บทความ "ทำไมต้องทำบุญ" ที่ส่งกันในไลน์ เป็นคำสอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) จริงหรือเปล่าครับ?

บทความเขียนว่า..

มีคนถามว่าทำไมขยันทำบุญ  
มีคำตอบครับ แต่ไม่ใช่คำตอบที่กระผมตอบเอง แต่เป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ ท่านได้เทศน์เรื่องทำบุญไว้ว่า 
 "ทำไมต้องทำบุญ?" 
 ..เพราะ บุญ เป็นพลังงาน ที่มีพลังดึงดูด ความเจริญ มาสู่ชีวิต เป็นต้นเหตุ แห่งความสุข ความสำเร็จ ในชีวิต 
..ถ้าบุญน้อย อุปสรรคในชีวิตก็มาก 
..ถ้าบุญมาก อุปสรรคในชีวิตก็น้อย 
 ..ถ้าบุญอ่อนกำลังลง หรือ บุญหมด.. 
..บาปที่เคยทำไว้ ก็จะได้โอกาส ส่งผล 
..ทำให้ชีวิต มีอุปสรรค ต่าง ๆ นานา 
..เช่น เจ็บไข้ได้ป่วย ไม่มีความสุข หมดอำนาจวาสนา เสียชื่อเสียงเกียรติยศ แม้คนที่รักกันก็หมดรัก แม้ทรัพย์ที่มีอยู่น้อยนิด ก็ยังรักษาไว้ไม่ได้.. 
..ฉะนั้น การจะมี ทรัพย์สมบัติทุกอย่าง และ ความสมบูรณ์พร้อมในชีวิต ก็ต้องมีบุญ ที่มากเพียงพอ 
..ซึ่งไม่ว่า จะอยู่ในสถานภาพใด ล้วนต้องอาศัยบุญทั้งนั้น ไม่ว่าจะอยากอยู่แบบพอมีพอกิน หรือ คิดจะเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี หรือ พระเจ้าจักรพรรดิ 
..แม้กระทั่ง ปรารถนา ที่จะหมดกิเลส บรรลุมรรคผล นิพพาน เป็นพระอรหันต์ เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ต้องมีบุญถึง บารมีถึง ถึงจะดำรงอยู่ในสภาวะนั้น ได้อย่างมั่นคง และมีความสุข 
..ด้วยเหตุนี้ เราจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะสั่งสมบุญ 
..เพราะบุญ คือ เบื้องหลังความสุข ความสำเร็จ ในชีวิตทุกระดับ อย่างแท้จริง.. 
แชร์เรื่องบุญไปก็ได้บุญ 
บุญและทาน ที่บังเกิดมี ในการส่งต่อ ขอให้เป็นอภิมหาบุญ ขอให้ผู้ที่ส่ง  มีความสุข  มีความเจริญ  รุ่งเรือง  ร่ำรวย มีความสุขกายสบายใจ  มีสุขภาพดี ไม่เจ็บไม่จน ปรารถนาสิ่งใด  สมความปรารถนาทุกๆประการ ขอให้ผลบุญนั้น เห็นผลทันตา ด้วยเทอญ (อธิษฐาน) สาธุ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
ถ้าเอาแค่จริงหรือไม่จริงว่าเป็นคำสอนจากเทศนาธรรมของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังษี ผมก็ไม่ทราบนะครับ ว่าเค้าถอดความออกมาแล้วแปลงเป็นภาษาสมัยใหม่ให้พวกเราเข้าใจหรือเปล่า แต่ถ้าถามว่าใช่ภาษาสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือไม่ คำตอบคือ ไม่ใช่ ครับ แต่ทีนี้ ไม่ใช่ภาษาสมัยนั้นนะครับ ไม่ใช่ ไม่ใช่เทศนาธรรมของท่าน

ที่เคยอ่านมา (ไม่ใช่อันนี้นะครับ) บางคนบอกว่าท่านมาสอนในนิมิต อะไรแบบเนี้ย คือ มันโคฟเว่อร์หมดเลย เรื่องภาษา เลยไม่รู้จะตอบยังไงครับ ยิ่งบอกว่าเป็นเพียงคำตอบของคำถาม ไม่มีทางเลยครับที่ใครจะตอบได้เพราะคนพูดก็ต้องประมวลมาเป็นภาษาสมัยใหม่อยู่แล้ว บอกว่าเป็นเทศนาธรรม อันนี้จบเห่เลย สมัยนั้นไม่มีคลิป ไม่เทปคาสเซ็ท ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่มีอะไรในการนำสืบเลย คนที่จะตอบได้คือคนสมัยนั้นที่
นั่งฟังเทศก์ตลอดทุกกัณฑ์เทศก์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์โตฯ ครับ

แต่ถ้าจะพิจารณาเนื้อหา พระไตรปิฎกก็ได้นะครับ หากสงสัยในคำสอนของปัจเจกสงฆ์ ยุคนี้ไม่น่ามีใครตอบได้นะครับ คนละยุคกันและไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่