ระวัง! ปรึกษาอาการเจ็บป่วยผ่านแชท ความลับของคุณอาจโดนแฮค | กรณีศึกษา HIPAA

จากการที่มีผู้ตั้งกระทู้ ปรึกษาอาการเจ็บป่วยผ่านแชท แล้วโดนผู้อื่นดูข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต
เผอิญเรามีข้อมูลจากการทำรายงาน เลยอยากเอามาเผยแพร่ให้เป็นความรู้
 
HIPAA ย่อมาจาก The Health Insurance Portability and Accountability Act of 1996 (HIPAA) เป็นกฏหมายในประเทศอเมริกาที่คุ้มครองข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นโดยการพูด เขียน หรือการส่งข้อมูลทางอิเลคโทรนิค ข้อมูลดังกล่าวนี้ เรียกรวม ๆ ว่า Personal Health Information (PHI) อันได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขประกันสังคม หมายเลขประจำตัวผู้ป่วย ประวัติความเจ็บป่วย ผลการตรวจพิเศษ ผลแล็บต่าง ๆ ข้อมูลบริษัทประกันสุขภาพ ข้อมูลค่ารักษาพยาบาล และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเท่านั้นจึงจะมีสิทธิเปิดดูหรือส่งต่อข้อมูลได้
 
โดยการปรึกษาออนไลน์ทุกรูปแบบก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายนี้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น https://www.onlinecounselling.com/provider-resources/telecounseling-software/


 
แต่........ในประเทศไทย เท่าที่หาข้อมูลไม่มีกฎหมายอะไรแบบนี้เลย มีแต่หลักการสิทธิผู้ป่วย อย่างไรก็ตามก็อยากให้ทุกคนระวังตัวเอาไว้ ถ้าไม่มีข้อตกลงในการเก็บความลับ ไม่ควรไปแชทปรึกษาหรือส่งข้อมูลการเจ็บป่วยของเรา ถ้าจำเป็นจริงๆ ให้โทรศัพท์ไปดีกว่า อย่างน้อยก็ไม่มีประว้ติเป็นตัวหนังสือบันทึกไว้ให้คนอื่นเห็นได้อย่างง่ายดาย
 
อ้างอิงจาก
https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=macdreamnurse&month=08-2011&date=10&group=31&gblog=26
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่