กลับมารีวิวสานต่อประสบการณ์การท่องเที่ยวในทริปตะลุยเดี่ยวขี่รถเที่ยวดะอีสานตอนใต้ต่อกัมพูชาตอนเหนือกันอีกนะครับ ห่างหายการเขียนต่อตอนนี้ไปเป็นแรมปี โดยกระทู้ที่เขียนเล่าประสบการณ์ในการท่องเที่ยวของผมในตอนที่ 5 นี้จะเป็นการขี่รถไปเที่ยวชมป่าปราสาทสมโบร์ไพรกุกในจังหวัดกำปงธมของประเทศกัมพูชาในวันที่ 9 ของทริปนี้นะครับ
ถามว่าทำไมอยากเล่าเรื่องราวตอนนี้ต่อ ก็เพราะว่าตอนวางแผนทริปอยู่ที่บ้านผมเองสืบเสาะหาข้อมูลภาษาไทยจากห้องบลูเพลนเนตใน pantip หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อใช้เตรียมตัวก็เห็นว่ายังไม่มีใครเคยเขียนเรื่องราวของการเที่ยวชมป่าปราสาทสมโบร์ไพรกุกเลย ทั้ง ๆ ที่กลุ่มปราสาทแห่งนี้ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกแห่งล่าสุดของประเทศกัมพูชา ผมจึงอยากแบ่งปันเรื่องราวของการท่องเที่ยวชมป่าปราสาทสมโบร์ไพรกุกนี้ให้ผู้ที่สนใจได้ใช้เป็นประโยชน์ในการวางแผนเที่ยวกันนะครับ หรือใช้เป็นคู่มือนำชมปราสาทก็ได้ แล้วคุณจะได้รู้ว่ากัมพูชาไม่ได้มีดีแค่เสียมเรียบ กับพนมเปญเท่านั้น
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับการเดินทางท่องเที่ยวของผมในทริปตะลุยเดี่ยวขี่รถเที่ยวดะอีสานตอนใต้ต่อกัมพูชาตอนเหนือ 13 วัน กันก่อนนะครับ
วันที่ 1 : เดินทางจากกรุงเทพฯ – บุรีรัมย์ เที่ยวชมสถานที่ท่องเที่ยวในเขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์
วันที่ 2 : เที่ยวปราสาทหินและสถานที่ท่องเที่ยวในเขตอำเภอละหานทราย โนนดินแดง และปะคำ และชมการแสดงแสงสีเสียง
ในงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง
วันที่ 3 : เที่ยวปราสาทหินในเขตบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ และอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ และร่วมชมขบวนแห่ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง
วันที่ 4 : เที่ยวปราสาทหินในเขตอำเภอปราสาท สังขะ และบัวเชดของจังหวัดสุรินทร์
วันที่ 5 : เดินทางจากสุรินทร์ไปจังหวัดสระแก้ว และเที่ยวปราสาทหินในจังหวัดสระแก้ว
วันที่ 6 : เที่ยวปราสาทหินและสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดสระแก้ว (ต่อ)
วันที่ 7 : เดินทางไปเมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา และเที่ยวปราสาทหินในเมืองเสียมเรียบ
วันที่ 8 : เที่ยวปราสาทหินกลุ่มหริหราลัย และปราสาทหินรายทางระหว่างทางจากเสียมเรียบไปกำปงธม
วันที่ 9 : เที่ยวกลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุกที่เมืองกำปงธม
วันที่ 10 : เดินทางไปเมืองพระตะบอง และเที่ยวปราสาทหินในเมืองพระตะบอง
วันที่ 11 : เที่ยวปราสาทหินและสถานที่ท่องเที่ยวในเมืองพระตะบอง
วันที่ 12 : เที่ยวกลุ่มปราสาทหินบันทายฉมาร์ที่เมืองบันเตียเมียนเจย
วันที่ 13 : เที่ยวเก็บตกในเมืองพระตะบอง และเดินทางกลับบ้าน
วันที่ 9 : เที่ยวกลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุกที่เมืองกำปงธม
วันนี้ออกเดินทางจากโรงแรมที่พักในเมืองกำปงธมขี่รถมุ่งหน้าไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อไปชมไฮไลต์ของทริปนี้กัน นั่นเอง
กลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุก หรือป่าปราสาท ซึ่งอยู่ห่างจากโรงแรมที่ผมพักไปราว 37 ก.ม. ใช้เวลาขี่รถไปราว 45 นาทีได้
สภาพถนนที่ขี่รถจากเมืองกำปงธมไปยังกลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุกเป็นทางราดยางโดยเป็นถนนเส้นเดียวกับทางไปจังหวัดเปรี๊ยะวิเฮียร เมื่อขี่รถมาถึงทางแยกในภาพก่อนเข้าเมืองกำปงธมจะเจอทางแยกไปปราสาทสมโบร์ไพรกุก ให้ขี่รถแยกมาที่ถนนเลนขวามือ ส่วนเลนทางซ้ายจะไปเมืองเสียบเรียบ

(เครดิตภาพจาก Google Street View)
ขี่รถต่อมาราว 10 ก.ม. จะเจอทางแยกขวามือของถนนเข้าไปยังกลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุก จุดนี้จะมีป้ายภาษาอังกฤษบอกทางเข้า
แต่หากตรงไปจะไปยังจังหวัดเปรี๊ยะวิเฮียร ถ้าใครอยากเที่ยวปราสาทเป็นเส้นทางวงกลมก็สามารถเที่ยวเชื่อมต่อไปยังปราสาทพระขรรค์ที่กำปงสวาย และปราสาทเขาพระวิหารจากเส้นทางนี้ได้
(เครดิตภาพจาก Google Street View)
ขี่รถจากทางแยกไปราว 15 ก.ม. ได้ ก่อนถึงสะพานข้ามไปเขตพื้นที่มรดกโลกกลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุก จะเห็นป้อมสีแดงฝั่งขวาของถนนใกล้กับเชิงสะพาน ป้อมตรงนี้เป็นจุดจำหน่ายตั๋วเข้าชมกลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุก ราคาอยู่ที่ 10 ดอลลาร์ หรือ 320 บาท แต่ตอนนี้ทางการกัมพูชายังไม่มีเจ้าหน้าที่ตรวจบัตรเข้าชมปราสาทเหมือนกับกลุ่มปราสาทขอมในเมืองเสียมเรียบ เพราะที่นี่เพิ่งเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวต่างชาติไม่นานภายหลังที่ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งที่ 3 ของประเทศกัมพูชามาไม่นาน
หน้าตาของบัตรเข้าชมกลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุก
เมื่อขี่รถข้ามสะพานมาแล้ว ถนนในช่วงเขตพื้นที่มรดกโลกกลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุกจะเป็นทางดินที่เกลี่ยให้เรียบเป็นตลอดจนสุดเขตของพื้นที่ปราสาท เหมือนทางการกัมพูชาต้องการอนุรักษ์ให้สภาพโดยรอบของปราสาทอยู่ในป่าและเป็นแบบดั้งเดิมมากที่สุด
ขี่รถผ่านกลุ่มปราสาทเล็กปราสาทน้อยรายทางมาจนถึงทางโค้งจะเจอกับลานจอดรถทางด้านขวามือ และเพิงร้านค้าขายอาหารและเครื่องดื่ม ตรงนี้คือจุดจอดรถของปราสาทสมโบร์ไพรกุก ให้เราจอดรถตรงนี้สะดวกสุดเพราะมีร้านค้าและห้องน้ำพร้อม เดินไปขวาของร้านค้าอีก 200 เมตรก็จะเห็นปราสาทสมโบร์ไพรกุกแล้ว
ก่อนที่เราจะไปชมปราสาทสมโบร์ไพรกุก เรามาเรียนรู้ประวัติความเป็นมากันก่อนว่าสำคัญอย่างไรต่อประวัติศาสตร์กัมพูชา นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าพื้นที่กลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุกนี้เดิมก็คือศูนย์กลางของอาณาจักรเจนละ อาณาจักรขอมรุ่นที่ 2 ที่มีความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อมาจากอาณาจักรฟูนัน สถาปนาขึ้นโดยพระเจ้าอีศานวรมันที่ 1 มีพระมหากษัตริย์ปกครองรวม 12 พระองค์ เจริญรุ่งเรืองราว 200 กว่าปี ระหว่าง พ.ศ.1093 - 1331 ก่อนที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 จะสร้างศูนย์กลางอำนาจแห่งใหม่ที่เมืองพระนคร หรือเมืองเสียมเรียบ จึงนับเป็นยุคจักรวรรดิขอม หรือขอมเมืองพระนครนั่นเอง นามเดิมของพิ้นที่กลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุกก็คือ อีศานปุระ
ในช่วงที่อาณาจักรเจนละเจริญรุ่งเรืองไปแผ่ขยายอำนาจไปในคาบสมุทรอินโดจีน ได้พิชิตฟูนันได้สำเร็จและยังได้เคยส่งทูตไปเจริญไมตรีกับจีนในสมัยราชวงศ์สุย ช่วงตอนปลายของอาณาจักร อาณาจักรเจนละได้แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ เจนละบกและเจนละน้ำมาจากความขัดแย้งภายในราชสำนักและความอ่อนแอทางการปกครองของกษัตริย์ในช่วงหลัง ๆ จนสุดท้ายอาณาจักรได้ล่มสลายลงเพราะถูกกษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทร์ของอาณาจักรศรีวิชัยเข้าโจมตีและยึดอีศานปุระได้สำเร็จและประหารกษัตริย์ของเจนละได้สำเร็จ เป็นอันปิดฉากของอาณาจักรเจนละลง
กลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุกคือประจักษ์พยานของความรุ่งเรืองทางอารยธรรมของชนชาติขอมในยุคอาณาจักรเจนละ จึงทำให้องค์การยูเนสโกได้ประกาศรับรองให้กลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งล่าสุดของประเทศกัมพูชาเมื่อปี พ.ศ. 2560 โดยใช้ชื่อว่า
แหล่งโบราณคดีสมโบร์ไพรกุก (Sambor Prei Kuk Site)
การเที่ยวชมกลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุกควรใช้เวลาอย่างต่ำครึ่งวัน ยกเว้นผู้ที่ชื่นชอบชมโบราณสถานและชอบหามุมแปลก ๆ สวย ๆ ถ่ายภาพโบราณสถานอาจต้องเพิ่มเวลาชมปราสาทเป็น 1 วันเต็ม ๆ นะครับ ลักษณะของปราสาทที่นี่จะไม่ได้มีขนาดใหญ่โตเหมือนปราสาทขอมในเมืองเสียบเรียบ ปราสาททั้งหมดก่อด้วยอิฐยกเว้นบางส่วนเช่น ทับหลังและเสาประดับกรอบประตูจะสลักด้วยหินทราย การชมปราสาทที่นี่ให้ความรู้สึกเหมือนเราผจญภัยในป่าแล้วมาเจอปราสาทลึกลับที่ซ่อนตัวอยู่ในสุมทุมพุ่มไม้ในผืนป่าคล้าย ๆ บรรยากาศการเที่ยวชมกลุ่มปราสาทเกาะแกร์ที่ผมเคยไปชมมาเมื่อ 4 ปีก่อนเลย
ปราสาทขอมที่สมโบร์ไพรกุกมีรูปลักษณ์หน้าตาที่แตกต่างไปจากปราสาทขอมแห่งอื่น ๆ ที่เห็นได้ชัดก็คือ ตัวปราสาทที่ก่อในผังแปดเหลี่ยม และการนิยมสลักลวดลายเป็นอาคารทรงวิมานอยู่บนผนังอิฐด้านนอกของปราสาท หรือแม้กระทั่งการประดับซุ้มกุฑุที่มีรูปบุคคลโผล่ออกมาครึ่งตัวในซุ้มประดับอยู่ที่ผนังและชั้นเชิงของหลังคาปราสาทก็เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นแปลกตาที่ไม่สามารถหาชมได้ที่ไหนเท่าที่นี่ โดยการเที่ยวชมกลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุกให้ทั่วต้องแบ่งโซนของปราสาทในการชมออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ

ที่มาจากหนังสือนักล่าปราสาท เที่ยวโบราณสถานขอมนอกเมืองพระนคร
กลุ่มแรกคือ กลุ่มปราสาทประธาน ซึ่งจัดเป็นหัวใจสำคัญของกลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุก ประกอบด้วย
กลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุก (N)
กลุ่มปราสาทตาว (C) และ
กลุ่มปราสาทเยียปวน (S) โดยกลุ่มปราสาทหนึ่ง ๆ ก็ประกอบด้วยปราสาทบริวารรอบรายใกล้ ๆ อีกหลายหลัง ตัวอักษรภาษาอังกฤษในวงเล็บหลังชื่อปราสาทแสดงทิศที่ตั้งของปราสาทและเป็นการเรียกขานชื่อของกลุ่มปราสาทนั่นเอง
ตะลุยเดี่ยวขี่รถเที่ยวดะอีสานตอนใต้ต่อกัมพูชาตอนเหนือ ตอนที่ 5
กลับมารีวิวสานต่อประสบการณ์การท่องเที่ยวในทริปตะลุยเดี่ยวขี่รถเที่ยวดะอีสานตอนใต้ต่อกัมพูชาตอนเหนือกันอีกนะครับ ห่างหายการเขียนต่อตอนนี้ไปเป็นแรมปี โดยกระทู้ที่เขียนเล่าประสบการณ์ในการท่องเที่ยวของผมในตอนที่ 5 นี้จะเป็นการขี่รถไปเที่ยวชมป่าปราสาทสมโบร์ไพรกุกในจังหวัดกำปงธมของประเทศกัมพูชาในวันที่ 9 ของทริปนี้นะครับ
ถามว่าทำไมอยากเล่าเรื่องราวตอนนี้ต่อ ก็เพราะว่าตอนวางแผนทริปอยู่ที่บ้านผมเองสืบเสาะหาข้อมูลภาษาไทยจากห้องบลูเพลนเนตใน pantip หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อใช้เตรียมตัวก็เห็นว่ายังไม่มีใครเคยเขียนเรื่องราวของการเที่ยวชมป่าปราสาทสมโบร์ไพรกุกเลย ทั้ง ๆ ที่กลุ่มปราสาทแห่งนี้ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกแห่งล่าสุดของประเทศกัมพูชา ผมจึงอยากแบ่งปันเรื่องราวของการท่องเที่ยวชมป่าปราสาทสมโบร์ไพรกุกนี้ให้ผู้ที่สนใจได้ใช้เป็นประโยชน์ในการวางแผนเที่ยวกันนะครับ หรือใช้เป็นคู่มือนำชมปราสาทก็ได้ แล้วคุณจะได้รู้ว่ากัมพูชาไม่ได้มีดีแค่เสียมเรียบ กับพนมเปญเท่านั้น
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับการเดินทางท่องเที่ยวของผมในทริปตะลุยเดี่ยวขี่รถเที่ยวดะอีสานตอนใต้ต่อกัมพูชาตอนเหนือ 13 วัน กันก่อนนะครับ
วันที่ 1 : เดินทางจากกรุงเทพฯ – บุรีรัมย์ เที่ยวชมสถานที่ท่องเที่ยวในเขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์
วันที่ 2 : เที่ยวปราสาทหินและสถานที่ท่องเที่ยวในเขตอำเภอละหานทราย โนนดินแดง และปะคำ และชมการแสดงแสงสีเสียง
ในงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง
วันที่ 3 : เที่ยวปราสาทหินในเขตบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ และอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ และร่วมชมขบวนแห่ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง
วันที่ 4 : เที่ยวปราสาทหินในเขตอำเภอปราสาท สังขะ และบัวเชดของจังหวัดสุรินทร์
วันที่ 5 : เดินทางจากสุรินทร์ไปจังหวัดสระแก้ว และเที่ยวปราสาทหินในจังหวัดสระแก้ว
วันที่ 6 : เที่ยวปราสาทหินและสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดสระแก้ว (ต่อ)
วันที่ 7 : เดินทางไปเมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา และเที่ยวปราสาทหินในเมืองเสียมเรียบ
วันที่ 8 : เที่ยวปราสาทหินกลุ่มหริหราลัย และปราสาทหินรายทางระหว่างทางจากเสียมเรียบไปกำปงธม
วันที่ 9 : เที่ยวกลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุกที่เมืองกำปงธม
วันที่ 10 : เดินทางไปเมืองพระตะบอง และเที่ยวปราสาทหินในเมืองพระตะบอง
วันที่ 11 : เที่ยวปราสาทหินและสถานที่ท่องเที่ยวในเมืองพระตะบอง
วันที่ 12 : เที่ยวกลุ่มปราสาทหินบันทายฉมาร์ที่เมืองบันเตียเมียนเจย
วันที่ 13 : เที่ยวเก็บตกในเมืองพระตะบอง และเดินทางกลับบ้าน
วันที่ 9 : เที่ยวกลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุกที่เมืองกำปงธม
วันนี้ออกเดินทางจากโรงแรมที่พักในเมืองกำปงธมขี่รถมุ่งหน้าไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อไปชมไฮไลต์ของทริปนี้กัน นั่นเอง กลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุก หรือป่าปราสาท ซึ่งอยู่ห่างจากโรงแรมที่ผมพักไปราว 37 ก.ม. ใช้เวลาขี่รถไปราว 45 นาทีได้
สภาพถนนที่ขี่รถจากเมืองกำปงธมไปยังกลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุกเป็นทางราดยางโดยเป็นถนนเส้นเดียวกับทางไปจังหวัดเปรี๊ยะวิเฮียร เมื่อขี่รถมาถึงทางแยกในภาพก่อนเข้าเมืองกำปงธมจะเจอทางแยกไปปราสาทสมโบร์ไพรกุก ให้ขี่รถแยกมาที่ถนนเลนขวามือ ส่วนเลนทางซ้ายจะไปเมืองเสียบเรียบ
(เครดิตภาพจาก Google Street View)
ขี่รถต่อมาราว 10 ก.ม. จะเจอทางแยกขวามือของถนนเข้าไปยังกลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุก จุดนี้จะมีป้ายภาษาอังกฤษบอกทางเข้า
แต่หากตรงไปจะไปยังจังหวัดเปรี๊ยะวิเฮียร ถ้าใครอยากเที่ยวปราสาทเป็นเส้นทางวงกลมก็สามารถเที่ยวเชื่อมต่อไปยังปราสาทพระขรรค์ที่กำปงสวาย และปราสาทเขาพระวิหารจากเส้นทางนี้ได้
(เครดิตภาพจาก Google Street View)
ขี่รถจากทางแยกไปราว 15 ก.ม. ได้ ก่อนถึงสะพานข้ามไปเขตพื้นที่มรดกโลกกลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุก จะเห็นป้อมสีแดงฝั่งขวาของถนนใกล้กับเชิงสะพาน ป้อมตรงนี้เป็นจุดจำหน่ายตั๋วเข้าชมกลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุก ราคาอยู่ที่ 10 ดอลลาร์ หรือ 320 บาท แต่ตอนนี้ทางการกัมพูชายังไม่มีเจ้าหน้าที่ตรวจบัตรเข้าชมปราสาทเหมือนกับกลุ่มปราสาทขอมในเมืองเสียมเรียบ เพราะที่นี่เพิ่งเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวต่างชาติไม่นานภายหลังที่ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งที่ 3 ของประเทศกัมพูชามาไม่นาน
หน้าตาของบัตรเข้าชมกลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุก
เมื่อขี่รถข้ามสะพานมาแล้ว ถนนในช่วงเขตพื้นที่มรดกโลกกลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุกจะเป็นทางดินที่เกลี่ยให้เรียบเป็นตลอดจนสุดเขตของพื้นที่ปราสาท เหมือนทางการกัมพูชาต้องการอนุรักษ์ให้สภาพโดยรอบของปราสาทอยู่ในป่าและเป็นแบบดั้งเดิมมากที่สุด
ขี่รถผ่านกลุ่มปราสาทเล็กปราสาทน้อยรายทางมาจนถึงทางโค้งจะเจอกับลานจอดรถทางด้านขวามือ และเพิงร้านค้าขายอาหารและเครื่องดื่ม ตรงนี้คือจุดจอดรถของปราสาทสมโบร์ไพรกุก ให้เราจอดรถตรงนี้สะดวกสุดเพราะมีร้านค้าและห้องน้ำพร้อม เดินไปขวาของร้านค้าอีก 200 เมตรก็จะเห็นปราสาทสมโบร์ไพรกุกแล้ว
ก่อนที่เราจะไปชมปราสาทสมโบร์ไพรกุก เรามาเรียนรู้ประวัติความเป็นมากันก่อนว่าสำคัญอย่างไรต่อประวัติศาสตร์กัมพูชา นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าพื้นที่กลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุกนี้เดิมก็คือศูนย์กลางของอาณาจักรเจนละ อาณาจักรขอมรุ่นที่ 2 ที่มีความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อมาจากอาณาจักรฟูนัน สถาปนาขึ้นโดยพระเจ้าอีศานวรมันที่ 1 มีพระมหากษัตริย์ปกครองรวม 12 พระองค์ เจริญรุ่งเรืองราว 200 กว่าปี ระหว่าง พ.ศ.1093 - 1331 ก่อนที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 จะสร้างศูนย์กลางอำนาจแห่งใหม่ที่เมืองพระนคร หรือเมืองเสียมเรียบ จึงนับเป็นยุคจักรวรรดิขอม หรือขอมเมืองพระนครนั่นเอง นามเดิมของพิ้นที่กลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุกก็คือ อีศานปุระ
ในช่วงที่อาณาจักรเจนละเจริญรุ่งเรืองไปแผ่ขยายอำนาจไปในคาบสมุทรอินโดจีน ได้พิชิตฟูนันได้สำเร็จและยังได้เคยส่งทูตไปเจริญไมตรีกับจีนในสมัยราชวงศ์สุย ช่วงตอนปลายของอาณาจักร อาณาจักรเจนละได้แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ เจนละบกและเจนละน้ำมาจากความขัดแย้งภายในราชสำนักและความอ่อนแอทางการปกครองของกษัตริย์ในช่วงหลัง ๆ จนสุดท้ายอาณาจักรได้ล่มสลายลงเพราะถูกกษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทร์ของอาณาจักรศรีวิชัยเข้าโจมตีและยึดอีศานปุระได้สำเร็จและประหารกษัตริย์ของเจนละได้สำเร็จ เป็นอันปิดฉากของอาณาจักรเจนละลง
กลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุกคือประจักษ์พยานของความรุ่งเรืองทางอารยธรรมของชนชาติขอมในยุคอาณาจักรเจนละ จึงทำให้องค์การยูเนสโกได้ประกาศรับรองให้กลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งล่าสุดของประเทศกัมพูชาเมื่อปี พ.ศ. 2560 โดยใช้ชื่อว่า แหล่งโบราณคดีสมโบร์ไพรกุก (Sambor Prei Kuk Site)
การเที่ยวชมกลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุกควรใช้เวลาอย่างต่ำครึ่งวัน ยกเว้นผู้ที่ชื่นชอบชมโบราณสถานและชอบหามุมแปลก ๆ สวย ๆ ถ่ายภาพโบราณสถานอาจต้องเพิ่มเวลาชมปราสาทเป็น 1 วันเต็ม ๆ นะครับ ลักษณะของปราสาทที่นี่จะไม่ได้มีขนาดใหญ่โตเหมือนปราสาทขอมในเมืองเสียบเรียบ ปราสาททั้งหมดก่อด้วยอิฐยกเว้นบางส่วนเช่น ทับหลังและเสาประดับกรอบประตูจะสลักด้วยหินทราย การชมปราสาทที่นี่ให้ความรู้สึกเหมือนเราผจญภัยในป่าแล้วมาเจอปราสาทลึกลับที่ซ่อนตัวอยู่ในสุมทุมพุ่มไม้ในผืนป่าคล้าย ๆ บรรยากาศการเที่ยวชมกลุ่มปราสาทเกาะแกร์ที่ผมเคยไปชมมาเมื่อ 4 ปีก่อนเลย
ปราสาทขอมที่สมโบร์ไพรกุกมีรูปลักษณ์หน้าตาที่แตกต่างไปจากปราสาทขอมแห่งอื่น ๆ ที่เห็นได้ชัดก็คือ ตัวปราสาทที่ก่อในผังแปดเหลี่ยม และการนิยมสลักลวดลายเป็นอาคารทรงวิมานอยู่บนผนังอิฐด้านนอกของปราสาท หรือแม้กระทั่งการประดับซุ้มกุฑุที่มีรูปบุคคลโผล่ออกมาครึ่งตัวในซุ้มประดับอยู่ที่ผนังและชั้นเชิงของหลังคาปราสาทก็เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นแปลกตาที่ไม่สามารถหาชมได้ที่ไหนเท่าที่นี่ โดยการเที่ยวชมกลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุกให้ทั่วต้องแบ่งโซนของปราสาทในการชมออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ
ที่มาจากหนังสือนักล่าปราสาท เที่ยวโบราณสถานขอมนอกเมืองพระนคร
กลุ่มแรกคือ กลุ่มปราสาทประธาน ซึ่งจัดเป็นหัวใจสำคัญของกลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุก ประกอบด้วย กลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุก (N) กลุ่มปราสาทตาว (C) และ กลุ่มปราสาทเยียปวน (S) โดยกลุ่มปราสาทหนึ่ง ๆ ก็ประกอบด้วยปราสาทบริวารรอบรายใกล้ ๆ อีกหลายหลัง ตัวอักษรภาษาอังกฤษในวงเล็บหลังชื่อปราสาทแสดงทิศที่ตั้งของปราสาทและเป็นการเรียกขานชื่อของกลุ่มปราสาทนั่นเอง