับราชการน้อยมาก เพราะจะพิจารณาจากความสามารถที่สอบเข้ามาได้เป็นสำคัญ งานยังไม่ซับซ้อน
แต่พอมาสมัยปัจจุบันเจ้าของกระทู้คิดว่าสถาบันการศึกษามีส่วนในการพิจารณาคนเข้ารับราชการมากขึ้นไม่แพ้บริษัทเอกชนเลย (จากการที่เจ้าของกระทู้เคยเป็นกรรมการสัมภาษณ์คนเข้ารับราชการและเคยคุยกับคนในแวดวงการราชการด้วยกัน) ปัจจัยที่ทำให้ คนจากมหาวิทยาลัยรัฐดังๆเข้ามา
สอบรับราชการมากขึ้นก็น่าจะมาจากการที่เงินเดือนข้าราชการระดับ ป.ตรี เริ่มต้นที่ 15,000 บางหน่วยงานมีเงินเพิ่มประจำตำแหน่ง )งานมีความมั่นคง, เศรษฐกิจตอนนี้งานเอกชนบางงานก็ไม่มีความมั่นคง ปัจจัยเหบ่านี้อาจเป็นเหตุจูงใจให้คนเก่งๆ จากมหาวิทยาลัยดังๆเข้ามารับราชการมากขึ้น ( สังเกตจาก หน่วยงานที่เจ้าของกระทู้ทำงานอยู่เอง ช่วงหลังๆย้อนหลังมา 10 ปีคนที่บรรจุเข้ารับราชการส่วนใหญ่มาจากมหาวิทยาลัยดังๆ แทบทั้งนั้น ทั้ง ม.รัฐและเอกชน) คนจากมหาวิทยาลัยท้องถิ่นเข้ามาน้อยลง .... อัตราการแข่งขันเข้าสอบรับราชการมีมากขึ้น หน่วยงานราชการมีตัวเลือกในการเลือกคนมากขึ้นไม่เหมือนเมื่อก่อน จึงเป็นเหตุให้หลายหน่วยงานพิจารณาตัดสินรับคนจากโปรไฟล์สถาบันการศึกษาเหมือนกัน .... หรือแม้แต่การขึ้นตำแหน่งสำคัญๆ ในระดับที่สูงขึ้นที่เจ้าของกระทู้สัมผัสมา การจบจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงก็มีส่วนในการผลักดันไม่น้อยทั้งความไว้วางใจของผู้บริหารและเครือข่ายของรุ่นพี่ที่เป็นผู้บริหารอยู่ก่อนหน้า
ที่เจ้าของกระทู้พิมพ์มาทั้งหมดไม่ได้จะบอกว่าคนที่จบจากมหาวิทยาลัยเล็กๆ หรือมหาวิทยาลัยท้องถิ่นไม่มีสิทธิ์เข้ารับราชการ แต่จะบอกว่าการรับราชการในปัจจุบันยากขึ้นกว่าสมัยก่อน สถาบันการศึกษาสามารถเป็นปัจจัยตัดสินให้ได้งานไม่แพ้บริษัทเอกชนเลย ...คนเก่งๆ มีแนวโน้มเข้ามามากขึ้น ดังนั้นคนที่จบจากมหาวิทยาลัยเล็กๆ ที่สอบเข้ามาได้ก็ถือว่าเป็นคนที่เก่งไม่เบาเลยแหละที่สามารถสอดแทรกเข้ามารับราชการในสมัยนี้ได้
อีกอย่างเจ้าของกระทู้ก็อยากทราบความเห็นของหน่วยงานอื่นหรือท่านอื่นๆที่สัมผัสมาด้วยว่าเป็นอย่างที่เจ้าของกระทู้คิดไหม เพราะนี่คือประสบการณ์ที่เจ้าของกระทู้สัมผัสมาเอง ที่อื่นอาจจะไม่เหมือนกันก็ได้ ลองแบ่งปันไอเดียหรือประสบการณ์กันครับ
สมัยนี้คิดว่าสถาบันการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณารับคนเข้ารับราชการไหมครับ
ขอแชร์ประสบการณ์และความเห็นส่วนตัวน่ะครับ...คือตัวเจ้าของกระทู้เองก็รับราชการครับ (ย่างปีที่ 10) ตัวเจ้าของกระทู้เองจบจากมหาวิทยาลัยของรัฐระดับ Top 3 ของประเทศ อายุก็ 30+ แล้วครับ .... เพื่อนๆที่จบมาจากคณะเดียวและมหาลัยเดียวกับเจ้าของกระทู้ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีใครรับราชการกันครับ ส่วนใหญ่ไปงานเอกชนกันหมด
ตอนแรกที่เจ้าของกระทู้สมัครเข้ารับราชการก็จะมีแต่คนบอกว่างานราชการเป็นสถานที่รวมคนไม่เก่ง รวมเด็กที่จบจากมหาวิทยาลัยท้องถิ่นบ้างหรือมหาวิทยาลัยไม่ดังบ้าง (ไม่มีเจตนาจะบุลลี่หรือดูถูกน่ะครับ เพราะ จขกท.คิดว่าคนจะเก่งหรือไม่เก่งอยู่ที่ตัวบุคคล อันนี้เอาประสบการณ์ที่ได้สัมผัสมาเล่า)
และก็เป็นอย่างนั้นเกือบจริงครับเพราะว่าคนที่รับราชการก่อนเจ้าของกระทู้ 5 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่จบจากมหาวิทยาลัยพวกนี้ทั้งสิ้น ...พวกมหาวิทยาลัยรัฐดังๆ ก็มีแต่ว่ามีอยู่ประมาณ 20 - 30 เปอร์เซ็นต์ เจ้าของกระทู้ก็เลยคิดว่าก่อนหน้าเจ้าของกระทู้จะมารับราชการ ตอนนั้นคือเงินเดือนข้าราชการระดับป. ตรียังไม่ถึง 15,000 บาท เลยคิดว่าแรงจูงใจที่จะทำให้คนที่จบจาก ม.รัฐดังๆ เข้ามารับราชการมีน้อย (แต่ผู้บริหารส่วนใหญ่เท่าที่เห็นโปรไฟล์จบจาก ม.รัฐดังๆนะ ) ที่ได้มาส่วนใหญ่ก็คือคนที่เก่งประมาณหนึ่งที่จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษารองๆ ลงไป (ไม่ว่าจะจบจากไหนมามาบรรจุราชการได้ ก็ถือว่าเก่งประมาณหนึ่งจริงๆ แหละ เพราะอย่างน้อยก็ต้องสอบภาคก. ภาคข. และภาค ค.เข้ามา ยกเว้นมาด้วยเส้น) ดังนั้นเจ้าของกระทู้จึงคิดว่าในช่วงระยะเวลาประมาณก่อน 10 ปีที่แล้วย้อนขึ้นไป การเข้ารับราชการสถาบันการศึกษามีผลต่อการคัดคนเข้ารับราชการน้อยมาก เพราะจะพิจารณาจากความสามารถที่สอบเข้ามาได้เป็นสำคัญ งานยังไม่ซับซ้อน
แต่พอมาสมัยปัจจุบันเจ้าของกระทู้คิดว่าสถาบันการศึกษามีส่วนในการพิจารณาคนเข้ารับราชการมากขึ้นไม่แพ้บริษัทเอกชนเลย (จากการที่เจ้าของกระทู้เคยเป็นกรรมการสัมภาษณ์คนเข้ารับราชการและเคยคุยกับคนในแวดวงการราชการด้วยกัน) ปัจจัยที่ทำให้ คนจากมหาวิทยาลัยรัฐดังๆเข้ามา
สอบรับราชการมากขึ้นก็น่าจะมาจากการที่เงินเดือนข้าราชการระดับ ป.ตรี เริ่มต้นที่ 15,000 บางหน่วยงานมีเงินเพิ่มประจำตำแหน่ง )งานมีความมั่นคง, เศรษฐกิจตอนนี้งานเอกชนบางงานก็ไม่มีความมั่นคง ปัจจัยเหบ่านี้อาจเป็นเหตุจูงใจให้คนเก่งๆ จากมหาวิทยาลัยดังๆเข้ามารับราชการมากขึ้น ( สังเกตจาก หน่วยงานที่เจ้าของกระทู้ทำงานอยู่เอง ช่วงหลังๆย้อนหลังมา 10 ปีคนที่บรรจุเข้ารับราชการส่วนใหญ่มาจากมหาวิทยาลัยดังๆ แทบทั้งนั้น ทั้ง ม.รัฐและเอกชน) คนจากมหาวิทยาลัยท้องถิ่นเข้ามาน้อยลง .... อัตราการแข่งขันเข้าสอบรับราชการมีมากขึ้น หน่วยงานราชการมีตัวเลือกในการเลือกคนมากขึ้นไม่เหมือนเมื่อก่อน จึงเป็นเหตุให้หลายหน่วยงานพิจารณาตัดสินรับคนจากโปรไฟล์สถาบันการศึกษาเหมือนกัน .... หรือแม้แต่การขึ้นตำแหน่งสำคัญๆ ในระดับที่สูงขึ้นที่เจ้าของกระทู้สัมผัสมา การจบจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงก็มีส่วนในการผลักดันไม่น้อยทั้งความไว้วางใจของผู้บริหารและเครือข่ายของรุ่นพี่ที่เป็นผู้บริหารอยู่ก่อนหน้า
ที่เจ้าของกระทู้พิมพ์มาทั้งหมดไม่ได้จะบอกว่าคนที่จบจากมหาวิทยาลัยเล็กๆ หรือมหาวิทยาลัยท้องถิ่นไม่มีสิทธิ์เข้ารับราชการ แต่จะบอกว่าการรับราชการในปัจจุบันยากขึ้นกว่าสมัยก่อน สถาบันการศึกษาสามารถเป็นปัจจัยตัดสินให้ได้งานไม่แพ้บริษัทเอกชนเลย ...คนเก่งๆ มีแนวโน้มเข้ามามากขึ้น ดังนั้นคนที่จบจากมหาวิทยาลัยเล็กๆ ที่สอบเข้ามาได้ก็ถือว่าเป็นคนที่เก่งไม่เบาเลยแหละที่สามารถสอดแทรกเข้ามารับราชการในสมัยนี้ได้
อีกอย่างเจ้าของกระทู้ก็อยากทราบความเห็นของหน่วยงานอื่นหรือท่านอื่นๆที่สัมผัสมาด้วยว่าเป็นอย่างที่เจ้าของกระทู้คิดไหม เพราะนี่คือประสบการณ์ที่เจ้าของกระทู้สัมผัสมาเอง ที่อื่นอาจจะไม่เหมือนกันก็ได้ ลองแบ่งปันไอเดียหรือประสบการณ์กันครับ