พอดีไปเห็นข้อความจากแหล่งหนึ่ง (เดาว่ามาจาก Facebook) เห็นว่าน่าสนใจดี สำหรับเรื่องราวอีกด้านหนึ่งของหนังกลางแปลงที่คนภายนอกไม่เคยรับรู้
ปี 2021 วงการหนังกลางแปลง มีอะไรเปลี่ยนแปลงกันไปบ้าง ในยุคโควิด มันวุ่นวายกันจังเนอะ
ลิขสิทธิ์หนังต่างประเทศ
สำหรับกลางแปลง อดีตทำผิด.... ปัจจุบัน
"พาศีกเข้าบ้านตัวเอง" ให้ฝรั่งเข้าดูแลหนังกลางแปลงประเทศไทยด้วย ก็เลยเป็นเรื่องถูกต้องกันไป
แต่ในขอบเขตหนังเก่า..ก็ดีที่มันถูกต้อง ส่งเสริมความมั่นใจในการใช้สิทธิ
แต่อดีตละที่ผ่านมา....... ????
เป็นที่รู้กัน และก็ดูกันไปกับคำว่า "
ลืมอดีตมาเริ่มใหม่กันกับค่ายเดิม" อันนี้ไม่มั่นใจ เพราะไม่ทราบรูปแบบที่เขาทำกันต่อ เพียงแต่รู้แค่วงในของวงการที่เดินเรื่องกันแค่นั้น เรื่องการบริหารจัดการยังเป็นเรื่องของค่ายเดิม
ส่วนลิขสิทธิ์หนังในประเทศไทย สำหรับหนังไทย และหนังต่างประเทศของค่ายไทยที่ซื้อมาฉายโรงและพ่วงทุกอย่างในประเทศ รวมทั้งหนังกลางแปลงกัน มันก็ยังถูกต้องในขอบเขตของไทย หมดอายุค่ายนี้ก็ไปอยู่ค่ายใหม่ในหนังเรื่องเดิม ราคาไม่แรงกันมาก แต่ก็เป็น
"ดาบสองคม" กับราคาจ้างหนังกลางแปลงกัน มีทั้งตัดราคาในการรับงาน เพราะทุกจอซื้อได้เหมือนกัน ทั้งที่มีข้อตกลงในเรื่องรับงานให้สมราคาหนังกัน แต่ให้ไปตีราคาคุณภาพของหน่วยหนังเอา แต่ความจริง...ก็ไม่ใช่อย่างที่เป็นกัน
เรื่องของอุปกรณ์การฉาย
Projector หลายค่าย ที่มุ่งมาหากินกับธุรกิจกลางแจ้ง โดยเฉพาะหนังกลางแปลงเป็นส่วนใหญ่เสียมาก
หลักๆ ที่เห็น Epson / Panasonic / Viewsonic / Acer / Sony และ ของนำเข้า จากจีนยี่ห้ออื่นๆ มุ่งกันเปลี่ยนแปลงจากหลอด Mercury ไปเป็น Laser กัน มีข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกันไปและลูกเล่นเพิ่มเติมในแต่ละค่าย
ส่วนคนนำมาขายก็มีหลายคน แข่งกันด้วยราคาและการบริการ ให้กับหนังกลางแปลงกับคนที่รู้และไม่รู้ในระบบกัน
เครื่องเล่นไฟล์
อดีตที่ผ่านมา จากเครื่องเล่นมัลติมีเดียตามบ้าน ก็เริ่มพัฒนาใช้งานให้เริ่มเป็นรูปแบบคุณภาพที่เทียบเท่าในการฉายแบบเดียวกับโรงภาพยนตร์ เพียงแต่รูปแบบการเล่นไฟล์ มีการใช้ไฟล์ DCP ที่ค่ายหนังอยากให้ใช้ หรือบังคับใช้กันให้เหมือนโรงภาพยนตร์ซึ่งมีคุณภาพสูงและปลอดภัย ทว่าการใช้งานยังมีน้อยอยู่ เพราะคนขายและคนซื้อหนังมาขาย อยากได้เงินที่ไว และสะดวกสำหรับคนที่ไม่มีเครื่องเล่น DCP ได้ฉายกัน ส่วนมากก็เล่นไฟล์มีเดียทั่วไปในท้องตลาดของโฮมเธียเตอร์กัน นั่นคือ mkv และ mp4
ปัญหานี้มันอยู่ที่การจัดระบบการใช้งาน คิดว่าในอนาคตน่าจะดีขึ้น เพราะอะไรต่อมิอะไรก็ถูกลงมาก ค่อยๆ พัฒนาปรับการใช้งานกันไป สุดท้ายก็จะเป็นไปเหมือนระบบฟิล์มที่เป็นแนวทางเดียวกัน และแบ่งการใช้งานอย่างชัดเจน นั่นคือ Home กับ Professional ออกจากกัน ทางค่ายก็จะผลิตมาขายมากขึ้น เหมือนเครื่องฉายฟิล์ม
สำหรับที่ค่ายหนังที่เป็นสายหนังฟิล์มในอดีต ก็หายไปจากระบบกันเยอะ มีแต่หน้าใหม่ขึ้นมาแทนที่ในยุคของดิจิตอล สายหนังที่เคยมีสิทธิตรงนี้อยู่ ก็ให้ความสำคัญกับหนังกลางแปลงลดน้อยลง ทั้งๆ ที่ตัวเอง ก็มีหนังที่ได้สิทธิกับหนังกลางแปลงมาตลอด ด้วยทิศทางการจัดการของลูกน้องตัวเองทำให้แย่ลง จนคิดว่าควบคุมความปลอดภัยได้ยากสำหรับหนังกลางแปลงในยุคดิจิตอล ก็อยากให้เริ่มกลับมาทำใหม่ก็ดีนะ โดยเฉพาะโซนภาคกลางกับภาคเหนือ เพราะท่านก็ถือครองสิทธิ์หนังที่เจ้าของหนังกลางแปลงก็อยากจะฉายอยู่แล้วเป็นอีกทางเลือกหนึ่งซึ่งมีความมั่นคงมากกว่า
การนำพาหนังกลางแปลงที่เป็นวัฒนธรรมส่วนนีงในสังคมไทยมานาน จะดีได้หรือไม่ได้ หรือจะเป็นแค่ตำนาน อย่าขัดแย้งกันเอง หรือนำสิ่งที่ผิดมาป้ายสีกัน ปีใหม่แล้ว คิดให้ก้าวหน้า อย่าคิดถอยหลังเป็นเพียงแค่ตำนานครั้งหนึ่งให้ลูกหลานดู คอยจับตากันต่อไป...
วงการหนังกลางแปลง 2021
ปี 2021 วงการหนังกลางแปลง มีอะไรเปลี่ยนแปลงกันไปบ้าง ในยุคโควิด มันวุ่นวายกันจังเนอะ
ลิขสิทธิ์หนังต่างประเทศ
สำหรับกลางแปลง อดีตทำผิด.... ปัจจุบัน "พาศีกเข้าบ้านตัวเอง" ให้ฝรั่งเข้าดูแลหนังกลางแปลงประเทศไทยด้วย ก็เลยเป็นเรื่องถูกต้องกันไป
แต่ในขอบเขตหนังเก่า..ก็ดีที่มันถูกต้อง ส่งเสริมความมั่นใจในการใช้สิทธิ
แต่อดีตละที่ผ่านมา....... ???? เป็นที่รู้กัน และก็ดูกันไปกับคำว่า "ลืมอดีตมาเริ่มใหม่กันกับค่ายเดิม" อันนี้ไม่มั่นใจ เพราะไม่ทราบรูปแบบที่เขาทำกันต่อ เพียงแต่รู้แค่วงในของวงการที่เดินเรื่องกันแค่นั้น เรื่องการบริหารจัดการยังเป็นเรื่องของค่ายเดิม
ส่วนลิขสิทธิ์หนังในประเทศไทย สำหรับหนังไทย และหนังต่างประเทศของค่ายไทยที่ซื้อมาฉายโรงและพ่วงทุกอย่างในประเทศ รวมทั้งหนังกลางแปลงกัน มันก็ยังถูกต้องในขอบเขตของไทย หมดอายุค่ายนี้ก็ไปอยู่ค่ายใหม่ในหนังเรื่องเดิม ราคาไม่แรงกันมาก แต่ก็เป็น "ดาบสองคม" กับราคาจ้างหนังกลางแปลงกัน มีทั้งตัดราคาในการรับงาน เพราะทุกจอซื้อได้เหมือนกัน ทั้งที่มีข้อตกลงในเรื่องรับงานให้สมราคาหนังกัน แต่ให้ไปตีราคาคุณภาพของหน่วยหนังเอา แต่ความจริง...ก็ไม่ใช่อย่างที่เป็นกัน
เรื่องของอุปกรณ์การฉาย
Projector หลายค่าย ที่มุ่งมาหากินกับธุรกิจกลางแจ้ง โดยเฉพาะหนังกลางแปลงเป็นส่วนใหญ่เสียมาก
หลักๆ ที่เห็น Epson / Panasonic / Viewsonic / Acer / Sony และ ของนำเข้า จากจีนยี่ห้ออื่นๆ มุ่งกันเปลี่ยนแปลงจากหลอด Mercury ไปเป็น Laser กัน มีข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกันไปและลูกเล่นเพิ่มเติมในแต่ละค่าย
ส่วนคนนำมาขายก็มีหลายคน แข่งกันด้วยราคาและการบริการ ให้กับหนังกลางแปลงกับคนที่รู้และไม่รู้ในระบบกัน
เครื่องเล่นไฟล์
อดีตที่ผ่านมา จากเครื่องเล่นมัลติมีเดียตามบ้าน ก็เริ่มพัฒนาใช้งานให้เริ่มเป็นรูปแบบคุณภาพที่เทียบเท่าในการฉายแบบเดียวกับโรงภาพยนตร์ เพียงแต่รูปแบบการเล่นไฟล์ มีการใช้ไฟล์ DCP ที่ค่ายหนังอยากให้ใช้ หรือบังคับใช้กันให้เหมือนโรงภาพยนตร์ซึ่งมีคุณภาพสูงและปลอดภัย ทว่าการใช้งานยังมีน้อยอยู่ เพราะคนขายและคนซื้อหนังมาขาย อยากได้เงินที่ไว และสะดวกสำหรับคนที่ไม่มีเครื่องเล่น DCP ได้ฉายกัน ส่วนมากก็เล่นไฟล์มีเดียทั่วไปในท้องตลาดของโฮมเธียเตอร์กัน นั่นคือ mkv และ mp4
ปัญหานี้มันอยู่ที่การจัดระบบการใช้งาน คิดว่าในอนาคตน่าจะดีขึ้น เพราะอะไรต่อมิอะไรก็ถูกลงมาก ค่อยๆ พัฒนาปรับการใช้งานกันไป สุดท้ายก็จะเป็นไปเหมือนระบบฟิล์มที่เป็นแนวทางเดียวกัน และแบ่งการใช้งานอย่างชัดเจน นั่นคือ Home กับ Professional ออกจากกัน ทางค่ายก็จะผลิตมาขายมากขึ้น เหมือนเครื่องฉายฟิล์ม
สำหรับที่ค่ายหนังที่เป็นสายหนังฟิล์มในอดีต ก็หายไปจากระบบกันเยอะ มีแต่หน้าใหม่ขึ้นมาแทนที่ในยุคของดิจิตอล สายหนังที่เคยมีสิทธิตรงนี้อยู่ ก็ให้ความสำคัญกับหนังกลางแปลงลดน้อยลง ทั้งๆ ที่ตัวเอง ก็มีหนังที่ได้สิทธิกับหนังกลางแปลงมาตลอด ด้วยทิศทางการจัดการของลูกน้องตัวเองทำให้แย่ลง จนคิดว่าควบคุมความปลอดภัยได้ยากสำหรับหนังกลางแปลงในยุคดิจิตอล ก็อยากให้เริ่มกลับมาทำใหม่ก็ดีนะ โดยเฉพาะโซนภาคกลางกับภาคเหนือ เพราะท่านก็ถือครองสิทธิ์หนังที่เจ้าของหนังกลางแปลงก็อยากจะฉายอยู่แล้วเป็นอีกทางเลือกหนึ่งซึ่งมีความมั่นคงมากกว่า
การนำพาหนังกลางแปลงที่เป็นวัฒนธรรมส่วนนีงในสังคมไทยมานาน จะดีได้หรือไม่ได้ หรือจะเป็นแค่ตำนาน อย่าขัดแย้งกันเอง หรือนำสิ่งที่ผิดมาป้ายสีกัน ปีใหม่แล้ว คิดให้ก้าวหน้า อย่าคิดถอยหลังเป็นเพียงแค่ตำนานครั้งหนึ่งให้ลูกหลานดู คอยจับตากันต่อไป...