คนไทยกำลังจะได้ใช้สินค้าไทย โดยการผลิตจากประเทศเวียดนาม
เวียดนาม คือหนึ่งในประเทศที่หลายบริษัทได้ย้ายฐานการผลิตเข้าไป แล้วทำไมจึงต้องเป็นเวียดนาม ?
ประเทศเวียดนาม หนึ่งในประเทศสมาชิกของ
CPTPP ซึ่งมีชื่อเต็มว่า
"Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership" หรือ ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก กำลังทำให้ธุรกิจเอกชนของประเทศไทยต้องจำใจย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศไทย
เนื่องจากเวียดนามได้สิทธิประโยชน์การค้า แถมได้ลดภาษีตามข้อตกลง CPTPP-EVFTA ได้ต้นทุนวัตถุดิบต่ำ แถมค่าแรงก็ถูกกว่าในประเทศไทย
หลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลเวียดนามพยายามผลักดันและสร้างบรรยากาศการลงทุน รวมทั้งสภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจ เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาเวียดนามมากยิ่งขึ้น
อีกหนึ่งจุดแข็งของเวียดนามคือ การมีจำนวนแรงงานที่สูงกว่า 56 ล้านคน โดย 2 ใน 3 นั้นเป็นแรงงานที่อยู่ในช่วงหนุ่มสาวซึ่งมีอายุต่ำกว่า 35 ปี
จนทำให้หลายบริษัทที่คนไทยคุ้นเคยย้ายฐานการผลิตไปยังเวียดนามแล้ว
และล่าสุด
เอกชนไทยหนีซบเวียดนาม แห่ย้ายฐานรับข้อตกลง FTA แล้ว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้การย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนจากไทยไปยังเวียดนามปรากฏให้เห็นอย่างต่อเนื่องในหลายอุตสาหกรรม อย่างล่าสุดเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา บริษัท พานาโซนิค ในไทย เตรียมจะหยุดการผลิตเครื่องซักผ้าในเดือนกันยายน และหยุดโรงงานผลิตตู้เย็นในเดือนตุลาคม ก่อนที่จะปิดโรงงานผลิตในเดือนมีนาคม 2564 มีผลต่อการจ้างงาน 800 คน โดยบริษัทจะย้ายฐานการผลิตไปที่กรุงฮานอยแทนเพราะช่วยลดต้นทุนการจัดหาจัดซื้อชิ้นส่วนประกอบตู้เย็นและเครื่องซักผ้าในอาเซียนใต้ ไม่เพียงพอเท่านั้นยังมีอุตสาหกรรมหลายกลุ่มที่ขยายการลงทุนไปเวียดนามก่อนหน้านี้ อาทิ เครื่องนุ่งห่ม ซูเปอร์แวร์มูลค่าลงทุน FDI เวียดนามพุ่ง
นายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย (TGMA) และประธานกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า
"ขณะนี้มีบริษัทเครื่องนุ่งห่มไทยขยายการลงทุนตั้งฐานผลิตในเวียดนาม ประมาณ 11 โรงงาน และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยบางโรงงานขยายคู่ขนานทั้งฝั่งไทยและเวียดนาม บางโรงงานก็ปิดโรงงานที่ฝั่งไทย แล้วไปขยายที่เวียดนามเลย คาดการณ์ว่าในอนาคตภาพการย้ายฐานการผลิตออกไปนอกประเทศจะมีผลให้สัดส่วนการส่งออกจากฐานการผลิตในต่างประเทศ (ออฟชอร์เอ็กซ์ปอร์ตเตอร์) เพิ่มมากกว่าการส่งออกโดยฐานผลิตในไทยได้"
ปัจจัยสำคัญที่นักลงทุนไทยขยายฐานไปยังเวียดนาม หลัก ๆ จะมาจากเรื่องสิทธิประโยชน์ทางการค้า หลังจากที่เวียดนามได้ลงนามความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) กับความตกลงเปิดเขตการค้าเสรีไทย-อียู หรือ (EVFTA) ซึ่งเพิ่งให้สัตยาบันและจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ ทำให้สินค้าที่ผลิตจากเวียดนามได้ลดหรือยกเว้นการเก็บภาษีจากอัตราปกติ เมื่อส่งออกไปยังตลาดคู่ค้าในความตกลงฉบับดังกล่าว
ที่สำคัญ เวียดนามยังมีต้นทุนค่าจ้างแรงงานต่ำกว่าไทย รวมทั้ง สิทธิประโยชน์ เช่น “ยกเว้น” ภาษีให้นักลงทุน 5-10 ปี และยังมีข้อได้เปรียบเรื่องการอำนวยความสะดวกระยะเวลาการยื่นขอพิจารณาเพียง 1 เดือน ในขณะที่ไทยใช้เวลาพิจารณายาวนานถึง 6-10 เดือน การขอคืนภาษีที่ให้การยกเว้นก็เร็วกว่ามากและที่สำคัญ ในปีนี้ยังมีแนวโน้มว่าการส่งออกของเวียดนามมีโอกาสเติบโตขึ้น
ในมุมอุตสาหกรรมเราเห็นด้วยกับความตกลงฉบับนี้ เพราะหากมองถึงภาพรวมการผลิตจะได้ประโยชน์ แน่นอนว่าไม่มีความตกลงอะไรที่เราจะได้ประโยชน์ทั้งหมด 100% มันมีทั้งบวกและลบ แต่รัฐบาลต้องชั่งน้ำหนักว่าหากด้านบวกเยอะกว่าก็ต้องมอง เพราะไม่เช่นนั้นเราจะค้าขายกับใคร ใครจะมาลงทุน
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
ซึ่ง
ประธานกรรมการหอการค้าไทยและประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศ เคยกล่าวไว้ว่า
"ภาคเอกชนต้องการความชัดเจนในการเข้าร่วมเจรจาซีพีทีพีพี เนื่องจากเห็นว่าประเทศไทยจำเป็นจะต้องปรับตัว เพื่อให้ทันกับสถานการณ์ของโลก และ ซีพีทีพีพี เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศในประเทศไทย โดยเฉพาะหอการค้าญี่ปุ่นในไทยเพราะจะมีผลต่อการพิจารณาลงทุนในไทยหรือย้ายฐานลงทุนจากไทยไปเวียดนาม ซึ่งเป็นสมาชิก ซีพีทีพีแทน"
แล้วการคาดการณ์ดังกล่าว ก็เกิดขึ้นจริงแล้ว !!!
จาก
ข้อมูลจากกระทรวงแรงงาน ปี 2563 ระบุว่า มีแรงงานไทยกว่า 38 ล้านคน ทำงานในภาคเอกชนกว่า 22 ล้านคน
เห็นได้ว่า คนไทยเป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรมเกินกว่า 50% ของจำนวนประชากรของประเทศไทย ทั้งในส่วนของแรงงานในระบบประกันสังคม แรงงานอิสระ และแรงงานนอกระบบ ทำงานในธุรกิจขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ ในทุกๆ อุตสาหกรรม
ซึ่งแนวโน้มของคนว่างงาน และจำนวนธุรกิจที่เลิกจ้างก็เพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตโควิด-19 ธุรกิจหลายแห่งได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก ต้องเลิกจ้าง รวมถึงการย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้าน
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
ในอดีต เวียดนามเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยประชากรเคยมีรายได้ต่อหัวต่อปีต่ำกว่า 3,000 บาท
อย่างไรก็ตาม หลังปี ค.ศ. 1986 ที่เวียดนามมีการปฏิรูปเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ปัญหาความยากจนก็ค่อยๆ ลดลง
ปัจจุบัน รายได้เฉลี่ยต่อหัวของคนเวียดนามต่อปีเท่ากับ 77,400 บาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวภายในระยะเวลา 10 ปี
ขณะที่ในช่วงระหว่างปี 2002-2018 ประชากรเวียดนามจำนวนกว่า 45 ล้านคน หรือประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศ สามารถหลุดพ้นจากความยากจนไปเรียบร้อยแล้ว..
ที่มา :
ลงทุนแมน
เวียดนาม กำลังจะเปลี่ยนจากคู่ค้า เป็นคู่แข่งของประเทศไทย และมีโอกาสแซงไทยในระยะยาวได้ หากประเทศไทยยังคงผลิตสินค้าและบริการด้วยรูปแบบและ วิทยาการเดิมๆ เวียดนามจะสามารถก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งกับไทยได้ไม่ยากนัก และหากเวียดนามสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อผลิตสินค้าเพื่อรองรับความต้องการในประเทศได้เองแล้ว การพึ่งพาการนำเข้าสินค้าจากไทยก็จะไม่จำเป็นอีกต่อไป ซึ่งนั่นจะส่งผลกระทบโดยตรงกับภาคส่งออกของไทยที่เคยได้รับโอกาสในการขยายตลาดส่งออกมายังเวียดนามอย่างสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
แล้วประเทศไทยควรจะทำเช่นไร เพื่อไม่ให้ถูกทิ้ง และรั้งท้ายในอาเซียน หากประเทศไทยต้องการจะหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง ภาคธุรกิจต้องการที่จะประสบความสำเร็จในตลาดโลก และมีความได้เปรียบคู่แข่งคนสำคัญอย่างเวียดนามในอนาคต การพัฒนาจะต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้และอาศัยความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง
"Made in Vietnam" กำลังมาแรง แซง Made in Thailand !!!
ประเทศเวียดนาม หนึ่งในประเทศสมาชิกของ CPTPP ซึ่งมีชื่อเต็มว่า "Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership" หรือ ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก กำลังทำให้ธุรกิจเอกชนของประเทศไทยต้องจำใจย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศไทย
หลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลเวียดนามพยายามผลักดันและสร้างบรรยากาศการลงทุน รวมทั้งสภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจ เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาเวียดนามมากยิ่งขึ้น
อีกหนึ่งจุดแข็งของเวียดนามคือ การมีจำนวนแรงงานที่สูงกว่า 56 ล้านคน โดย 2 ใน 3 นั้นเป็นแรงงานที่อยู่ในช่วงหนุ่มสาวซึ่งมีอายุต่ำกว่า 35 ปี
จนทำให้หลายบริษัทที่คนไทยคุ้นเคยย้ายฐานการผลิตไปยังเวียดนามแล้ว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ซึ่ง ประธานกรรมการหอการค้าไทยและประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศ เคยกล่าวไว้ว่า
"ภาคเอกชนต้องการความชัดเจนในการเข้าร่วมเจรจาซีพีทีพีพี เนื่องจากเห็นว่าประเทศไทยจำเป็นจะต้องปรับตัว เพื่อให้ทันกับสถานการณ์ของโลก และ ซีพีทีพีพี เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศในประเทศไทย โดยเฉพาะหอการค้าญี่ปุ่นในไทยเพราะจะมีผลต่อการพิจารณาลงทุนในไทยหรือย้ายฐานลงทุนจากไทยไปเวียดนาม ซึ่งเป็นสมาชิก ซีพีทีพีแทน"
แล้วการคาดการณ์ดังกล่าว ก็เกิดขึ้นจริงแล้ว !!!
จาก ข้อมูลจากกระทรวงแรงงาน ปี 2563 ระบุว่า มีแรงงานไทยกว่า 38 ล้านคน ทำงานในภาคเอกชนกว่า 22 ล้านคน
เห็นได้ว่า คนไทยเป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรมเกินกว่า 50% ของจำนวนประชากรของประเทศไทย ทั้งในส่วนของแรงงานในระบบประกันสังคม แรงงานอิสระ และแรงงานนอกระบบ ทำงานในธุรกิจขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ ในทุกๆ อุตสาหกรรม
ซึ่งแนวโน้มของคนว่างงาน และจำนวนธุรกิจที่เลิกจ้างก็เพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตโควิด-19 ธุรกิจหลายแห่งได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก ต้องเลิกจ้าง รวมถึงการย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้าน
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
ในอดีต เวียดนามเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยประชากรเคยมีรายได้ต่อหัวต่อปีต่ำกว่า 3,000 บาท
อย่างไรก็ตาม หลังปี ค.ศ. 1986 ที่เวียดนามมีการปฏิรูปเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ปัญหาความยากจนก็ค่อยๆ ลดลง
ปัจจุบัน รายได้เฉลี่ยต่อหัวของคนเวียดนามต่อปีเท่ากับ 77,400 บาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวภายในระยะเวลา 10 ปี
ขณะที่ในช่วงระหว่างปี 2002-2018 ประชากรเวียดนามจำนวนกว่า 45 ล้านคน หรือประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศ สามารถหลุดพ้นจากความยากจนไปเรียบร้อยแล้ว..
ที่มา : ลงทุนแมน
เวียดนาม กำลังจะเปลี่ยนจากคู่ค้า เป็นคู่แข่งของประเทศไทย และมีโอกาสแซงไทยในระยะยาวได้ หากประเทศไทยยังคงผลิตสินค้าและบริการด้วยรูปแบบและ วิทยาการเดิมๆ เวียดนามจะสามารถก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งกับไทยได้ไม่ยากนัก และหากเวียดนามสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อผลิตสินค้าเพื่อรองรับความต้องการในประเทศได้เองแล้ว การพึ่งพาการนำเข้าสินค้าจากไทยก็จะไม่จำเป็นอีกต่อไป ซึ่งนั่นจะส่งผลกระทบโดยตรงกับภาคส่งออกของไทยที่เคยได้รับโอกาสในการขยายตลาดส่งออกมายังเวียดนามอย่างสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
แล้วประเทศไทยควรจะทำเช่นไร เพื่อไม่ให้ถูกทิ้ง และรั้งท้ายในอาเซียน หากประเทศไทยต้องการจะหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง ภาคธุรกิจต้องการที่จะประสบความสำเร็จในตลาดโลก และมีความได้เปรียบคู่แข่งคนสำคัญอย่างเวียดนามในอนาคต การพัฒนาจะต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้และอาศัยความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง