โรหิตัสสวรรคที่ ๕
สมาธิสูตร
[๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
- สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันมีอยู่ ๑
- สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ๑
- สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ ๑
- สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะมีอยู่ ๑
1. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็น สุขในปัจจุบันเป็นไฉน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็น ธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร
เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌานที่พระอริยะสรรเสริญว่า ผู้ ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
บรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละ ทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
ได้มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ อยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
2. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะเป็นไฉน ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลกสัญญา อธิษฐานทิวาสัญญา ว่า กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือน กลางคืน มีใจอันสงัด ปราศ จากเครื่องรัดรึง อบรมจิตให้มีความสว่างอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ
3. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคล เจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะเป็นไฉน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
- รู้แจ้งเวทนาที่เกิดขึ้น......รู้แจ้งเวทนาที่ตั้งอยู่......รู้แจ้งเวทนาที่ดับไป
- รู้แจ้งสัญญาที่เกิดขึ้น......รู้แจ้งสัญญาที่ตั้งอยู่......รู้แจ้งสัญญาที่ดับไป
- รู้แจ้งวิตกที่เกิดขึ้น..........รู้แจ้งวิตกที่ตั้งอยู่..........รู้แจ้งวิตกที่ดับไป
ดูกรภิกษุทั้ง หลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ
4.
ดูกรภิกษุทั้งหลายก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้น อาสวะเป็นไฉน ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปใน อุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า
- รูปเป็นดังนี้..............ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้.................ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้
- เวทนาเป็นดังนี้.........ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นดังนี้...........ความดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้
- สัญญาเป็นดังนี้.........ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นดังนี้...........ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้
- สังขารเป็นดังนี้..........ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นดังนี้...........ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้
- วิญญาณเป็นดังนี้.......ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้........ความดับ แห่งวิญญาณเป็นดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ
ดูกรภิกษุทั้งหลายสมาธิภาวนา ๔ ประการนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง คำต่อไปนี้ เรากล่าวแล้วในปุณณปัญหาในปรายนวรรค
หมายเอาข้อความนี้ว่า ความหวั่นไหวไม่มีแก่บุคคลใด ในโลกไหนๆ เพราะ รู้ความสูงต่ำในโลก
บุคคลนั้นเป็นผู้สงบปราศจากควันคือ ความโกรธ เป็นผู้ไม่มีความคับแค้น เป็นผู้หมดหวัง
เรากล่าวว่า ข้าม ชาติและชราได้แล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๑
https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=21&A=1188&Z=1233
สรุป...
1. อย่างที่ผมว่า... สมาธิที่จะทำให้สินอาสวะในปริยยาอื่นๆ ต่างจาดสิ่งที่ตนรู้-ตนเข้าใจ..มันก็มีอยู่ ก็ดูสมาธิสูตรนี้เป็นตัวอย่าง
สมาธิที่เรียกว่า " ปฐมฌาน-ทุติยฌาน-ตติยฌาน-จตุตถฌาน "....พระศาสาสดาในพระสูตรนี้พระองค์เรียก " สมาธิภาวนาที่..ให้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน "
ไม่เรียกว่าสมาธิที่จะทำให้สินอาสวะ.... แต่กลับไปเรียกสมาธิภวนาแบบที่4..คือการพิจารณาขันธ์๕..ว่านี่หละกระทำให้มาก..จะทำให้สิ้นอาสวะหละ
ถ้ายังจำกันได้... พระศาสาดาท่านกล่าวถึงผู้ปฏิบัติ 4 แบบ คือ
- ปฏิบัติสบายบรรลุช้า <----ได้..ฌานเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
- ปฏิบัติลำบากบรรลุช้า <----ไม่ได้..ฌานเป็นปกติ..เป็นเครื่องอยู่
- ปฏิบัติสบายบรรลุเร็ว <----ได้..ฌานเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
- ปฏิบัติลำบากบรรลุดร็ว <----ไม่ได้..ฌานเป็นปกติ..เป็นเครื่องอยู่
ปล. ผู้ปฏิบัติลำบากไม่ได้ฌาน....
แต่ตอนบรรลุอรหันต์...จิตจะเข้าสู่วิตก-วิจาร-ปิติ~สุข-ปัสสทิ-เป็นสมาธิปฐมฌาน...แล้วหลุดพ้น
2. จะเห็นว่า...หากได้ฌานทั้ว 4 แล้วยังไม่ไปพิจารณในขันธ์๔ ว่ามันเป็นอย่างไร? เกิดมาจากอะไรเป็นปัจจัย? ดับไปอย่างไร?..
สมาธิแบบนี้ก็เป็นสมาธิที่จะทำให้อยู่เป็นสุขในปัจจุบันเท่านั้น....จะยังไม่เป็นสมาธิภ่วนาที่จะทำให้สิ้นอาสวะ..
3. การกระทำสมาธิภาวนาแบบที่4..คือการพิจารณขันธ์๕..นี่หละจะทำให้สิ้นอาสวะได้
แต่ตอนบรรลุอรหันต์...การภาวนาของท่าน..จิตจะเข้าสู่วิตก-วิจาร-ปิติ~สุข-ปัสสทิ-เป็นสมาธิปฐมฌาน...แล้วหลุดพ้น
รูปเป็นดังนี้...........
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่ารูป
เพราะสลายไป จึงเรียกว่า รูป
สลายไปเพราะอะไร สลายไปเพราะหนาวบ้าง เพราะร้อนบ้าง เพราะหิวบ้าง เพราะกระหายบ้าง เพราะสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง.
เวทนาเป็นดังนี้...
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไร จึงเรียกว่า เวทนา
เพราะเสวย จึงเรียกว่า เวทนา
เสวยอะไร เสวยอารมณ์สุขบ้าง เสวย อารมณ์ทุกข์บ้าง เสวยอารมณ์ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขบ้าง.
สัญญาเป็นดังนี้....
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไร จึงเรียก ว่า สัญญา
เพราะจำได้หมายรู้ จึงเรียกว่า สัญญา
จำได้หมายรู้อะไร จำได้หมายรู้สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง
สังขารเป็นดังนี้.....
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่า สังขาร
เพราะ ปรุงแต่งสังขตธรรม จึงเรียกว่า สังขาร
ปรุงแต่งสังขตธรรมอะไร
- ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ รูป โดยความเป็นรูป
- ปรุงแต่ง สังขตธรรม คือ เวทนา โดยความเป็นเวทนา
- ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ สัญญา โดยความเป็นสัญญา
- ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ สังขาร โดยความเป็นสังขาร
- ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ วิญญาณ โดยความเป็นวิญญาณ
วิญญาณเป็นดังนี้...
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียก ว่า วิญญาณ
เพราะรู้แจ้ง จึงเรียกว่า วิญญาณ
รู้แจ้งอะไร รู้แจ้งรสเปรี้ยวบ้าง รสขมบ้าง รสเผ็ดบ้าง รสหวานบ้าง รสขื่นบ้าง รสไม่ขื่นบ้าง รสเค็มบ้าง รสไม่เค็มบ้าง.
การเกิดขึ้น--ดับไป..ของแต่ละขันธ์...จะมีรายละเอียดตามตารางนี้..ครับ
สมาธิภาวนา 4 แบบ.. อย่าไปคิดว่า " อย่างนี้เท่านี้จริง...อย่างอื่นไม่ใช่ "...ซิครับ
สมาธิสูตร
[๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
- สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันมีอยู่ ๑
- สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ๑
- สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ ๑
- สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะมีอยู่ ๑
1. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็น สุขในปัจจุบันเป็นไฉน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็น ธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร
เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌานที่พระอริยะสรรเสริญว่า ผู้ ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
บรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละ ทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
ได้มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ อยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
2. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะเป็นไฉน ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลกสัญญา อธิษฐานทิวาสัญญา ว่า กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือน กลางคืน มีใจอันสงัด ปราศ จากเครื่องรัดรึง อบรมจิตให้มีความสว่างอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ
3. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคล เจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะเป็นไฉน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
- รู้แจ้งเวทนาที่เกิดขึ้น......รู้แจ้งเวทนาที่ตั้งอยู่......รู้แจ้งเวทนาที่ดับไป
- รู้แจ้งสัญญาที่เกิดขึ้น......รู้แจ้งสัญญาที่ตั้งอยู่......รู้แจ้งสัญญาที่ดับไป
- รู้แจ้งวิตกที่เกิดขึ้น..........รู้แจ้งวิตกที่ตั้งอยู่..........รู้แจ้งวิตกที่ดับไป
ดูกรภิกษุทั้ง หลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ
4. ดูกรภิกษุทั้งหลายก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้น อาสวะเป็นไฉน ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปใน อุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า
- รูปเป็นดังนี้..............ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้.................ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้
- เวทนาเป็นดังนี้.........ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นดังนี้...........ความดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้
- สัญญาเป็นดังนี้.........ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นดังนี้...........ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้
- สังขารเป็นดังนี้..........ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นดังนี้...........ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้
- วิญญาณเป็นดังนี้.......ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้........ความดับ แห่งวิญญาณเป็นดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ
ดูกรภิกษุทั้งหลายสมาธิภาวนา ๔ ประการนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง คำต่อไปนี้ เรากล่าวแล้วในปุณณปัญหาในปรายนวรรค
หมายเอาข้อความนี้ว่า ความหวั่นไหวไม่มีแก่บุคคลใด ในโลกไหนๆ เพราะ รู้ความสูงต่ำในโลก
บุคคลนั้นเป็นผู้สงบปราศจากควันคือ ความโกรธ เป็นผู้ไม่มีความคับแค้น เป็นผู้หมดหวัง
เรากล่าวว่า ข้าม ชาติและชราได้แล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๑
https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=21&A=1188&Z=1233
สรุป...
1. อย่างที่ผมว่า... สมาธิที่จะทำให้สินอาสวะในปริยยาอื่นๆ ต่างจาดสิ่งที่ตนรู้-ตนเข้าใจ..มันก็มีอยู่ ก็ดูสมาธิสูตรนี้เป็นตัวอย่าง
สมาธิที่เรียกว่า " ปฐมฌาน-ทุติยฌาน-ตติยฌาน-จตุตถฌาน "....พระศาสาสดาในพระสูตรนี้พระองค์เรียก " สมาธิภาวนาที่..ให้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน "
ไม่เรียกว่าสมาธิที่จะทำให้สินอาสวะ.... แต่กลับไปเรียกสมาธิภวนาแบบที่4..คือการพิจารณาขันธ์๕..ว่านี่หละกระทำให้มาก..จะทำให้สิ้นอาสวะหละ
ถ้ายังจำกันได้... พระศาสาดาท่านกล่าวถึงผู้ปฏิบัติ 4 แบบ คือ
- ปฏิบัติสบายบรรลุช้า <----ได้..ฌานเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
- ปฏิบัติลำบากบรรลุช้า <----ไม่ได้..ฌานเป็นปกติ..เป็นเครื่องอยู่
- ปฏิบัติสบายบรรลุเร็ว <----ได้..ฌานเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
- ปฏิบัติลำบากบรรลุดร็ว <----ไม่ได้..ฌานเป็นปกติ..เป็นเครื่องอยู่
ปล. ผู้ปฏิบัติลำบากไม่ได้ฌาน....
แต่ตอนบรรลุอรหันต์...จิตจะเข้าสู่วิตก-วิจาร-ปิติ~สุข-ปัสสทิ-เป็นสมาธิปฐมฌาน...แล้วหลุดพ้น
2. จะเห็นว่า...หากได้ฌานทั้ว 4 แล้วยังไม่ไปพิจารณในขันธ์๔ ว่ามันเป็นอย่างไร? เกิดมาจากอะไรเป็นปัจจัย? ดับไปอย่างไร?..
สมาธิแบบนี้ก็เป็นสมาธิที่จะทำให้อยู่เป็นสุขในปัจจุบันเท่านั้น....จะยังไม่เป็นสมาธิภ่วนาที่จะทำให้สิ้นอาสวะ..
3. การกระทำสมาธิภาวนาแบบที่4..คือการพิจารณขันธ์๕..นี่หละจะทำให้สิ้นอาสวะได้
แต่ตอนบรรลุอรหันต์...การภาวนาของท่าน..จิตจะเข้าสู่วิตก-วิจาร-ปิติ~สุข-ปัสสทิ-เป็นสมาธิปฐมฌาน...แล้วหลุดพ้น
รูปเป็นดังนี้...........
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เวทนาเป็นดังนี้...
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สัญญาเป็นดังนี้....
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สังขารเป็นดังนี้.....
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
วิญญาณเป็นดังนี้...
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
การเกิดขึ้น--ดับไป..ของแต่ละขันธ์...จะมีรายละเอียดตามตารางนี้..ครับ