ประเทศไทยมีรถไฟตั้งแต่ พศ.2439 เมื่อ124 ปีมาแล้ว ระบบขนส่งทางรางมีประสิทธิภาพสูง เพราะไม่ต้องเผชิญกับปัญหาการจราจรติดขัด
ยุคแรกเป็นรถไฟพลังไอน้ำ ในอดีตเรามีรถรางสำหรับวิ่งในเมือง ยุคต่อมาก็เป็นรถไฟเครื่องยนต์สันดาปภายใน(ดีเซล)
และในปัจจุบันก็เป็นรถไฟพลังงานไฟฟ้าที่วิ่งในเมือง เช่น bts ,mrt และอีกไม่นานก็จะมีรถไฟความเร็วสูงที่วิ่งระหว่างจังหวัด
ลองพิจารณาให้ดีจะพบว่าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเราซื้อรถไฟทุกชนิด ทุกขบวนจากต่างชาติมาใช้ทั้งนั้น เราไม่เคยผลิตได้เองเลย
ทั้งๆที่ผ่านมาร้อยกว่าปีแล้ว สาเหตุหนึ่งก็เป็นเพราะ
รัฐบาลไม่มอบโปรเจคให้นักเทคโนโลยี่ของไทยทำ ทั้งๆที่ในประเทศไทยมีนักเทคโนโลยี่ครบทุกสาขา
แต่รัฐบาลไม่ได้เห็นศักยภาพของบุคคลเหล่านั้นเลย พอมีโครงการใหญ่ๆก็หันไปซื้อนวัตกรรมจากต่างประเทศทุกโครงการ
จึงทำให้นักเทคโนโลยี่ไทยไม่มีโอกาศได้ใช้ความรู้ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์นวัตกรรม ส่งผลให้เราอ่อนแอและต้อง
ยืมจมูกต่างชาติหายใจมาโดยตลอด ขีดความสามารถทางด้านการออกแบบและผลิตสินค้านวัตกรรมของไทยก็แทบจะไม่เพิ่มขึ้นเลย
ตอนนี้เราทำได้เพียงขับรถไฟและซ่อมบำรุงรถไฟเท่านั้น ส่วนการคิดค้น วิจัย ออกแบบและผลิตรถไฟ เราไม่สามารถทำได้เลย

ดังนั้นรัฐบาลควรจะมีนโยบายดังต่อไปนี้
1.โครงการระยะสั้น ให้ซื้อรถไฟจากต่างประเทศมาใช้เลย เพราะต้องแก้ปัญหารถติดอย่างเร่งด่วน ถ้ารอให้คนไทยผลิตเองจะไม่ทันใช้งาน
เพราะเราไม่มีประสบการณ์ในการผลิตมาก่อน
2.โครงการระยะกลาง เร่งวิจัยและพัฒนา ภายในระยะเวลา 30-50 ปีโดยใช้บุคลากรภายในประเทศ(ทั้งภาครัฐและเอกชน)
โดยดูตัวอย่างหรือถอดแบบมาจากรถไฟที่เราซื้อมาใช้นั่นเอง ซึ่งการวิจัยแบ่งเป็น 3 แผนกคือ วิจัยตัวรถ(หัวรถจักรและตู้รถไฟ),
วิจัยเครื่องมือ-เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต ,วิจัยระบบควบคุมการเดินรถ
3.โครงการระยะยาว หลังจากระยะเวลา 30-50 ปีขึ้นไป เราต้องผลิตใช้เองภายในประเทศให้ได้ เพื่อทดแทนการนำเข้า
4.โครงการระยะไกล ผลิตเพื่อการส่งออก
นโยบายของภาครัฐแบบนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับหลายโครงการของรัฐและเอกชน เช่น ดาวเทียมสื่อสาร,ระบบ 5G,6G
แต่ถ้าไม่มีนโยบายลักษณะนี้ ก็มั่นใจได้เลยว่าอีก 100 ปีข้างหน้าเราก็ต้องซื้อสินค้านวัตกรรมมาจากต่างประเทศเหมือนเดิม
อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพูดถึงก็คือเครื่องมือก่อสร้างที่สำคัญอย่างยิ่ง นั่นคือหัวขุดเจาะอุโมงค์ ถือเป็นหัวใจของการก่อสร้างรถไฟใต้ดิน
ถ้าไม่มีอุปกรณ์ชิ้นนี้ การสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินก็แทบจะเป็นไปไม่ได้
โครงการรถไฟฟ้าใต้ดินที่ผ่านมาเราก็ต้องนำเอาหัวเจาะมาจากต่างประเทศ(อาจจะเช่ามา หรือจ้างต่างประเทศมาขุดเจาะให้)
เพราะเราไม่สามารถผลิตหัวเจาะนี้ได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าความจริงแล้วเรายังไม่มีความพร้อมทางเทคโนโลยี่เลย เราต้องพึ่งพาต่างชาติตลอด
ปัจจุบันโครงการรถไฟทั้งหลายในไทย เราทำได้แค่งานคอนกรีต เช่นเสา คาน สร้างสถานี วางรางรถไฟ จัดเตรียมสายไฟฟ้า ส่วนขบวนรถไฟและอุปกรณ์ควบคุมการเดินรถ ก็สั่งซื้อจากต่างประเทศ
เมื่อโครงการสร้างเสร็จสมบูรณ์ เราก็ควบคุมการเดินรถไฟ และซ่อมบำรุงตามระยะเวลา(ต้องสั่งซื้ออะไหล่ต่างๆจากต่างประเทศ) ซึ่งถือว่าเป็นงานซ้ำซาก (routine) ไม่ใช่งานสร้างสรรค์ เพราะมันไม่มีนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้น
ประทศญี่ปุ่นสามารถผลิตรถไฟความเร็วสูงได้เป็นประเทศแรกของโลก เมื่อฝรั่งเศส เยอรมันเห็นรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่น เขาก็รีบทำการวิจัยและพัฒนาทันที จะเห็นได้ว่าต่างชาติเขาแข่งขันกันดุเดือดมาก และล่าสุดประเทศจีนก็ผลิตใช้เองได้แล้ว และสามารถผลิตขายให้ประเทศอื่นๆอีก
แต่ไทยยังไม่ได้เริ่มวิจัยและพัฒนาเลย แล้วเมื่อไหร่เราจะตามเขาทัน
ยุคแรกๆรถไฟความเร็วสูงมีความเร็ว 200 กม./ชม. ปัจจุบันเขาพัฒนาไปถึง 500 กม./ชม. แล้ว
ถ้าเป็นรถไฟระบบ Maglev (รถไฟไม่มีล้อ แต่จะลอยขึ้นเหนือรางเพียงเล็กน้อย) จะมีความเร็วถึง 581กม./ชม. ถ้าเป็นรถไฟระบบไฮเปอร์ลูป(รถไฟวิ่งในอุโมงก์สูญญากาศ)ก็จะมีความเร็วถึง1200 กิโลเมตร / ชั่วโมง
จะเห็นได้ว่าโลกก้าวหน้าไปเร็วมากๆ แต่เรายังนิ่งเฉยแบบนี้ได้ยังไง
สรุป
1.รัฐบาลต้องหันมามุ่งเน้นและส่งเสริมให้คนไทยได้วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี่และนวัตกรรม อย่างจริงจังมากกว่านี้
เพื่อทดแทนการนำเข้าและลดเงินที่รั่วไหลออกไปนอกประเทศ และเป็นการเพิ่มความสามารถของไทยในการคิดค้นนวัตกรรม
ไม่ใช่คอยแต่จะซื้อจากต่างประเทศเหมือนที่ผ่านๆมา การซื้อนวัตกรรมจากต่างประเทศจะทำให้เราเสียโอกาศในการพัฒนานวัตกรรมไปอย่างน่าเสียดาย
ยิ่งเราซื้อมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งอ่อนแอมากขึ้นเท่านั้น
2.ประเทศไทยต้องก้าวออกจาก comfort zone ได้แล้ว สมมุติว่าเราอยากกินข้าวผัด
ซึ่งมี 2 วิธีที่จะได้กินข้าวผัด คือ
1.สั่งซื้อจากร้านอาหาร
2.เข้าครัว ทำกินเอง
จะเห็นว่าทั้ง 2 วิธีก็ได้กินเหมือนกัน อิ่มเหมือนกัน แต่ถ้าเราสั่งซื้อตลอด ก็ไม่มีทางที่เราจะทำข้าวผัดเป็น ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน
แต่ถ้าเราลองทำเอง แรกๆก็จะรู้สึกว่ายาก แต่ในที่สุดเราก็จะทำเป็นและมีความภูมิใจในฝีมือของตัวเอง และสามารถประหยัดเงินได้ด้วย
**********************************************************************************************************
ประเทศไทยแทบไม่มีเทคโนโลยีอยู่ในมือเลย(ตอนที่ 11 )
ยุคแรกเป็นรถไฟพลังไอน้ำ ในอดีตเรามีรถรางสำหรับวิ่งในเมือง ยุคต่อมาก็เป็นรถไฟเครื่องยนต์สันดาปภายใน(ดีเซล)
และในปัจจุบันก็เป็นรถไฟพลังงานไฟฟ้าที่วิ่งในเมือง เช่น bts ,mrt และอีกไม่นานก็จะมีรถไฟความเร็วสูงที่วิ่งระหว่างจังหวัด
ลองพิจารณาให้ดีจะพบว่าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเราซื้อรถไฟทุกชนิด ทุกขบวนจากต่างชาติมาใช้ทั้งนั้น เราไม่เคยผลิตได้เองเลย
ทั้งๆที่ผ่านมาร้อยกว่าปีแล้ว สาเหตุหนึ่งก็เป็นเพราะ
รัฐบาลไม่มอบโปรเจคให้นักเทคโนโลยี่ของไทยทำ ทั้งๆที่ในประเทศไทยมีนักเทคโนโลยี่ครบทุกสาขา
แต่รัฐบาลไม่ได้เห็นศักยภาพของบุคคลเหล่านั้นเลย พอมีโครงการใหญ่ๆก็หันไปซื้อนวัตกรรมจากต่างประเทศทุกโครงการ
จึงทำให้นักเทคโนโลยี่ไทยไม่มีโอกาศได้ใช้ความรู้ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์นวัตกรรม ส่งผลให้เราอ่อนแอและต้อง
ยืมจมูกต่างชาติหายใจมาโดยตลอด ขีดความสามารถทางด้านการออกแบบและผลิตสินค้านวัตกรรมของไทยก็แทบจะไม่เพิ่มขึ้นเลย
ตอนนี้เราทำได้เพียงขับรถไฟและซ่อมบำรุงรถไฟเท่านั้น ส่วนการคิดค้น วิจัย ออกแบบและผลิตรถไฟ เราไม่สามารถทำได้เลย
ดังนั้นรัฐบาลควรจะมีนโยบายดังต่อไปนี้
1.โครงการระยะสั้น ให้ซื้อรถไฟจากต่างประเทศมาใช้เลย เพราะต้องแก้ปัญหารถติดอย่างเร่งด่วน ถ้ารอให้คนไทยผลิตเองจะไม่ทันใช้งาน
เพราะเราไม่มีประสบการณ์ในการผลิตมาก่อน
2.โครงการระยะกลาง เร่งวิจัยและพัฒนา ภายในระยะเวลา 30-50 ปีโดยใช้บุคลากรภายในประเทศ(ทั้งภาครัฐและเอกชน)
โดยดูตัวอย่างหรือถอดแบบมาจากรถไฟที่เราซื้อมาใช้นั่นเอง ซึ่งการวิจัยแบ่งเป็น 3 แผนกคือ วิจัยตัวรถ(หัวรถจักรและตู้รถไฟ),
วิจัยเครื่องมือ-เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต ,วิจัยระบบควบคุมการเดินรถ
3.โครงการระยะยาว หลังจากระยะเวลา 30-50 ปีขึ้นไป เราต้องผลิตใช้เองภายในประเทศให้ได้ เพื่อทดแทนการนำเข้า
4.โครงการระยะไกล ผลิตเพื่อการส่งออก
นโยบายของภาครัฐแบบนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับหลายโครงการของรัฐและเอกชน เช่น ดาวเทียมสื่อสาร,ระบบ 5G,6G
แต่ถ้าไม่มีนโยบายลักษณะนี้ ก็มั่นใจได้เลยว่าอีก 100 ปีข้างหน้าเราก็ต้องซื้อสินค้านวัตกรรมมาจากต่างประเทศเหมือนเดิม
อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพูดถึงก็คือเครื่องมือก่อสร้างที่สำคัญอย่างยิ่ง นั่นคือหัวขุดเจาะอุโมงค์ ถือเป็นหัวใจของการก่อสร้างรถไฟใต้ดิน
ถ้าไม่มีอุปกรณ์ชิ้นนี้ การสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินก็แทบจะเป็นไปไม่ได้
โครงการรถไฟฟ้าใต้ดินที่ผ่านมาเราก็ต้องนำเอาหัวเจาะมาจากต่างประเทศ(อาจจะเช่ามา หรือจ้างต่างประเทศมาขุดเจาะให้)
เพราะเราไม่สามารถผลิตหัวเจาะนี้ได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าความจริงแล้วเรายังไม่มีความพร้อมทางเทคโนโลยี่เลย เราต้องพึ่งพาต่างชาติตลอด
ปัจจุบันโครงการรถไฟทั้งหลายในไทย เราทำได้แค่งานคอนกรีต เช่นเสา คาน สร้างสถานี วางรางรถไฟ จัดเตรียมสายไฟฟ้า ส่วนขบวนรถไฟและอุปกรณ์ควบคุมการเดินรถ ก็สั่งซื้อจากต่างประเทศ
เมื่อโครงการสร้างเสร็จสมบูรณ์ เราก็ควบคุมการเดินรถไฟ และซ่อมบำรุงตามระยะเวลา(ต้องสั่งซื้ออะไหล่ต่างๆจากต่างประเทศ) ซึ่งถือว่าเป็นงานซ้ำซาก (routine) ไม่ใช่งานสร้างสรรค์ เพราะมันไม่มีนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้น
ประทศญี่ปุ่นสามารถผลิตรถไฟความเร็วสูงได้เป็นประเทศแรกของโลก เมื่อฝรั่งเศส เยอรมันเห็นรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่น เขาก็รีบทำการวิจัยและพัฒนาทันที จะเห็นได้ว่าต่างชาติเขาแข่งขันกันดุเดือดมาก และล่าสุดประเทศจีนก็ผลิตใช้เองได้แล้ว และสามารถผลิตขายให้ประเทศอื่นๆอีก
แต่ไทยยังไม่ได้เริ่มวิจัยและพัฒนาเลย แล้วเมื่อไหร่เราจะตามเขาทัน
ยุคแรกๆรถไฟความเร็วสูงมีความเร็ว 200 กม./ชม. ปัจจุบันเขาพัฒนาไปถึง 500 กม./ชม. แล้ว
ถ้าเป็นรถไฟระบบ Maglev (รถไฟไม่มีล้อ แต่จะลอยขึ้นเหนือรางเพียงเล็กน้อย) จะมีความเร็วถึง 581กม./ชม. ถ้าเป็นรถไฟระบบไฮเปอร์ลูป(รถไฟวิ่งในอุโมงก์สูญญากาศ)ก็จะมีความเร็วถึง1200 กิโลเมตร / ชั่วโมง
จะเห็นได้ว่าโลกก้าวหน้าไปเร็วมากๆ แต่เรายังนิ่งเฉยแบบนี้ได้ยังไง
สรุป
1.รัฐบาลต้องหันมามุ่งเน้นและส่งเสริมให้คนไทยได้วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี่และนวัตกรรม อย่างจริงจังมากกว่านี้
เพื่อทดแทนการนำเข้าและลดเงินที่รั่วไหลออกไปนอกประเทศ และเป็นการเพิ่มความสามารถของไทยในการคิดค้นนวัตกรรม
ไม่ใช่คอยแต่จะซื้อจากต่างประเทศเหมือนที่ผ่านๆมา การซื้อนวัตกรรมจากต่างประเทศจะทำให้เราเสียโอกาศในการพัฒนานวัตกรรมไปอย่างน่าเสียดาย
ยิ่งเราซื้อมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งอ่อนแอมากขึ้นเท่านั้น
2.ประเทศไทยต้องก้าวออกจาก comfort zone ได้แล้ว สมมุติว่าเราอยากกินข้าวผัด
ซึ่งมี 2 วิธีที่จะได้กินข้าวผัด คือ
1.สั่งซื้อจากร้านอาหาร
2.เข้าครัว ทำกินเอง
จะเห็นว่าทั้ง 2 วิธีก็ได้กินเหมือนกัน อิ่มเหมือนกัน แต่ถ้าเราสั่งซื้อตลอด ก็ไม่มีทางที่เราจะทำข้าวผัดเป็น ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน
แต่ถ้าเราลองทำเอง แรกๆก็จะรู้สึกว่ายาก แต่ในที่สุดเราก็จะทำเป็นและมีความภูมิใจในฝีมือของตัวเอง และสามารถประหยัดเงินได้ด้วย
**********************************************************************************************************