ปกติเราไม่ค่อยได้อ่านหนังสือ How To เท่าไร แต่ต้องยอมรับว่า "1 นาที พรีเซ็นต์ให้โลกจำ" เป็นหนังสือที่เห็นครั้งแรกแล้ว
ชื่อเรื่องสะดุดตามาก เราเลยอยากเอาเคล็ดเล็กๆ น้อยๆ ในเล่มนี้แบ่งปันให้ทุกคนอ่านกันค่ะ เชื่อว่าน่าจะมีประโยชน์นะ 5555
พูด 1 นาที กับความเข้าใจตลอดกาล
ถ้าเรากำลังพรีเซ็นต์อยู่ในที่ประชุม แล้วเจอปัญหา ทำไมคนฟังไม่เข้าใจสิ่งที่เราพูดเลย
ทำไมไม่มีใครตั้งใจฟัง หรือแม้กระทั่งไม่รู้ว่าตัวเองต้องการจะสื่ออะไรบ้าง
เราจะเลือกใช้คำพูดแบบไหนสื่อสาร ให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายที่สุด?
เรื่องราวแต่ละเรื่องประกอบด้วยข้อสรุปและหลักการสนับสนุน ข้อสรุปจะอยู่ด้านบนสุด
มีหลักการสนับสนุนเรียงรายอยู่ด้านล่าง เนื่องจากมีหลักการสนับสนุนจำนวนมาก
จึงกลายเป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งก็คือ “รูปทรงพีระมิด” นั่นเอง
คนในภาพ A พูดแต่สิ่งที่เป็น “ข้อสนับสนุน” แต่ไม่มี “ข้อสรุป” เมื่อคนฟังฟังแล้ว
อาจเกิดคำถามว่า “แล้วไงต่อ”
ถ้าหากสร้างบทพูดตาม “ข้อสรุปและหลักการสนับสนุน” ละก็ จะไม่เกิดเหตุการณ์
พูดคุยกันยืดยาวไม่จบ หรือสื่อสารไม่เข้าใจ
“ข้อสรุปเป็นเช่นนี้ครับ”
“เหตุผลคือ A, B และ C ครับ”
แต่สิ่งสำคัญในการพูด คือการ "โน้วน้าวใจ" ซึ่งต้องกระตุ้น “สมองซีกซ้าย” และ “สมองซีกขวา” ให้ทำงาน
เพราะความกระตือรือร้นอย่างเดียวไม่อาจโน้มน้าวใจได้ และการใช้ตรรกะเพียงอย่างเดียว
ก็ไม่อาจโน้มน้าวใจได้เช่นกัน
การพูดให้เข้าใจได้ใน 1 นาทีนั้น คุณต้องพูดสิ่งที่เป็น “ตรรกะ” ข้อมูล ความรู้ ย่อยข้อมูล
และใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เพื่อกระตุ้นสมองซีกซ้ายให้เข้าใจได้ จากนั้นกระตุ้นสมองซีกขวา
ด้วยการให้ผู้ฟังจินตนาการตามสิ่งที่คุณพูด วิธีนี้คือการให้ผู้ฟังเห็น “ภาพ” ก่อน
แล้วค่อยดึงผู้ฟังเข้าไปอยู่ในภาพนั้น นั่นคือการใส่ภาพถ่าย ภาพวาด หรือภาพประกอบต่างๆ
ให้ผู้ฟังเห็นในระหว่างที่คุณพูดด้วย เพื่อให้ผู้ฟังคิดภาพตามได้ง่ายขึ้น
สุดท้ายแล้ว คนเราทำความเข้าใจด้วยสมองซีกซ้าย รู้สึกด้วยสมองซีกขวา แล้วลงมือทำ
หากผู้พูดขาดความกระตือรือร้น ต่อให้พูดจนปากเปียกปากแฉะ ก็โน้มน้าวใจไม่ได้
การสร้างโครงสร้างของสิ่งที่กำลังจะพูด มีขั้นตอนง่ายๆ คือการคิดแบบพีระมิด 3 ชั้น
- ยอดพีระมิด คือ ข้อสรุปว่าต้องการจะสื่ออะไรเป็นหัวใจหลักของการพูด เพื่อให้ผู้ฟังจับประเด็นได้
- กลางพีระมิด คือ ใส่ข้อสนับสนุนที่รองรับบทสรุปนั้น 1-2 ข้อ
-ท้ายพีระมิด คือ การยกตัวอย่าง เพื่อให้ผู้ฟังเห็นภาพและคิดตามคุณมากขึ้น
ยกตัวอย่าง
“ฉันรักบริษัทที่ทำงานอยู่ตอนนี้ มีเหตุผล 3 ข้อด้วยกัน ข้อ 1 เป็นบริษัทที่ทำงานแล้วสบายใจ
อย่างเช่น ปรับเปลี่ยนเวลาทำงานได้อย่างอิสระ และยังทำงานจากที่บ้านได้ด้วย
ข้อ 2 เพื่อนร่วมงานมีแต่คนดีๆ อย่างเช่น ไม่มีคนที่คอยปัดแข้งปัดขาคนอื่นเลยแม้แต่คนเดียว
ข้อ 3 งานมีคุณค่า อย่างเช่น บริษัทส่งเสริมเรื่องการบุกเบิกธุรกิจใหม่ๆ”
การเสริมว่า
“อย่างเช่น...” ช่วยให้คนฟังคิดภาพตามได้ ซึ่งการที่ผู้ฟังคิดภาพตามได้นั้น
จะทำให้เข้าใจได้อย่างชัดเจนและง่ายที่สุด
อีกจุดหนึ่งคือ การยกข้อสนับสนุน หรือตัวอย่างมาพูด ควรยกมาแค่ 1-2 ข้อก็พอ
เพราะถ้าหยิบมาพูดมากไป คนฟังอาจจะงงได้
ต่อไปให้เราลองพูดใน “ฐานะของอีกฝ่าย” บ้าง

ถ้ามีมุมมองแค่ว่า “ตัวเองอยากจะบอก” แต่ไม่เข้าใจความรู้สึกของอีกฝ่ายซึ่งกำลังฟังอยู่
สุดท้ายก็สื่อไปไม่ถึงอยู่ดี
สิ่งที่เราควรทำคือ วางตัวเองไว้ในมุมมอง “บุคคลที่สาม” มองทั้งตนเองที่กำลังพูด และผู้ฟังที่ฟังอยู่
ตรวจสอบว่าอีกฝ่ายรู้สึกอย่างไร แล้วรับข้อเสนอแนะนั้นมาเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขวิธีการพูดของเรา
สรุปโครงสร้างของการนำเสนอ
1. SDS – Summary (สรุปรวม) – Detail (รายละเอียด) – Summary (สรุปรวม)
คือ การนำรายละเอียดมาสรุปรวมแทรกลงไปตรงกึ่งกลาง
2. PREP – Point (ทรรศนะ) – Reason (หลักฐาน) – Example (ตัวอย่าง) - Point (ทรรศนะ)
คือ รูปแบบพีระมิดของทรรศนะและหลักการสนับสนุน ขณะที่พูดให้เน้นส่วนที่เป็นองค์ประกอบของพีระมิด
3.PCSF - Problem (ปัญหา) – Change (การเปลี่ยนแปลง) – Solution (วิธีแก้ไข) – Future (อนาคต)
ใช้เพื่ออธิบายนวัตกรรมใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น เวลาที่ธุรกิจสตาร์อัพจะนำเสนอผลงานนวัตกรรมใหม่ๆ ที่แตกต่างไปจากเดิม
หวังว่าข้อมูลที่เราสรุปมานี้จะเป็นประโยชน์กับใครบ้างนะคะ ขอบคุณค่าาาา
"1 นาที พรีเซ็นต์ให้โลกจำ" หนังสือ How To สำหรับคนนำเสนอไม่เก่ง [SR]
* กระทู้นี้สามารถใช้งานได้เฉพาะผู้ที่มี Link นี้เท่านั้นค่ะชื่อเรื่องสะดุดตามาก เราเลยอยากเอาเคล็ดเล็กๆ น้อยๆ ในเล่มนี้แบ่งปันให้ทุกคนอ่านกันค่ะ เชื่อว่าน่าจะมีประโยชน์นะ 5555
พูด 1 นาที กับความเข้าใจตลอดกาล
ถ้าเรากำลังพรีเซ็นต์อยู่ในที่ประชุม แล้วเจอปัญหา ทำไมคนฟังไม่เข้าใจสิ่งที่เราพูดเลย
ทำไมไม่มีใครตั้งใจฟัง หรือแม้กระทั่งไม่รู้ว่าตัวเองต้องการจะสื่ออะไรบ้าง
เราจะเลือกใช้คำพูดแบบไหนสื่อสาร ให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายที่สุด?
เรื่องราวแต่ละเรื่องประกอบด้วยข้อสรุปและหลักการสนับสนุน ข้อสรุปจะอยู่ด้านบนสุด
มีหลักการสนับสนุนเรียงรายอยู่ด้านล่าง เนื่องจากมีหลักการสนับสนุนจำนวนมาก
จึงกลายเป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งก็คือ “รูปทรงพีระมิด” นั่นเอง
คนในภาพ A พูดแต่สิ่งที่เป็น “ข้อสนับสนุน” แต่ไม่มี “ข้อสรุป” เมื่อคนฟังฟังแล้ว
อาจเกิดคำถามว่า “แล้วไงต่อ”
ถ้าหากสร้างบทพูดตาม “ข้อสรุปและหลักการสนับสนุน” ละก็ จะไม่เกิดเหตุการณ์
พูดคุยกันยืดยาวไม่จบ หรือสื่อสารไม่เข้าใจ
“ข้อสรุปเป็นเช่นนี้ครับ”
“เหตุผลคือ A, B และ C ครับ”
แต่สิ่งสำคัญในการพูด คือการ "โน้วน้าวใจ" ซึ่งต้องกระตุ้น “สมองซีกซ้าย” และ “สมองซีกขวา” ให้ทำงาน
เพราะความกระตือรือร้นอย่างเดียวไม่อาจโน้มน้าวใจได้ และการใช้ตรรกะเพียงอย่างเดียว
ก็ไม่อาจโน้มน้าวใจได้เช่นกัน
การพูดให้เข้าใจได้ใน 1 นาทีนั้น คุณต้องพูดสิ่งที่เป็น “ตรรกะ” ข้อมูล ความรู้ ย่อยข้อมูล
และใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เพื่อกระตุ้นสมองซีกซ้ายให้เข้าใจได้ จากนั้นกระตุ้นสมองซีกขวา
ด้วยการให้ผู้ฟังจินตนาการตามสิ่งที่คุณพูด วิธีนี้คือการให้ผู้ฟังเห็น “ภาพ” ก่อน
แล้วค่อยดึงผู้ฟังเข้าไปอยู่ในภาพนั้น นั่นคือการใส่ภาพถ่าย ภาพวาด หรือภาพประกอบต่างๆ
ให้ผู้ฟังเห็นในระหว่างที่คุณพูดด้วย เพื่อให้ผู้ฟังคิดภาพตามได้ง่ายขึ้น
สุดท้ายแล้ว คนเราทำความเข้าใจด้วยสมองซีกซ้าย รู้สึกด้วยสมองซีกขวา แล้วลงมือทำ
หากผู้พูดขาดความกระตือรือร้น ต่อให้พูดจนปากเปียกปากแฉะ ก็โน้มน้าวใจไม่ได้
การสร้างโครงสร้างของสิ่งที่กำลังจะพูด มีขั้นตอนง่ายๆ คือการคิดแบบพีระมิด 3 ชั้น
- ยอดพีระมิด คือ ข้อสรุปว่าต้องการจะสื่ออะไรเป็นหัวใจหลักของการพูด เพื่อให้ผู้ฟังจับประเด็นได้
- กลางพีระมิด คือ ใส่ข้อสนับสนุนที่รองรับบทสรุปนั้น 1-2 ข้อ
-ท้ายพีระมิด คือ การยกตัวอย่าง เพื่อให้ผู้ฟังเห็นภาพและคิดตามคุณมากขึ้น
ยกตัวอย่าง
“ฉันรักบริษัทที่ทำงานอยู่ตอนนี้ มีเหตุผล 3 ข้อด้วยกัน ข้อ 1 เป็นบริษัทที่ทำงานแล้วสบายใจ
อย่างเช่น ปรับเปลี่ยนเวลาทำงานได้อย่างอิสระ และยังทำงานจากที่บ้านได้ด้วย
ข้อ 2 เพื่อนร่วมงานมีแต่คนดีๆ อย่างเช่น ไม่มีคนที่คอยปัดแข้งปัดขาคนอื่นเลยแม้แต่คนเดียว
ข้อ 3 งานมีคุณค่า อย่างเช่น บริษัทส่งเสริมเรื่องการบุกเบิกธุรกิจใหม่ๆ”
การเสริมว่า “อย่างเช่น...” ช่วยให้คนฟังคิดภาพตามได้ ซึ่งการที่ผู้ฟังคิดภาพตามได้นั้น
จะทำให้เข้าใจได้อย่างชัดเจนและง่ายที่สุด
อีกจุดหนึ่งคือ การยกข้อสนับสนุน หรือตัวอย่างมาพูด ควรยกมาแค่ 1-2 ข้อก็พอ
เพราะถ้าหยิบมาพูดมากไป คนฟังอาจจะงงได้
ต่อไปให้เราลองพูดใน “ฐานะของอีกฝ่าย” บ้าง
ถ้ามีมุมมองแค่ว่า “ตัวเองอยากจะบอก” แต่ไม่เข้าใจความรู้สึกของอีกฝ่ายซึ่งกำลังฟังอยู่
สุดท้ายก็สื่อไปไม่ถึงอยู่ดี
สิ่งที่เราควรทำคือ วางตัวเองไว้ในมุมมอง “บุคคลที่สาม” มองทั้งตนเองที่กำลังพูด และผู้ฟังที่ฟังอยู่
ตรวจสอบว่าอีกฝ่ายรู้สึกอย่างไร แล้วรับข้อเสนอแนะนั้นมาเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขวิธีการพูดของเรา
สรุปโครงสร้างของการนำเสนอ
1. SDS – Summary (สรุปรวม) – Detail (รายละเอียด) – Summary (สรุปรวม)
คือ การนำรายละเอียดมาสรุปรวมแทรกลงไปตรงกึ่งกลาง
2. PREP – Point (ทรรศนะ) – Reason (หลักฐาน) – Example (ตัวอย่าง) - Point (ทรรศนะ)
คือ รูปแบบพีระมิดของทรรศนะและหลักการสนับสนุน ขณะที่พูดให้เน้นส่วนที่เป็นองค์ประกอบของพีระมิด
3.PCSF - Problem (ปัญหา) – Change (การเปลี่ยนแปลง) – Solution (วิธีแก้ไข) – Future (อนาคต)
ใช้เพื่ออธิบายนวัตกรรมใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น เวลาที่ธุรกิจสตาร์อัพจะนำเสนอผลงานนวัตกรรมใหม่ๆ ที่แตกต่างไปจากเดิม
หวังว่าข้อมูลที่เราสรุปมานี้จะเป็นประโยชน์กับใครบ้างนะคะ ขอบคุณค่าาาา