เรียนจุฬาฯ ไม่ได้แพงอย่างที่บางคนคิด

สืบเนื่องจากทวิตนี้นะครับ



ประเด็นที่ 1 
“จุฬาฯ มีทุนหลายรูปแบบให้นิสิตเสมอ” หลังจากอ่านคนรีวิตนี้ไปแล้ว พบว่าหลายคนไม่รู้มาก่อนว่าจุฬาฯ มีทุนให้นิสิตหลากหลายรูปแบบเยอะมาก เพราะจุฬาฯ ไม่อยากให้เงินมาเป็นอุปสรรคเรื่องการเรียน
 
1) “ทุนจุฬาฯ ชนบท” หลายคนคงรู้จักทุนนี้ดี เป็นทุนเต็มจำนวนที่ให้ทั้งค่าเทอม ค่าหอใน ค่าชุด ค่าอุปกรณ์การเรียน และค่าใช้จ่ายรายเดือน (ถ้าจำไม่ผิด 5000 บาทต่อเดือน) ข้อจำกัดคือ เฉพาะนิสิตชนบท แต่ละคณะจะกำหนดสาขาให้เรียน (สอบเข้า)
2)  “ทุน ศ.ดร.บุญรอด” เป็นทุนเต็มจำนวนที่ให้ทั้งค่าเทอม และค่าใช้จ่ายรายเดือน (5000 บาท) โดยนิสิตต้องรักษาเกรดอย่างน้อย 2.00 และเขียนรายงานความก้าวหน้าเป็นภาษาอังกฤษเทอมละฉบับ ไม่จำกัดสาขาเรียน (คณะส่งรายชื่อนิสิตให้คณะกรรมการทุนคัดเลือก)
3) “ทุนโครงการพิเศษแต่ละคณะ” จะให้ค่าเทอมและค่าใช้จ่ายบางส่วนขึ้นอยู่แต่ละคณะ เช่น ทุนช้างเผือกของสาขาวิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ นิสิตเข้าเอกภาษาไทยตอนปี 2 สามารถเข้าโครงการได้โดยมีเกรดและคะแนนสอบภาษาอังกฤษ บังคับวิชาโทภาษาอังกฤษ
4) “หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบริหารทรัพยากรเกษตร” นิสิตสำนักทรัพยากรเกษตรทุกคนจะได้ทุนการศึกษาเต็มจำนวน ทั้งค่าเทอม ค่าหอใน และค่าใช้จ่ายรายเดือน 5000 บาท (ซิ่วหรือเรียนไม่จบต้องจ่ายค่าปรับทุน)
5) “ยกเว้นค่าเทอม” หลายๆ คณะมีการยกเว้นค่าเทอมให้กับนิสิต บางคณะในวันปฐมนิเทศจะมีการสัมภาษณ์หลังการปฐมนิเทศ (นิสิตที่ได้รับการยกเว้นค่าเทอมสามารถรับทุนอื่นร่วมได้)
6) “ทุนรายเดือน 2000 บาท” โดยนิสิตต้องทำงานให้กับคณะหรือหน่วยงาน (ผมจำไม่ได้ว่ากี่ ชม. ต่อเทอม ใครจำได้ช่วยบอกหน่อย)
7) “จ้างงานนิสิต 100 บาทต่อ ชม.”
8) อันนี้แถมเผื่อใครไม่รู้ ซึ่งผมก็จำชื่อโครงการไม่ได้ละ แต่จำได้คราวๆ ว่า จุฬาฯ ร่วมมือกับสถานบันต่างประเทศที่หนึ่งเปิด “หลักสูตรประกาศนียบัตรด้านการเงิน/หรือการตลาด” เนี่ยแหละ เป็นหลักสูตรออนไลน์ที่นิสิตทุกคนทุกสาขาสามารถเข้าไปเรียนได้ฟรีและได้ใบรับรองด้วย 
 
ข้อมูลเรื่องทุนผิดพลาดตรงไหนก็บอกแก้ไข้ได้นะครับผม 

ประเด็นที่ 2 ที่ลุงแท็กซี่บอกว่าถึงได้ทุนลูกสาวก็เรียนไม่ได้ เช่น รถเมล์ ค่าอาหาร ค่าชีท 
 
จุฬาฯ มีคนหลายระดับ (บางคณะอาจมีคนรวยเยอะกว่าหน่อย) ผมรู้จักเพื่อนที่สู้ชีวิตเยอะ หลายคนได้ทุนก็ยังต้องหางานพิเศษพาร์ทไทม์ทำเพื่อเลี้ยงตัวเองและส่งที่บ้าน บางคนไม่ได้อยู่หอในก็แชร์หอนอกกับเพื่อน ชีวิตก็โหนรถเมล์ร้อน กินข้างแกงเหมือนคนทำงานเมืองกรุงหลายๆ คน  นิสิตหลายๆ คนทั้งได้ทุนและนิสิตธรรมดาก็หางานสอนพิเศษเป็นรายได้พิเศษเยอะพอควร เว็บหาติวเตอร์ก็แล้วแต่จะตกลงกัน แต่ส่วนใหญ่อยู่ที่ราว 200-350 บาท ต่อ ชม. (วิชาทั่วไปหรือเตรียมสอบเข้า) ถ้าลึกเข้าไปอีกก็เรียกได้เพิ่ม ส่วนใหญ่จะสอนวันละ 2 ชม. ต่อ สัปดาห์ ที่ผมเคยสอนประจำคือ ภาษาฝรั่งเศส ช่วงก่อน GAT PAT เด็กก็จะมาติวกัน ก็พอได้ค่าขนมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1,400 ประจำในช่วง 3-4 เดือน
 
ค่าอาหารในโรงอาหารจุฬาฯ ก็ไม่ได้แพงอะไรขนาดนั้น โดยเฉพาะโรงอาหารหอในประมาณ 25 บาท คุณภาพอาหารก็ดี ได้เยอะ พนักงานข้างนอกก็เข้ามาทานกันเป็นประจำ เพราะถูกสุดในย่านนี้แล้ว (ถ้าจำไม่ผิด หอในจ่ายส่วนต่างให้ร้านอาหารเพื่อให้ขายได้ในราคาถูก)
 
ค่าชีท....เอออออ ไม่รู้จะพูดดีไหม บางคณะบางสาขาก็ไม่ได้ใช้ Textbook ของจริงหรอก ก็ซีร็อกกันทั้งแหละ ไม่ได้แพงเวอร์วังอะไรขนาดนั้น จุฬาฯ ก็มีหนังสือให้เยอะ อีกทั้ง Archive ที่ซื้อมหาวิทยาลัยและสถาบันจากต่างประเทศมาเป็นหลักล้านต่อปีอีก ถ้ามีปัญหาจริงๆ ลองไปคุยกับอาจารย์ดูนะครับ รุ่นพี่บางคนก็ให้ Textbook กับรุ่นน้องก็หลายคน มีโน๊ต มีเกร็งข้อสอบให้ครบ
 
ส่วนเรื่อง “ภาษีสังคม” มันก็แล้วแต่คนครับ ถ้าไม่รู้จักประมาณตัวเองเรียนที่ไหนมันก็ไม่พอทั้งนั้นแหละ ก็เลือกในสิ่งที่พอเหมาะพอควรพอกำลังตนเอง แล้วก็ไม่ใช้แบ่งแยกคนรวยคนจนขนาดนั้น เห็นข่าวน้องนิสิตทุนจุฬาฯ ชนบท คณะสัตวแพทย์ที่มารับจ้างเป็นยาม แล้วมีบางคนมาเม้นว่าจะอยู่ในสังคมจุฬาฯ ได้เหรอ บลาๆๆๆๆๆ แบบนั้นมันก็เกินไป คนที่เหยียดนะมันก็มี แต่มันก็มีคนเหยียดแบบนี้ทุกๆ สังคมเหมือนกัน จุฬาฯ ก็เป็นสังคมหนึ่งที่มีคนดีไม่ดี เก่งไม่เก่ง รวย จน ปะปนกันไป
 
ฉะนั้น “มหาวิทยาลัยดังราคาแพง” มันอยู่ที่ตัวเราเองทั้งนั้น ครอบครัวบางคนอาจจะไม่พร้อม หรือมีไม่พอ แต่ก็ไม่ใช่ว่ามันจะแทบไม่มีโอกาสเลย เราเห็นเพื่อนบางๆ คนเหนื่อยทนพยายาม ทั้งเรียนทั้งทำงานส่งที่บ้าน เขาก็จบมาได้ อยู่ที่ไหนมันก็มีค่าใช้จ่ายทั้งนั้น 
 

ประเด็นที่ 3 
เจ้าของทวิตวิพากษ์ว่า “ระบบมัน....” แล้วตอกย้ำว่า “มหาวิทยาลัยดังแพง” อย่างที่บอกข้างบนว่า “แพงไม่แพง” มันอยู่ที่ตัวเองต่างหากว่าจะประมาณตนได้ไหม เพราะมหาวิทยาลัยปิดที่ไหนๆ ก็ต้องมีค่าใช้จ่าย และอย่างหนึ่งที่ต้องจ่ายและราคาแพงมาสำหรับคนเราก็คือ “เวลา” 
เราว่ามันไม่ค่อย Make Sense เท่าไรที่ลูกสาวลุง Taxi เสียเงินสอบ GAT PAT 9 วิชาสามัญที่ไม่ใช่ถูกๆ เพื่อยื่นจุฬาฯ ที่ซึ่งแม้จะได้ทุนก็ยังเรียนไม่ได้ (ก่อนยื่นไม่ได้คิดวางแผนศึกษาช่องทางอะไรดูก่อนเลยเหรอ?) แล้วน้องจะเสียเงินไปละลายทิ้งทำไมตั้งแต่แรก? น้องน่าจะเรียนมหาวิทยาลัยเปิด เช่น รามคำแหง ที่จะให้ “เวลา” น้องไปทำงานอย่างอื่นเพื่อช่วยส่งที่บ้านระหว่างเรียนไปด้วยจะไม่ดีกว่าเหรอ? เพื่อนที่ที่ทำงานเราบางคนก็ทำอย่างนี้ เพราะต้องส่งทั้งแม่ทั้งน้อง 
ถ้าบอกว่าน้องเรียนจุฬาฯ ไม่ได้ ไม่ใช่แค่ทุน แต่เพราะกลัวเข้าสังคมไม่ได้ (ซึ่งก็คือภาพมายาคติที่ไม่รู้จะจริงไหม) แล้วจะยื่นเข้าจุฬาฯ แต่แรกทำไม?
 
ส่วนปัญหาหลักๆ จริงๆ ก็คือ “การกระจายรายได้ที่ยังประจุกตัวอยู่ที่คนบางกลุ่ม” เป็นเรื่องของเศรษฐกิจการเมือง (ไม่ได้เกี่ยวกลับมหาวิทยาลัยโดยตรงเลย) มันก็มีมานานแล้วก็แก้ไม่ได้สักที แต่ชีวิตมหาวิทยาลัยอาจจะคุ้มกับการยอมเหนื่อยยอมลำบากสำหรับนิสิตบางคน เพื่อเอาใบปริญญาไปเบิกทางในอนาคต
 
สำหรับเรื่อง “ระบบ...ให้ต้องติดแต่มหาวิทยาลัยดังๆ ละ” อันนี้ก็ต้องมาตั้งคำถามละว่าปัญหามันอยู่ที่ไหน เราอาจจะพยายามรักษาคุณภาพหลักสูตรแต่ละสาขาในแต่ละมหาวิทยาลัยให้ใกล้เคียงกันได้ แต่เด็กที่เข้าไปก็ถูกคัดจากคะแนนสอบทั้งนั้น ใครได้มากกว่าก็มีสิทธิ์เลือก เกิดการประจุกตัวของเด็กบางกลุ่ม กลายเป็นภาพเหมารวมของคนในสังคมซึ่งมันอาจจะไม่เป็นจริงก็ได้  
 
 
  
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่