วิธีพา LTF หลบระเบิด ด้วยการสับเปลี่ยนกองไปๆ มาๆ ให้ทุนไม่ถูกด้อยค่าระหว่างรอ Allocate หน่วยลงทุน

มนุษย์เงินเดือนสายถือกองลดหย่อนภาษี
ในช่วงนี้ก็ได้แต่ทำใจนั่งดูกองโดนด้อยค่าไปเรื่อยๆ กว่า 20-30% แล้วนั้น
อย่าง RMF ก็สับไปเล่นตลาดอื่นได้ เช่น พันธบัตร หรือ ทอง

ส่วน LTF คงได้แค่รับสภาพ มานั่งๆ คิดทำไงได้บ้าง เพราะ LTF คือ ต้องลงทุนในหุ้นไทย >=70%
จึงเสี่ยงสูงอย่างเลี่ยงไม่ได้ และตลาดในช่วงนี้ คือ สภาพดิ่งบันจี้จัมพ์

ก็เลยลองใช้วิธีหลบระเบิดด้วยการสับเปลี่ยนกอง
การสับจากกองที่ลงทุนในหุ้น 100% ไปเป็นแบบ 70/30 ก็เป็นแนวทางที่ดีในขาลง แต่อันนี้ก็ธรรมดาไป 

จริงๆ เหมือนมีอีกวิธี คือ วิธีการเอา LTF ไปหลบระเบิดได้ 2-3 วัน โดยไม่ผิดเงื่อนไขภาษี
วิธีคือใช้การสับเปลี่ยน LTF ทั้งภายในและข้าม บลจ.
เพราะเป็นเรื่องที่ทำได้เรื่อยๆ ไม่ผิดเงื่อนไขภาษี แต่จะเสียค่าธรรมเนียมตามนโยบายแต่ละกอง

การหลบภัยจะใช้ได้กับเฉพาะ บลจ. ที่ ทำรายการสับเปลี่ยนแล้วต้อง "รอ" Allocate ไปยังกองปลายทาง
บาง บลจ. ทำไม่ได้ เพราะ Allocate ไปยังกองปลายทางภายในวันเลย เช่น K-Asset
แต่ถ้าสับเปลี่ยนข้ามค่ายบลจ. นี่ต้องรอ Allocate อยู่แล้ว ก็ถือว่าใช้ได้

กลไก คือ ปกติการสับเปลี่ยนจะใช้หลักการเดียวกันกับการขายหน่วย คือได้ราคาตาม NAV ในวันที่ทำรายการ แต่จะได้เงินในอีก 1-3 วันทำการ ตามแต่นโยบายการขายของกองทุนนั้นๆ

ฉะนั้นจึงมีวิธีหลบภัย คือ สมมุติมี 100 หน่วย
กองมีนโยบายการกำหนดจ่ายเงินค่าขายหน่วยลงทุน (หรือสับเปลี่ยนออก) เป็น T+2
และเราเล็งตลาดไว้แล้วว่าตกเหว 2 วันแน่ๆ

ให้เราทำสับเปลี่ยน LTF จากกอง A ไป B
ที่สมมุติว่าทั้ง 2 กอง ลงทุนเหมือนๆ กันและ NAV วิ่งเท่าๆ กันเด๊ะ

สมมุติว่าวันที่ทำรายการมี NAV อยู่ที่ 10 บาท
เราก็จะขายได้มูลค่า 1,000 บาท โดยเงินจะไปลอยในระบบ
วันต่อมา (T+1) NAV ตก 3% เหลือ 9.7 บาท
วันต่อมา (T+2) NAV ตกอีก 4% เหลือ 9.312 บาท
ซึ่งเงินที่ลอยอยู่ในระบบ จะเอามาซื้อในราคา 9.312 บาท (มีค่าธรรมเนียมในการทำรายการ แล้วแต่นโยบายกองทุน)

คุณจะได้หน่วยลงทุนกลับมา 1,000/9.312 เท่ากับประมาณ 107.3883 หน่วย (จากตอนแรกมี 100 หน่วย)
ใช่ Bottom Line คือ มูลค่าของพอร์ท จะไม่ถูก "ด้อยค่าตามตลาด" ในช่วงที่เงินลอยอยู่ในระบบนั่นเอง

ผมเองเก็งๆ อย่างนี้แล้วหลบการดิ่งไปได้บ้างเหมือนกัน
แต่ในทางกลับกัน ถ้าในวันที่กำลังหลบอยู่นั้น หุ้นดันขึ้นแรง ก็ตกรถนะครับ
มีใครเคยลองทำหรือยังครับ?
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่