อย่างที่ทราบกันว่า แกนหลักของเรื่อง"One year 365 วันบ้านฉันบ้านเธอ" นี้ เกิดจากการที่ตั้ม พ่อม่ายลูกสอง มีความรักกับ มุก แม่ม่ายลูกสี่ โดยที่เพชร ลูกสาวคนโตของมุก ได้เสนอกับมุกว่า จะทดลองอยู่ร่วมบ้านกัน โดยมีเงื่อนไขว่าภายในระยะเวลา 1 ปี ถ้ามีใครในบ้านแม้แต่คนเดียวที่ไม่มีความสุขกับการอยู่ร่วมกัน พ่อกับแม่จะต้องยอมเลิกกัน!
- และทั้งบูมและเพชร ซึ่งเป็นลูกคนโตของพ่อแม่สองฝั่ง ต้องมาเป็นครอบครัวเดียวกัน และก็เริ่มมีฉากที่ว่า เริ่มคิดกันเกินพี่น้องแล้ว ยังไงก็แล้วแต่ เราจะมาใช้ข้อกฎหมายปรับบทว่า ทั้งสองคนจะแต่งงานกันได้ไหมครับ
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 ได้ว่าไว้ว่า "การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้"
- และมาตรา 1450 "ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมาก็ดี เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาก็ดี จะทำการสมรสกันไม่ได้ ความเป็นญาติดังกล่าวมานี้ให้ถือตามสายโลหิต โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นญาติโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่"
- จากข้อกฎหมายนี้ จะเห็นได้ว่า ทั้งเพชรและบูม ต่างบรรลุนิติภาวะแล้ว ทำให้สามารถกระทำการสมรสได้โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากพ่อตั้มหรือแม่มุก จึงมาข้ามดูที่ประเด็นเรื่องมาตรา 1450 กันครับ
- กฎหมายได้กำหนดไว้สี่เงื่อนไขที่จะเป็นเงื่อนไขที่ทำให้สมรสกันไม่ได้ ตามมาตรา 1450 อันได้แก่
1) ญาติที่สืบสายเลือดโดยตรงขึ้นไป
ได้แก่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และทวด
เช่น ลูก กับ พ่อ จะแต่งงานกันไม่ได้
2) ญาติที่สืบสายเลือดโดยตรงลงมา
ได้แก่ ลูก หลาน เหลน ลื่อ
เช่น ปู่จะแต่งงานกับหลาน ไม่ได้
3) พี่น้องร่วมพ่อและเเม่เดียวกัน
เช่น พี่สาวจะแต่งงานกับน้องชายไม่ได้
และ 4) พี่น้องร่วมเฉพาะพ่อหรือแม่ฝ่ายเดียว
คือ มีพ่อหรือแม่คนเดียวกัน
เช่น พี่ชายจะแต่งงานกับน้องสาว
คนละแม่ แต่มีพ่อคนเดียวกันไม่ได้
- ซึ่งตามภาษากฎหมาย เรียกทั้งหมดเหล่านี้ว่า ญาติสนิทที่ไม่สามารถสมรสกันได้ นอกนั้น สามารถสมรสกันได้ทั้งสิ้น ถ้าเป็นญาติแบบอื่น เช่น คุณเป็นลูกชายพ่อ แต่คุณหลงรักลูกสาวที่เป็นลูกของลุงฝั่งพ่อของคุณ คุณก็สามารถสมรสกันได้ กฎหมายรับรองครับ
- กลับมาที่เพชรและบูม จะเห็นว่า ไม่เข้าเงื่อนไขใดๆทั้งสี่ข้างต้นทั้งสิ้น ดังนั้น ถ้าเพชรคิดจะรักกับบูม ต่อให้พ่อตั้มแม่มุก จดทะเบียนสมรสกัน ก็ไม่สามารถห้ามการสมรสนี่ได้ กฎหมายรับรองครับ หรือถ้าบูมคิดจะปิ๊ง พลอย ไพลิน หรือแพรวพราว ก็ทำได้หมดเลย อาจจะมีกรณีของแพรวพราว ที่ต้องรอให้บรรลุนิติภาวะก่อน ถึงจะสมรสกันได้ ยิ่งตะวันนี่ยิ่งได้เลย เพราะเป็นลูกของป้า พี่สาวแม่มุก
- กรณีที่จะไม่สามารถแต่งงานได้ ก็เป็นกรณีในอนาคต เช่น พ่อตั้มแม่มุก จดทะเบียนสมรสหรือไม่จดก็ตาม มีลูกด้วยกัน ถ้าสมมติว่าได้ลูกสาว บูมก็จะไม่สามารถสมรสกับน้องสาวคนนี้ได้ หรือถ้าได้ลูกชาย เพชร พลอย ไพลิน แพรวพราว หรือแม้แต่เบบี้ ก็จะไม่สามารถสมรสกับน้องชายคนนี้ได้ เพราะเข้าเงื่อนไขตามมาตรา 1450 ตรงที่ว่า "พี่น้องร่วมเฉพาะพ่อหรือแม่ฝ่ายเดียว" ซึ่งกรณีก็ไม่รวมถึงตะวัน เพราะตะวันไม่ถือว่าเข้าเงื่อนไขสี่ประเภทของมาตรา 1450 แต่อย่างใด
- หรือจะคิดให้มันเหนือชั้นไปกว่านี้อีก ถ้าเกิดสมมติ พ่อตั้มดันอยากจะอุปถัมภ์เพชร หรือแม่มุก อยากจะอุปถัมภ์บูม จะจดจะเบียนรับบุญธรรม สมมติว่ากลายเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว ตามกฎหมายฉบับเดียวกันนี้ มาตรา 1451 ก็ว่าไว้ว่า "ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้"
- นั่นคือไม่ห้ามว่า ลูกบุญธรรมกับลูกแท้ๆ จะสมรสกันเองได้ นั่นคือต่อให้ฝ่ายแม่มุกหรือพ่อตั้ม รับบูมหรือเพชร เป็นลูกบุญธรรมตามลำดับ คือพ่อตั้มแต่งงานกับเพชรไม่ได้ และแม่มุกแต่งงานกับบูมไม่ได้ ดังนั้น จึงไม่สามารถทำให้การสมรสของบูมกับเพชรเป็นโมฆะไปได้ การสมรสชอบด้วยกฎหมายครับ
สรุปแต่งงานกันได้ไหม
- บูมและเพชรสามารถแต่งงานกันได้ จากข้อกฎหมายข้างต้นครับ ไม่ต้องห้ามกรณีใดๆทั้งสิ้นครับตามกฎหมายไทย
- แต่ทั้งนี้ก็มีเรื่องของศีลธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง ในเมื่อถ้าเป็นแบบนั้นจริง บูมจะเคารพแม่มุกในฐานะแม่เลี้ยงหรือแม่ยาย หรือเพชรจะเคารพพ่อตั้มในฐานะพ่อเลี้ยงหรือพ่อตา นี่ยังไม่รวมว่าทั้งสองคนมีบุตรด้วยกัน แล้วพ่อตั้มแม่มุกมีบุตรด้วยกัน มันจะไปยุ่งในเรื่องกฎหมายมรดกไปอีก
- แต่เราก็ไม่รู้ว่าบทลงเอยจะเป็นอย่างไร ยังไงก็ให้ทุกคนรอติดตามให้กำลังในกับความรักของทั้งคู่ในซีรีส์" One year 365 วันบ้านฉันบ้านเธอ" กันต่อนะครับ แอดเองมาให้ข้อมูลในด้านกฎหมายเท่านั้น
วันนี้มาแค่นี้ครับ แอดขอไปอ่านหนังสือสอบก่อน สำหรับวันนี้ ขอบคุณครับ ถ้าชอบบทความก็ฝากไลค์ฝากแชร์ด้วยนะครับ
#CherprangBNK48 #ONEYEARtheseries #365วันบ้านฉันบ้านเธอ
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2500270276854302&id=2219429718271694
[บทความ] ตามกฎหมายไทย เพชรกับบูมแต่งงานกันได้ไหม?
- และทั้งบูมและเพชร ซึ่งเป็นลูกคนโตของพ่อแม่สองฝั่ง ต้องมาเป็นครอบครัวเดียวกัน และก็เริ่มมีฉากที่ว่า เริ่มคิดกันเกินพี่น้องแล้ว ยังไงก็แล้วแต่ เราจะมาใช้ข้อกฎหมายปรับบทว่า ทั้งสองคนจะแต่งงานกันได้ไหมครับ
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 ได้ว่าไว้ว่า "การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้"
- และมาตรา 1450 "ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมาก็ดี เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาก็ดี จะทำการสมรสกันไม่ได้ ความเป็นญาติดังกล่าวมานี้ให้ถือตามสายโลหิต โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นญาติโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่"
- จากข้อกฎหมายนี้ จะเห็นได้ว่า ทั้งเพชรและบูม ต่างบรรลุนิติภาวะแล้ว ทำให้สามารถกระทำการสมรสได้โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากพ่อตั้มหรือแม่มุก จึงมาข้ามดูที่ประเด็นเรื่องมาตรา 1450 กันครับ
- กฎหมายได้กำหนดไว้สี่เงื่อนไขที่จะเป็นเงื่อนไขที่ทำให้สมรสกันไม่ได้ ตามมาตรา 1450 อันได้แก่
1) ญาติที่สืบสายเลือดโดยตรงขึ้นไป
ได้แก่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และทวด
เช่น ลูก กับ พ่อ จะแต่งงานกันไม่ได้
2) ญาติที่สืบสายเลือดโดยตรงลงมา
ได้แก่ ลูก หลาน เหลน ลื่อ
เช่น ปู่จะแต่งงานกับหลาน ไม่ได้
3) พี่น้องร่วมพ่อและเเม่เดียวกัน
เช่น พี่สาวจะแต่งงานกับน้องชายไม่ได้
และ 4) พี่น้องร่วมเฉพาะพ่อหรือแม่ฝ่ายเดียว
คือ มีพ่อหรือแม่คนเดียวกัน
เช่น พี่ชายจะแต่งงานกับน้องสาว
คนละแม่ แต่มีพ่อคนเดียวกันไม่ได้
- ซึ่งตามภาษากฎหมาย เรียกทั้งหมดเหล่านี้ว่า ญาติสนิทที่ไม่สามารถสมรสกันได้ นอกนั้น สามารถสมรสกันได้ทั้งสิ้น ถ้าเป็นญาติแบบอื่น เช่น คุณเป็นลูกชายพ่อ แต่คุณหลงรักลูกสาวที่เป็นลูกของลุงฝั่งพ่อของคุณ คุณก็สามารถสมรสกันได้ กฎหมายรับรองครับ
- กลับมาที่เพชรและบูม จะเห็นว่า ไม่เข้าเงื่อนไขใดๆทั้งสี่ข้างต้นทั้งสิ้น ดังนั้น ถ้าเพชรคิดจะรักกับบูม ต่อให้พ่อตั้มแม่มุก จดทะเบียนสมรสกัน ก็ไม่สามารถห้ามการสมรสนี่ได้ กฎหมายรับรองครับ หรือถ้าบูมคิดจะปิ๊ง พลอย ไพลิน หรือแพรวพราว ก็ทำได้หมดเลย อาจจะมีกรณีของแพรวพราว ที่ต้องรอให้บรรลุนิติภาวะก่อน ถึงจะสมรสกันได้ ยิ่งตะวันนี่ยิ่งได้เลย เพราะเป็นลูกของป้า พี่สาวแม่มุก
- กรณีที่จะไม่สามารถแต่งงานได้ ก็เป็นกรณีในอนาคต เช่น พ่อตั้มแม่มุก จดทะเบียนสมรสหรือไม่จดก็ตาม มีลูกด้วยกัน ถ้าสมมติว่าได้ลูกสาว บูมก็จะไม่สามารถสมรสกับน้องสาวคนนี้ได้ หรือถ้าได้ลูกชาย เพชร พลอย ไพลิน แพรวพราว หรือแม้แต่เบบี้ ก็จะไม่สามารถสมรสกับน้องชายคนนี้ได้ เพราะเข้าเงื่อนไขตามมาตรา 1450 ตรงที่ว่า "พี่น้องร่วมเฉพาะพ่อหรือแม่ฝ่ายเดียว" ซึ่งกรณีก็ไม่รวมถึงตะวัน เพราะตะวันไม่ถือว่าเข้าเงื่อนไขสี่ประเภทของมาตรา 1450 แต่อย่างใด
- หรือจะคิดให้มันเหนือชั้นไปกว่านี้อีก ถ้าเกิดสมมติ พ่อตั้มดันอยากจะอุปถัมภ์เพชร หรือแม่มุก อยากจะอุปถัมภ์บูม จะจดจะเบียนรับบุญธรรม สมมติว่ากลายเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว ตามกฎหมายฉบับเดียวกันนี้ มาตรา 1451 ก็ว่าไว้ว่า "ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้"
- นั่นคือไม่ห้ามว่า ลูกบุญธรรมกับลูกแท้ๆ จะสมรสกันเองได้ นั่นคือต่อให้ฝ่ายแม่มุกหรือพ่อตั้ม รับบูมหรือเพชร เป็นลูกบุญธรรมตามลำดับ คือพ่อตั้มแต่งงานกับเพชรไม่ได้ และแม่มุกแต่งงานกับบูมไม่ได้ ดังนั้น จึงไม่สามารถทำให้การสมรสของบูมกับเพชรเป็นโมฆะไปได้ การสมรสชอบด้วยกฎหมายครับ
สรุปแต่งงานกันได้ไหม
- บูมและเพชรสามารถแต่งงานกันได้ จากข้อกฎหมายข้างต้นครับ ไม่ต้องห้ามกรณีใดๆทั้งสิ้นครับตามกฎหมายไทย
- แต่ทั้งนี้ก็มีเรื่องของศีลธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง ในเมื่อถ้าเป็นแบบนั้นจริง บูมจะเคารพแม่มุกในฐานะแม่เลี้ยงหรือแม่ยาย หรือเพชรจะเคารพพ่อตั้มในฐานะพ่อเลี้ยงหรือพ่อตา นี่ยังไม่รวมว่าทั้งสองคนมีบุตรด้วยกัน แล้วพ่อตั้มแม่มุกมีบุตรด้วยกัน มันจะไปยุ่งในเรื่องกฎหมายมรดกไปอีก
- แต่เราก็ไม่รู้ว่าบทลงเอยจะเป็นอย่างไร ยังไงก็ให้ทุกคนรอติดตามให้กำลังในกับความรักของทั้งคู่ในซีรีส์" One year 365 วันบ้านฉันบ้านเธอ" กันต่อนะครับ แอดเองมาให้ข้อมูลในด้านกฎหมายเท่านั้น
วันนี้มาแค่นี้ครับ แอดขอไปอ่านหนังสือสอบก่อน สำหรับวันนี้ ขอบคุณครับ ถ้าชอบบทความก็ฝากไลค์ฝากแชร์ด้วยนะครับ
#CherprangBNK48 #ONEYEARtheseries #365วันบ้านฉันบ้านเธอ
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2500270276854302&id=2219429718271694