สงคราม Anglo-Zanzibar อังกฤษทำ “สงครามสั้นที่สุดในโลก” รบกัน 38 นาที


ภาพการรบ

    
    สงครามAnglo-Zanzibar ค.ศ. 1896 เป็นสงครามที่ถูกบันทึกไว้ว่าสั้นที่สุดในประวัติศาสตร์เพราะรบกันเพียงแค่ 38 นาที เป็นการรบระหว่างฝ่ายอังกฤษกับฝ่ายแซนซิบาร์ (Zanzibar) เกาะบริเวณแอฟริกาตะวันออก (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของแทนซาเนีย) อันเนื่องมาจากปัญหาการสืบราชบัลลังก์




เกาะเเทนซาเนีย เกาะเล็กๆ ในทวีปเเอฟริกา ตรงประเทศเเทนซาเนียร์

ชนวนเหตุ


สุลต่านฮาเม็ด

   Hamad bin Thuwaini สุลต่านผู้ปกครองแซนซิบาร์สวรรคตอย่างกะทันหัน และหาคำตอบไม่ได้ว่าสวรรคตด้วยเหตุใด มีข้อสันนิษฐานว่าพระองค์ถูกวางยาพิษโดยหลานชายของพระองค์คือ Khalid bin Barghash

Khalid bin Barghash ผู้อยากได้ราชบัลลังก์

เพราะไม่นานจากการสวรรคต Khalid bin Barghash รีบเสด็จมาที่พระราชวังและอ้างสิทธิ์เหนือราชบัลลังก์ทันที
แซนซิบาร์เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ และมีข้อตกลงหนึ่งคือสุลต่านที่ขึ้นมาปกครองแซนซิบาร์จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลอังกฤษ การกระทำของ Khalid bin Barghash ทำให้ฝ่ายอังกฤษไม่พอใจมาก เพราะอังกฤษต้องการให้ Hamud bin Muhammed ที่นิยมอังกฤษขึ้นปกครองแทนสุลต่านองค์เก่า
ในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1896 Khalid bin Barghash ระดมกองกำลังมาที่พระราชวังกว่า 3,000 คน พร้อมทั้งปืนใหญ่ ปืนกล รวมถึงเรือ HHS Glasgow ที่แซนซิบาร์ได้รับพระราชทานมาจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียอีกด้วย


สมเด็จพระนางเจ้าวิคทอเรียเเห่งจักรวรรดิอังกฤษ


ทหารเรือสหราชอาณาจักร ในสงครามนี้


เซอร์เบซิล เคฟ

   Sir Basil Cave กงสุลใหญ่อังกฤษประจำแซนซิบาร์พยายามเจรจาอย่างสันติ โดยเรียกร้องให้ Khalid bin Barghash สลายกองทัพ วางอาวุธ และออกจากพระราชวัง แต่ความพยายามเจรจาก็ไม่เป็นผล ขณะนั้นฝ่ายอังกฤษมีเรือรบจอดอยู่ที่ท่าเรืออยู่แล้ว 2 ลำคือเรือ HMS Philomel และเรือ HMS Rush ดังนั้น Sir Basil Cave จึงประสานขอกำลังสนับสนุนเพิ่มเติม และในเย็นวันนั้น เรือ HMS Sparrow ก็มาถึงท่าเรือที่เมือง Zanzibar Town
ใช้การทูตแก้ปัญหาอย่างถึงที่สุด
Sir Basil Cave พยายามอย่างที่สุดในการเจรจาอย่างสันติ แต่เหมือนสถานการณ์กำลังบีบบังคับให้ใช้กำลัง ท่านรู้ดีว่าตนไม่ได้มีอำนาจในการสั่งการให้เป็นฝ่ายเริ่มโจมตีด้วยกำลังทหาร จึงส่งโทรเลขไปถึงรัฐบาลอังกฤษ ความว่า
“Are we authorised in the event of all attempts at a peaceful solution proving useless, to fire on the Palace from the men-of-war?”
“เราได้รับอนุญาตให้ยิงพระราชวังหรือไม่ หากความพยายามทั้งหมดที่จะแก้ปัญหาอย่างสันตินั้นพิสูจน์แล้วว่าไร้ประโยชน์”

เรือ HHS Glasgow

ต่อมา วันที่ 26 สิงหาคม เรือ HMS Racoon และเรือ HMS St. George เดินทางมาสมทบกับกองเรือที่ตั้งกำลังพร้อมรบอยู่ที่ท่าเรือ โดยมี พลเรือตรี Harry Rawson เป็นผู้บังคับบัญชา ไม่นานก็ได้รับโทรเลขตอบกลับจากรัฐบาลที่ลอนดอน ความว่า
“You are authorised to adopt whatever measures you may consider necessary, and will be supported in your action by Her Majesty’s Government. Do not, however, attempt to take any action which you are not certain of being able to accomplish successfully.”
“คุณได้รับอนุญาตให้ใช้มาตรการใดก็ตามที่พิจารณาแล้วว่ามีความจำเป็น ซึ่งจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในสมเด็จพระราชินี แต่ห้ามกระทำการใด ๆ ที่คุณไม่มั่นใจว่าจะกระทำสำเร็จอย่างสัมฤทธิ์ผล”
สงคราม
Sir Basil Cave ยื่นคำขาดถึง Khalid bin Barghash ว่าจะต้องออกจากพระราชวังในวันพรุ่งนี้ก่อนเวลา 9.00 น. นอกจากนี้ยังสั่งให้พลเรือนอพยพออกจากบริเวณท่าเรือโดยรอบเพื่อเตรียมทำสงครามที่อาจจะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้
8.00 น. ของวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1896 Khalid bin Barghash ส่งจดหมายถึง Sir Basil Cave ว่า “We have no intention of hauling down our flag and we do not believe you would open fire on us.” ซึ่งเป็นการประกาศไม่ยอมจำนนและไม่เชื่อว่าอังกฤษจะกล้ายิงใส่พระราชวัง Sir Basil Cave จึงตอบจดหมายกลับว่า “…but unless you do as you are told, we shall certainly do so.” “หากท่านไม่ปฏิบัติตามที่ได้แจ้งไป เราจะทำเช่นนั้นอย่างแน่นอน”
9.00 น. Sir Basil Cave สั่งให้กองทัพพร้อมรบ และในเวลา 9.02 น. จึงเริ่มเปิดฉากยิงถล่มใส่พระราชวังและกองทัพของฝ่ายแซนซิบาร์ การยิงยุติเมื่อเวลา 9.40 น. พระราชวังได้รับความเสียหายอย่างมากเพราะสร้างจากไม้และไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เป็นป้อมปราการสำหรับป้องกันการโจมตี เรือรบหลวง Glasgow ถูกจม ฝ่ายแซนซิบาร์บาดเจ็บและล้มตายรวมกว่า 500 คน ส่วนฝ่ายอังกฤษซึ่งมีทหารประมาณ 1,000 นาย ได้รับบาดเจ็บสาหัสเพียง 1 นาย ซึ่งภายหลังได้รับการรักษาและหายเป็นปกติ
นั่นหมายความว่า สงครามที่เกิดขึ้นกินเวลาราว 38 นาทีเท่านั้น
1.


2.


3.


4.


5.


สงครามเเละหายนะ เมื่อชาติเล็กๆ ต่อสู้กับราชสีห์อย่างอังกฤษ ซึ่งเป็นมหาอำนาจเบอร์หนึ่งของโลกในตอนนั้น

*เรื่องเล่าเสริม
      เดิมทีเกาะเเห่งนี้เป็นรัฐๆ หนึ่งที่ร่ำรวยมาก เเละมักจะจับทาสชาวผิวสีหลายคนเพื่อมาขายเเก่ฝรั่ง โดยสินค้าหลักของที่นี่คือ
1.งาช้าง
2.เครื่องเทศ(สมัยก่อนเครื่องเทศราคาดุจทองคำ)
3.ทาส ขนาดปีละเกือบครึ่งเเสนคน มันเยอะมาก!!!(สินค้าชนิดนี้สร้างรายได้ที่สุด)
    ซึ่งต่อมาก็กลายเป็นประเทศราชของจักรวรรดิโอมาน พอผ่านไปก็ได้เอกราชเหมือนเดิม เเต่ภัยจากการล่าอาณานิคม ก็ไม่พ้นมืออังกฤษ เเละเยอรมันที่พยายามยึดเกาะนี้ สุดท้ายอังกฤษได้มาเป็นรัฐอารักขา(ไม่เชิงว่าเสียเอกราชนะ เเต่ต้องอยู่ภายใต้จักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งอังกฤษจะทำอะไรก็ได้ เเต่ที่สำคัญคือ อังกฤษสามารถเลือกกษัตริย์หรือสุลต่านเองได้( เเต่ต้องสนับสนุนอังกฤษเท่านั้น) เเต่Khalid bin Barghash ซึ่งเกลียดอังกฤษ ต้องการเป็นสุลต่านหลายครั้งจนในที่สุดก็ทะเลาะกันกับอังกฤษ เเละนำมาสู่ความพ่ายแพ้อย่างยับเยิน 
1.


2.


การค้าทาสในเเอฟริกา มักจะมีผู้มาซื้อ เช่น บริษัท รอยัลเเอฟริกาเเห่งอังกฤษ

ที่มา
https://www.silpa-mag.com/history/article_26901
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่