JJNY : พท.ยก 5 ข้อ ตอกแจกเงิน/ละลายงบ2พันล.!ฉบับเต็ม/ร้านยาสธ.หน้ากาก-เจล-แอลกอฮอล์เกลี้ยง/กสิกรไทยหั่นจีดีพี63เหลือ0.5%

เพื่อไทย ยก 5 ข้อ ตอก แจกเงินคนจนหัวละพัน แก้วิกฤติ โควิด-19 ไม่ได้
https://www.thairath.co.th/news/politic/1787151
 
 
 
“เพื่อไทย” สวน “รัฐบาล” วิธีคิดผิด นำไปสู่มาตรการแก้เศรษฐกิจที่ผิด แจกเงินหัวละพันของ รมว.คลัง ชี้ โควิด-19 แก้โดย "ต่อสายป่าน  หยุดตกงาน" ไม่ใช่แจกเงิน แขวะแสบเหมือนเจ็บขา แต่ทายาแก้คันไปทั้งตัว 
  
วันที่ 5 มี.ค. ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์กรณีกระทรวงการคลังจะเสนอชุดมาตรการช่วยเหลือผลกระทบโควิด-19 โดยจะมีการแจกเงินคนจนทั่วประเทศ หัวละ 1,000-2,000 บาท ตามข่าว ว่า
  
1. รมว. คลัง ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กสรุปความว่า ท่านแจก หวังให้คนเอาไปใช้จ่าย หวังให้คนผลิตมากขึ้น หวังให้จ้างงานมากขึ้น ผมมองว่า ตรรกะข้อนี้ไม่ถูกต้อง ท่านทราบหรือไม่ว่า การใช้จ่ายของคน แปรผันตรงต่อกระแสรายได้ในระยะยาว ไม่ใช่เงินชั่วคราวในระยะสั้นหรือการแจกเงิน กระแสรายได้ระยะยาว มันคืองาน สำคัญคือประชาชนต้องมีงาน คนมีงานอยู่แล้วต้องป้องกันไม่ให้ตกงาน คนตกงานต้องรีบสร้างงานให้ คนใช้จ่ายเมื่อมีงาน รู้สึกมั่นคงในรายได้ ที่ท่านหวังแจกเงินเพื่อสร้างงาน ผมเกรงว่ามันจะไม่เกิดขึ้น
 
2. ท่านทราบหรือไม่ว่า ไม่มีผู้ผลิตรายไหน จะเพิ่มการผลิต เพิ่มการจ้างงาน เพื่อรองรับกำลังซื้อชั่วคราวหัวละพันแบบนี้ ความหวังเรื่องการจ้างงานจากเงินแจก มันไม่ตั้งอยู่บนหลักคิดที่ถูกต้อง
  
3. ท่านทราบหรือไม่ว่า หัวใจของผลกระทบจากโควิด-19 มันอยู่ที่สายป่านของธุรกิจภาคท่องเที่ยวขนาดเล็กมันสั้น 2-3 เดือนเท่านั้น ต้องแก้ด้วยการต่อสายป่าน ให้ธุรกิจเหล่านี้ไม่ล้ม ถ้าล้มมันจะลาม มาตรการชุดนี้ในส่วนที่เป็นการต่อสายป่าน ผมเห็นด้วย แต่ส่วนที่แจกไปทั่ว ผมมองว่าเป็นมาตรการที่ชุ่ย
 
4. ท่านทราบหรือไม่ว่า ปีที่แล้วทั้งปี ท่านได้ใช้มาตรการแจกเงินอย่างเข้มข้น ถ้าดีจริงควรเห็นผลสะสมตั้งแต่ไตรมาส 4 ปีที่แล้ว แต่ผลงานนั้นได้สะท้อนผ่าน GDP ไตรมาสดังกล่าว ซึ่งต่ำสุดในรอบ 21 ไตรมาส ซึ่งโดยปกติแล้วไตรมาส 4 ควรเป็นช่วงที่ดี มีแรงส่งการผลิต การใช้จ่ายปลายปีสูง และการท่องเที่ยวสูง และช่วงนั้นยังไม่มีโควิด-19 ตัวเลขมันฟ้องว่าที่แจกมาทั้งปีมันผิดทาง
  
5. ท่านทราบหรือไม่ว่า ผลกระทบจากโควิด-19 กำลังจะลามไปนอกภาคท่องเที่ยว ซึ่งอันตรายมาก ต้องเอาเงินมาหยุดการลามตรงนี้แบบเฉพาะจุด ต้องหยุดเลือดเฉพาะที่ ไม่ใช่แจกหว่านไปทั่วประเทศอย่างนี้ ทำอย่างนี้เหมือนขาเจ็บแต่รักษาโดยการทายาแก้คันไปทั้งตัว
 
มาตรการแจกเงินก็แย่อยู่แล้ว ยิ่งฟังคำชี้แจงอีก ยิ่งทำให้เข้าใจว่าทำไมรัฐบาลจึงออกมาตรการสารพัดแจกแบบนี้ออกมาเรื่อยๆ วันนี้เข้าใจแล้วว่ามันผิดมาตั้งแต่วิธีคิด
  

 
ละลายงบ 2พันล.! ฉบับเต็ม สตง.สอบโครงการประชารัฐสวัสดิการ ยุค คสช. ลดความเหลื่อมล้ำไม่ได้ 
https://www.isranews.org/isranews/86176-report-86176.html
 
 "...การให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐบางส่วนที่ไม่ใช่ผู้มีรายได้น้อยที่สมควร ได้รับความช่วยเหลือ ทําให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณเกิดความไม่คุ้มค่า คิดเป็นงบประมาณไม่น้อยกว่า 2,021.74 ล้านบาท (เฉพาะในจังหวัดที่สุ่มตรวจสอบ โดยพิจารณาจากฐานข้อมูลที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์) ประชาชนผู้มีรายได้น้อยหรือผู้ที่มีฐานะยากจนที่ควรเป็นกลุ่มเป้าหมายเสียโอกาสในการได้รับความช่วยเหลือ จากสวัสดิการแห่งรัฐตามโครงการ เกิดความคลาดเคลื่อนบิดเบือนกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง หรือมีความ ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นปัจจุบันของข้อมูล และไม่สามารถใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลผู้มีรายได้น้อยเพื่อออกแบบ นโยบายและจัดสรรสวัสดิการต่าง ๆ ของรัฐ ทําให้การดําเนินโครงการไม่บรรลุผลสําเร็จตามเจตนารมณ์ ที่แท้จริงได้..."
 
การขึ้นทะเบียนเป็นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ พบปัญหาการดำเนินงานเรื่องการตรวจสอบหลักเกณฑ์คุณสมบัติของผู้มีสิทธิลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ยังมีจุดอ่อนหรือ ช่องว่างที่ทำให้ข้อมูลของผู้ผ่านคุณสมบัติเป็นไปอย่างไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน ทำให้เกิดช่องว่างที่คนมีฐานะพอจะช่วยเหลือตัวเองได้หรือไม่ได้เป็นผู้มีรายได้น้อยที่แท้จริงสามารถเข้ารับสิทธิตามโครงการได้ และยังมีกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงบางส่วนยังตกหล่นไม่ได้รับสิทธิการลงทะเบียนหรือไม่ได้เป็นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐตามโครงการ ขณะที่การดำเนินมาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้เช่นกัน"
 
คือ ข้อมูลเบื้องต้น ในรายงานผลการตรวจสอบการดำเนินงานโครงการประชารัฐสวัสดิการ ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในช่วงรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มศักยภาพให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยมีความเป็นอยู่ดีขึ้น ที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2560 ที่สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) นำมาเปิดเผยไปแล้ว 
 
(อ่านประกอบ : สตง.สอบโครงการประชารัฐสวัสดิการ ยุค คสช.พบจุดอ่อนระบบคัดกรอง คนมีฐานะได้รับสิทธิด้วย 
https://www.isranews.org/isranews-news/86148-news02-86148.html)
 
เพื่อให้สาธารณชนรับทราบรายละเอียดผลการตรวจสอบของสตง.มาขึ้น สำนักข่าวอิศรา ขอนำรายงานฉบับเต็มมานำเสนอ ณ ที่นี้ 
 
------------------
 
@ ที่มาโครงการ 
 
รัฐบาลมีนโยบายช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยด้วยการดําเนินโครงการประชารัฐสวัสดิการ มีวัตถุประสงค์ในการลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มศักยภาพให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยมีความเป็นอยู่ดีขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2560 กําหนดให้มีการดําเนินโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐเพื่อจัดเก็บ ฐานข้อมูลผู้มีรายได้น้อยนําไปออกแบบนโยบาย และจัดสวัสดิการต่าง ๆ ของภาครัฐให้เหมาะสมต่อไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 ได้กําหนดให้มีโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเติม เพื่อเปิดโอกาส ให้กลุ่มผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่สามารถเดินทางมาลงทะเบียนได้ในปี พ.ศ. 2560 ทั้งนี้ มี จํานวนผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่มีคุณสมบัติผ่านตามเกณฑ์ที่กําหนดแล้วจํานวนทั้งสิ้น 14,607,495 คน โดยรัฐได้มีการช่วยเหลือผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐดังกล่าวตามมาตรการลดค่าครองชีพด้วยการจัดสรร วงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่ดําเนินการผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ วงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม วงเงินค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยรถประจําทางของ ขสมก./รถไฟฟ้า/รถ บขส/รถไฟ มาตรการบรรเทาภาระ ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา มาตรการสนับสนุนค่าใช้จ่ายช่วงปลายปี พ.ศ. 2561 การช่วยเหลือค่าใช้จ่าย ในการเดินทางไปรักษาพยาบาล ค่าเช่าบ้านสําหรับผู้สูงอายุ เพิ่มเบี้ยคนพิการ บรรเทาภาระค่าครองชีพ ให้แก่เกษตรกร บรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของพ่อแม่ช่วงเปิดปีการศึกษา และนอกจากการช่วยเหลือ ด้วยการจ่ายวงเงินผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐดังกล่าวแล้ว รัฐยังมีนโยบายการให้ความช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ตามโครงการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในปี พ.ศ. 2561 สําหรับกลุ่มเป้าหมาย 11,469,185 คน ที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เพื่อจัดทําฐานข้อมูลเชิงลึกรายบุคคล สําหรับออกแบบมาตรการแก้ไขปัญหาความยากจนที่ตรงตามความจําเป็นของแต่ละบุคคล และยกระดับ คุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืนตามเจตนารมณ์ของโครงการต่อไป งบประมาณที่ใช้สําหรับการ ดําเนินงานตามโครงการรวมทั้งสิ้นประมาณ 143,490.56 ล้านบาท
 
หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ ได้แก่ สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง และกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง
 
@ ข้อตรวจพบที่สําคัญ 
 
จากการตรวจสอบการดําเนินงานโครงการประชารัฐสวัสดิการ มีประเด็นข้อตรวจพบที่สําคัญ จํานวน 3 ประเด็น ดังนี้
 
ข้อตรวจพบที่ 1 การดําเนินโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ยังไม่รัดกุมเหมาะสมได้ฐานข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง และไม่เป็นปัจจุบัน
 
1.1 หลักเกณฑ์คุณสมบัติของผู้มีสิทธิลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐยังมีจุดอ่อนหรือ ช่องว่างที่ทําให้ข้อมูลของผู้ผ่านคุณสมบัติเป็นไปอย่างไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน ทําให้เกิดช่องว่างที่คนมี ฐานะพอจะช่วยเหลือตัวเองได้หรือไม่ได้เป็นผู้มีรายได้น้อยที่แท้จริงสามารถเข้ารับสิทธิตามโครงการได้
 
ในขณะที่พบว่ายังมีกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงบางส่วนยังตกหล่นไม่ได้รับสิทธิการลงทะเบียนหรือไม่ได้ เป็นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐตามโครงการ
 
1.2 ฐานข้อมูลผู้มีรายได้น้อยไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน ไม่เป็นปัจจุบัน โดยพบว่าฐานข้อมูลใน ระบบการจัดสวัสดิการสังคมของรัฐ (ระบบ E-Social Welfare) มีผู้ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่มี คุณสมบัติไม่ตรงตามเกณฑ์ที่กําหนดหรือการบันทึกข้อมูลอาจผิดพลาด ส่งผลต่อฐานข้อมูลที่ขาดความ น่าเชื่อถือ ไม่สามารถนําไปใช้ประโยชน์ด้านการบริหารนโยบายได้อย่างถูกต้อง ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับ ทรัพย์สินทางการเงินหรือการถือครองกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์เกินกว่าเกณฑ์ที่กําหนด ข้อมูล เกี่ยวกับสถานะส่วนบุคคลไม่ถูกต้องและไม่ครบถ้วน ข้อมูลผู้มีรายได้น้อยที่จัดเก็บตามโครงการโดยไม่มี การเชื่อมโยงเพื่อสอบทานกับหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการดูแลช่วยเหลือคนยากจนหรือกลุ่มผู้ด้อยโอกาส และข้อมูลที่จัดเก็บตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐไม่เป็นปัจจุบันเนื่องจากเป็นข้อมูลที่ จัดเก็บของปี พ.ศ. 2559
 
1.3 กระบวนการรับลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยยังมีจุดอ่อนสําคัญบางประการ ทําให้คุณสมบัติ ของผู้ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐยังไม่เหมาะสม
 
1.3.1 ข้อมูลการรับลงทะเบียนที่บันทึกเข้าสู่ระบบโดยไม่มีการสอบทาน ตรวจสอบ รับรอง ความถูกต้อง เนื่องจากหน่วยงานที่รับลงทะเบียนไม่มีการสอบทานข้อมูลผู้ลงทะเบียนก่อนการส่งข้อมูล เข้าสู่ระบบเพื่อการตรวจสอบคุณสมบัติผู้มีสิทธิตามโครงการ โดยตามโครงการไม่ได้กําหนดให้มีขั้นตอน การตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูลในแบบฟอร์มการลงทะเบียน และไม่มีข้อกําหนดให้ต้องแสดง หลักฐานยืนยันข้อมูลที่แจ้งตามแบบฟอร์มและไม่มีการตรวจสอบรับรองความถูกต้องของผู้นําชุมชน นอกจากนี้ กรณีประชาชนกรอกข้อมูลการลงทะเบียนด้วยตนเองอาจให้ข้อมูลที่ไม่ตรงความเป็นจริง โดยเจ้าหน้าที่ไม่สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้
 
1.3.2 การปฏิบัติงานตามโครงการเป็นไปอย่างเร่งรีบในแต่ละขั้นตอน โดยหน่วยรับ ลงทะเบียนมีระยะเวลาในการเตรียมความพร้อมเพียง 31 วัน ซึ่งระยะเวลาการดําเนินงานตามโครงการ ที่กระชั้นชิด ทําให้การประชาสัมพันธ์ชี้แจงทําความเข้าใจเกี่ยวกับการกรอกข้อมูล การเตรียมข้อมูล หลักฐาน ขั้นตอนการดําเนินงานต่าง ๆ อาจเกิดความไม่ทั่วถึงและไม่ชัดเจน โดยเฉพาะประชาชน กลุ่มเป้าหมายซึ่งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลเป็นผู้ยากจน ประกอบกับการสื่อสารกับผู้นําชุมชนอาจไม่ทั่วถึง ด้วยข้อจํากัดเรื่องระยะเวลา
 
1.3.3 หน่วยงานที่ร่วมบูรณาการเพื่อตรวจสอบข้อมูลคุณสมบัติผู้ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการ แห่งรัฐ ยังไม่ครอบคลุมข้อมูลทางทรัพย์สินบางรายการที่จําเป็นต้องได้รับการตรวจสอบ เช่น การถือครอง และการทําประโยชน์ในที่ดินซึ่งมีเอกสารสิทธิอื่นที่ไม่ใช่โฉนดที่ดิน การถือครองทรัพย์สินมีค่าอื่นๆ เช่น ทองคํา ธุรกรรมการเงินอื่นที่ไม่ผ่านระบบธนาคาร เป็นต้น
 
1.3.4 ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายของโครงการ ยังไม่สามารถดําเนินการอุทธรณ์ ตามสิทธิได้ในกรณีที่ไม่มีชื่อเป็นผู้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กําหนด ด้วยมีข้อจํากัด ในทางปฏิบัติที่ไม่เอื้ออํานวยเข้าถึงกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่แท้จริง ข้อตรวจพบที่ 2 การดําเนินมาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่