“ภาษา คือ มรดกที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น แต่หากคนรุ่นถัดไปไม่สื่อสารด้วยภาษานั้นอีก ในที่สุดภาษาก็จะตายลง
กลายเป็นเพียงแค่อดีต” ประโยคขึ้นต้นในรายการ “รอบโลก By กรุณา บัวคำศรี” เกี่ยวกับเรื่อง “ภาษาใกล้สาบสูญ”
โลกของเรามีภาษาอยู่ประมาณ 7,000 ภาษา แต่มีอยู่ 2,000 ภาษาที่จะกลายเป็นภาษาตาย เพราะมีผู้ใช้สื่อสารไม่ถึง 1,000 คน
ภาษาที่หายไปเกิดจากหลายปัจจัย ในปัจจุบันโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคสมัยที่ความห่างไกลไม่ใช่อุปสรรคในการติดต่อสื่อสาร
เรียกกันว่ายุคโลกาภิวัฒน์ ภาษาบางภาษาถูกกำหนดขึ้นให้เป็นภาษาสากล สิ่งนี้คือปัจจัยใหม่ที่เร่งให้ภาษาอื่นๆ เข้าสู่ภาษาที่สูญหายไปตลอดกาล
เมื่อราวคริสต์ศักราชที่ 1511-1641 หลังจากที่ประเทศโปรตุเกสยึดเมืองมะละกาได้สำเร็จ ได้มีการคิดค้นภาษาขึ้นมาใหม่ เป็นภาษาที่ผสมระหว่างภาษาโปรตุเกสและภาษามาเลย์ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า ภาษาคริสตัง แต่หลังจากที่ “ลี กวนยู” นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศสิงคโปร์ มีนโยบายวางระบบการศึกษาของประเทศให้เอื้อกับการแข่งขันในโลกยุคใหม่ โดยกำหนดให้เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด จึงทำให้ภาษาคริสตังไม่ได้ถูกนำมาใช้ในการสื่อสารอีก แต่ในปัจจุบันกลับพบว่ามีห้องเรียนเล็กๆ ห้องหนึ่งในประเทศสิงคโปร์ ต้องการนำภาษาคริสตังที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้หลายสิบปีให้ได้กลับมาใช้ในการสื่อสารอีกครั้ง
มีนักเรียนหลากหลายวัยที่สนใจ วัยผู้สูงอายุที่เข้ามาเรียนในห้องนี้มาเพื่อทบทวนภาษาที่ไม่ได้ถูกใช้มานานอีกครั้ง ส่วนคนรุ่นใหม่ที่สนใจเข้ามาเรียนก็เพื่อต้องการทำความรู้จักกับภาษาที่ในรุ่นปู่ รุ่นย่าใช้สื่อสารกัน ซึ่งแรกเริ่มห้องเรียนนี้มีนักเรียนเพียงแค่ 10 กว่าคน แต่ในปัจจุบันมีนักเรียนที่สนใจมากขึ้นหลายร้อยคน
นอกจากประเทศสิงคโปร์แล้ว ที่รัฐมะละกา ประเทศมาเลเซีย มีเด็กๆ ชาวมะละกาที่กำลังเรียนรู้ภาษาคริสตังทั้งจากการตัวอักษรในหนังสือและ
ศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิม เด็กๆ รู้ดีว่าหากเรียนไปก็มีผู้คนไม่มากนักที่จะสามารถพูดคุยในภาษานี้ได้ แต่ถ้าหากไม่มีพวกเขาภาษาคริสตังก็อาจจะเป็นภาษาตายไปได้
ภาษาแมนจูเป็นอีกหนึ่งภาษาที่กำลังจะไร้คนสื่อสาร ภาษาแมนจูถือกำเนิดขึ้นในสมัยที่กองทัพแมนจูบุกเข้ายึดกรุงปักกิ่ง และได้สถาปนาราชวงค์ชิงปกครองประเทศจีนยาวนานถึง 300 ปี ก่อนที่จะล่มสลายลงจากการปฏิวัติของ “ดร. ซุนยัดเซน” ในระหว่างที่อยู่ในการปกครองของกลุ่มแมนจูนั้น มีเอกสารสำคัญที่ถูกบันทึกโดยภาษาแมนจูมากมาย ซึ่งควรค่าแก่การรักษา แต่ในปัจจุบันหากต้องการผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับภาษาแมนจูช่วยอธิบายความหมายของเอกสารเหล่านั้น ก็ถือว่าเป็นเรื่องยาก เพราะผู้ที่พูดภาษานี้ได้มีเพียงแค่ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านซานเกียซี ในมณฑลเหยหลงเจียง ทางตอนเหนือของประเทศจีน จากการสำรวจเมื่อ 3 ปีก่อนพบว่ามีผู้พูดภาษาแมนจูได้เพียง 9 คนในหมู่บ้านแห่งนี้ ผู้คนส่วนใหญ่พูดแต่ภาษาจีนกลางหรือแมนดาริน
ตามระบบของคอมมิวนิสต์ที่ผลักดันให้ประชากรในประเทศสื่อสารด้วยภาษาจีนกลาง ซึ่งในรายงานขององค์การสหประชาชาติระบุว่า ในประเทศจีนมีภาษาที่ตายไปแล้ว 40 ภาษา และมีอีก 124 ภาษาที่กำลังตกอยู่ในความเสี่ยง
ที่ประเทศนิวซีแลนด์เคยมีภาษาเมารีถูกใช้ในการสื่อสารอยู่ทั่วไป แต่หลังจากตกเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษ ภาษาเมารีจึงกลายเป็นสิ่งต้องห้าม นอกเหนือจากนี้ยังมีการแต่งงานข้ามเชื้อชาติ ส่งผลให้ลูกหลานชาวเมารีนั้นได้ซึบซับกับภาษาใหม่ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันแล้วประเทศนิวซีแลนด์จะได้รับเอกราช แต่กลับมีผู้ที่สื่อสารภาษาเมารีได้เพียงแค่ร้อยละ 3 ของประชากรทั้งประเทศเท่านั้น จึงทำให้เกิดโคงการสอนภาษาแก่คนรุ่นใหม่ขึ้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์ภาษาให้คงอยู่ต่อไป

แต่จริงๆ แล้วปัจจัยที่ในปัจจุบันทำให้ภาษาต้องสูญสิ้นไป ไม่ใช่การบังคับหรือกำหนดกฏเกณฑ์แต่อย่างใด แต่เป็นคุณค่าทางเศรษฐกิจของตัวภาษานั้นเอง เพราะถ้าหากภาษานั้นไม่สามารถหาเงินเลี้ยงปากเลี้ยงท้องได้ ความจำเป็นของภาษานั้นก็จะถูกลดลง จะเห็นได้จากในกรุงกัมปาลา ประเทศยูกันดา ประเทศที่กำลังพัฒนา ปกติแล้วในโรงเรียนทั่วไปจะสอนหนังสือด้วยภาษาท้องถิ่น แต่ในโรงเรียนประถมมิเรมเบ กำหนดให้สอนหนังสือด้วยภาษาอังกฤษ และมีการรณรงค์ให้เด็กๆ ใช้ภาษาอังกฤษตลอดเวลาที่อยู่ในโรงเรียน แต่การส่งเสริมให้เด็กๆ ใช้ภาษาอังกฤษนั้น ไม่ใช่เพราะว่าเคยตกเป็นเมืองขึ้นของเจ้าของภาษา แต่เป็นเพราะว่าภาษาอังกฤษนั้นคือโอกาสที่ไปสู่อนาคตที่ดีกว่า
แคร์ล คึมโยมปิเอียร์ เด็กนักเรียนในโรงเรียนมิเรมเบ กล่าวว่า “หนูคิดว่าภาษาอังกฤษสำคัญสำหรับอนาคตค่ะ เพราะถ้าหนูโตขึ้นและอยากจะทำธุรกิจ
หนูคงไม่พูดภาษานึมโคร(ภาษาถิ่น) หนูต้องพูดภาษาอังกฤษ เพื่อให้คนอยากร่วมงานด้วย”
ถึงแม้ประเทศยูกันดา เป็นประเทศที่มีภาษาอยู่เป็นจำนวนมากถึง 64 ภาษาและสำเนียงท้องถิ่นอีกนับไม่ถ้วน แต่พวกเขารู้ดีว่ามีเพียงภาษาเดียวเท่านั้นที่จะช่วยให้พวกเขามีอนาคตสามารถก้าวต่อไปได้ จะเห็นได้ว่าการสูญสิ้นของภาษานั้นเป็นเหมือนโรคร้ายที่กระจายและลุกลามไปอย่างช้าๆ
การสูญสิ้นของภาษาไม่ได้มาจากแรงกดดันโดยผู้มีอำนาจ แต่เป็นผู้ใช้ที่ละเลยภาษาของตัวเอง เมื่อมองไม่เห็นถึงความจำเป็นในอนาคต เพราะถ้าหากต้องการหลุดพ้นจากความยากจนหรือต้องการอนาคตที่ดีกว่า ก็ต้องเริ่มศึกษาจากภาษาสากล จึงเป็นเหตุให้ผู้คนใช้ภาษาถิ่นของตนเองน้อยลงจนไร้คนสื่อสาร สุดท้ายภาษานั้นก็กลายเป็นภาษาตายในที่สุด
สามารถติดตามเรื่องราวสาระดีๆ ที่จะมอบให้กับผู้ชมทุกเพศ ทุกวัย
ได้ในรายการ “รอบโลก By กรุณา บัวคำศรี”
ทุกวันพุธ - พฤหัสบดี เวลา 22.30 น. เป็นต้นไป ทาง PPTV HD ช่อง 36
แล้วชาวพันทิปมีวิธีอนุรักษ์ภาษาของตัวเองอย่างไรบ้างคะ ? มาแชร์กันได้ค่ะ
รู้หรือไม่? ทุกๆ 14 วัน หรือ 2 สัปดาห์จะมี 1 ภาษาที่ต้องกลายเป็นภาษาตาย
หนูคงไม่พูดภาษานึมโคร(ภาษาถิ่น) หนูต้องพูดภาษาอังกฤษ เพื่อให้คนอยากร่วมงานด้วย”
ถึงแม้ประเทศยูกันดา เป็นประเทศที่มีภาษาอยู่เป็นจำนวนมากถึง 64 ภาษาและสำเนียงท้องถิ่นอีกนับไม่ถ้วน แต่พวกเขารู้ดีว่ามีเพียงภาษาเดียวเท่านั้นที่จะช่วยให้พวกเขามีอนาคตสามารถก้าวต่อไปได้ จะเห็นได้ว่าการสูญสิ้นของภาษานั้นเป็นเหมือนโรคร้ายที่กระจายและลุกลามไปอย่างช้าๆ
การสูญสิ้นของภาษาไม่ได้มาจากแรงกดดันโดยผู้มีอำนาจ แต่เป็นผู้ใช้ที่ละเลยภาษาของตัวเอง เมื่อมองไม่เห็นถึงความจำเป็นในอนาคต เพราะถ้าหากต้องการหลุดพ้นจากความยากจนหรือต้องการอนาคตที่ดีกว่า ก็ต้องเริ่มศึกษาจากภาษาสากล จึงเป็นเหตุให้ผู้คนใช้ภาษาถิ่นของตนเองน้อยลงจนไร้คนสื่อสาร สุดท้ายภาษานั้นก็กลายเป็นภาษาตายในที่สุด