อุโมงค์พิศวง ลวดลายจากธรรมชาติแห่งรัสเซีย
เหมืองเกลือใต้ดิน (Psychedelic Salt Mines) แห่งเมืองเยคาเตรินเบิร์ก ที่อยู่ลึกจากระดับผิวดินลงไป ประมาณ 650 ฟุต เหมืองเกลือดังกล่าวถูกนำเสนอต่อสายตาของชาวโลกผ่านภาพถ่ายสุดตะลึง ของ Mikhail Mishainik ช่างถ่ายภาพชาวรัสเซีย ที่นี่คือเหมืองใต้ดินที่ถูกทิ้งร้างมานาน แต่ลวดลายอันน่าพิศวงนั้นถูกธรรมชาติขึ้นมา อุโมงค์แห่งนี้ตั้งอยู่ในส่วนหนึ่งของกรุงมอสโคว ประเทศรัสเซีย
เหมืองลวดลายเป็นวงๆวกไปวนมาแห่งนี้มีสีสันสวนงาม ทั้งสีเหลือง ขาว แดงและน้ำเงิน เป็นลวดลายเส้นคล้ายแม่น้ำ ร่องรอยเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นล้านๆ ปีมาแล้ว จากน้ำทะเลที่เหือดแห้งลงและทิ้งร่องรอยลายเส้นเหล่านี้ไว้
อุโมงค์เหมืองแร่ที่ซับซ้อนแห่งนี้ไม่ได้เปิดให้เข้าชมโดยผู้คนทั่วไป ยกเว้นพนักงานรัฐเท่านั้น การเข้าถึงที่อุโมงค์เหมืองแร่แห่งนี้นั้นยากลำบากและอันตราย หากไม่มีไฟฉายอาจจะเข้าไปไม่ได้เลยเพราะมืดมาก อีกทั้งอากาศหายใจยังน้อยอีกด้วย ด้วยมีเกลือในถ้ำจึงอาจทำให้คอแผ้งได้
หากต้องการเข้าไปเยี่ยมถ้ำอันสวยงามที่แฝงความอันตรายก็สามารถที่จะขออนุญาติจากรัฐบาลได้ ลงไปสองถึงสามร้อยฟุต และเตรียมไฟฉายไป จากนั้นก็จะได้พบกับอุโมงค์ที่ให้ความรู้สึกเหมือนกับรูหนอนที่กำลังจะทะลุมิติไปยังอีกโลกหนึ่ง
ข้อมูลและภาพ : amusingplanet.com /dailymail.co.uk
เครดิตที่มา : atlasobscura.com
Cr.
https://travel.thaiza.com/foreign/399906/
Cr.
https://travel.mthai.com/world-travel/87224.html / เรียบเรียงโดย Travel MThai
เกล็ดหิมะ…สิ่งมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติสร้างขึ้น
เมื่อฤดูหนาวมาถึงหลายคนจะคิดถึงภาพหิมะขาวโพลนปกคลุมทั่วบริเวณ เกล็ดหิมะเล็กๆที่ร่วงหล่นจากท้องฟ้านั้น ไม่น่าเชื่อว่าธรรมชาติจะสร้างขึ้นมาให้เป็นรูปร่างแบบสมมาตร มีลวดลายรายละเอียดที่สวยงามราวกับแกะสลักด้วยมือของช่างผู้ชำนาญ แต่ละเกล็ดมีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แตกต่างหลากหลายไม่ซ้ำกัน
เกล็ดหิมะมีรูปร่างเป็นหกเหลี่ยมหรือหกแฉกเสมอ ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าเป็นเพราะอะไร บางครั้งอาจมีพบเกล็ดหิมะรูปสิบสองแฉกบ้างแต่ก็ถือว่าเป็นส่วนขยายจากหกแฉกอยู่ดี ส่วนลักษณะของรูปร่างรายละเอียดและลวดลายจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้นของอากาศในขณะที่มันก่อตัว
แม้ว่าเกล็ดหิมะจะมีลักษณะพิเศษที่สวยงามแต่ไม่ค่อยจะได้เห็นกันเนื่องจากขนาดที่เล็กมากของมัน การจะได้ภาพเกล็ดหิมะสวยๆจะต้องใช้กล้องพิเศษถ่ายแบบโคลสอัพ และต้องรอคอยการก่อตัวของเกล็ดหิมะแบบใจเย็นอีกด้วย ฝีมือบวกประสบการณ์และความโชคดีเท่านั้นถึงจะทำให้คุณได้ภาพเกล็ดหิมะแสนสวย
Alexey Kljatov ช่างภาพสมัครเล่นชาวรัสเซีย ผู้รักการถ่ายภาพเกล็ดหิมะเป็นชีวิตจิตใจ เป็นอีกผู้หนึ่งที่ถ่ายทอดความงดงามของเกล็ดหิมะออกมาได้อย่างมีเสน่ห์ชวนหลงใหล เขาใช้กล้องถ่ายรูปธรรมดาราคาไม่แพง แต่ด้วยเทคนิคการจัดแสงและเลือกแบ็คกราวด์ที่ดีบวกกับความอดทนรอยคอยด้วยใจรัก ทำให้เขามีผลงานที่ยอดเยี่ยมมากมาย
และนี่คือผลงานบางส่วนที่น่าประทับของเขา
ข้อมูลและภาพจาก chaoticmind75
(ดูภาพเพิ่มเติม) Cr.
https://www.takieng.com/stories/2799
แร่หินสวยๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
(บลูอาเกต)
แร่ธาตุคือสารประกอบที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่มีอยู่นับพันชนิดบนโลกของเรา ที่เราคุ้นเคยก็อาจจะเป็นทองคำ เงิน ทองแดง แต่แน่นอนว่าที่เคยเห็นนั้นเป็นแค่ส่วนน้อยเท่านั้น
นอกจากนี้ยังมีแร่บางชนิดที่มีความสวยงามราวกับถูกดัดแปลง เติมแต่ง จนคุณแทบจะไม่เชื่อว่าแร่ธาตุเหล่านี้เกิดเองตามธรรมชาติเหมือนแร่ทั่วไป
โคบัลโตแคไซต์
บิสมัท
ฟอสซิลโอปอล
ที่มา: boredpanda
เรีบยเรียง By เหมียวขี้ส่อง
Cr.
https://www.catdumb.com/amazing-stonesminerals-777/
ลวดลายในธรรมชาติ ความสวยงามที่แฝงไปด้วยลำดับทางคณิตศาสตร์
(การเติบโตแบบลอการิทึมของเปลือกหอยนอติลุสเป็นวงก้นหอย)
ลวดลายในธรรมชาติ คือ รูปแบบที่มีความสม่ำเสมออย่างชัดเจนซึ่งพบได้ในโลกธรรมชาติ ลวดลายเหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ในบริบทที่ต่างกัน และบางครั้งสามารถถูกกำหนดรูปแบบโดยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ลวดลายทางธรรมชาติ ได้แก่ ความสมมาตร ต้นไม้ เกลียว ลำน้ำโค้งตวัด คลื่น โฟม เทสเซลเลชัน รอยแตก และ รอยริ้ว นักปรัชญากรีกได้ศึกษาลวดลายเช่นเดียวกัน โดยมีเพลโต พีทาโกรัส และเอมเพโดคลีส พยายามจะอธิบายอันดับในธรรมชาติ การเข้าใจเรื่องลวดลายซึ่งมองเห็นได้นั้นได้รับการพัฒนาตามกาลเวลา
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักฟิสิกส์ชาวเบลเยี่ยม โยเซป พลาโตได้ทำการทดลองกับฟิล์มฟองสบู่ทำให้เขาได้วางเกณฑ์แนวความคิดของพื้นผิวที่น้อยที่สุด
นักชีววิทยาและศิลปินชาวเยอรมัน แอร์นสต์ เฮคเคล ได้วาดรูปสัตว์น้ำกว่าร้อยชนิดเพื่อให้ความสำคัญเรื่องความสมมาตร
นักชีววิทยาชาวสก๊อต D'Arcy Thompson ริเริ่มการศึกษาลวดลายในทั้งในพืชและสัตว์และแสดงให้เห็นว่าสามารถใช้สมการง่าย ๆ เพื่ออธิบายการโตแบบวงก้นหอยได้
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ แอลัน ทัวริง ทำนายกลไกของการเกิดสัณฐานซึ่งทำให้เกิดลายจุดและรอยริ้ว
นักชีววิทยาชาวฮังการี Aristid Lindenmayer และนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสอเมริกัน เบอนัว มานดัลบรอ แสดงว่าคณิตศาสตร์ของแฟร็กทัลสามารถสร้างลวดลายในการเจริญเติบโตของพืช
คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และ เคมี สามารถอธิบายลวดลายในธรรมชาติในระดับที่ต่างกัน ลวดลายในสิ่งมีชีวิตอธิบายได้โดยวิธีทางชีววิทยาด้านการคัดเลือกโดยธรรมชาติ
(สัตว์ในไฟลัมเอไคโนเตอร์มาตา เช่นปลาดาวตัวนี้มีความสมมาตรห้าพับ) (fivefold symmetry)
สิ่งมีชีวิตเช่นกล้วยไม้ นกฮัมมิ่งเบิร์ด และหางของนกยูงมีการออกแบบที่เป็นนามธรรม โดยมีความงดงามของรูปแบบ ลวดลาย และสีซึ่งทำให้ศิลปินนั้นยากที่จะลอกเลียน ความงดงามซึ่งผู้คนเห็นในธรรมชาติเกิดได้จากหลายอย่างด้วยกัน ทฤษฎีที่โดดเด่นได้แก่ คณิตศาสตร์ซึ่งควบคุมการเกิดของลวดลาย
(ลวดลายของเวลล์คามิเลียน (veiled chameleon) หรือ Chamaeleo calyptratus ซึ่งวิวัฒนาการมาเพื่ออำพราง และเพื่อบอกอารมณ์ และสถานะทางการผสมพันธุ์)
โดยนักคณิตศาสตร์จากหลายยุคหลายสมัยต่างก็พยามทำความเข้าใจ ถึงลวดลายในธรรมชาติและพอจะสรุปออกมาได้ว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดลวดลายต่างๆขึ้นนั้นก็เป็นผลมาจากพฤติกรรมของระบบพลวัต ซึ่งได้ถูกอธิาบายไว้ในทฤษฎีความอลวน (chaos theory)
ซึ่งอธิบายประมาณว่า ทุกสิ่งมีการเปลี่ยนแปลงตามเวลาที่เปลี่ยนไปอยู่ตลอด, รวมไปถึงลวดลายในแบบ fractals, เกลียวลอการิทึม, ทอพอโลยี (Topology) ก็คือ คุณสมบัติทางรูปร่างที่ไม่แปรเปลี่ยนภายใต้การดึง ยืด หด บีบ (โดยไม่มีการฉีก การเจาะ หรือ การเชื่อมติดใหม่)
และยังมีสาเหตุอื่นๆอีกในทางคณิตศาสตร์ที่สามารถอธิบายถึงความสวยงามในลวดลายธรรมชาติ เช่น L-systems หรือ Lindenmayer system ซึ่งระบบ L นี้มักนิยมใช้ในการสร้างแบบจำลองในพืช และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รวมไปถึงอะไรที่มีลักษณะคล้ายๆกัน
อ้างอิง วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรียบเรียงโดย Sci Ways
Cr.
https://www.sciways.co/patterns-in-nature/
เขาสลับลายรุ้ง จางเย่ ตันเซี๋ย ประเทศจีน
ภาพมรดกโลกเขาสายรุ้ง จางเย่ ตันเซี๋ย ในมณฑลกานซู่ ที่ยังคงความบริสุทธิ์ดั้งเดิมผ่าน ลม ฝน กาลเวลากว่า 24 ล้านปี
เขาสลับลายรุ้ง จางเย่ ตันเซี๋ย หรือบ้างเรียก สวนหินแดง อยู่ใกล้หมู่บ้านหนานไท่จื่อ เมืองจางเย่ มณฑลกานซู ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน นับเป็นหนึ่งในมรดกโลกทางธรรมชาติที่มหัศจรรย์ ดังเนรมิต และยังคงความบริสุทธิของธรรมชาติดั้งเดิม ไม่มีการรุกรานของอารยธรรมมนุษย์
มีรายงานข่าวว่า ทุกวันนี้ ทุกส่วนภูมิประเทศต่างๆ ในโลก ล้วนถูกรุกรานจากมนุษย์ไม่มากก็น้อย และประเทศจีน ก็มีพื้นที่ธรรมชาติหลายแห่งที่เสี่ยงต่อการสูญเสียเพราะการพัฒนาฯ ทว่าในแผ่นดินอันกว้างใหญ่ไพศาล จีนยังมีความพยายามที่จะรักษาธรรมชาติเหล่านี้ ให้เป็นมรดกสืบต่อไปยังลูกหลานในอนาคต
ตามข้อมูลธรณีวิทยาจีน ระบุว่า ประติมากรรมธรรมชาตินี้ ประกอบไปด้วยแนวเขาแต้มสีเป็นลายริ้ว ซึ่งเกิดจากหินทราย และแร่ธรรมชาติ ที่ค่อย ๆ ก่อตัวผ่านการปรับแต่งจากลม ฝน และกาลเวลากว่า 24 ล้านปี ก่อนการเกิดของเผ่าพันธุ์มนุษย์นานนัก
ทั้งนี้ ปัจจุบัน ทิวเขาหลากสีตันเซี่ย นับเป็นลักษณะภูมิประเทศที่เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติซึ่งพบได้ในจีนเท่านั้น และปัจจุบัน เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่มีคนจำนวนมาก นิยมไปเที่ยวชม ขณะที่จีนยังมีทิวเขาลักษณะเดียวกับ ตันเซี๋ย ในบริเวณนี้อีก 5 แห่ง และทั้งหมดล้วนได้รับการปกป้องอยู่ในบัญชีมรดกโลก เมื่อปี 2553
ภาพและข้อมูลจาก
http://www.manager.co.th
Cr.
http://ruamruengplaekjissy.blogspot.com/2013/11/blog-post_28.html / เขียนโดย jissy
ลายดำ - ขาว ของม้าลาย
ม้าลายเป็นม้าจำพวกหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าม้า มีแผงคอที่สั้นเหมือนขนแปรง มีลักษณะเด่น คือ มีลำตัวเป็นสีขาวสลับดำตลอดทั้งตัว ซึ่งสีอันโดดเด่นนี้ เป็นคำถามมาเป็นระยะเวลานานแล้วว่า แท้ที่จริงแล้วม้าลายเป็นสัตว์ที่มีพื้นลำตัวขาวและมีแถบสีดำพาดผ่าน หรือเป็นสัตว์ที่มีพื้นลำตัวสีดำและมีแถบสีขาวพาดผ่านกันแน่ ในความเชื่อของชาวพื้นเมืองแอฟริกา เชื่อว่า ม้าลายเป็นสัตว์ที่มีสีดำและมีแถบสีขาวพาดผ่าน
จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า ม้าลายแท้ที่จริงเป็นสัตว์ที่มีพื้นลำตัวสีดำและมีลายแถบสีขาวพาดผ่านลำตัว ซึ่งลายแถบสีขาวนั้นเกิดจากเซลล์ประสาทที่เรียงรายตามแนวกระดูกสันหลังส่วนหนึ่ง จะเปลี่ยนสภาพไปเป็นเซลล์ผลิตเม็ดสีสีดำ เรียกว่า เมลาโนไซท์ หลังจากนั้น เมลาโนไซท์เหล่านี้ จะเคลื่อนออกไปด้านข้างของกระดูกสันหลังในแนวตั้งฉาก แล้วเปลี่ยนสภาพไปเป็นผิวหนังที่มีเม็ดสีสีดำ
ซึ่งรูปแบบของเม็ดสีในสัตว์แต่ละชนิดนั้น ขึ้นอยู่กับการกระตุ้นทางพันธุกรรม ในการเปลี่ยนสภาพ และการเคลื่อนที่ของเมลาโนไซท์ โดยจากการศึกษาพบว่าตัวอ่อนของม้าลายที่อยู่ในท้องแม่ จะเป็นตัวสีดำก่อน จากนั้นลายแถบสีขาวจึงค่อย ๆ พัฒนาขึ้น ซึ่งม้าลายแต่ละตัวก็จะมีลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนกัน
การที่ม้าลายมีลายแถบสีขาวเหล่านี้ เชื่อว่ามีไว้สำหรับป้องกันแมลง, ใช้ในการพรางตัวจากศัตรู และทำให้ศัตรูซึ่งได้แก่ สัตว์กินเนื้อต่าง ๆ ลายตาได้เมื่อได้พบเจอม้าลายที่อยู่รวมกันเป็นฝูงในทุ่งหญ้ากว้าง ม้าลายพบทั่วไปในทวีปแอฟริกาแถบที่ราบโล่งทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า
Cr.
https://sites.google.com/site/pk5510101143/laksna-khxng-malay
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
ลวดลายในธรรมชาติ ความสวยงามที่ลงตัว
เหมืองเกลือใต้ดิน (Psychedelic Salt Mines) แห่งเมืองเยคาเตรินเบิร์ก ที่อยู่ลึกจากระดับผิวดินลงไป ประมาณ 650 ฟุต เหมืองเกลือดังกล่าวถูกนำเสนอต่อสายตาของชาวโลกผ่านภาพถ่ายสุดตะลึง ของ Mikhail Mishainik ช่างถ่ายภาพชาวรัสเซีย ที่นี่คือเหมืองใต้ดินที่ถูกทิ้งร้างมานาน แต่ลวดลายอันน่าพิศวงนั้นถูกธรรมชาติขึ้นมา อุโมงค์แห่งนี้ตั้งอยู่ในส่วนหนึ่งของกรุงมอสโคว ประเทศรัสเซีย
เหมืองลวดลายเป็นวงๆวกไปวนมาแห่งนี้มีสีสันสวนงาม ทั้งสีเหลือง ขาว แดงและน้ำเงิน เป็นลวดลายเส้นคล้ายแม่น้ำ ร่องรอยเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นล้านๆ ปีมาแล้ว จากน้ำทะเลที่เหือดแห้งลงและทิ้งร่องรอยลายเส้นเหล่านี้ไว้
อุโมงค์เหมืองแร่ที่ซับซ้อนแห่งนี้ไม่ได้เปิดให้เข้าชมโดยผู้คนทั่วไป ยกเว้นพนักงานรัฐเท่านั้น การเข้าถึงที่อุโมงค์เหมืองแร่แห่งนี้นั้นยากลำบากและอันตราย หากไม่มีไฟฉายอาจจะเข้าไปไม่ได้เลยเพราะมืดมาก อีกทั้งอากาศหายใจยังน้อยอีกด้วย ด้วยมีเกลือในถ้ำจึงอาจทำให้คอแผ้งได้
หากต้องการเข้าไปเยี่ยมถ้ำอันสวยงามที่แฝงความอันตรายก็สามารถที่จะขออนุญาติจากรัฐบาลได้ ลงไปสองถึงสามร้อยฟุต และเตรียมไฟฉายไป จากนั้นก็จะได้พบกับอุโมงค์ที่ให้ความรู้สึกเหมือนกับรูหนอนที่กำลังจะทะลุมิติไปยังอีกโลกหนึ่ง
ข้อมูลและภาพ : amusingplanet.com /dailymail.co.uk
เครดิตที่มา : atlasobscura.com
Cr.https://travel.thaiza.com/foreign/399906/
Cr.https://travel.mthai.com/world-travel/87224.html / เรียบเรียงโดย Travel MThai
เกล็ดหิมะ…สิ่งมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติสร้างขึ้น
เมื่อฤดูหนาวมาถึงหลายคนจะคิดถึงภาพหิมะขาวโพลนปกคลุมทั่วบริเวณ เกล็ดหิมะเล็กๆที่ร่วงหล่นจากท้องฟ้านั้น ไม่น่าเชื่อว่าธรรมชาติจะสร้างขึ้นมาให้เป็นรูปร่างแบบสมมาตร มีลวดลายรายละเอียดที่สวยงามราวกับแกะสลักด้วยมือของช่างผู้ชำนาญ แต่ละเกล็ดมีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แตกต่างหลากหลายไม่ซ้ำกัน
เกล็ดหิมะมีรูปร่างเป็นหกเหลี่ยมหรือหกแฉกเสมอ ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าเป็นเพราะอะไร บางครั้งอาจมีพบเกล็ดหิมะรูปสิบสองแฉกบ้างแต่ก็ถือว่าเป็นส่วนขยายจากหกแฉกอยู่ดี ส่วนลักษณะของรูปร่างรายละเอียดและลวดลายจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้นของอากาศในขณะที่มันก่อตัว
แม้ว่าเกล็ดหิมะจะมีลักษณะพิเศษที่สวยงามแต่ไม่ค่อยจะได้เห็นกันเนื่องจากขนาดที่เล็กมากของมัน การจะได้ภาพเกล็ดหิมะสวยๆจะต้องใช้กล้องพิเศษถ่ายแบบโคลสอัพ และต้องรอคอยการก่อตัวของเกล็ดหิมะแบบใจเย็นอีกด้วย ฝีมือบวกประสบการณ์และความโชคดีเท่านั้นถึงจะทำให้คุณได้ภาพเกล็ดหิมะแสนสวย
Alexey Kljatov ช่างภาพสมัครเล่นชาวรัสเซีย ผู้รักการถ่ายภาพเกล็ดหิมะเป็นชีวิตจิตใจ เป็นอีกผู้หนึ่งที่ถ่ายทอดความงดงามของเกล็ดหิมะออกมาได้อย่างมีเสน่ห์ชวนหลงใหล เขาใช้กล้องถ่ายรูปธรรมดาราคาไม่แพง แต่ด้วยเทคนิคการจัดแสงและเลือกแบ็คกราวด์ที่ดีบวกกับความอดทนรอยคอยด้วยใจรัก ทำให้เขามีผลงานที่ยอดเยี่ยมมากมาย
และนี่คือผลงานบางส่วนที่น่าประทับของเขา
ข้อมูลและภาพจาก chaoticmind75
(ดูภาพเพิ่มเติม) Cr.https://www.takieng.com/stories/2799
แร่หินสวยๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
นอกจากนี้ยังมีแร่บางชนิดที่มีความสวยงามราวกับถูกดัดแปลง เติมแต่ง จนคุณแทบจะไม่เชื่อว่าแร่ธาตุเหล่านี้เกิดเองตามธรรมชาติเหมือนแร่ทั่วไป
โคบัลโตแคไซต์
บิสมัท
ฟอสซิลโอปอล
ที่มา: boredpanda
เรีบยเรียง By เหมียวขี้ส่อง
Cr.https://www.catdumb.com/amazing-stonesminerals-777/
ลวดลายในธรรมชาติ ความสวยงามที่แฝงไปด้วยลำดับทางคณิตศาสตร์
(การเติบโตแบบลอการิทึมของเปลือกหอยนอติลุสเป็นวงก้นหอย)
ลวดลายในธรรมชาติ คือ รูปแบบที่มีความสม่ำเสมออย่างชัดเจนซึ่งพบได้ในโลกธรรมชาติ ลวดลายเหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ในบริบทที่ต่างกัน และบางครั้งสามารถถูกกำหนดรูปแบบโดยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ลวดลายทางธรรมชาติ ได้แก่ ความสมมาตร ต้นไม้ เกลียว ลำน้ำโค้งตวัด คลื่น โฟม เทสเซลเลชัน รอยแตก และ รอยริ้ว นักปรัชญากรีกได้ศึกษาลวดลายเช่นเดียวกัน โดยมีเพลโต พีทาโกรัส และเอมเพโดคลีส พยายามจะอธิบายอันดับในธรรมชาติ การเข้าใจเรื่องลวดลายซึ่งมองเห็นได้นั้นได้รับการพัฒนาตามกาลเวลา
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักฟิสิกส์ชาวเบลเยี่ยม โยเซป พลาโตได้ทำการทดลองกับฟิล์มฟองสบู่ทำให้เขาได้วางเกณฑ์แนวความคิดของพื้นผิวที่น้อยที่สุด
นักชีววิทยาและศิลปินชาวเยอรมัน แอร์นสต์ เฮคเคล ได้วาดรูปสัตว์น้ำกว่าร้อยชนิดเพื่อให้ความสำคัญเรื่องความสมมาตร
นักชีววิทยาชาวสก๊อต D'Arcy Thompson ริเริ่มการศึกษาลวดลายในทั้งในพืชและสัตว์และแสดงให้เห็นว่าสามารถใช้สมการง่าย ๆ เพื่ออธิบายการโตแบบวงก้นหอยได้
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ แอลัน ทัวริง ทำนายกลไกของการเกิดสัณฐานซึ่งทำให้เกิดลายจุดและรอยริ้ว
นักชีววิทยาชาวฮังการี Aristid Lindenmayer และนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสอเมริกัน เบอนัว มานดัลบรอ แสดงว่าคณิตศาสตร์ของแฟร็กทัลสามารถสร้างลวดลายในการเจริญเติบโตของพืช
คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และ เคมี สามารถอธิบายลวดลายในธรรมชาติในระดับที่ต่างกัน ลวดลายในสิ่งมีชีวิตอธิบายได้โดยวิธีทางชีววิทยาด้านการคัดเลือกโดยธรรมชาติ
(สัตว์ในไฟลัมเอไคโนเตอร์มาตา เช่นปลาดาวตัวนี้มีความสมมาตรห้าพับ) (fivefold symmetry)
สิ่งมีชีวิตเช่นกล้วยไม้ นกฮัมมิ่งเบิร์ด และหางของนกยูงมีการออกแบบที่เป็นนามธรรม โดยมีความงดงามของรูปแบบ ลวดลาย และสีซึ่งทำให้ศิลปินนั้นยากที่จะลอกเลียน ความงดงามซึ่งผู้คนเห็นในธรรมชาติเกิดได้จากหลายอย่างด้วยกัน ทฤษฎีที่โดดเด่นได้แก่ คณิตศาสตร์ซึ่งควบคุมการเกิดของลวดลาย
(ลวดลายของเวลล์คามิเลียน (veiled chameleon) หรือ Chamaeleo calyptratus ซึ่งวิวัฒนาการมาเพื่ออำพราง และเพื่อบอกอารมณ์ และสถานะทางการผสมพันธุ์)
โดยนักคณิตศาสตร์จากหลายยุคหลายสมัยต่างก็พยามทำความเข้าใจ ถึงลวดลายในธรรมชาติและพอจะสรุปออกมาได้ว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดลวดลายต่างๆขึ้นนั้นก็เป็นผลมาจากพฤติกรรมของระบบพลวัต ซึ่งได้ถูกอธิาบายไว้ในทฤษฎีความอลวน (chaos theory)
ซึ่งอธิบายประมาณว่า ทุกสิ่งมีการเปลี่ยนแปลงตามเวลาที่เปลี่ยนไปอยู่ตลอด, รวมไปถึงลวดลายในแบบ fractals, เกลียวลอการิทึม, ทอพอโลยี (Topology) ก็คือ คุณสมบัติทางรูปร่างที่ไม่แปรเปลี่ยนภายใต้การดึง ยืด หด บีบ (โดยไม่มีการฉีก การเจาะ หรือ การเชื่อมติดใหม่)
และยังมีสาเหตุอื่นๆอีกในทางคณิตศาสตร์ที่สามารถอธิบายถึงความสวยงามในลวดลายธรรมชาติ เช่น L-systems หรือ Lindenmayer system ซึ่งระบบ L นี้มักนิยมใช้ในการสร้างแบบจำลองในพืช และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รวมไปถึงอะไรที่มีลักษณะคล้ายๆกัน
อ้างอิง วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรียบเรียงโดย Sci Ways
Cr.https://www.sciways.co/patterns-in-nature/
เขาสลับลายรุ้ง จางเย่ ตันเซี๋ย ประเทศจีน
ภาพมรดกโลกเขาสายรุ้ง จางเย่ ตันเซี๋ย ในมณฑลกานซู่ ที่ยังคงความบริสุทธิ์ดั้งเดิมผ่าน ลม ฝน กาลเวลากว่า 24 ล้านปี
เขาสลับลายรุ้ง จางเย่ ตันเซี๋ย หรือบ้างเรียก สวนหินแดง อยู่ใกล้หมู่บ้านหนานไท่จื่อ เมืองจางเย่ มณฑลกานซู ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน นับเป็นหนึ่งในมรดกโลกทางธรรมชาติที่มหัศจรรย์ ดังเนรมิต และยังคงความบริสุทธิของธรรมชาติดั้งเดิม ไม่มีการรุกรานของอารยธรรมมนุษย์
มีรายงานข่าวว่า ทุกวันนี้ ทุกส่วนภูมิประเทศต่างๆ ในโลก ล้วนถูกรุกรานจากมนุษย์ไม่มากก็น้อย และประเทศจีน ก็มีพื้นที่ธรรมชาติหลายแห่งที่เสี่ยงต่อการสูญเสียเพราะการพัฒนาฯ ทว่าในแผ่นดินอันกว้างใหญ่ไพศาล จีนยังมีความพยายามที่จะรักษาธรรมชาติเหล่านี้ ให้เป็นมรดกสืบต่อไปยังลูกหลานในอนาคต
ตามข้อมูลธรณีวิทยาจีน ระบุว่า ประติมากรรมธรรมชาตินี้ ประกอบไปด้วยแนวเขาแต้มสีเป็นลายริ้ว ซึ่งเกิดจากหินทราย และแร่ธรรมชาติ ที่ค่อย ๆ ก่อตัวผ่านการปรับแต่งจากลม ฝน และกาลเวลากว่า 24 ล้านปี ก่อนการเกิดของเผ่าพันธุ์มนุษย์นานนัก
ทั้งนี้ ปัจจุบัน ทิวเขาหลากสีตันเซี่ย นับเป็นลักษณะภูมิประเทศที่เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติซึ่งพบได้ในจีนเท่านั้น และปัจจุบัน เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่มีคนจำนวนมาก นิยมไปเที่ยวชม ขณะที่จีนยังมีทิวเขาลักษณะเดียวกับ ตันเซี๋ย ในบริเวณนี้อีก 5 แห่ง และทั้งหมดล้วนได้รับการปกป้องอยู่ในบัญชีมรดกโลก เมื่อปี 2553
ภาพและข้อมูลจาก http://www.manager.co.th
Cr.http://ruamruengplaekjissy.blogspot.com/2013/11/blog-post_28.html / เขียนโดย jissy
ลายดำ - ขาว ของม้าลาย
ม้าลายเป็นม้าจำพวกหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าม้า มีแผงคอที่สั้นเหมือนขนแปรง มีลักษณะเด่น คือ มีลำตัวเป็นสีขาวสลับดำตลอดทั้งตัว ซึ่งสีอันโดดเด่นนี้ เป็นคำถามมาเป็นระยะเวลานานแล้วว่า แท้ที่จริงแล้วม้าลายเป็นสัตว์ที่มีพื้นลำตัวขาวและมีแถบสีดำพาดผ่าน หรือเป็นสัตว์ที่มีพื้นลำตัวสีดำและมีแถบสีขาวพาดผ่านกันแน่ ในความเชื่อของชาวพื้นเมืองแอฟริกา เชื่อว่า ม้าลายเป็นสัตว์ที่มีสีดำและมีแถบสีขาวพาดผ่าน
จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า ม้าลายแท้ที่จริงเป็นสัตว์ที่มีพื้นลำตัวสีดำและมีลายแถบสีขาวพาดผ่านลำตัว ซึ่งลายแถบสีขาวนั้นเกิดจากเซลล์ประสาทที่เรียงรายตามแนวกระดูกสันหลังส่วนหนึ่ง จะเปลี่ยนสภาพไปเป็นเซลล์ผลิตเม็ดสีสีดำ เรียกว่า เมลาโนไซท์ หลังจากนั้น เมลาโนไซท์เหล่านี้ จะเคลื่อนออกไปด้านข้างของกระดูกสันหลังในแนวตั้งฉาก แล้วเปลี่ยนสภาพไปเป็นผิวหนังที่มีเม็ดสีสีดำ
ซึ่งรูปแบบของเม็ดสีในสัตว์แต่ละชนิดนั้น ขึ้นอยู่กับการกระตุ้นทางพันธุกรรม ในการเปลี่ยนสภาพ และการเคลื่อนที่ของเมลาโนไซท์ โดยจากการศึกษาพบว่าตัวอ่อนของม้าลายที่อยู่ในท้องแม่ จะเป็นตัวสีดำก่อน จากนั้นลายแถบสีขาวจึงค่อย ๆ พัฒนาขึ้น ซึ่งม้าลายแต่ละตัวก็จะมีลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนกัน
การที่ม้าลายมีลายแถบสีขาวเหล่านี้ เชื่อว่ามีไว้สำหรับป้องกันแมลง, ใช้ในการพรางตัวจากศัตรู และทำให้ศัตรูซึ่งได้แก่ สัตว์กินเนื้อต่าง ๆ ลายตาได้เมื่อได้พบเจอม้าลายที่อยู่รวมกันเป็นฝูงในทุ่งหญ้ากว้าง ม้าลายพบทั่วไปในทวีปแอฟริกาแถบที่ราบโล่งทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า
Cr.https://sites.google.com/site/pk5510101143/laksna-khxng-malay
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)