ติดหวานแต่ไม่อยากอ้วน ควรกินน้ำตาลแบบไหนดี?


ติดหวานแต่ไม่อยากอ้วน ควรกินน้ำตาลแบบไหนดี?


จริงอยู่ที่น้ำตาลอาจมีโทษว่ากินแล้วอ้วน หรือเสี่ยงเป็นเบาหวาน แต่ความจริงแล้วปัญหาหลักๆ เลย คือคนส่วนใหญ่กินน้ำตาลมากเกินไปในแต่ละวันต่างหาก หลายคนกลัวโรคถามหา เลยยอมหักดิบไม่กินน้ำตาล อยากได้สุขภาพ แต่กลายเป็นฝืนสุขภาพใจแทน บางคนอดทานของอร่อยๆ เข้า ก็โหย เผลอไปกินของหวานเข้า สุดท้ายก็กลับมากินน้ำตาลเหมือนเดิม


จนกระทั่งในที่สุด เราก็มีสารให้ความหวานทดแทน หรือที่เรียกว่า “น้ำตาลทางเลือก” ซึ่งน้ำตาลทางเลือกที่ผลิตขึ้นแรกๆ ได้แก่ “ขัณฑสกร” และ “ไซคลาเมต” สองตัวนี้ให้พลังงานต่ำก็จริง แต่มีข้อเสียคือ รสหวานจะหวานไม่เหมือนน้ำตาลจริงนัก บางครั้งกินแล้วรสชาติเหมือนมีโลหะปะปนอยู่ด้วย ก็เลยไม่ได้รับความนิยมมากนัก
 
น้ำตาลทางเลือกยุคต่อมา มีดังๆ อยู่สองตัว คือ “แอสปาแตม” กับ “อะซีซัลเฟม-เค”  ซึ่งเจอบ่อยตามเครื่องดื่มอัดแก๊สไม่มีน้ำตาล แต่ว่าข้อเสียยังคงเป็นเรื่องรสชาติ เนื่องจากกินแล้วรสหวานจะฝาดติดลิ้น หรือกินแล้วจะรู้สึกแปร่งๆ ที่ลิ้นนิดหน่อย รวมถึงแอสปาแตมมีข้อจำกัดใหญ่ คือ ไม่สามารถนำมาใช้ในอาหารที่ใช้ความร้อนสูงได้ ก็เลยไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าไหร่นัก

และก็มาถึงยุคปัจจุบัน น้ำตาลทางเลือก Gen 3 ยุคนี้มีอยู่สามตัวที่เด่นๆ ด้วยกัน ตัวแรกคือ “สตีเวีย” หรือว่าหญ้าหวาน ข้อดีคือพลังงานต่ำ และสามารถปรุงอาหารที่มีความร้อนสูงได้ แต่อาจจะมีรสเฉพาะของหญ้าหวานที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนน้ำตาลจริง บางคนก็ว่าเฝื่อน ว่าขม แต่บางคนก็บอกว่าอร่อยดี รวมถึงหญ้าหวานยังไม่มีข้อเสียจากงานวิจัยแต่อย่างใด ดังนั้นใครที่มองหาน้ำตาลทดแทนน้ำตาลทราย หญ้าหวานถือเป็นหนึ่งในตัวเลือกนะครับ
 
ตัวที่สองคือ “อิริทริทอล” มักจะคุ้นเคยกันในหมากฝรั่ง Sugar Free ที่กินแล้วฟันไม่ผุ และมีความหวานน้อยกว่าน้ำตาลปกติประมาณ 70% และเป็นน้ำตาลแอลกอฮอล์ที่เกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติด้วย 

ตัวสุดท้ายคือ “ซูคราโลส” ตัวนี้จะหวานกว่าน้ำตาลถึง 600 เท่า ถ้าเดิมกินกาแฟใส่น้ำตาล 2 ช้อนชา ใส่ซูคราโลส แค่ 3-5 เม็ดก็หวานเท่ากันแล้ว แถมแบคทีเรียในช่องปากก็ย่อยไม่ได้ เลยกินแล้วฟันไม่ผุ และน้ำย่อยก็ย่อยไม่ได้เช่นกัน เลยมีพลังงาน = 0 แคลไปโดยปริยาย ข้อดีอีกอย่างของ “อิริทริทอล” และ “ซูคราโลส” คือให้รสหวานเหมือนน้ำตาลปกติ และใช้ปรุงในอาหารความร้อนสูงได้ด้วย ก็เลยทำให้เครื่องดื่มหลายๆ ชนิดใส่สารให้ความหวานทดแทนเพื่อให้รสชาติคงเดิม แต่ให้พลังงานต่ำนั่นเองครับ ปัญหาคือสมัยก่อน น้ำตาลในเครื่องดื่มพวกนี้มักทำแต่ในเชิงอุตสาหกรรมเท่านั้น ไม่ขายปลีกให้ผู้บริโภคทั่วไปซื้อมาใช้ตามบ้าน 

โชคดีหน่อยที่น้ำตาลยุคปัจจุบันนี้มีส่วนผสมของ “อิริทริทอล” และ “ซูคราโลส” วางจำหน่าย ดังนั้นคนที่รู้สึกผิดเวลากินหวานอยู่ ก็ลองหาน้ำตาลทดแทนพวกนี้เป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพได้ บางยี่ห้อลดแคลลงไปถึง 50 % โดยที่ให้รสหวานเหมือนกินน้ำตาลปกติเลย แต่ก่อนซื้อแนะนำว่าให้ดูฉลาก อย. หรือ ผ่าน USFDA ด้วยนะครับ จะได้ปลอดภัยในการกิน



อย่างไรก็ตาม ถ้าเรากินหวานตลอด แม้จะเป็นน้ำตาลทางเลือก ก็สามารถทำให้สมองเสพติดรสหวานแบบไม่รู้ตัวได้ พาลทำให้อยากกินของอ้วนๆ อย่างอื่นทั้งแป้งและไขมันตามเข้าไปด้วย ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้ลดหวาน เพราะถ้าเราเริ่มสั่งทุกเมนูเป็นแบบหวานน้อยติดกันซัก 2 อาทิตย์ ลิ้นของเราก็จะชินรสหวานน้อย จนกลับไปกินหวานแบบเดิมไม่ได้แล้วถ้ากินหวานน้อยจนชิน และใช้น้ำตาลทางเลือกที่ช่วยลดพลังงานตอนกิน ก็จะทำให้การลดน้ำตาลเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น น้ำหนักของเราก็จะค่อยๆ ลดลงได้...

14 พฤศจิกายนนี้ เป็นวันเบาหวานโลก ไม่อยากเพิ่มสมาชิกมากไปกว่านี้แล้ววววววว
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่