สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
เป็นเรื่องของการเสื่อมสภาพของนมครับหากเก็บไว้ในขวดใสแล้วเจอแสง โดยแสงจะเร่งปฎิกิริยา Oxidation ในน้ำนม ทำให้นมมีกลื่นหืนจากไขมันในนม นมมีสีคล้ำขึ้นจากปฎิกิริยา Browning reaction ของน้ำตาลแลคโตสในนม และวิตามินต่างๆที่จะสลายตัวเมื่อเจอแสง ดังนั้นจึงนิยมใช้ขวดพลาสติกขุ่นมากกว่าขวดพลาสติกใสในการบรรจุเพื่อช่วยรักษาคุณภาพของนมให้ยาวนานขึ้นครับ
ส่วนการบรรจุด้วยขวด PET สามารถทำได้ครับ โดยขวด PET นั้นสามารถทนอุณหภูมิในการบรรจุได้ถึง 90 องศาเซลเซียส ขึ้นอยู่กับความหนาของขวดและการทำปากขวดให้สามารถทนอุณหภูมิสูงของหัวบรรจุ อย่างเช่นการบรรจุน้ำผลไม้แบบระบบ Hot filling ที่ใช้อุณหภูมิในการบรรจุขวดที่ 90 องศาเซลเซียส
ส่วนการบรรจุด้วยขวด PET สามารถทำได้ครับ โดยขวด PET นั้นสามารถทนอุณหภูมิในการบรรจุได้ถึง 90 องศาเซลเซียส ขึ้นอยู่กับความหนาของขวดและการทำปากขวดให้สามารถทนอุณหภูมิสูงของหัวบรรจุ อย่างเช่นการบรรจุน้ำผลไม้แบบระบบ Hot filling ที่ใช้อุณหภูมิในการบรรจุขวดที่ 90 องศาเซลเซียส
ความคิดเห็นที่ 19
ขวดขุ่นคือพลาสติก pp ค่ะ (แทบทั้งหมด ก็มีที่ไปเลือก HDPE อยู่เหมือนกันหากต้องการให้แช่แข็งได้) นอกจากคุณสมบัติเข้ากับนมได้ คือทนน้ำมัน ทนสารเคมี บรรจุอาหารขณะร้อนได้ ถ้าหนาพอก็เข้าไมโครเวฟได้ (เกรด microwaveable) พิมพ์ลายได้ (เพราะสีที่ใช้ก็เป็น PP เหมือนกัน) ยังขึ้นรูปง่ายและราคาถูกด้วย เป็นตัวยอดนิยมในหมวดบรรจุภัณฑ์อาหารเลยค่ะ ตัวเขาเองก็ใสนะคะ จะเพิ่มความขุ่นหรือเพิ่มสีอะไรลงไปก็ได้
ฉันคิดว่าส่วนหนึ่งเป็นการตลาดด้วย ถ้าเป็นขวดขาวขุ่น แม้ไม่อ่านฉลากแต่คุณจะรับรู้ได้ว่ามันเป็นนมหรือญาติของนม เช่น น้ำเต้าหู้ นมจากธัญพืช ในขณะที่ประเภทน้ำดื่ม น้ำชา หรือน้ำอัดลมต้องใสเท่านั้น ในกรณีน้ำหรือน้ำหวานราคาถูกก็จะมีขวดที่ขุ่นขึ้นมา ประเภทราคาแพงจึงจะเป็นขวดแก้ว (หรือพลาสติก PS ซึ่งมีความใสและเสียงดีดคลายแก้ว) ชนิดลักษณะของบรรจุภัณฑ์มีส่วนในการทำให้ผู้บริโภครับรู้ได้ว่าข้างในเป็นอะไรและราคาระดับไหนค่ะ ถ้าเป็นสินค้าแมส ผู้ผลิตจำต้องเลือกให้ขวดนมขุ่นด้วยประการฉะนี้ (ก็ไม่ง่ายนะคะกว่าถาดอาหารบ้านเราจะกล้าใช้สีดำ เพิ่งมีสักสิบปีมานี้เอง ก่อนหน้านั้นบังคับขาว ดำได้ถ้าเป็นอาหารญี่ปุ่นเท่านั้น)
ส่วนขวดน้ำอัดลม เป็นพลาสติก PET (PETE, ขวดเพ็ต) เขามีคุณสมบัติเข้ากับน้ำอัดลมได้ตรงที่ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้ ทนกรดได้ ซึ่ง PP เอาไม่อยู่ค่ะ ขืนใส่น้ำอัดลมเข้าไปก็ระเบิดกันพอดี เพ็ตราคาแพงกว่า PP ส่วนความใสนั่นแค่คุณสมบัติพื้นฐานของเขา จะใส่สีให้ขาวขุ่นหรือสีอื่นก็ได้ค่ะ แต่ส่วนใหญ่ขวดเพ็ตชูจุดขายที่ความใส เรื่องสีๆ มีลวดลายเป็นงานประจำของ PP มากกว่า (อันที่จริงน้ำดื่มจะใส่ PP ก็ได้ แต่เพราะเป็นสินค้าที่ไม่ต้องการให้มีกลิ่นเจือปน ก็เลยเลือกเป็นขวดเพ็ตที่ปิดกั้นก๊าซได้ ถ้าใส่ PP แล้วหมกอยู่ในที่ที่มีกลิ่นมีควัน น้ำจะติดกลิ่นมาล่ะ อย่างน้ำดื่มโพลาลิสก็จะมีกลิ่นพลาสติกอยู่เบาๆ ซึ่งยังดื่มแล้วปลอดภัยนะ มันก็แค่อณูกลิ่นเล็กน้อย แต่เรารู้สึกซัมติงใช่ไหมล่ะ)
.............................................
คุณสามารถแยกประเภทพลาสติกของบรรจุภัณฑ์ได้โดยการมองหาสัญลักษณ์รีไซเคิลบนขวด มักจะอยู่ที่ก้นขวดนะ
ถ้ามองหาทั้งตัวก็ไม่มี เขาคือ PP ค่ะ (ใช้เยอะซะจนไม่ต้องมีบอกก็รู้ได้ว่าเป็นพี่เขาแน่นวล) คุณสามารถมองหาตัวอย่างขวด PP แบบใสได้จากขวดที่ทางร้านกรอกน้ำหวานใส่แล้วตอกปิดฝาเอง ใสเหมือนขวดน้ำอัดลมเลยล่ะ ที่เห็นว่าขุ่นเกิดจากการใส่สีให้เกิดความทึบเพื่อรักษาคุณภาพของนม ถ้าใสแล้วโดนแดดบ้างอะไรบ้าง นมจะออกทางสีเหลืองค่ะ มันไม่น่ากิน
และหากคุณเมตตาโลกใบนี้ กรุณากลั้วขวดเหล่านี้ด้วยน้ำเปล่าสักนิดแล้วปล่อยให้แห้งเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราจากเศษอาหาร แล้วแยกประเภทก่อนทิ้ง
พี่ซาเล้งเขาสะดวกขึ้นค่ะ ขายได้ราคา หรือคุณจะขายเองก็ได้
ช่วยลดขยะที่ต้องเดินทางไปทะเลขยะได้ พลาสติกที่สัมผัสอาหารล้วนเป็นพลาสติกมือหนึ่ง ทำมาจากเม็ดพลาสติกแท้ๆ ที่บริสุทธิ์และโครงสร้างโมเลกุลแข็งแรง คุณสมบัติเต็มร้อย เขาสามารถถูกรีไซเคิลได้อีกหลายครั้งค่ะ เขาจะกลายเป็นข้าวของเครื่องใช้ โดนเวียนผลิตจนสีมอมแมม เหลือเดนอย่างไรก็ยังกลายเป็นถุงดำให้เราใช้ได้ไม่จบไม่สิ้น (เพราะเติมสารเพิ่มคุณภาพเข้าไปเรื่อยๆ) นานแสนนานกว่าที่เขาควรจะถูกกำจัดด้วยวิธีเผา
เพื่อลดจำนวนไมโครพลาสติกในดิน ในน้ำ และในทะเล คุณจะได้กินของออแกนิคจริงๆ ที่ไม่มีพลาสติกเจือปนไปมากกว่านี้ ตอนนี้ไม่มีอะไรที่ปลอดไมโครพลาสติกหรอกค่ะ ต่อให้เป็นปลาทะเลน้ำลึกหรือผักที่โตบนดินออแกนิคก็ตามที ไมโครพลาสติกเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เราป่วยด้วยโรคมะเร็ง มิต้องพูดถึงความพินาศของสิ่งแวดล้อมกับสัตว์ร่วมโลกเลย
จากใจเด็กสาขาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ค่ะ ^^
ฉันคิดว่าส่วนหนึ่งเป็นการตลาดด้วย ถ้าเป็นขวดขาวขุ่น แม้ไม่อ่านฉลากแต่คุณจะรับรู้ได้ว่ามันเป็นนมหรือญาติของนม เช่น น้ำเต้าหู้ นมจากธัญพืช ในขณะที่ประเภทน้ำดื่ม น้ำชา หรือน้ำอัดลมต้องใสเท่านั้น ในกรณีน้ำหรือน้ำหวานราคาถูกก็จะมีขวดที่ขุ่นขึ้นมา ประเภทราคาแพงจึงจะเป็นขวดแก้ว (หรือพลาสติก PS ซึ่งมีความใสและเสียงดีดคลายแก้ว) ชนิดลักษณะของบรรจุภัณฑ์มีส่วนในการทำให้ผู้บริโภครับรู้ได้ว่าข้างในเป็นอะไรและราคาระดับไหนค่ะ ถ้าเป็นสินค้าแมส ผู้ผลิตจำต้องเลือกให้ขวดนมขุ่นด้วยประการฉะนี้ (ก็ไม่ง่ายนะคะกว่าถาดอาหารบ้านเราจะกล้าใช้สีดำ เพิ่งมีสักสิบปีมานี้เอง ก่อนหน้านั้นบังคับขาว ดำได้ถ้าเป็นอาหารญี่ปุ่นเท่านั้น)
ส่วนขวดน้ำอัดลม เป็นพลาสติก PET (PETE, ขวดเพ็ต) เขามีคุณสมบัติเข้ากับน้ำอัดลมได้ตรงที่ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้ ทนกรดได้ ซึ่ง PP เอาไม่อยู่ค่ะ ขืนใส่น้ำอัดลมเข้าไปก็ระเบิดกันพอดี เพ็ตราคาแพงกว่า PP ส่วนความใสนั่นแค่คุณสมบัติพื้นฐานของเขา จะใส่สีให้ขาวขุ่นหรือสีอื่นก็ได้ค่ะ แต่ส่วนใหญ่ขวดเพ็ตชูจุดขายที่ความใส เรื่องสีๆ มีลวดลายเป็นงานประจำของ PP มากกว่า (อันที่จริงน้ำดื่มจะใส่ PP ก็ได้ แต่เพราะเป็นสินค้าที่ไม่ต้องการให้มีกลิ่นเจือปน ก็เลยเลือกเป็นขวดเพ็ตที่ปิดกั้นก๊าซได้ ถ้าใส่ PP แล้วหมกอยู่ในที่ที่มีกลิ่นมีควัน น้ำจะติดกลิ่นมาล่ะ อย่างน้ำดื่มโพลาลิสก็จะมีกลิ่นพลาสติกอยู่เบาๆ ซึ่งยังดื่มแล้วปลอดภัยนะ มันก็แค่อณูกลิ่นเล็กน้อย แต่เรารู้สึกซัมติงใช่ไหมล่ะ)
.............................................
คุณสามารถแยกประเภทพลาสติกของบรรจุภัณฑ์ได้โดยการมองหาสัญลักษณ์รีไซเคิลบนขวด มักจะอยู่ที่ก้นขวดนะ
ถ้ามองหาทั้งตัวก็ไม่มี เขาคือ PP ค่ะ (ใช้เยอะซะจนไม่ต้องมีบอกก็รู้ได้ว่าเป็นพี่เขาแน่นวล) คุณสามารถมองหาตัวอย่างขวด PP แบบใสได้จากขวดที่ทางร้านกรอกน้ำหวานใส่แล้วตอกปิดฝาเอง ใสเหมือนขวดน้ำอัดลมเลยล่ะ ที่เห็นว่าขุ่นเกิดจากการใส่สีให้เกิดความทึบเพื่อรักษาคุณภาพของนม ถ้าใสแล้วโดนแดดบ้างอะไรบ้าง นมจะออกทางสีเหลืองค่ะ มันไม่น่ากิน
และหากคุณเมตตาโลกใบนี้ กรุณากลั้วขวดเหล่านี้ด้วยน้ำเปล่าสักนิดแล้วปล่อยให้แห้งเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราจากเศษอาหาร แล้วแยกประเภทก่อนทิ้ง
พี่ซาเล้งเขาสะดวกขึ้นค่ะ ขายได้ราคา หรือคุณจะขายเองก็ได้
ช่วยลดขยะที่ต้องเดินทางไปทะเลขยะได้ พลาสติกที่สัมผัสอาหารล้วนเป็นพลาสติกมือหนึ่ง ทำมาจากเม็ดพลาสติกแท้ๆ ที่บริสุทธิ์และโครงสร้างโมเลกุลแข็งแรง คุณสมบัติเต็มร้อย เขาสามารถถูกรีไซเคิลได้อีกหลายครั้งค่ะ เขาจะกลายเป็นข้าวของเครื่องใช้ โดนเวียนผลิตจนสีมอมแมม เหลือเดนอย่างไรก็ยังกลายเป็นถุงดำให้เราใช้ได้ไม่จบไม่สิ้น (เพราะเติมสารเพิ่มคุณภาพเข้าไปเรื่อยๆ) นานแสนนานกว่าที่เขาควรจะถูกกำจัดด้วยวิธีเผา
เพื่อลดจำนวนไมโครพลาสติกในดิน ในน้ำ และในทะเล คุณจะได้กินของออแกนิคจริงๆ ที่ไม่มีพลาสติกเจือปนไปมากกว่านี้ ตอนนี้ไม่มีอะไรที่ปลอดไมโครพลาสติกหรอกค่ะ ต่อให้เป็นปลาทะเลน้ำลึกหรือผักที่โตบนดินออแกนิคก็ตามที ไมโครพลาสติกเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เราป่วยด้วยโรคมะเร็ง มิต้องพูดถึงความพินาศของสิ่งแวดล้อมกับสัตว์ร่วมโลกเลย
จากใจเด็กสาขาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ค่ะ ^^
แสดงความคิดเห็น
ทำไม นมโคใส่ขวด ทีโรงงานทำขาย ไม่ใช้ ขวดพลาสติกใส ๆ แบบทีใส่น้ำอัดลม ครับ
ท่านใดทราบ
กรุณาขอความรู้ด้วยครับ
ขอบคุณมากครับ