ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย ในช่วงวิกฤต Covid19

สวัสดีครับ

ผมขอสอบถามครับ คือ ผลประกอบการของหลายๆบริษัทในช่วงวิกฤต Covid19 (ไตรมาส1และ2 ปี2563) นั้นออกมา EBITDA มักจะเป็นบวกแต่ส่วนของ "ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย" สูงขึ้นมากๆจึงส่งผลให้ขาดทุนหนัก
เท่าที่ผมหามาคือ
ค่าเสื่อมราคา (Depreciation) ใช้กับสินทรัพย์ที่มีตัวตน เช่น อาคาร อุปกรณ์
ค่าตัดจำหน่าย (Amortization) ใช้กับสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เช่น สิทธิการเช่า ลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญา

แต่ยังไม่ทราบว่าทำไมช่วงวิกฤตจึงคิด"ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย"สูงมาก ครับทั้งๆที่ไม่ว่าเราจะใช้งานอาคารหรือไม่ได้ใช้งาน การเสื่อมสภาพของอาคารก็คงไม่ต่างกันมากขนาดนั้น

ผมคิดว่าผมน่าจะยังไม่เข้าใจอะไรบางอย่างเกี่ยวกับการจัดทำำงบการเงิน วอนผู้รู้ช่วยให้ความรู้หน่อยครับ

ขอบคุณครับ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ผมเช็คแล้วหลักๆ เป็นผลจาก TFRS16 ครับ
เอาสัญญาเช่าดำเนินงาน กลับมาบันทึกเป็นสินทรัพยฺ์
เมื่อสินทรัพย์เพิ่มย่อมทำให้ค่าเสื่อมเพิ่ม ดูง่ายๆ จาก
คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน
ของ MINT มีแจ้งผลกระทบไว้อยู่
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่