[CR] แพร่ #บ้านวัดวังเวียงและเมืองหลวงแห่งไม้สัก ตอน 1 บ้านและคุ้ม

กระทู้รีวิว
บ้านคือที่พักอาศัยของประชาชนหรือข้าราชการ ส่วนคุ้มคือที่พักอาศัยของเจ้าผู้ครองนครหรือทายาท เราตั้งใจไปบ้านและคุ้มอยู่ 4 แห่ง จริงๆ อยากจะ 5 แห่งด้วยครับ แต่บ้านบอมเบย์เบอร์ม่า(บ้านสีเขียว) ดันถูกรื้อทิ้งไปเสียก่อนแล้ว 4 แห่งได้แก่ 
.
1) คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ 
2) บ้านวงศ์บุรี (บ้านสีชมพู) 
3) คุ้มวิชัยราชา 
4) บ้านหลวงศรีนครานุกูล (บ้านสีน้ำตาล)
.
และจัดว่าเป็นของแถมครับ เนื่องจากเราไม่ได้วางแผนจะไป แต่เรือนดังกล่าวตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับคุ้มเจ้าหลวงฯ ก็คืออาคารในโรงเรียนนารีรัตน์ จังหวัดแพร่ เป็นบ้าน (เรือน) สีเขียวสดในรูปแบบสถาปัตยกรรมเดียวกันกับเรือนหลังอื่นข้างต้น แต่บ้านและคุ้มดังกล่าวไม่ใช่ทุกหลังที่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าชม ที่สามารถเข้าชมด้านในได้คือ คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ (ไม่เสียค่าใช้จ่าย) และบ้านวงศ์บุรี (เสียค่าเข้าชมคนละ 30 บาท) ส่วนหลังอื่นคงได้ชมแค่ด้านนอกเท่านั้น
อาคารทุกหลังสร้างด้วยไม้สัก ซึ่งจัดว่าเป็นไม้ที่พบได้ทั่วไปในจังหวัดแพร่โดยเฉพาะเมื่อกว่าร้อยปีที่ผ่านมา จนทำให้แพร่นับเป็นศูนย์กลางของการทำสัมปทานป่าไม้ของสยาม และด้วยไม้สักไม่ถูกรบกวนด้วยมอด มด แมลง และปลวก จึงทำให้อาคารเหล่านี้ถ้าเราไม่รื้อทิ้งไปเสียก่อน มันจะคงอยู่แบบนี้ได้หลายร้อยปี
.
แพร่คราวนี้เราเดินทางโดยขึ้นเครื่องบินไปลงที่สนามบินน่านนคร (จังหวัดน่าน) และเดินทางกลับจากสนามบินแพร่ ทั้งสองจังหวัดมีสนามบินเป็น
ของตนเอง แต่อาจมีไฟร์ทบินไม่ถี่นัก เราลงที่สนามบินน่านแล้วขับรถจากน่านไปแพร่
1) คุ้มเจ้าหลวง
เป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 ยุคต้น ซึ่งมีรูปทรงเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทยผสมยุโรป หรือทรงขนมปังขิง ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยนั้น หลังคามุงด้วยไม้เรียกว่า “ไม้แป้นเกล็ด” ไม่มีหน้าจั่วเป็นแบบหลังคาเรือนปั้นหยามีมุขสี่เหลี่ยมยื่นออกมา ด้านหน้าของตัวอาคารหลังคามุขมีรูปทรงสามเหลี่ยมทั้งปั้นลมและ ชายคาน้ำรอบตัวอาคารประดับด้วยไม้แกะ ฉลุสลักลวดลายอย่าง สวยงามซึ่งเป็นฝีช่างชาวจีนที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นมุขด้านหน้าตัว อาคารแต่เดิมมีบันไดขึ้นลงทั้ง 2 ด้าน คือด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้ (ปัจจุบันรื้อออกแล้ว)คงเหลือบันไดขึ้นลงเฉพาะด้านหน้าและด้านหลัง เท่านั้น ตัวอาคารสร้างด้วยอิฐถือปูน มี 2 ชั้น ไม่มีการฝังเสาเข็มแต่ใช ้ไม้ซุงท่อน ส่วนใหญ่เป็นไม้แก่น ไม้แดง และไม้เนื้อแข็ง รองรับฐานเสาทั้งหลัง ภายใต้ตัวอาคารซึ่งสูงจากพื้นดินประมาณ 2 เมตร
(จากเว็บไซต์จังหวัดแพร่ http://www.phrae.go.th/tem/tip/nature_phrae/hagi23.html เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2563)
 
.
2) บ้านวงศ์บุรี
บ้านวงศ์บุรี ตั้งอยู่เลขที่ 50 ถนนคำลือ (ถนนหลังจวนผู้ว่า สี่แยกพระนอนเหนือ ใกล้กับวัดพงษ์สุนันท์ ) อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นบ้านของเจ้าพรหม(หลวงพงษ์พิบูลย์) ผู้สืบเชื้อสายมาจากอดีตเจ้าเมืองแพร่ และ เจ้าสุนันทา วงศ์บุรี ธิดาเจ้าบุรี (พระยาบุรีรัตน์) ก่อสร้างในปี พ.ศ. 2440
ลักษณะอาคาร อาคารเป็นเรือนปั้นหยา สองชั้น แบบยุโรปประยุกต์ ตกแต่งลวดลายแบบเรือนขนมปังขิง ก่อสร้างโดยช่างชาวจีนกวางตุ้ง มีลวดลายไม้แกะสลักประดับตัวบ้านทั่วไปจุดเด่นของ อาคารนี้คือลวดลายไม้แกะสลักที่หน้าจั่ว ชายคา ระเบียง ช่องลม ชายน้ำ หน้าต่างและประตู ที่ประตูด้านหน้าเป็นปูนปั้นรูปแพะซึ่งเป็นตัวแทนของหลวงพงษ์พิบูลย์และแม่เจ้าสุนันทาซึ่งู เกิดในปีแพะ ภายในบ้านตกแต่งด้วยเครื่องใช้เก่าแก่ของตระกูล ได้แก่ เครื่องเรือน เครื่องเงิน เครื่องปั้นดินเผาและเอกสารสำคัญต่างๆ
(ข้อมูลบางส่วนจาก http://www.phrae.go.th/tem/tip/nature_phrae/hagi22.html เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2563)
.
3) คุ้มวิชัยราชา
เรือนไม้สัก ทรงมะนิลา หลังงามนี้สร้างมาเป็นที่พักอาศัยแทนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา จากข้อมูลเหล่านี้คาดว่าบ้านหลังนี้คงสร้าง ขึ้นระหว่างปี พ.ศ.๒๔๓๔-๒๔๓๘ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าบ้านหลังนี้จะมีอายุเก่าแก่เกินร้อยปีแต่ยังมีโครงสร้าง ที่มั่นคงแข็งแรง ทั้งยังได้รับการออกแบบอย่างสวยงามเหมาะเจาะกลมกลืนมีความงามที่ โดเด่นพร้อมทั้งลวดลายฉล ุที่สวยงามดูอ่อนช้อย ทั้งที่จั่วบ้าน บังลม ระเบียงตลอดจนไม้ช่องลมเหนือบานประตูและหน้าต่างล้วนเป็นศิลปะสวยงาม และหายาก สมควรอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างยิ่ง
(ข้อมูลบางส่วนจาก http://www.phrae.go.th/tem/tip/nature_phrae/hagi24.html เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2563)
.
4) บ้านหลวงศรีนครานุกูล
ตั้งอยู่บนถนนเจริญเมือง จ.แพร่ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นอาคารไม้สักทั้งหลัง มี 2 ชั้น หลังคาเป็นทรงปั้นหยา มีหน้ามุขอาคารยื่นออกมาตรงกลางทาสีชมพูสีครีมและสีน้ำตาล พื้นชั้นล่างปูด้วยหินอ่อนทั้งหมด ภายในมีการประดับตกแต่งด้วยเครื่องเรือนอย่างสวยงาม โดยกลางตัวบ้านจะเป็นส่วนฝรั่งเปิดโล่ง และด้วยที่หลวงศรีนครานุกูล เป็นคหบดีชาวจีนที่มีฐานะดี จึงสร้างบ้านตากอากาศไว้หลายที่ด้วยกัน เช่น บ้านโบราณกว๊านพะเยา ปัจจุบันเปิดให้คนเข้าชมเฉพาะด้านนอกเพราะด้านในยังคงเป็นที่พักอาศัยของเจ้าของบ้านอยู่
(จาก facebook fanpage: สถาปัตยกรรมสยามในอดีต เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2563)
.
5) โรงเรียนนารีรัตน์ จังหวัดแพร่
อาคารที่เห็นชื่อว่าอาคารน้ำเพชร เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น ชั้นละ 6 ห้อง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2460 ซ่อมแซมเมื่อ พ.ศ. 2541 ปัจจุบันเป็นอาคารเกียรติยศและเป็นที่ตั้งขององค์กรที่สนับสนุนการศึกษาของโรงเรียน
(ข้อมูลบางส่วนจาก Wikipedia https://th.wikipedia.org/wiki/โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2563)
 
------------------
คุณหมูยอ
เดินทางไปแพร่เมื่อ 15-17 ตุลาคม 2563
บันทึกไว้เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2563
-----------------
อ่านย้อนหลังในเรื่อง แพร่ #บ้านวัดวังเวียง และเมืองหลวงแห่งไม้สัก
ตอน 1 บ้านและคุ้ม https://pantip.com/topic/40296489
ตอน 2 พระธาตุอินทร์แขวนและบ้านนาคูหา https://pantip.com/topic/40298774
ตอน 3 วัดในเมือง (วัดพงษ์สุนันท์ วัดหลวง วัดจอมสวรรค์) https://pantip.com/topic/40300950
ตอน 4 อำเภอลอง (สถานีบ้านปิน โกมลผ้าโบราณ วัดศรีดอนคำ) https://pantip.com/topic/40315617
ตอน 5 วัดพระธาตุช่อแฮ วัดพระธาตุดอยเล็ง และเก็บตกเมืองแพร่ https://pantip.com/topic/40319893
-----------------
 
ชื่อสินค้า:   แพร่
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่