JJNY : ปีที่แสนเหนื่อยของนักกม.ทนายสิทธิฯ/อสังหาฯหวั่นกำลังซื้อดิ่ง/จีนกั้นลวดหนามกันโควิดจากเมียนมา/ฝ่ายค้านนัดหารือ

ปีที่แสนเหนื่อย ของนักกฎหมาย ทนายสิทธิฯ ‘ใครไม่เหนื่อยคือคุณไม่ทำงาน’
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2498830

“ปีหน้า แน่นอนว่ามันก็จะมีอะไรที่เราไม่คิดว่ามันจะเกิดขึ้นได้มาก่อน แล้วมันจะเกิดขึ้นอีก ปีหน้าใครทำงานด้านประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน เหนื่อยแน่นอน ใครไม่เหนื่อยคือคุณไม่ทำงาน ใครทำงานมานานแล้วก็ห้ามลาออก วอร์มไว้ครับผม”
 
คือคำกล่าวตอนหนึ่งของ ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ “ไอลอว์” ที่บอกกล่าวในค่ำคืนหนึ่งก่อนถึงศักราชใหม่เพียง 1 สัปดาห์ ในวงสนทนา Friday Night Rights: Why our Movement Matters ซึ่งจัดขึ้นโดย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล ประเทศไทย หนึ่งในองค์กรหลักด้านสิทธิมนุษยชน ณ คาเฟ่ ย่านลาดพร้าวในบรรยากาศชิลๆ ทว่า ถ้อยคำที่พรั่งพรูจากปากนักกิจกรรม ตัวแทนองค์กรไม่แสวงผลกำไร นักเคลื่อนไหว ทนายความ ฯลฯ มีทิศทางตรงกันข้ามด้วยเนื้อหาเข้มข้นในสถานการณ์ของสังคม การเมือง ตลอดปี 2563
 
ปีที่ได้เห็น ‘ในสิ่งที่ไม่เคยคิดว่าจะได้เห็น’
 
ยิ่งชีพ ประมวลสถานการณ์ ก่อนบอกเล่าความในใจว่า 2563 คือปีที่ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยคิดว่าจะได้เห็น ปีที่เกิดสิ่งที่ไม่เคยคิดว่าจะเกิดได้ แต่ก็เกิดให้ประจักษ์แก่สายตา
 
เป็นปีที่เราได้เห็นอะไรหลายๆ อย่างที่เราไม่เคยคิดว่าจะได้เห็น และไม่เคยคิดว่ามันจะเกิดขึ้นได้ เช่น การชุมนุมทางการเมืองครั้งใหญ่ในสถานที่สำคัญทั่วประเทศ การชุมนุมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยจากการยุบพรรคอนาคตใหม่ การลงชื่อแก้รัฐธรรมนูญแสนรายชื่อ การชุมนุมแฟลชม็อบแบบไม่มีแกนนำ การเปิดหน้าเล่นของผู้มีอำนาจ สำนักข่าวฝ่ายอนุรักษนิยมปรับเปลี่ยนแนวทางนำเสนอข่าวให้เป็นกลางมากขึ้น” ผู้จัดการไอลอว์ ผู้เคยตากแดดถือโทรโข่งชวนผู้คนลงชื่อร่วมแก้รัฐธรรมนูญได้กว่าแสนราย ผู้เคยขึ้นเวทีปราศรัย และผู้เคยเปิดไมค์ในสภาแจงรายละเอียดร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่ถูกตีตกกล่าว
 
ด้าน เพชรรัตน์ ศักดิ์ศิริเวทย์กุล หัวหน้าฝ่ายรณรงค์ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล ประเทศไทย ที่มีอีกหนึ่งบทบาท คือการเป็นตัวแทนกลุ่ม Mob Data Thailand ซึ่งจับมือกับไอลอว์เปิดเว็บไซต์ mobdatathailand.org สำหรับเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการถูกละเมิดหรือการถูกคุกคามในพื้นที่ชุมนุม ที่เรียกว่า “Mob Data” โดยหวังว่าจะเป็นเครื่องมือที่ทำให้ข้อมูลถูกส่งไปถึงรัฐบาล เพื่อนำไปสู่การวิจัยหรือวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคต
 
ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา มีการชุมนุมเกิดขึ้นประมาณ 430 ครั้ง และตั้งแต่เดือนกันยายน-ธันวาคม มีการชุมนุมเกิดขึ้นถึง 277 ม็อบ ดังนั้น เมื่อการชุมนุมขยายตัวมากขึ้น การมีอาสาสมัครที่เข้าไปช่วยเก็บข้อมูลจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในการเก็บข้อมูล เราเหมือนเป็นคนที่ไม่มีตัวตนอยู่ตรงนั้น แต่เป็นคนที่ทำให้รัฐรู้ว่า มีคนมองอยู่นะ การที่มีผู้สังเกตการณ์ การที่เราใส่เสื้อการ์ดสีเขียว บอกว่ามีคนข้างนอก มีชาวโลกมองอยู่ว่าตอนนี้คุณกำลังทำอะไรอยู่ การที่คุณฉีดน้ำใส่ หรือว่าการที่คุณมีจำนวนตำรวจที่มากกว่าความจำเป็น คำถามต่อมาก็คือ รัฐใช้ความรุนแรงหรือใช้มาตรฐานสากลที่ยอมรับกันทั่วโลกจริงหรือเปล่า การเก็บข้อมูลพวกนั้นมันจึงสำคัญมากๆ” เพชรรัตน์กล่าว
 
อีกหนึ่งนักกิจกรรมที่เริ่มจากการเข้าสังเกตการณ์การชุมนุมของคนรุ่นใหม่ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2563 คือ รวงทัพพ์ แก้วแกมจันทร์ ผู้ก่อตั้งกลุ่ม “หิ่งห้อยน้อย” และสร้างสรรค์โครงการ Child in Mob หลังได้รับฟังเรื่องราวของเด็กๆ ที่เข้าร่วมชุมนุม ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่ถูกครูในโรงเรียนคุกคาม จากการแสดงออกทางการเมือง เด็กที่มาชุมนุมโดยที่ไม่ได้แจ้งพ่อแม่ผู้ปกครอง รวมไปถึงการที่เยาวชนต้องตกอยู่ในสถานการณ์การสลายการชุมนุมด้วยความรุนแรง ซึ่งกรณีเหล่านี้ทำให้รู้สึกว่าจำเป็นต้องทำอะไรสักอย่าง เพื่อให้เด็กเหล่านี้รู้สึกปลอดภัยเมื่อมาชุมนุม นำไปสู่การแจกแถบสีต่างๆ ให้เด็กและเยาวชน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้คนทั่วไปรู้ว่ามีเด็กอายุน้อยๆ อยู่ในการชุมนุม และร่วมกันปกป้องเด็กเหล่านี้
 
ถ้ามันเป็นอะไรก็ตามที่เป็นผลประโยชน์ของเด็ก ผู้ใหญ่อย่างเรานี่แหละต้องปกป้องดูแล และให้ความปลอดภัย” รวงทัพพ์กล่าวหนักแน่น
  
ชัยชนะเล็กๆ ในสมรภูมิเจรจา ‘วันข้างหน้ามันจะเป็นเครื่องมือสำคัญ’
  
ในขณะที่ ชลธิชา แจ้งเร็ว หรือลูกเกด นักกิจกรรมทางการเมืองที่มีบทบาทมาตั้งแต่ช่วงหลังรัฐประหาร ปี 2557 กระทั่งเป็นหนึ่งใน “ทีมเจรจา” กับเจ้าหน้าที่ตำรวจให้เปิดพื้นที่ในการชุมนุมของกลุ่มราษฎร ใน พ.ศ.2563 เปิดใจว่า หน้าที่ของทีมเจรจาคือการยืนยันว่า “สิทธิในการชุมนุมโดยสงบเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน
  
หน้าที่หลักๆ ของเรามีอยู่ 2 อย่าง ข้อแรกคือการไปยืนอยู่ด้านหน้าตำรวจแล้วบอกว่าเรามีสิทธิที่จะชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ข้อที่สองที่สำคัญและอยากจะเชิญชวนทุกคน คือช่วยกันตรวจสอบและเตือนสติเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า สิทธิในการชุมนุมโดยสงบเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่เจ้าหน้าที่ต้องให้การเคารพ คุ้มครอง และอำนวยความสะดวกให้ หลังจากที่เจรจาหลายๆ ครั้ง เราพูดคำนี้กรอกหูเจ้าหน้าที่ตำรวจบ่อยครั้งว่า พี่ต้องอำนวยความสะดวกนะ แล้ววันนี้มันประสบความสำเร็จแล้วค่ะ เขากล้าที่จะยอมรับแล้วว่าเขามีหน้าที่ในการอำนวยความสะดวก อันนี้เป็นชัยชนะเล็กๆ ที่เราได้มาจากการทำหน้าที่ตรงนี้ ถ้าเราช่วยกันยืนยันสิทธิของเรา วันข้างหน้ามันจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ประชาชนอย่างพวกเราจะใช้ต่อต้านผู้มีอำนาจได้ แล้วเราจะทำให้ตำรวจที่เป็นปฏิปักษ์กับการใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ กลับมาอยู่ในร่องในรอยอีกครั้งหนึ่ง” ลูกเกดเล่าถึงการทำงานทางการทูตระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่รัฐ
 
ปีเดียว 146 คดี กฎหมายล้าหลัง กับสิทธิที่ต้องยืนยัน
 
อีกหนึ่งองค์กรสำคัญยิ่ง วิ่งรอกช่วยเหลือราษฎรและเยาวชนจนเป็นภาพคุ้นตาในปี 2563 คือ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งก่อตั้งขึ้นหลังการรัฐประหาร ปี 57 ให้การช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิหรือได้รับผลกระทบทางคดีและกฎหมาย
 
เราทำงานมาปีนี้เข้าปีที่ 7 จำนวนคดีในปีนี้มี 146 คดี ซึ่ง 6 ปีก่อนหน้านี้ที่เราทำงานกันมา เต็มที่คือประมาณ 30-40 คดี นั่นแสดงว่า ปีนี้ปีเดียวเท่ากับ 5-6 ปีที่ทำงานมาเลย เป็นจำนวนตัวเลขที่มันมากขึ้น เนื่องจากกฎหมายที่นำมาใช้ในปัจจุบัน ต่างชาติเรียกว่า Draconian Law เป็นกฎหมายที่ล้าหลัง ในวันนี้เราก็ขอเป็นอีกหนึ่งแรงสนับสนุนการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกทางการเมือง การใช้สิทธิในการชุมนุมของน้องๆ เยาวชนหรือประชาชนทั่วไป เรายืนยันว่ามันเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้แล้วก็ไม่ควรจะเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย” ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ทนายความจากศูนย์ทนายสิทธิฯ จับไมค์เล่า
 
ยังอยู่ที่มุมมองทางกฎหมาย ซึ่งต้องผายมือไปที่ ดร.พัชร์ นิยมศิลป อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่คุ้นตาผ่านหน้าจอจากเฟซบุ๊กไลฟ์ในประเด็นน่าสนใจของแอมเนสตี้ ไทยแลนด์
 
การต่อสู้เรียกร้องทางการเมืองนั้นสามารถทำได้หลายวิธี และคนรุ่นใหม่ใช้การชุมนุมสาธารณะในการสื่อสารความต้องการของตนเอง ส่งผลให้เกิดการต่อสู้ทางความคิด และการเสนอแนวคิดใหม่ๆ ซึ่งการชุมนุมก็มีประโยชน์หลายอย่าง ได้แก่ เป็นการเปิดช่องทางให้เกิดการค้นหาความจริง สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่มาชุมนุมด้วยกัน เป็นการสนับสนุนการมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย สร้างแนวคิดการอดทนอดกลั้นให้แก่สังคม และสร้างอัตตาณัติ (autonomy) ให้กับผู้ที่เข้าร่วมการชุมนุม ทำให้ผู้ชุมนุมรู้สึกว่ามีตัวตนอยู่ในสังคม อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการต่อสู้นั้น สิ่งที่คนรุ่นใหม่ควรคำนึงถึงก็คือ การชุมนุมต้องเป็นไปอย่างสงบและปราศจากอาวุธ
 
กฎหมายรับรองเฉพาะการชุมนุมด้วยความสงบและปราศจากอาวุธ ทั้งในระดับนานาชาติและระดับประเทศ กฎหมายไม่ได้ใช้คำว่าสันติวิธี ฉะนั้น ในการจัดการชุมนุมสาธารณะ เขามีความรับผิดชอบทั้งต่อผู้ที่จัดการชุมนุมด้วยกัน และความรับผิดชอบต่อผู้ที่เข้ามาร่วมการชุมนุม ดังนั้น เงื่อนไขข้อนี้ต้องจับให้เป็นหลัก ก็คือ ต้องเป็นการชุมนุมโดยสงบ แล้วกฎหมายจะคุ้มครองคุณ” ดร.พัชร์ระบุ
  
40 ปีที่ฟันฝ่า ปีหน้าก็ต้องสู้!
  
ปิดท้ายที่คุณหมอขวัญใจม็อบ นพ.ทศพร เสรีรักษ์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคไทยรักษาชาติ ในฐานะ “แพทย์อาสา” ในพื้นที่ชุมนุม มีบทบาทโดดเด่นในการช่วยเหลือเยาวชน และผู้ได้รับบาดเจ็บ แวะเวียนไปเยี่ยมในโรงพยาบาล บ้านพัก พร้อมอัพเดตผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ยังไม่นับการวาดภาพ ชวนร้องเพลงสุขสันต์วันเกิดให้ผู้ชุมนุมจนถึงเป่าเค้กกับเยาวชนกลุ่ม “นักเรียนเลว” หน้า สน.ลุมพินี
  
ย้อนไปก่อนช่วงม็อบเป็ดยางดุเดือด หมอทศพรเคยนำภาพวาดไปประมูลบนฟุตปาธหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เมื่อเดือนพฤษภาคม 2563 เพื่อนำเงินไปมอบให้ครอบครัวของ “ปลายฝน” หญิงวัย 20 ปี ที่ตัดสินใจจบชีวิตตัวเองจากวิกฤตโรคโควิด-19 นำมาซึ่งการถูกดำเนินคดีข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตามด้วยคดีอื่นๆ อีก 6 คดี
 
ย้อนไปก่อนหน้านั้นอีก หมอทศพรเล่าว่าเคยเคลื่อนไหวทางการเมือง ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี นับตั้งแต่เป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งผ่านเหตุการณ์รุนแรงครั้งประวัติศาสตร์อย่างเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 รวมทั้งเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535 ก่อนที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อปี 2539 กระทั่งฝ่ามรสุมในบทบาท ส.ส. ที่ถูกยุบพรรคและตัดสิทธิทางการเมืองหลายต่อหลายครั้ง
 
“ก่อนเราจะมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เรามีความเชื่อว่า การเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะสามารถแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง พอเป็นสมัยที่สอง เราก็รู้ว่าการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแก้ปัญหาได้แค่บางอย่าง พอเป็นสมัยที่ 3 เราก็รู้ว่า ส.ส. แก้ปัญหาอะไรไม่ได้เลย นี่คือระบบรัฐสภาของประเทศไทย
 
“ก่อนการเลือกตั้งเราเชื่อวาทกรรมว่า การต่อสู้ของประชาชนเป็นพลังบริสุทธิ์ นักการเมือง พรรคการเมืองอย่าไปยุ่ง ก็เลยไม่เข้าไป เพราะเกรงข้อครหาเหล่านี้ จนกระทั่งเห็นกลุ่มคนอยากเลือกตั้งโดนจับ ก็เลยไปเยี่ยมที่โรงพัก หลังจากนั้นก็เป็นแรงบันดาลใจว่า ถ้าเขาอยากเลือกตั้ง ถ้ามีการเลือกตั้งเกิดขึ้น ใครลงเลือกตั้ง ก็ตัวเรา แล้วจะอยู่เฉยๆ ได้อย่างไร ก็เข้าไปร่วมกับขบวนการต่อสู้มากขึ้นเรื่อยๆ
 
“การต่อสู้ของพวกเรามันยืดเยื้อ ยาวนาน ผมเองก็ต่อสู้มาคร่าวๆ ไม่ต่ำกว่า 40 ปีแล้ว ก็ยังคงต้องต่อสู้ต่อไป แต่น้องๆ อยู่ในวัยหนุ่มสาว วัยที่มีพลัง
 
“ก็ขอให้มีพลังที่จะยืนหยัดต่อสู้ต่อไป จนกว่าจะไปถึงจุดที่เราต้องการ”
 
ทีมข่าวเฉพาะกิจ


 
อสังหาฯหวั่นกำลังซื้อจมดิ่ง ลุ้นมาตรการรัฐพยุงตลาด
https://www.prachachat.net/property/news-580380
 
หวั่นล็อกดาวน์สมุทรสาครดับฝันอสังหาฯฟื้นตัวในปี 2564 เป้าตลาดรวมโต 5-10% อาจไปไม่ถึง “คอลลิเออร์สฯ” ชี้ไม่มีโควิดรอบใหม่ คอนโดฯเขตกรุงเทพฯก็อ่วมอยู่แล้ว แนวโน้มตลาดติดลบ 20% ฟาก “AREA-ศูนย์ข้อมูลฯ” ชี้ปีหน้าตลาดทรงตัว นายกอสังหาฯสมุทรสาครเชื่อมั่นรัฐบาลคุมเกมอยู่หมัด ลุ้นมาตรการรัฐ-ดอกเบี้ยต่ำตัวช่วยพยุงตลาด
 
คอนโดฯกรุงเทพฯติดลบ -20%
 
นายภัทรชัย ทวีวงศ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและการสื่อสาร บริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ผลกระทบสถานการณ์โควิดทำให้มองแนวโน้มตลาดคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพฯ มีการเปิดตัวใหม่ลดลง -56% ตกต่ำสุดในรอบ 30 ปี เหลือ 20,000 กว่าหน่วย ขณะที่แนวโน้มปี 2564 ยังเป็นขาลงคาดว่าลดลง -10% ถึง -20% จากปีนี้
 
เหตุผลเพราะ 
1. ตลาดต่างชาติยังกลับมาไม่ได้ 
2. ซัพพลายคงค้างยังมีจำนวนมาก ดังนั้น โอกาสที่สินค้าคอนโดฯจะฟื้นตัวได้อีกครั้ง ต้องรอปี 2565
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่