โรคจอประสาทตาหลุดลอก อันตรายอย่างไร? ทำไมถึง...ทำให้ตาบอดได้!

โรคจอประสาทตาหลุดลอก อันตรายอย่างไร? ทำไมถึง...ทำให้ตาบอดได้!


จอประสาทตา คืออะไร?
ก่อนอื่นเรามารู้จัก จอประสาทตา กันก่อนดีกว่า
 
จอประสาทตาเป็นเนื้อเยื่อที่มีลักษณะบางใส ประกอบด้วยใยประสาทและเซลล์ที่มีความไวต่อแสง 
บุคลุมผนังส่วนหลังด้านในของลูกตา
 
จอประสาทตาทำหน้าที่เหมือนฟิล์มในกล้องถ่ายรูป เมื่อแสงผ่านเข้าสู่ตาและโฟกัสที่จอประสาทตา เซลล์ที่ไวต่อแสงจะทำหน้าที่รับภาพและแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งต่อเข้าสู่เส้นประสาทตาและสมองเพื่อแปรภาพที่เห็นตามลำดับ
 
 
โรคจอประสาทตาหลุดลอก คืออะไร?
โรคจอประสาทตาหลุดลอก มีโอกาสเกิดประมาณ 1 ในประชากรทุกๆ 10,000 คนต่อปี 
 
ถึงแม้จะพบน้อยแต่ก็เป็นปัญหาที่ร้ายแรงทางตา ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยกลางคนและผู้สูงอายุที่มีสายตาสั้น หรือมีประวัติครอบครัวเป็นโรคจอประสาทตาลอกมาก่อน สาเหตุอื่นที่อาจพบได้อีก คือ การที่ตาถูกกระแทกอย่างแรงและปัจจัยทางกรรมพันธุ์
 
 
ทำไม? จอประสาทตาหลุดลอก ถึงทำให้ตาบอดได้
 
เมื่อจอประสาทตาฉีกขาดและลอกหลุดจากผนังด้านหลังของตา เซลล์ที่ไวแสงจะเริ่มเสื่อมสมรรถภาพจนไม่สามารถส่งภาพเข้าสู่เส้นประสาทตาและสมองได้ ดวงตาจึงเริ่มมีปัญหาในการรับภาพ หากไม่ได้รับการรักษาโดยเร็ว ตาจะค่อยๆ บอดลงในที่สุด
 
 
สาเหตุจอประสาทตาหลุดลอก
 
                        จอประสาทตาลอกมักเกิดจากการเสื่อมของน้ำวุ้นตา โดยปกติภายในลูกตาจะเต็มไปด้วยน้ำวุ้นใสที่เรียกว่า “น้ำวุ้นตา” เมื่อน้ำวุ้นตาเสื่อมจะเกิดการสลายตัว และเกิดผลกระทบทำให้จอประสาทตาฉีกขาดและหลุดลอก



อาการ
1.   เห็นเงาดำเป็นจุดหรือเห็นหยากไย่ที่เกิดขึ้นโดยทันที หรือหากเคยเห็นอยู่ก่อนแล้วจะเห็นเพิ่มมากขึ้น
2.   มีไฟแลบเกิดขึ้นทั้งในเวลาหลับตาและลืมตา
3.   มีเงาคล้ายม่านดำมาบัง ทำให้สายตามัวและมืดลงในที่สุด
 
 
เมื่อเกิดอาการดังกล่าว แม้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ป่วยควรเข้ารับการตรวจจากจักษุแพทย์อย่างละเอียดทันที เพื่อตรวจดูว่ามีรอยฉีกขาดหรือลอกหลุดของจอประสาทตาหรือไม่ เพราะหากมีแล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยอาจเกิดโรคจอประสาทตาลอกหลุดขั้นรุนแรงจนตาบอดได้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่