ธงสหรัฐอเมริกาโบกสะบัดเหนือเกาะอิโวะจิมะ

.
ธงสหรัฐอเมริกาโบกสะบัดเหนือเกาะ Iwo Jima ถ่ายภาพโดย Joe Rosenthal
ตามรายงานเอกสารระบุว่าเป็นธงที่ 2 ของสหรัฐฯ ที่ปักลงบนยอดเขา Suribachi
ในวันที่  23 กุมภาพันธ์ 1945 ช่วงสงคราม  Battle of Iwo Jima
ภาพนี้กลายเป็นภาพที่โด่งดังและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
เป็นสัญลักษณ์พิชิตศึกของกองทัพเรือสหรัฐในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
(Image: © Joe Rosenthal/Public Domain)

นับเป็นเวลา 75 ปีแล้ว
ที่ภาพถ่ายสัญลักษณ์ของนาวิกโยธินสหรัฐฯ
ปักธงชาติบนยอดเขาเกาะอิโวะจิมะ
ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 1945

ระหว่างการสู้รบที่เกาะอิโวะจิมะ (19 ก.พ. - 26 มีนาคม)
นาวิกโยธิน 6  คนได้ปักธงชาติสหรัฐอเมริกาขึ้นที่ยอดเขาสุริบาชียามะ
ภาพถ่ายนี้ถ่ายภาพโดย Joe Rosenthal นักข่าว Associated Press
และในไม่ช้าภาพถ่ายนี้ก็โด่งดังไปทั่วโลก
แต่ยังมีหลายคนที่ไม่ทราบก็คือ
ภาพถ่ายที่เป็นสัญลักษณ์นี้
เป็นธงชาติสหรัฐอเมริกาผืนที่ 2 ที่โบกสะบัด
บนยอดเขาของเกาะอิโวะจิมะในวันนั้น

ใครคือผู้ปักธงชาติอันแรกบนเกาะอิโวจิมา

ภูเขาสุริบาชียามะตั้งอยู่ทางใต้สุดของญี่ปุ่น
เป็นภูเขาไฟที่ดับแล้วมีความสูง 546 ฟุต (166 เมตร)
ที่ยอดเขาแห่งนี้เป็นชัยภูมิที่ดีมาก
ในการมองสอดส่องพื้นที่โดยรอบ
ของเกาะอิโวะจิมะจนถึงหาดทรายสีดำ
ที่นี่เป็นสนามรบที่นองเลือดอีกแห่งหนึ่งในมหาสมุทรแปซิฟิก

(นาวิกโยธินสหรัฐตายเกือบ 7,000 นาย
ทหารญี่ปุ่นตายร่วม 19,000 นาย
ประเมินว่ามีทหารญี่ปุ่นมากถึง 3,000 นาย
ที่ยังคงต่อสู้แบบกองโจรอีกหลายวันให้หลัง
จนสุดท้ายจึงยอมจำนนในอีกหลายสัปดาห์ต่อมา
จับเป็นเชลยได้เพียง 216 นาย)
 
กองทัพญี่ปุ่นใช้จุดชมวิวบนยอดเขาสุริบาชียามะ
เพื่อยิงปืนใหญ่ถล่มกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา
หลังจากนั้นไม่นานนัก
กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาก็เริ่มเล็งเป้าหมายนี้
(เพื่อทำลายและตัดกำลังศัตรูที่ใช้พื้นที่นี้)

ทหารหน่วยรบแนวหน้าจำนวน 40 นาย
นำโดย ร.ต. Harold G. Schrier
เป็นหน่วยทหารอเมริกาชุดแรก
ที่ขึ้นไปถึงยอดเขาเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 1945
ทหารเหล่านี้มาจากกองพันที่ 2  กรมทหารนาวิกโยธินที่ 28
และได้นำธงชาติสหรัฐอเมริกาที่นำมาจากเรือ USS Missoula
ซึ่งเป็นเรือลำเลียงยานเกราะ
ที่บรรทุกทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์เข้าไปยึดเกาะอิโวะจิมะ
โดยก่อนหน้านี้ Harold G. Schrier ได้รับธงชาติสหรัฐอเมริกา
จากทหารคนสนิทและได้บอกกับท่านว่า
" ถ้าผู้หมวดขึ้นไปด้านบนได้  ช่วยปักธงชาติด้วย "


ธงชาติสหรัฐอเมริกาบนยอดเขาผืนแรกที่เกาะ Iwo Jima
ถ่ายภาพโดย จ่านายสิบตรี  Louis R. Lowery, USMC 
ช่างภาพของนิตยสาร Leatherneck
© Staff Sergeant Louis R. Lowery / USMC / Public Domain


ธงชาตินี้นำมาจาก USS Missoula
โบกสะบัดโดย ร.ต. Harold G. Schrier
ร่วมกับนาวิกโยธินอีก 2 คน
ในเวลาประมาณ 10.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น

" ความทรงจำที่งดงามที่สุดของผม
ก็คือ วันที่เรามอบธงประจำเรือของเราให้กับผู้หมวด
และนั่นเป็นธงชาติผืนแรกที่ขึ้นไปอยู่บนยอดเขาสุริบาชียามะ

เราเฝ้าดูพวกท่านไต่ขึ้นไปบนยอดเขา
และปักธงชาติขึ้นห่างจากเรือรบประมาณ 500 หลา [457 เมตร]

หลังจากนั้นเรือรบอีกหลายร้อยลำต่างเปิดหวูดเรือส่งเสียงดังกึกก้อง
ทหารเรือต่างเป่าแตรนอน และทุกคนต่างโห่ร้องกัน
เพราะนั่นคือ ธงชาติสหรัฐฯ ของเรือ Missoula เป็นธงผืนแรก
ที่ปักขึ้นบนดินแดนยึดครองของญี่ปุ่น  พวกเราต่างภูมิใจมาก "
Tom Price ทหารผ่านศึกกองทัพเรือสหรัฐฯ
ทหารประจำการบนเรือ USS Missoula ให้สัมภาษณ์
เรื่องราวการต่อสู้และแบ่งปันความทรงจำ
ให้กับนิตยสาร History of War ในเดือนมกราคม 2020



.
USS Missoula (APA-211) ทอดสมอเรือที่ Iwo Jima หรือ Okinawa
©  U.S. Navy / Public Domai 
 
ใครคือ ผู้ปักธงชาติสหรัฐผืนที่ 2

ธงชาติผืนแรกปักโดย Harold G. Schrier
จัดว่ามีขนาดผืนธงเล็กเกินไป
ทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนมากนัก

ดังนั้นนาวิกโยธินจึงค้นหาธงชาติผืนใหม่มาแทนที่
หนังสือประวัติศาสตร์ของ Robert E. Allen เรื่อง
กองพันแรกของนาวิกโยธินที่ 28 ในอิโวะจิมะ (McFarland, 1999)
ธงที่แสดงในรูปถ่ายที่โด่งดังของ Joe Rosenthal
นำมาจากเรือลำเลียงยานเกราะ USS LST-779
มีขนาดธงชาติ 56 นิ้ว 96 นิ้ว (142 เซนติเมตร x 244 ซม.)

 
จากการวิจัยภาพถ่าย ผู้ชายในรูปคือ
 1. Harlon Block 2. Harold Keller
3. Ira Hayes  4. Harold Schultz 
5. Franklin Sousley และ 6. Michael Strank

Joe Rosenthal  ถ่ายภาพนาวิกโยธินอย่างรวดเร็ว
ด้วยกล้อง Speed ​​Graphic โดยไม่ได้มองที่ช่องมองภาพ
ในเวลานั้น ท่านไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาพถ่ายนี้  
 
เรื่องที่น่าเศร้าคือ Harlon Block
Franklin Sousley และ Michael Strank
ทั้งสามนายตายในสนามรบในเวลาต่อมา
ส่วนทหารอีกสายนายกลับมาตุภูมิ
ได้รับการต้อนรับเยี่ยงวีรบุรุษ
และต่างเดินทางท่องทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา
เพื่อขอให้ประชาชนสนับสนุนการต่อสู้ของรัฐบาล
ด้วยการซื้อพันธบัตรรัฐบาล Seventh War Loan

ตามหนังสือของ Robert S. Burrell
เรื่อง ปีศาจที่อิโวะจิมะ (Texas A & M University Press, 2006)
พันธบัตรรัฐบาล Seventh War Loan
ที่นำเสนอขายประชาชนให้สนับสนุนการต่อสู้
โดยทหารที่รอดตายจากสงครามอิโวะจิมะ 2 นาย
ได้ทำลายสถิติยอดขายถึง 26 พันล้านเหรียญสหรับในช่วงสงคราม 
 
และภายหลังสงครามสิ้นสุดลง
หลังการสู้รบในท้องทะเล
มีการระบุนาวิกโยธินที่ตายในภาพผิดพลาด
Harlon Block ได้ระบุชื่อว่าเป็น Hank Hanson
และนี่ไม่ใช่เรื่องเดียวที่มีความผิดพลาด
เพราะในเดือนตุลาคม 2019
หลักฐานสำคัญของนักประวัติศาสตร์
ต่างระบุว่า Harold Keller
ที่ยืนอยู่อีกฟากหนึ่งของเสาธงชาติ
ก่อนหน้านี้เชื่อกันว่าคือ  Rene Gagnon
 
.
ในตอนท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2
ภาพถ่ายของ Rosenthal มีชื่อเสียงทั่วโลก
ภาพนี้ได้รับรางวัล Pulitzer ในปี 1945
และใช้เป็นสัญรูปประจำ
ที่อนุสรณ์สถานสงครามนาวิกโยธินสหรัฐ
ใน Arlington Ridge Park รัฐ Virginia

อย่างไรก็ตามความจริงก็ได้รับการเปิดเผย
เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 1954
ในยุคของประธานาธิบดี Dwight D. Eisenhower

ในปี 1961 ประธานาธิบดี John F. Kennedy ประกาศว่า
ธงชาติสหรัฐอเมริกาต้องโบกสะบัด
เหนืออนุสรณ์สถานตลอด 24 ชั่วโมง

เรียบเรียง/ที่มา

https://bit.ly/2w68q35
https://bit.ly/2UBpUgU (ใช้ vpn)










ประชาสัมพันธ์ 7th War Loan. Now--All Together ขายได้ 156 พันล้านเหรียญสหรัฐ



นาวิกโยธิน 6 นาย ที่ปักธงชาติสหรัฐอเมริกา
จากซ้ายไปขวา Ira Hayes  Harold Schultz  Michael Strank
Franklin Sousley  Harold P. Keller  และ Harlon Block



นาวิกโยธินสหรัฐอเมริกากำลังปลดธงชาติผืนเล็กออก (23 กพ. 1945)

 
นาวิกโยธินกองพันที่ 28 กองพลที่ 5 กำลังปักธงชาติผืนที่ 2
หลังจากยึดยอดเขาสุริบาชียามะ. ความสูง 550 ฟุต 


 

ภาพชนะรางวัล Pulitzer โดย Joe Rosenthal กับธงชาติผืนที่  2

  จัดฉากปักธงชาติที่ยอดเขาสุริบะยะชิ บนเกาะอิโวะจิมะ

นาวิกโยธินยืนรอบธงชาติสหรัฐฯ

 
Joe Rosenthal ช่างภาพ AP ผู้ที่ถ่ายภาพที่โด่งดัง กำลังถือกล้องถ่ายรูป

Joe Rosenthal ช่างภาพ(ด้านซ้ายมือ) กำลังถ่ายภาพนาวิกโยธิน หลังจากปักธงผืนที่ 2

 
กองพันนาวิกโยธินที่  28 กองพลที่ 5 ต่างเปล่งเสียงและชูปืนในมือ หลังเสร็จสิ้นการปักธงชาติสหรัฐอเมริกา




เข้าไม่ได้เพราะถูกปิดกั้น

ปกติจขกท.จะใช้ Opera เปิดใช้งาน VPN จะเข้าไปดู https://bit.ly/2UBpUgU ได้เลย



แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่