กลันตัน-ปัตตานี ความสัมพันธ์ที่แสนแนบแน่น

เชื่อว่าหลายคนอาจจะไม่รู้ว่า คนในชายแดนใต้ส่วนใหญ่ พูดภาษามลายูสำเนียงเดียวกับชาวรัฐกลันตันที่อยู่ติดทางจังหวัดนราธิวาสของไทยโดยพอดี
แน่นอนว่า เหตุผลนั้น ทำให้ชาวปัตตานีและชาวกลันตัน สามารถติดต่อพูดคุยกันได้ดี เหมือนคนอีสานพูดคุยกับคนลาว คนสุรินทร์พูดคุยกับคนกัมพูชา
ความแตกต่างระหว่างคนในชายแดนใต้และคนในรัฐกลันตัน มีแค่ 2 อย่าง คือ ชื่อ-นามสกุล และ สัญชาติ นอกนั้นแทบไม่มีความแตกต่างใดๆ อีกเลย
แต่นอกเหนือจากความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันดั่งพี่น้องดังกล่าวแล้ว แม้แต่ราชวงศ์ปัตตานีเอง ก็ยังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับราชวงศ์กลันตันในปัจจุบัน
อธิบายก่อนว่า ราชวงศ์ปัตตานีก่อนที่จะถูกยกเลิกโดยสยามนั้น เป็นราชวงศ์ของกลันตันเอง แต่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใดๆกับราชวงศ์ปัตตานียุคแรก

ราชวงศ์ปัตตานีในยุคแรกนับตั้งแต่ที่นับถือศาสนาอิสลามมา ซึ่งคาดว่าน่าจะรับในช่วงหรือหลังจากยุคอาณาจักรมะละกา ประมาณปี 1400 - 1511
ในพงศาวดารไทรบุรี ระบุไว้ว่า ราชวงศ์ปัตตานียุคแรกนั้น เป็นราชวงศ์เดียวกับราชวงศ์ของเกดะห์ในปัจจุบัน (ซึ่งสืบเชื้อสายกันมานานไม่มีเปลี่ยน)
อย่างไรก็ตาม หลังจากยุคของราชินีเหลือง ผู้ปกครองปัตตานีองค์สุดท้ายแล้ว พวกกลันตันก็ได้เข้ารุกรานปัตตานีและปกครองปัตตานีตั้งแต่นั้น
โดยราชวงศ์กลันตันยุคแรก เป็นราชวงศ์จัมบัล ราชาสักติ ได้เข้าตีเมืองปัตตานีแล้วมอบบัลลังก์ปัตตานีให้ราชาบากัล พระราชโอรส ปกครองต่อไป
ส่วนราชวงศ์ที่ 2 ซึ่งเกิดขึ้นหลังการปราบกบฏ เป็นราชวงศ์ของหลงยูนุส ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์กลันตันปัจจุบัน ที่ปกครองกลันตันอยู่จนทุกวันนี้

ผู้ปกครองปัตตานีองค์สุดท้ายของราชวงศ์ยุคแรก ดาโต๊ะปังกาลัน หรือดาโต๊ะปือกอและ เคยก่อกบฏต่อต้านการเป็นประเทศราชต่อสยามในปี 1808
ดาโต๊ะปังกาลัน หรือวันดาอิม มีบุตรชายชื่อว่า หลง บาฮาร์ เป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์กลันตันในปัจจุบัน และสืบทอดตำแหน่งกษัตริย์กลันตันสืบมา
หลง ยูนุส พระนัดดา มีพระโอรสหลายองค์ หนึ่งในนั้นชื่อว่า หลง อิสมาอีล มีบุตรชายชื่อว่า หลง มูฮัมหมัด ต่อมาจึงได้เป็นราชาเมืองปัตตานีในปี 1842
ปัตตานี สืบทอดราชสมบัติมาจนถึงยุคของเต็งกูอับดุลกาดีร์ กะมารุดดิน หรือพระยาวินิตภักดี ซึ่งพยายามจะแยกจากสยามเข้ากับอังกฤษ จึงมีปัญหากัน
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คือ อังกฤษ ไม่สนใจปัตตานีและให้สยามมีสิทธิ์เหนือปัตตานีต่อไป ขณะที่กลันตันถูกยกให้เป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษไปในปี 1909

ผู้ปกครองกลันตันในยุคเดียวกันเต็งกูอับดุลกาดีร์คือ พระยาพิพิธภักดี (หลงซะนิ) ซึ่งเริ่มปกครองกลันตันไม่นานก่อนที่สยามจะยุบปัตตานีไปในปี 1902
ภายหลังจากที่ได้มาอยู่รวมกับรัฐมลายูของอังกฤษแล้ว พระยาพิพิธภักดี ก็ได้มาเป็นสุลต่านมูฮัมหมัดที่ 4 ปกครองกลันตันไปจนถึง 1920 จึงได้สวรรคต
ผู้ปกครององค์ต่อมาคือ สุลต่านอิสมาอิล, สุลต่านอิบราฮีม และส่งทอดไปจนถึงสุลต่านมูฮัมหมัดที่ 5 ยังดีประตวนอากงองค์ที่ 15 สุลต่านองต์ปัจจุบัน
สุลต่านมูฮัมหมัดที่ 5 เคยอภิเษกสมรสกับ เต็งกู สุไบดะห์ บินตี เต็งกูนุรูดดีน หรือ กังสดาล พิพิธภักดี พระญาติของพระองค์ ก่อนที่จะได้ทรงหย่ากันไป
กังสดาล พิพิธภักดี เป็นพระนัดดาของเต็งกูอานิส ทั้งคู่ต่างเป็นเชื้อสายเจ้าเมืองยะหริ่งและมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกัน บิดาของทั้งคู่เป็นพี่น้องต่างมารดา

นอกจากกลันตันแล้ว ราชวงศ์ปัตตานีเองก็ยังเป็นเชื้อสายของราชารัฐปะลิสในปัจจุบันด้วย จึงทำให้มีศักดิ์เป็นเชื้อสายร่วมกับทางราชวงศ์กลันตันไปด้วย
พระราชมารดาของตวนกูชาอีด ซิราจุดดิน คือ เต็งกู บุดรียะห์ เป็นหลานของเต็งกูอับดุลกาดีร์ พระยาวินิตภักดี พระบิดาเคยเป็นเต็งกูบือซาร์ของปัตตานี
ส่วนฮัจญีสุหลง หรือหะยีสุหลงนั้น ไม่พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ปัตตานี แต่เป็นผู้นำทางศาสนาที่ชาวบ้านในยุคนั้นให้ความเคารพนับถือกันมาก
ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ดังกล่าว ทำให้เชื่อว่า กลันตันกับปัตตานี รวมไปถึงเมืองอื่นๆ ในชายแดนใต้ มีความสัมพันธ์ที่ยาวนานและร่วมเชื้อชาติกัน
ทว่า ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์และการเมือง ทำให้ทั้ง 2 เมือง แทบจะกลายเป็นพี่น้องที่พลัดพรากจากกัน แต่วันนี้ พวกเขาก็ยังรักกันดีอยู่ตลอดไป
----
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่