🤔 อีก 15 ปี เวียดนามจะแซงไทยแน่นอน สรุป สิ่งที่ทำให้เวียดนามกลายเป็น ‘ผู้นำ’ ด้าน Tech ในอาเซียน



เวียดนามแซงหน้าไทยอีกแล้ว!

หากใครติดตามข่าวสารในวงการเทคโนโลยี หรือเกาะติดกระแสเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า (EV Car) อยู่แล้ว คงเห็นข่าวที่ ‘วินฟาสต์’ (VinFast) รถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติเวียดนาม
ประกาศความพร้อมในการบุกตลาด
ที่สหรัฐอเมริกาอย่างเต็มตัว และไม่ใช่การ
ไปแบบตัวเปล่าเล่าเปลือย เอาสินค้าไปเร่ขายเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีการจัดตั้งโรงงานผลิต
และเปิดตัวโชว์รูมแห่งแรกในรัฐแคลิฟอร์เนีย
ไปเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา 
การเติบโตของวินฟาสต์ เป็นหนึ่งในปัจจัย
ที่สะท้อนให้เห็นว่า นับวัน ‘เวียดนาม’ ยิ่งมี
การเติบโตด้านอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
และเทคโนโลยีแซงหน้าทุกประเทศในอาเซียน
โดยเฉพาะ ‘ไทย’ ที่เป็นไม้เบื่อไม้เมา
ด้านการส่งออกและการลงทุนของชาวต่างชาติมาอย่างยาวนาน 

จากประเทศยากจนที่มีความบอบช้ำ
ทางเศรษฐกิจ สู่การเป็นผู้ส่งออกผลผลิตทางการเกษตรอันดับต้นๆ ของโลก
และในปัจจุบันก็พัฒนาประเทศจนกลาย
เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีในอาเซียนไปแล้ว
ไม่ว่าบริษัทใดที่คิดจะตั้งโรงงานใหม่
หรือขยายฐานการผลิต ต้องมีเวียดนามเป็น
ตัวเต็งในการลงทุนอย่างแน่นอน
ทำให้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
เวียดนามคงแซงหน้าไทยแบบไม่เห็นฝุ่น 

เวียดนามทำให้ประเทศของตัวเอง
มาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? เราจะพาทุกคนไป
สำรวจกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีที่เวียดนาม
ใช้ในการพัฒนาประเทศสู่สายตาชาวโลก
ไปพร้อมๆ กัน
 
 
จุดเริ่มต้นของความสำเร็จที่ทำให้ ‘เวียดนาม’ เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีในอาเซียน 
จุดเริ่มต้นของการที่เวียดนามเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีในอาเซียน ต้องย้อนกลับไปราว 5 ปีก่อนที่เป็นยุคของการเปลี่ยนผ่านจาก ‘อุตสาหกรรม 2.0’ (Industry 2.0) 
การผลิตที่เน้นใช้คนและเครื่องจักร
ในกระบวนการผลิต
หรืออุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม
ที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี
สู่ ‘อุตสาหกรรม 4.0’ (Industry 4.0)
การผลิตที่เน้นใช้เทคโนโลยีเข้ามาปิดช่องโหว่ของอุตสาหกรรม 2.0
โดยเฉพาะเรื่องของเวลาและการใช้แรงงานอย่างสิ้นเปลือง
เมื่อยุคของอุตสาหกรรม 4.0 มาถึง หลายๆ ประเทศก็ต้องเริ่มปรับตัว เพื่อไม่ให้ตกขบวน และรั้งท้ายในการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ซึ่งเวียดนามเป็นประเทศที่มีความกระตือรือล้นในการปรับตัวครั้งนี้เป็นอย่างมาก
จะเห็นได้จากนโยบายของภาครัฐที่ส่งเสริมเรื่องการพัฒนานวัตกรรมในประเทศ
และปรับปรุงกฎหมายด้านการลงทุน
มาอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะการลงนามข้อตกลงการค้าเสรี
กับ (EU) ที่เป็นหมัดเด็ด
ในการเอาชนะใจนักลงทุนต่างชาติ
จนกระทั่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เวียดนามเริ่มเป็นที่พูดถึงเกี่ยวกับการเป็นแนวหน้า
ทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของอาเซียน 
โดนกูรูด้านการลงทุนหลายๆ คน
ต่างลงความเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่า
“เวียดนามมาแน่!” และกลายเป็น
‘ตลาดเกิดใหม่’ (Emerging Market)
ที่น่าจับตามอง
ทำให้บริษัทเทคฯ ยักษ์ใหญ่ต่างพากันมา
ตั้งฐานการผลิตที่เวียดนาม
ไม่ว่าจะเป็นพานาโซนิก (Panasonic)
ซัมซุง (Samsung) ฟ็อกซ์คอนน์ (Foxconn) รวมถึงบิ๊กเทค (Big Tech) จากซิลิคอน แวลลีย์ (Silicon Valley) อย่างแอปเปิล (Apple) ด้วย 

เมื่อบริษัทเทคฯ เหล่านี้เข้ามาลงทุนในเวียดนาม เศรษฐกิจภายในประเทศต้องเกิดการขยายตัวอย่างแน่นอน
โดยในปี 2022 ธนาคารกลางโลก
(World Bank)
คาดการณ์ว่า จีดีพี (GDP) ของเวียดนาม
จะขยายตัวถึง 5.5 เปอร์เซ็นต์ 

นอกจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ อีกสิ่งหนึ่ง
ที่เวียดนามจะได้รับมาเป็นผลพลอยได้จาก
การลงทุนของบริษัทเทคฯ ก็คือองค์ความรู้
ทางเทคโนโลยี และการสร้างนวัตกรรมที่จะเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป 
 
กลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีที่ ‘เวียดนาม’ ใช้ในการพัฒนาประเทศ หัวใจสำคัญที่ทำให้เวียดนามก้าวมาถึงจุดนี้ได้คือ ‘การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล’
(Digital Transformation)
อาจจะเป็นคำที่ฟังดูน่าปวดหัว แต่จริงๆ แล้ว
ก็คือการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และใช้เทคโนโลยี
เพื่อแสวงหาโอกาสใหม่ๆ ที่คาดไม่ถึงมาก่อน
ซึ่งเวียดนามพัฒนาประเทศจาก 2 ปัจจัยหลัก ดังนี้ 
 
1. เมืองอัจฉริยะ (Smart City)
: ฟันเฟืองที่ผลักดันความเป็นอยู่แบบดิจิทัล
ความเป็นเมืองอัจฉริยะ หรือเมืองที่พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้คนด้วยเทคโนโลยี คือพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้ประเทศมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่อสายตาชาวโลก 
และดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนมากขึ้น 
เพราะความพร้อมทางสาธารณูปโภคพื้นฐานและอินเทอร์เน็ต คือเกณฑ์การตัดสินใจว่า 
ควรจะเข้ามาลงทุนในประเทศนี้หรือไม่? 

โดยรัฐบาลเวียดนามวางแผนในการติดตั้ง
เครือข่ายไร้สาย 5G ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ พร้อมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีที่สำคัญ
อย่าง ปัญญาประดิษฐ์
(Artificial Intelligence หรือ AI)
บล็อกเชน (Blockchain)
Internet of Things (IoT)
และ
ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity)
ให้สำเร็จภายในปี 2025 


2. สตาร์ตอัป (Startup) : ฟันเฟืองที่ผลักดันสังคมและธุรกิจแบบดิจิทัล ด้วยพื้นฐานของ
สตาร์ตอัปที่เป็นธุรกิจแห่งความสร้างสรรค์
ที่ใช้เทคโนโลยีมาสร้างความแตกต่าง
เพื่อให้เข้าถึงลูกค้ามากขึ้น อีกทั้งยังเกิดมา
เพื่อแก้ปัญหา และตอบโจทย์ความต้องการ
ของลูกค้าที่ธุรกิจเดิมในตลาดทำไม่ได้
ทำให้สตาร์ตอัปกลายเป็นธุรกิจยุคใหม่
ในการเปลี่ยนแปลงประเทศ และช่วยเพิ่มโอกาสการเติบโตทางเทคโนโลยีมากขึ้น 

ในปัจจุบัน สตาร์ตอัปของเวียดนามมีมากมายหลายบริษัท เช่น Vbee ผู้พัฒนาเสียงพูดภาษาเวียดนามสำหรับ AI และ bePOS แอปพลิเคชันสำหรับจัดการการขายสินค้า เป็นต้น 
และรัฐบาลเวียดนามก็ยังมีเป้าหมาย
ที่จะสร้างสตาร์ตอัปยูนิคอร์น 10 ราย
ภายในปี 2030 อีกด้วย 

ต้องยอมรับว่า การที่เวียดนามสามารถก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีในอาเซียนได้
เป็นเพราะการปูพื้นฐานทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่แข็งแกร่งมากๆ
ไม่ว่าจะด้วยการสนับสนุนของภาครัฐ
การร่วมมือของภาคเอกชน
การถอดแบบโมเดลการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล
ของประเทศที่ทำสำเร็จมาก่อนอย่างจีน
หรือเกาหลีใต้ หรือจากปัจจัยอื่นร่วมด้วยก็ตาม 


แล้วทุกคนคิดว่า ‘ไทย’ กำลังถูก ‘เวียดนาม’
แซงหน้าการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี
ในอาเซียนอยู่หรือเปล่า? 


แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่