สถิติวิทยาศาสตร์ที่ถูกทำลาย


 เที่ยวบินของนกที่ยาวที่สุด


เมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2020 ในฤดูใบไม้ร่วงที่ผ่านมา นกปากแอ่นหางลาย (bar-tailed godwit /Limosa lapponica) ได้ทำลายสถิติโลกในการบินตรงที่ยาวที่สุดในบรรดานกเดินทางทั้งหมดที่รู้จัก  โดยออกเดินทางจากอลาสกาทางตะวันตกเฉียงใต้ บินตรงไปยังนิวซีแลนด์เป็นเวลา 11 วัน เป็นระยะทางประมาณ 7,581 ไมล์ (12,200 กม.)

องค์กรอนุรักษ์นก National Audubon Society ระบุว่า Bar-tailed godwits เป็นนกขนาดใหญ่ลำตัวสีน้ำตาลเหลืองและมีเสียงดัง และเป็นที่ทราบกันดีว่าในทุกปีจะมีการอพยพของนกที่น่าประทับใจระหว่างอลาสก้าและนิวซีแลนด์ โดยบินไปไกลหลายพันไมล์โดยไม่หยุดพัก  แต่มีนกชนิดหนึ่งที่ขับเคลื่อนด้วยลมตะวันออก ซึ่งทำให้การเดินทางของมันบินได้นานกว่านกชนิดอื่น ๆ ที่เป็นที่รู้จักในปัจจุบัน

โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ติดตามนกตัวผู้ตัวหนึ่งที่รู้จักกันในชื่อ "4BBRW ''  จากวงแหวนสีที่ขาของมันซึ่งเรียงซ้อนกันเป็นสามสี สีน้ำเงิน สีแดงและสีขาวผ่านแท็กดาวเทียมบนเครื่องบิน  ซึ่งพวกเขาได้จับและติดแท็กให้ 4BBRW พร้อมกับ  Bar-tailed godwits อีก 19 ตัวในอ่าว Firth of Thames ทางตะวันออกเฉียงใต้ของโอ๊คแลนด์ไว้แล้วในปี 2019

ตามรายงานของ The Guardian นักบินที่มีความอุตสาหะนี้ออกเดินทางจากอลาสก้าตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อวันที่ 16 ก.ย. หลังจากใช้เวลาสองสามเดือนเพื่อหาอาหารกินในโคลนของอลาสก้า แม้ว่า Godwits จะทำน้ำหนักในช่วงเวลานี้ แต่ก็เป็นที่รู้กันว่าในการบินอพยพนั้น อวัยวะภายในของพวกมันต้องหดตัวเพื่อให้ตัวเบาสำหรับการเดินทางไกล

Cr.ภาพ stuff.co.nz , flickr.com
หลังจากออกจากอลาสก้า Godwit ก็บินไปทางใต้เหนือหมู่เกาะ Aleutian และ11 วันต่อมา มันก็บินลงที่อ่าวใกล้โอ๊คแลนด์ในนิวซีแลนด์ โดยก่อนหน้านี้
เที่ยวบินที่ยาวที่สุดที่ถูกบันทึกไว้ในหมู่นกเป็นของ bar-tailed godwit ตัวเมียที่บินในระยะ 7,145 ไมล์ (11,500 กม.) ในวันที่ 9 ก.ย. ปี 2007
ตามบันทึกของ National Geographic

การเดินทางไกลของนกอพยพไม่เพียงแต่น่าประทับใจ แต่ยังมีความสำคัญทางวัฒนธรรมสำหรับผู้คนในนิวซีแลนด์ด้วย ซึ่งสำหรับชาวเมารีซึ่งเป็นชนพื้นเมืองโพลีนีเซียของนิวซีแลนด์  พวกมันเปรียบได้กับเทพเจ้าที่เรียกว่า "kuaka" (ภาษาเมารีของ Bar Tailed Godwit ) เป็นสัญญาณว่าโชคดีกำลังจะมาถึง และการกลับมาของ kuaka คือจุดเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ
 
ในวัฒนธรรมเมารีท้องถิ่น Kuaka ถือเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างสองซีกโลก เนื่องจากพวกมันเดินทางข้ามซีกโลกเพื่อหล่อเลี้ยงตัวเองก่อนกลับบ้าน
ส่วน 4BBRW และตัวอื่น ๆคาดว่า พวกมันน่าจะใช้บินลงใกล้กับประเทศจีนในทะเลเหลืองเพื่อให้อาหารกิน ประมาณหนึ่งเดือนก่อนจะเริ่มเดินทางกลับไปยังอลาสก้าในเดือนมีนาคม





siphonophore Apolemia ยักษ์


ในขณะที่สำรวจหุบเขาลึกนอกชายฝั่งออสเตรเลีย นักวิจัยได้ค้นพบสิ่งมีชีวิตที่มีความยาวเป็นพิเศษซึ่งอาจเป็น "สัตว์ที่ใหญ่และยาวที่สุดที่เคยค้นพบ"
พวกเขาระบุว่า สิ่งมีชีวิตชนิดนี้เรียกว่า " siphonophore " มีความยาว 150 ฟุต (45 ม.)  ประกอบด้วย multicellular เล็กๆจำนวนมากที่เรียกว่า "ซูอิด" (Zooid) ซึ่งเชื่อมต่อโดยตรงด้วยเนื้อเยื่อและมีการเคลื่อนไหวอย่างอิสระต่อกัน

มันอาศัยอยู่ในทะเลลึกกว่า 300 ม. บางชนิดสามารถเรืองแสงได้ โดยจับปลาและครัสเตเชียน (กุ้ง ปู แอมฟิพอด) เป็นอาหาร ชื่อภาษาละตินของมันแปลว่า Doubted Prayer  ในบทความงานวิจัยการค้นพบที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Developmental Dynamics ในปี 2005  ระบุว่ามันมีความยาวได้ถึง 130 ฟุต (40 เมตร) 

" siphonophore " ที่สร้างสถิติใหม่นี้ เป็นหนึ่งในการค้นพบหลายอย่างที่เกิดขึ้นโดยทีมงานบนเรือวิจัย Falkor ในขณะที่สำรวจหุบเขาทะเลลึกใกล้ชายฝั่ง Ningaloo ของออสเตรเลีย 


ปะการังบุปผาในความลึกของก้นบึ้งของชายฝั่งทางใต้ของออสเตรเลีย
ภาพ © ROV SuBastian / SOI


'สุสาน' ของปะการังในหุบเขา Leeuwin (Cr.ภาพ ROV SuBastian / SOI)


โดยนักวิจัยใช้ยานพาหนะที่ดำเนินการจากระยะไกลที่เรียกว่า ROV SuBastian เพื่อสำรวจและเก็บตัวอย่างจากพื้น
ใต้ทะเลลึกที่ไม่เคยมีการตรวจสอบมาก่อน  และในครั้งเดียวกันนี้ ทีมนักวิจัยที่ใช้ ROV ยังได้ค้นพบสวนและสุสานของปะการังในหุบเขาใต้น้ำ 3 แห่ง
นอกออสเตรเลียใต้ในเวลานั้นด้วย  (ทีมงานได้แถลงการณ์ไว้ในเดือนมี.ค. 2020)
 
การวิจัยได้รับทุนจาก Schmidt Ocean Institute และในระหว่างการเดินทางครั้งล่าสุดผ่านน่านน้ำนอกออสเตรเลียตะวันตก  นักวิจัยยังได้ค้นพบฟองน้ำแก้วขนาดใหญ่ และสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ  นอกจากนี้ ยังพบตัวอย่างที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาของสกุล Apolemia ประเภท siphonophore ยักษ์ด้วย






ฝาแฝดที่เก่าแก่ที่สุด


หลุมฝังศพถูกพบในปี 2005 มีการฝังศพรูปวงรีอายุ 31,000 ปีที่พบในแหล่งโบราณคดี Krems-Wachtberg ในออสเตรีย และพบศพทารกคนที่สามในบริเวณใกล้เคียง โดยซากทารกแฝดที่เหมือนกันน่าจะเป็นแฝดที่เก่าแก่ที่สุดในโลก 

ในการวิเคราะห์ใหม่ นักวิจัยใช้ดีเอ็นเอโบราณเพื่อยืนยันว่าทารกเป็นฝาแฝดที่เหมือนกัน และน่าจะเป็นลูกพี่ลูกน้องของทารกอายุ 3 เดือนที่ค้นพบในสถานที่ฝังศพในบริเวณใกล้เคียง  โดยหนึ่งในเด็กทารกที่เสียชีวิตหลังจากการคลอดไม่นาน  ในขณะที่น้องชายฝาแฝดของเขามีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 50 วันหรือมากกว่า 7 สัปดาห์ จากการศึกษาที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2020 ในวารสาร journal Communications Biology

การฝังศพอายุ 31,000 ปีมีขึ้นในยุคหินตอนบน (ระยะเวลายาวนานตั้งแต่ 40,000 ถึง 10,000 ปีก่อน) หรือที่เรียกว่ายุคหินเก่า  ซึ่งนักวิจัยพบการฝังศพรูปวงรีของฝาแฝดที่ถูกปกคลุมด้วย " ochre " (สีที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในเวลานานๆ) นักวิจัยยังพบว่าในหลุมฝังศพฝาแฝด มีลูกปัด 53 เม็ดที่ทำจาก
งาช้างแมมมอธซึ่งครั้งหนึ่งอาจเคยเป็นสร้อยคอ, ฟันเขี้ยวจิ้งจอกและหอยสามตัวที่เจาะรูที่อาจเป็นจี้ของสร้อย  โดยมีกระดูกมหึมาของแมมมอธวางไว้เหนือที่ฝังศพปกป้องร่างเล็ก ๆ ที่ฝังอยู่ใต้มันตลอดหลายพันปี 

 
เครื่องประดับของฝาแฝด ได้แก่ ลูกปัดงาช้างแมมมอ ธ (บนและล่างซ้าย) ฟันเขี้ยวจิ้งจอกเจาะรู (ขวาสุด) และหอยเจาะรูสามตัว (ที่สองไปขวา)
Cr.ภาพ OREA ÖAW
 
นักวิจัยกล่าวว่า ในหลุมฝังศพของทารกอีกคนในบริเวณใกล้เคียงยังมีหมุดงาช้างแมมมอธ ยาว 3 นิ้ว (8 ซม.) ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้ตกแต่งเสื้อผ้าในขณะฝังศพ การค้นพบดังกล่าวกลายเป็นหัวข้อข่าวไม่นานหลังจากการค้นพบ  ซึ่งนักวิจัยยังได้สร้างแบบจำลองของการฝังศพของฝาแฝดโดยจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติเวียนนาในปี 2013

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ยังคงต้องเรียนรู้อีกมากเกี่ยวกับการฝังศพในสมัยโบราณ ดังนั้นในโครงการใหม่นี้กลุ่มนักวิจัยสหวิทยาการได้ร่วมมือกันเพื่อถอดรหัสความสัมพันธ์ระหว่างทารกทั้งสามนี้และกำหนดเพศและอายุของพวกเขาเมื่อเสียชีวิตต่อไป นักวิจัยกล่าวว่าการศึกษานี้ เป็นครั้งแรกที่ใช้ DNA โบราณเพื่อยืนยันฝาแฝดในบันทึกทางโบราณคดี

และกรณีนี้ไม่เพียงแต่ฝาแฝดแท้  แต่ยังเป็น "หลักฐานการเกิดแฝดที่เก่าแก่ที่สุด"  โดยนักวิจัยอาวุโส Ron Pinhasi รองศาสตราจารย์ภาควิชาชีววิทยาวิวัฒนาการของมหาวิทยาลัยเวียนนากล่าว่า  นักวิจัยไม่ทราบว่ามีการเกิดฝาแฝดที่พบบ่อยแค่ไหนในช่วงยุคบรรพกาลตอนบน แต่ทุกวันนี้ฝาแฝดที่เป็นพี่น้องกันเกิดขึ้นประมาณหนึ่งใน 85 คน ในขณะที่แฝดจากไข่ใบเดียวกันจะเกิดประมาณหนึ่งใน 250 คน





ความเร็วเสียงที่เร็วที่สุด


นักวิทยาศาสตร์ค้นพบความเร็วของเสียงที่เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในทุกสื่อ คือ 22 ไมล์ต่อวินาที (36 กม. / วินาที) ซึ่งเสียงสามารถเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่ามันเคลื่อนที่ผ่านวัสดุใด ตัวอย่างเช่น เสียงเดินทางได้เร็วขึ้นในของเหลวที่อุ่นกว่าเมื่อเทียบกับเสียงที่เย็นกว่า

นอกจากนี้ เสียงยังสามารถเดินทางด้วยความเร็วที่แตกต่างกันในของแข็ง เมื่อเทียบกับของเหลวเทียบกับก๊าซ  จากการคำนวณชี้ให้เห็นว่า เสียงเดินทางเร็วที่สุดในอะตอมที่มีมวลต่ำสุด ดังนั้น เพื่อหาความเร็วสูงสุดที่เสียงสามารถเดินทางได้  นักวิจัยกลุ่มหนึ่งจึงคำนวณความเร็วของเสียงผ่านอะตอมของไฮโดรเจนที่เป็นของแข็ง

ไฮโดรเจนเป็นอะตอมที่มีมวลต่ำที่สุด แต่ไม่เป็นของแข็งเว้นแต่จะอยู่ภายใต้ความกดดันอันยิ่งใหญ่ ที่แข็งแกร่งกว่าชั้นบรรยากาศของโลกถึงล้านเท่า
ในเงื่อนไขที่เฉพาะเจาะจงนี้ นักวิจัยพบว่า เสียงสามารถเดินทางได้ใกล้ถึงขีดจำกัดทางทฤษฎีคือ 79,200 ไมล์ต่อชม. (127,460 กม. / ชม.)
ซึ่งเป็นการยืนยันการคำนวณเบื้องต้น ในขณะที่ความเร็วของเสียงในอากาศอยู่ที่ประมาณ 767 ไมล์ต่อชั่วโมง (1,235 กม. / ชม.) ผลการวิจัยนี้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร  Science Advances เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2020 

โดยงานวิจัยชี้ว่า ไฮโดรเจนอะตอมเป็นของแข็งที่อาจเป็นตัวนำยิ่งยวด ดังนั้น การรู้คุณสมบัติพื้นฐานของมันอาจมีความสำคัญสำหรับการวิจัยด้านตัวนำยวดยิ่งในอนาคต  นอกจากนี้ เสียงยังสามารถเปิดเผยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการผสมผสานที่ร้อนแรงของ quarks และ gluons (ควาร์กและกลูออน) ที่ประกอบขึ้นเป็นเอกภพในทันทีหลังจากบิ๊กแบง และสามารถนำไปใช้กับฟิสิกส์แปลก ๆ รอบหลุมแรงโน้มถ่วงที่เป็นหลุมดำ
 


Cr.http://www.kuaka.co.nz/story-of-the-kuaka
Cr.https://www.livescience.com/fastest-speed-of-sound-measured.html

(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)


แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่