ในปี ค.ศ. 1898 Georg Luger ออกแบบปืนพกกึ่งอัตโนมัติระบบหน่วงเวลาด้วยหลักการข้อพับ ใช้กระสุนขนาด 7.65x21 มม. แบบคอขวด เริ่มใช้งานในกองทัพเยอรมันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1900 ต่อมาในปี ค.ศ. 1902 ลูเกอร์ปรับแบบกระสุนจากปลอกเดิม ลบส่วนคอขวดขยายปากให้รับหัวกระสุนหน้าตัด 9 มม. ได้กระสุนใหม่ขนาด 9x19 มม.ตัวปืนได้ชื่อทางทหารว่า Pistole Modell 1908 ตามปีประจำการ เรียกย่อคือ P08 ใช้งานผ่านสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มาจนถึงปี ค.ศ. 1938 จึงเปลี่ยนเป็น วอลเธอร์ P38 ก่อนเข้าสงครามโลกครั้งที่สอง และกระสุน 9x19 หรือ 9 มม.ลูเกอร์ นั้น ได้รับความนิยมต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เป็นกระสุนยอดนิยมในทุกวงการทั่วโลก

จากจุดเริ่มต้นที่ใช้กับปืนทหารเป็นหลัก ปืน 9 มม. ได้รับการพัฒนาให้จุกระสุนมากขึ้น คือ “เก้าลูกดก” และปรับตัวปืนให้สั้น คล่องตัว น้ำหนักเบาลง เป็นปืนตำรวจพกพาติดตัวทั้งวัน (EDC : Every Day Carry) และเล็กลงไปอีก เป็นปืนสำรอง (BUG : Back Up Gun) โดยใช้กระสุนขนาดเดียว ตัวอย่างเช่นปืน 1911 ที่เดิมใช้กระสุน .45 เป็นมาตรฐาน ก็สามารถปรับมาใช้ 9 มม. ลูเกอร์ ความยาวลำกล้องตั้งแต่ 5 นิ้ว ลงมาถึงสั้นสุด 3 นิ้ว ครอบคลุมทั้งสามลักษณะงาน
โคลท์ ที่เคยเป็นผู้ผลิตปืน 1911 รายใหญ่ หลังจากย่อส่วนปืนทหารลงมาเหลือลำกล้อง 3 นิ้วแล้ว ยังต้องการปืนที่เล็กลงไปอีก ช่วงกลางทศวรรษ 1980 จึงออกแบบปืนในตระกูล Mustang เป็นปืนกระเป๋าพกซ่อน ใช้กระสุน .380 หรือลูกเก้าสั้น ที่ขายให้ ซิก ไปในช่วงที่โคลท์มีปัญหาด้านการเงิน ซิกนำไปปรับแบบเพียงเล็กน้อย ใช้ชื่อ P238 ออกขายปี ค.ศ. 2009 และสองปีต่อมาขยายใหญ่ขึ้นเป็น P938 ใช้กระสุน 9 ลูเกอร์ ยอดนิยม ตามด้วย คิมเบอร์ ที่ทำรุ่น Micro ขนาด .380 ในปี ค.ศ. 2013 และ Micro-9 ขนาด 9 ลูเกอร์ ในปี ค.ศ. 2015
สปริงฟีลด์ มีปืนในชุด EMP คือ 1911 ที่ลดความยาวลงมารับกระสุน 9 ลูเกอร์ โดยเฉพาะ แต่เมื่อต้องการปืนกระเป๋าเล็กจิ๋ว ตัดสินใจเลือกปืนไมโคร เป็นรายที่สี่ ด้วยรุ่น 911 ขนาด .380 ในปี ค.ศ. 2018 ตามด้วย 911 ขนาด 9 มม. ในปี ค.ศ. 2019 ที่เป็นปืนนายแบบสัปดาห์นี้
ตัวปืน 911 ใช้โครงอลูมินั่มอัลลอยด์ น้ำหนักรวมเพียง 470 กรัม เบากว่าซิก กับ คิมเบอร์ (515–530 กรัม) ทรงด้ามเหมือนคิมเบอร์ที่มีส่วนรับหางนกสับโค้งขึ้น หน้าด้ามหลังด้ามแกะลายกันลื่น ประกับด้าม G10 ลายสวยงาม ลำเลื่อนสเตนเลส ปาดสองข้างสอบเข้าด้านบนเป็นทรงห้าเหลี่ยม ติดศูนย์เรืองแสงให้เล็งได้ดีในแสงน้อย ศูนย์หน้าแบบห่วงกลม ศูนย์หลังรูป U รับกัน สันปืนเพิ่มกระเดื่องบอกสภาพรังเพลิงเมื่อมีกระสุนพร้อมยิง เหมือนกับรุ่นพิเศษของ ซิก
การทำงานกึ่งอัตโนมัติ ขัดกลอนด้วยลำกล้องกระดก ใช้สปริงอ่อนช่วยให้ขึ้นลำง่าย ไกเป็นแบบซิงเกิลทุกนัด ซึ่งสำหรับปืนตัวเล็กนี้ ทั้งสามรายทำไกมาค่อนข้างหนัก ในระดับ 7-9 ปอนด์ เสริมด้วยระบบความปลอดภัยคือห้ามไกซ้ายขวา และสมอล็อกเข็มแทงชนวนทำงานร่วมกับสะพานไก
โดยรวม สปริงฟีลด์ 911- 9 มม. เป็นตัวเลือกล่าสุดในกลุ่มปืนพกซ่อนที่ใช้ระบบไกซิงเกิล ตัวปืนเบาพิเศษ พกพาสะดวก ด้ามจับได้ถนัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้แม็ก 7 นัด มีฐานรับนิ้วก้อย เป็นแม็กอย่างดี ของ ชิป แม็คคอร์มิค มีจุดที่อาจจะอยากให้ช่างแต่งสักหน่อย คือน้ำหนักไก ถ้าลดลงมาเหลือ 6-7 ปอนด์ จะยิงง่ายขึ้นมาก.
https://www.dailynews.co.th/article/768051
.....................................................
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 379 9 มม. พกซ่อน ไกซิงเกิล สปริงฟีลด์ 911
ในปี ค.ศ. 1898 Georg Luger ออกแบบปืนพกกึ่งอัตโนมัติระบบหน่วงเวลาด้วยหลักการข้อพับ ใช้กระสุนขนาด 7.65x21 มม. แบบคอขวด เริ่มใช้งานในกองทัพเยอรมันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1900 ต่อมาในปี ค.ศ. 1902 ลูเกอร์ปรับแบบกระสุนจากปลอกเดิม ลบส่วนคอขวดขยายปากให้รับหัวกระสุนหน้าตัด 9 มม. ได้กระสุนใหม่ขนาด 9x19 มม.ตัวปืนได้ชื่อทางทหารว่า Pistole Modell 1908 ตามปีประจำการ เรียกย่อคือ P08 ใช้งานผ่านสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มาจนถึงปี ค.ศ. 1938 จึงเปลี่ยนเป็น วอลเธอร์ P38 ก่อนเข้าสงครามโลกครั้งที่สอง และกระสุน 9x19 หรือ 9 มม.ลูเกอร์ นั้น ได้รับความนิยมต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เป็นกระสุนยอดนิยมในทุกวงการทั่วโลก
จากจุดเริ่มต้นที่ใช้กับปืนทหารเป็นหลัก ปืน 9 มม. ได้รับการพัฒนาให้จุกระสุนมากขึ้น คือ “เก้าลูกดก” และปรับตัวปืนให้สั้น คล่องตัว น้ำหนักเบาลง เป็นปืนตำรวจพกพาติดตัวทั้งวัน (EDC : Every Day Carry) และเล็กลงไปอีก เป็นปืนสำรอง (BUG : Back Up Gun) โดยใช้กระสุนขนาดเดียว ตัวอย่างเช่นปืน 1911 ที่เดิมใช้กระสุน .45 เป็นมาตรฐาน ก็สามารถปรับมาใช้ 9 มม. ลูเกอร์ ความยาวลำกล้องตั้งแต่ 5 นิ้ว ลงมาถึงสั้นสุด 3 นิ้ว ครอบคลุมทั้งสามลักษณะงาน
โคลท์ ที่เคยเป็นผู้ผลิตปืน 1911 รายใหญ่ หลังจากย่อส่วนปืนทหารลงมาเหลือลำกล้อง 3 นิ้วแล้ว ยังต้องการปืนที่เล็กลงไปอีก ช่วงกลางทศวรรษ 1980 จึงออกแบบปืนในตระกูล Mustang เป็นปืนกระเป๋าพกซ่อน ใช้กระสุน .380 หรือลูกเก้าสั้น ที่ขายให้ ซิก ไปในช่วงที่โคลท์มีปัญหาด้านการเงิน ซิกนำไปปรับแบบเพียงเล็กน้อย ใช้ชื่อ P238 ออกขายปี ค.ศ. 2009 และสองปีต่อมาขยายใหญ่ขึ้นเป็น P938 ใช้กระสุน 9 ลูเกอร์ ยอดนิยม ตามด้วย คิมเบอร์ ที่ทำรุ่น Micro ขนาด .380 ในปี ค.ศ. 2013 และ Micro-9 ขนาด 9 ลูเกอร์ ในปี ค.ศ. 2015
สปริงฟีลด์ มีปืนในชุด EMP คือ 1911 ที่ลดความยาวลงมารับกระสุน 9 ลูเกอร์ โดยเฉพาะ แต่เมื่อต้องการปืนกระเป๋าเล็กจิ๋ว ตัดสินใจเลือกปืนไมโคร เป็นรายที่สี่ ด้วยรุ่น 911 ขนาด .380 ในปี ค.ศ. 2018 ตามด้วย 911 ขนาด 9 มม. ในปี ค.ศ. 2019 ที่เป็นปืนนายแบบสัปดาห์นี้
ตัวปืน 911 ใช้โครงอลูมินั่มอัลลอยด์ น้ำหนักรวมเพียง 470 กรัม เบากว่าซิก กับ คิมเบอร์ (515–530 กรัม) ทรงด้ามเหมือนคิมเบอร์ที่มีส่วนรับหางนกสับโค้งขึ้น หน้าด้ามหลังด้ามแกะลายกันลื่น ประกับด้าม G10 ลายสวยงาม ลำเลื่อนสเตนเลส ปาดสองข้างสอบเข้าด้านบนเป็นทรงห้าเหลี่ยม ติดศูนย์เรืองแสงให้เล็งได้ดีในแสงน้อย ศูนย์หน้าแบบห่วงกลม ศูนย์หลังรูป U รับกัน สันปืนเพิ่มกระเดื่องบอกสภาพรังเพลิงเมื่อมีกระสุนพร้อมยิง เหมือนกับรุ่นพิเศษของ ซิก
การทำงานกึ่งอัตโนมัติ ขัดกลอนด้วยลำกล้องกระดก ใช้สปริงอ่อนช่วยให้ขึ้นลำง่าย ไกเป็นแบบซิงเกิลทุกนัด ซึ่งสำหรับปืนตัวเล็กนี้ ทั้งสามรายทำไกมาค่อนข้างหนัก ในระดับ 7-9 ปอนด์ เสริมด้วยระบบความปลอดภัยคือห้ามไกซ้ายขวา และสมอล็อกเข็มแทงชนวนทำงานร่วมกับสะพานไก
โดยรวม สปริงฟีลด์ 911- 9 มม. เป็นตัวเลือกล่าสุดในกลุ่มปืนพกซ่อนที่ใช้ระบบไกซิงเกิล ตัวปืนเบาพิเศษ พกพาสะดวก ด้ามจับได้ถนัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้แม็ก 7 นัด มีฐานรับนิ้วก้อย เป็นแม็กอย่างดี ของ ชิป แม็คคอร์มิค มีจุดที่อาจจะอยากให้ช่างแต่งสักหน่อย คือน้ำหนักไก ถ้าลดลงมาเหลือ 6-7 ปอนด์ จะยิงง่ายขึ้นมาก.
https://www.dailynews.co.th/article/768051
.....................................................
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช