[CR] มาแล้วเด้อ มานาเด้อ อุบลราชธานี ร้านนั่งชิว บรรยากาศท้องทุ่ง (ช่วงเย็นกับอาทิตย์อัสดง)

มาแล้วเด้อ มานาเด้อ อุบลราชธานี ร้านนั่งชิว บรรยากาศท้องทุ่ง (ช่วงเย็นกับอาทิตย์อัสดง)

ทริปเล็กๆใกล้ๆบ้าน ครั้งนี้มีหญิงออยและน้องสาลี่ พาผมเที่ยวไปนั่งชิวๆ กินกาแฟ อาหารที่ร้าน มานาเด้อ
การเดินทาง
ถ้าเดินทางจากตัวจังหวัดอุบล ให้วิ่งมาทาง อ.เขื่องใน   

จากทุ่งศรีเมือง ไปมานาเด้อ ระยะทางประมาณ 36 กม ทางก็วิ่งสะดวก วิ่งมาตามถนนแจ้งสนิท ทางหลวงหมายเลข 23 จากอุบลราชธานีไปทางจังหวัดยโสธร ก่อนถึงอำเภอเขื่องในประมาณ 3 กิโลเมตร

โดยมีจุดสังเกตุหลักคือก่อนถึงร้านประมาณเกือบ 1 กม จะมีพระองค์ใหญ่ (พระใหญ่เขื่องใน) เด่นชัดซ้ายมือ ถ้าเห็นองค์พระก็ชะลอและชิดซ้ายไว้ได้เลย 


ขับรถมาตามทางหลวงหมายเลข 23 จากอุบลราชธานีไปทางจังหวัดยโสธร ก่อนถึงอำเภอเขื่องในประมาณ 4 กิโลเมตร จะเห็นองค์พระใหญ่ประดิษฐานอยู่ริมถนนด้านซ้ายมือ หลายท่านเรียกว่า พระใหญ่เขื่องใน บางท่านเรียกว่า พระใหญ่พุทธสถานครองราชย์ 60 ปี บางท่านถามกับไกด์อุบลว่า ชื่อวัดอะไร มีพระอยู่หรือไม่ กระทั่ง องค์พระใหญ่นี้ชื่ออะไร

พระใหญ่เขื่องใน ตามที่ชาวบ้านเรียกกันนี้ มีต้นกำเนิดต้นคิดมาจาก พระครูปิยจันทคุณ (ชาลี ปิยธมฺโม) แห่งวัดป่าจันทราวาส อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ซึ่งเดินทางจากริกแสวงบุญที่ประเทศอินเดีย ไปกราบไหว้นมัสการสังเวชนียสถาน พร้อมด้วยหมู่พระสงฆ์ 10 รูป และญาติโยมอีกหลายคน ระหว่างวันที่ 3-13 ธันวาคม 2548
วันหนึ่งขณะที่พระครูและคณะได้นั่งภาวนาอยู่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ท่านพระครูได้ระลึกถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ข้อไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ไม่แน่นอน ขณะนั้นนึกถึงบ้านที่ อ.เขื่องใน "เราเกิดมาจะทำอะไรไว้เป็นอนุสรณ์สักอย่าง เพื่ออย่างน้อยก็เป็นรูปแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ในจิตเกิดคำตอบขึ้นว่า "สร้างพระพุทธรูปใหญ่" ถามว่าสร้างที่ไหนดี ตอบว่า "สร้างที่โนนกล้วย" ในความคิดขณะนั้น คิดเห็นโนนข้างทางกลางทุ่ง ติดถนนแจ้งสนิท (ชาวบ้านเรียก โนนตากล้า) มาจากอุบลฯ ก่อนถึง อ.เขื่องใน 4 กม. จึงได้เข้าไปในเจดีย์พุทธคยา อธิษฐานจิตกับหลวงพ่อพระเมตตา พระศักดิ์สิทธิ์ในที่นั้นว่า จะขอเป็นผู้นำในการจัดสร้างพระปฏิมาแทนองค์พระศาสดาที่โนนกล้วยแห่งนั้น เพื่อเป็นที่สักการะกราบไหว้ และเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยาวนานที่สุด

พระครูปิยจันทคุณ เล่าให้ฟังว่า การดำริที่จะสร้างพระใหญ่นี้ เกิดขึ้นในขณะที่อยู่ที่พุทธคยา จริงๆ ไม่เคยคิดมาก่อน ด้วยความคิดอย่างเดียวที่ว่า อยากให้พุทธศาสนิกชนมีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และที่สำคัญคือ มีความที่ว่า ประชาชนบางคนไม่สะดวกที่จะเข้าวัด จึงคิดว่าทำอย่างไรให้ชาวบ้านพุทธศาสนิกชนได้เข้าถึงพระพุทธศาสนา จึงมีความคิดที่ว่า ถ้าสร้างพระใหญ่ไว้บริเวณริมถนน แม้คนที่แค่ขับรถผ่านไปมา หรือชาวบ้านที่มองเห็นพระใหญ่แต่ไกล ก็อาจจะทำให้เตือนสติ เตือนใจ ระลึกถึงพระพุทธศาสนาได้ง่ายขึ้น ภาษาพระท่านเรียกว่า พุทธานุสติ 
โครงการก่อสร้างพระใหญ่ เริ่มเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2549 หลังจากนั้นพระครูปิยจันทคุณ (ชาลี ปิยธมฺโม) ได้ไปกราบเรียนแจ้งความประสงค์กับพระเดชพระคุณ พระมงคลกิติธาดา (อมร เขมจิตโต) เจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบในขณะนั้น ซึ่งเป็นพระเถระที่เคารพนับถือมาก ท่านได้เมตตาตั้งชื่อพระใหญ่องค์นี้ว่า "พระพุทธปิยะโพธิมงคล" และได้มอบปัจจัยพร้อมกับต้นโพธิ์ เป็นพันธุ์อินเดียที่เกิดที่หลังคาโบสถ์มาให้ปลูกด้วย

ต่อมาพระครูปิยจันทคุณ และพระครูโสภณอาภากร (พนม) ได้ปรึกษากันถึงการกำหนดตั้งชื่อสถานที่ก่อสร้าง ซึ่งในใจของพระครูปิยจันทคุณนั้นพอมีเค้าโครงชื่ออยู่บ้างแล้ว ตอนได้กล่าวคำถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2548 ณ วัดไทยพุทธคยา ว่าเราจะสร้างพระพุทธรูปถวายเป็นพระราชกุศลฯ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี สถานที่ในการก่อสร้างพระปฏิมากรณ์องค์ใหญ่นี้จึงได้ชื่อ “พุทธสถานครองราชย์ 60 ปี” (พ.ศ.2549) คำว่า “พุทธสถาน” นั้นไม่ใช่วัด แต่เป็นสถานที่ของพระพุทธศาสนา ที่ซึ่งพุทธบริษัททุกคนจะมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ ในการปรับปรุงดูแลรักษา เป็นสถานที่สักการะกราบไหว้บูชา และให้พระพุทธศาสนาเจริญ สถิตย์ยั่งยืนนานตลอดนิจนิรันดร์กาล  

สำหรับ พระใหญ่ หรือ "พระพุทธปิยะโพธิมงคล" นี้ เป็นปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 19.19 เมตร ความสูงองค์พระพร้อมฐาน 35 เมตร เป็นการรวมศิลปะ 3 สมัยอยู่ในองค์เดียวกัน คือ แบบเชียงแสน ด้วยมีสังฆาติเหนือราวนม แบบสุโขทัยด้วยมีเกศเปลวเพลิงสูง พระพักตร์ดูเอิบอิ่ม และแบบรัตนโกสินทร์ ด้วยมีจีวรเป็นกลีบ 
การสร้างพระพุทธปิยะโพธิมงคล วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2549 จนแล้วเสร็จมีพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุในวันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ 2552 และปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบพุทธสถานให้สวยงามสมบูรณ์แบบ แล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2553 
ขอขอบคุณรูปพระใหญ่เขื่องใน และข้อมูลดีๆจาก

https://www.guideubon.com/2.0/go2ubon/phrayai-ubon-60/

*** แนะนำถ้ามีเวลาแวะสักการะพระใหญ่เขื่องในก่อนไปร้านมานาเด้อด้วยก็จะดีนะครับ ถ้ามาช่วงเย็น พระอาทิตย์ก็ตกด้านหลังองค์พระ ก็สวยไปอีกแบบ
*** ถ้าไม่มีรถส่วนตัว ไปที่ขนส่งจังหวัดอุบล นั่งรถโดยสาร ไปยโสธร  หรือรถไปเขื่องใน ก็ได้ แล้วบอกว่าลง มา นา เด้อ จากขนส่งน่าจะใช้เวลาซัก 40 นาที ถ้ารถไม่แวะจอดเยอะ
พิกัดการเดินทางจาก googlemap
https://goo.gl/maps/ShLeQ6KknTGhUJmr8

การติดต่อ
ร้านมานาเด้อ
226 ต.ก่อเอ้ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
เขื่องใน
โทร 097 183 3115
FB  https://web.facebook.com/%E0%B8%A1%E0%B8%B2-%E0%B8%99%E0%B8%B2-%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%AD-255854688531978/
ชื่อสินค้า:   มานาเด้อ
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่