กระทู้นี้จะเป็นการรวบรวมข้อสังเกตที่พบใน Azur Lane ตอนที่ 1-2 ว่ามีการอ้างอิงถึงเหตุการณ์จริง หรือว่ามีกิมมิกอะไรใส่เข้ามาบ้างนะครับ
หากท่านใดสังเกตอะไรได้อีกมาเพิ่มเติมกันได้เลยครับ
1.สีดาดฟ้าของเอ็นเทอร์ไพรซ์
ใน Azur Lane ตอนที่ 1 ช่วงต้นเลยก่อนที่เอ็นเทอร์ไพรซ์จะออกเดินทาง จะเห็นว่าดาดฟ้าเป็นสีเทา (หรืออาจจะน้ำเงินเข้ม)
และมีเลข 6 สีดำที่หัวเรือกับท้ายเรือ
แต่หลังจากนั้นไม่นาน กลายเป็นว่าดาดฟ้าเปลี่ยนเป็นเวอร์ชัน EN พร้อมเส้นสีเหลืองทันที และก็เป็นแบบนี้ยาวมาตลอดเลย
ซึ่งก็ไม่รู้สาเหตุว่าทำไม ผมก็อธิบายไม่ได้ จะว่าเผาก็ดูจะชัดเกินไป
แต่เรามาดูรูปกันว่าเวอร์ชันไหนมาก่อนมาหลัง
- 1938
ดาดฟ้าสีน้ำตาล มีตัวอักษร EN สีเหลือง แบบในเกมและอนิเมนี่แหละครับ
โดยตอนนั้นยังเป็นช่วงก่อนสงคราม เครื่องบินที่ประจำการก็ยังมีแบบปีกสองชั้นอยู่เลย
- 1941
ดาดฟ้าไม้ ไม่ทาสี
ตัวเรือ แนวตั้ง ปล่องควัน เสา Dark Gray 5-D
แนวนอน Light Gray 5-L
- 1942 (Battle of Midway)
มีการทำสีน้ำทะเล Sea Blue 5-S ทั้งลำ รวมถึงดาดฟ้า Deck Blue 20-B ด้วย
เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกอากาศยานข้าศึกสังเกตได้ง่าย
- 1944
มีการทำลายพรางด้วยสี Navy Blue, Haze Gray, และ Pale Gray
เพื่อให้เรือข้าศึก คำนวนเข็ม ระยะ และความเร็วได้ยากขึ้น
อ้างอิงสีจาก
http://www.cv6.org/ship/camo-radar.htm?fbclid=IwAR1kFEOQsC893gvCVgFqlmikVYvgwed9PCrOnIxS-gHIZROqYaqH4QncCks
2.ดาวยุทธการ (Battle Star) ของเอ็นเทอร์ไพรซ์
ที่คลีฟแลนด์บอกว่าคนของฝั่งยูเนียน (เอ็นเทอร์ไพรซ์) ที่กำลังจะมาที่ฐานทัพ เป็นคนที่ได้รับ "ดาวยุทธการ" มากที่สุด
ดาวยุทธการ (Battle Star)
เป็นดาวประดับแพรแถบที่มอบให้กับเรือที่มีส่วนร่วมในการรบเพื่อเป็นเกียรติ (ถ้าเป็นคนจะใช้ว่า Service Star)
โดยถ้านับเฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น เอ็นเทอร์ไพรซ์นับว่าเป็นเรือที่ได้รับดาวยุทธการมากที่สุด
คือ 20 ดาวยุทธการ จากทั้งหมด 22 ดาว บนแพรแถบเหรียญ Asiatic–Pacific Campaign
https://en.wikipedia.org/wiki/USS_Enterprise_(CV-6)
ซึ่งเหรียญ Asiatic–Pacific Campaign นั้นมีหลักการมอบคือ รับราชการในกองทัพสหรัฐฯ
อย่างน้อย 30 วัน ในภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ช่วงระหว่าง วันที่ 7 ธ.ค. 1941 ถึง 2 มี.ค. 1946
ประวัติการได้รับดาวยุทธการของเอ็นเทอร์ไพรซ์ทั้ง 20 ครั้ง สามารถดูได้จากที่นี่ครับ
http://www.cv6.org/decoration/stars/stars.htm
(ที่มีดาวแดงกำกับคือได้รับความเสียหายจากการโจมตีทางอากาศในการรบครั้งนั้น)
3.การโจมตีเพิร์ล ฮาร์เบอร์
เป็นที่สังเกตได้ไม่ยากกว่าการโจมตีฐานทัพอซูร์เลนในตอนที่ 1 นั้นคล้ายกับการโจมตีเพิร์ล ฮาร์เบอร์
(แต่รายละเอียดนั้นต่างออกไป ทั้งจำนวนเรือที่มาบุก ทั้งการที่มีฝ่ายรอยัลและเรือบรรทุกเครื่องบินอยู่ที่ฐานทัพ)
และก็ได้มีผู้นำภาพในอนิเมหลังจากถูกโจมตีมาเทียบกับในภาพยนตร์เรื่อง Pearl Harbor เมื่อปี 2001 ซึ่งกำกับโดยไมเคิล เบย์
พบว่ามีการล้ออยู่หลายซีน
ภาพจาก
https://www.facebook.com/TPYMSYCSTE/photos/a.533340173700125/913150369052435/
4.ความสัมพันธ์ของอาคากิ และคากะ
แม้อาคากิและคากะในอซูร์เลนจะมีบทพูดที่ทำให้รู้สึกว่าทั้งคู่เป็นพี่น้องกัน แต่ที่จริงแล้วทั้งสองไม่ได้เป็นเรือชั้นเดียวกันนะ
ในตอนที่ 2 อาคากิบอกว่า 私たちは姉妹のようなもの "พวกเราเป็นราวกับพี่น้อง"
ซึ่งเป็นการเน้นย้ำว่าทั้งคู่ไม่ใช่เรือชั้นเดียวกัน ไม่ใช่พี่น้องแท้ ๆ แต่ให้ความรู้สึกเหมือนกับว่าเป็นพี่น้องกัน
แต่มีเหตุผลอะไรต้องทำอย่างนั้น แล้วที่คากะบอกว่า この体はそもそも "แต่เดิมแล้วร่างกายนี้..." มันคืออะไรกันนะ
อาคากิและคากะ แต่เดิมแล้วญี่ปุ่นตั้งใจจะสร้างเป็นเรือประจัญบานทั้งคู่ครับ
อาคากิ
ตามแผนเดิมคือสร้างเป็นเรือลาดตระเวนประจัญบานลำที่สองในชั้น "อามากิ"
http://www.navypedia.org/ships/japan/jap_bb_amagi.htm
คากะ
ตามแผนเดิมคือสร้างเป็นเรือประจัญบานลำที่สองในชั้น "โทสะ"
แต่ก็ต้องหยุดการสร้างลงเพราะญี่ปุ่นได้ลงนามในสนธิสัญญานาวิกวอชิงตัน ในปี 1922
ซึ่งมีข้อจำกัดในการต่อเรือประจัญบาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแข่งขันทางอาวุธหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1
ข้อตกลงคือ
- เรือหนึ่งลำต้องมีระวางขับน้ำไม่เกิน 35,000 ตัน และติดตั้งปืนใหญ่ลำกล้องไม่เกิน 16 นิ้ว (406 มม.)
- สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินต้องมีระวางขับน้ำไม่เกิน 27,000 ตัน แต่ได้รับอนุฐาติให้นำ ตัวเรือ (Hull) ที่มีอยู่มาใช้เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินได้จำนวน 2 ลำ โดยต้องมีระวางขับน้ำไม่เกิน 33,000 ตัน
ทำให้ญี่ปุ่นเลือกที่จะดัดแปลงเรือชั้นอามากิ คือ "อามากิ" และ "อาคากิ" ไปเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินแทนแต่เนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในแถบคันโต ปี 1923 ทำให้อามากิเสียหายหนักเกินกว่าจะซ่อมแซมได้ ทางญี่ปุ่นจึงได้นำ "คากะ" มาดัดแปลงเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินเพื่อทดแทนอามากิ
ส่วน "โทสะ" นั้นถูกยกเลิกกสร้างเพราะสนธิสัญญาเช่นกัน แต่ก็ได้มีการถูกนำไปทดสอบเกราะ
จากการโจมตีด้วยปืนใหญ่ ทิ้งระเบิด ทุ่นระเบิด และตอร์ปิโด ก่อนที่จะถูกนำไปทำลายทิ้งที่ช่องแคบบุงโกะ
5. รูบนดาดฟ้าของเอ็นเทอร์ไพรซ์
จากอซูร์เลนตอนที่ 2 เผยให้เห็นถึงความเสียหายของอุปกรณ์
หลังจากที่เอ็นเทอร์ไพรซ์ต่อสู้กับจักรวรรดิซากุระเพื่อป้องกันฐานทัพเอาไว้ (ถึงแม้ตอนสู้จะไม่เห็นว่าไปเจ็บตัวตอนไหนก็เถอะ)
ซึ่งจะเห็นว่ามีรูอยู่บนดาดฟ้าเยื้องมาทางด้านหน้าเล็กน้อย
มีความเป็นไปได้ว่าอาจเป็นรูของลิฟต์ที่ระเบิดจากการถูกเครื่องบินญี่ปุ่นโจมตีแบบพลีชีพ
หลังจากการรบที่อ่าวเลย์เต (Battle of Leyte Gulf)
ช่วงปลายปี 1944 เอ็นเทอร์ไพรซ์ถูกเปลี่ยนเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินที่สามารถปฏิบัติการกลางคืนได้ โดยได้รหัส Hull ใหม่เป็น CV(N)-6 โดย N ในวงเล็บนี้หมายถึง "Night" นะ ไม่ใช่นิวเคลียร์ รวมถึงบรรทุกฝูงบินที่ถูกฝึกพิเศษมาสำหรับการรบกลางคืนด้วย ทำให้เป็นเรือที่สามารถปฏิบัติการได้ตลอดทุกช่วงเวลา
.
.
.
หลังจากที่ปฏิบัติหน้าที่สนับสนุนนาวิกโยธินในการรบบนเกาะอิโวจิมะแล้ว
ก็ได้เดินทางออกจากเกาะอูลิธี และปฏิบัติการในเวลากลางคืนต่อโดยการบุกคิวชูและฮอนชูของญี่ปุ่น
ในครั้งนี้เธอได้รับความเสียหายเล็กน้อย ก็เลยใช้เวลาซ่อมเพียง 6 วันที่เกาะอูลิธี แล้วกลับมาสนับสนุนการรบในยุทธการโอกินาวะ (Okinawa operation)
ซึ่งครั้งนี้ก็โดนคามิคาเสะจนต้องกลับไปอูลิธีอีกครั้ง แล้วจึงกลับมารบที่โอกินาวะต่อในอีกเกือบ 1 เดือนต่อมา
แต่ในวันที่ 14 พ.ค. 1945 เธอก็โดนเครื่องบินญี่ปุ่นเข้ามาพลีชีพอีกครั้ง
โดยในครั้งนี้เครื่องบิน A6M5 Zero ของญี่ปุ่นได้บินเข้ามาหาเอ็นเทอร์ไพรซ์จากท้ายเรือ และสามารถหลบหลีกกระสุนปืน 5 นิ้ว และ ปตอ. 40 มม. ได้ จนกระทั่งเข้าใกล้ส่วนปลายของดาดฟ้าท้ายเรือ
ในตอนนั้นนักบินได้ทำการบินควงสว่าน (Snap roll) แล้วดำดิ่งลงไปชนทะลุดาดฟ้าของเอ็นเทอร์ไพรซ์ในทันที ส่งผลให้ลิฟต์ด้านหน้าเกิดการระเบิด และปลิวขึ้นไปบนอากาศสูงถึง 400 ฟุต ทำให้ลูกเรือเสียชีวิต 14 นาย และได้รับบาดเจ็บอีกจำนวนมาก
.
.
.
ความเสียหายครั้งนี้ทำให้เอ็นเทอร์ไพรซ์ต้องเข้ารับการซ่อมแซมที่อู่ Puget Sound Naval Shipyard แต่การซ่อมแซมนั้นมีความล่าช้าอย่างมาก แม้สงครามจะสิ้นสุดลงก็ยังซ่อมไม่เสร็จ แต่ก็ได้ออกปฏิบัติภารกิจอีกครั้งนั่นคือปฏิบัติการพรมวิเศษ (Operation Magic Carpet)
ซึ่งไม่ใช่การทำสงครามแต่เป็นการนำทหารที่อยู๋ในต่างแดนกลับสู่บ้านเกิด และปลดประจำการไปในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 1947
เรียบเรียงจากบทความ
Who Knocked the Enterprise Out of the War (U.S.Naval Institute)
By Kan Sugahara
https://www.usni.org/magazines/naval-history-magazine/2008/april/who-knocked-enterprise-out-war
6 Severely wounded WWII Aircraft Carriers in the Pacific that stayed afloat and were repaired (War History Online)
by Joris Nieuwint
https://www.warhistoryonline.com/war-articles/severely-damaged-warships-that-said-afloat-and-were-repaired.html/2
ข้อสังเกต จากอนิเม Azur Lane ตอนที่ 1-2
หากท่านใดสังเกตอะไรได้อีกมาเพิ่มเติมกันได้เลยครับ
1.สีดาดฟ้าของเอ็นเทอร์ไพรซ์
ใน Azur Lane ตอนที่ 1 ช่วงต้นเลยก่อนที่เอ็นเทอร์ไพรซ์จะออกเดินทาง จะเห็นว่าดาดฟ้าเป็นสีเทา (หรืออาจจะน้ำเงินเข้ม)
และมีเลข 6 สีดำที่หัวเรือกับท้ายเรือ
แต่หลังจากนั้นไม่นาน กลายเป็นว่าดาดฟ้าเปลี่ยนเป็นเวอร์ชัน EN พร้อมเส้นสีเหลืองทันที และก็เป็นแบบนี้ยาวมาตลอดเลย
ซึ่งก็ไม่รู้สาเหตุว่าทำไม ผมก็อธิบายไม่ได้ จะว่าเผาก็ดูจะชัดเกินไป
แต่เรามาดูรูปกันว่าเวอร์ชันไหนมาก่อนมาหลัง
- 1938
ดาดฟ้าสีน้ำตาล มีตัวอักษร EN สีเหลือง แบบในเกมและอนิเมนี่แหละครับ
โดยตอนนั้นยังเป็นช่วงก่อนสงคราม เครื่องบินที่ประจำการก็ยังมีแบบปีกสองชั้นอยู่เลย
- 1941
ดาดฟ้าไม้ ไม่ทาสี
ตัวเรือ แนวตั้ง ปล่องควัน เสา Dark Gray 5-D
แนวนอน Light Gray 5-L
- 1942 (Battle of Midway)
มีการทำสีน้ำทะเล Sea Blue 5-S ทั้งลำ รวมถึงดาดฟ้า Deck Blue 20-B ด้วย
เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกอากาศยานข้าศึกสังเกตได้ง่าย
- 1944
มีการทำลายพรางด้วยสี Navy Blue, Haze Gray, และ Pale Gray
เพื่อให้เรือข้าศึก คำนวนเข็ม ระยะ และความเร็วได้ยากขึ้น
อ้างอิงสีจาก
http://www.cv6.org/ship/camo-radar.htm?fbclid=IwAR1kFEOQsC893gvCVgFqlmikVYvgwed9PCrOnIxS-gHIZROqYaqH4QncCks
2.ดาวยุทธการ (Battle Star) ของเอ็นเทอร์ไพรซ์
ที่คลีฟแลนด์บอกว่าคนของฝั่งยูเนียน (เอ็นเทอร์ไพรซ์) ที่กำลังจะมาที่ฐานทัพ เป็นคนที่ได้รับ "ดาวยุทธการ" มากที่สุด
ดาวยุทธการ (Battle Star)
เป็นดาวประดับแพรแถบที่มอบให้กับเรือที่มีส่วนร่วมในการรบเพื่อเป็นเกียรติ (ถ้าเป็นคนจะใช้ว่า Service Star)
โดยถ้านับเฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น เอ็นเทอร์ไพรซ์นับว่าเป็นเรือที่ได้รับดาวยุทธการมากที่สุด
คือ 20 ดาวยุทธการ จากทั้งหมด 22 ดาว บนแพรแถบเหรียญ Asiatic–Pacific Campaign
https://en.wikipedia.org/wiki/USS_Enterprise_(CV-6)
ซึ่งเหรียญ Asiatic–Pacific Campaign นั้นมีหลักการมอบคือ รับราชการในกองทัพสหรัฐฯ
อย่างน้อย 30 วัน ในภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ช่วงระหว่าง วันที่ 7 ธ.ค. 1941 ถึง 2 มี.ค. 1946
ประวัติการได้รับดาวยุทธการของเอ็นเทอร์ไพรซ์ทั้ง 20 ครั้ง สามารถดูได้จากที่นี่ครับ
http://www.cv6.org/decoration/stars/stars.htm
(ที่มีดาวแดงกำกับคือได้รับความเสียหายจากการโจมตีทางอากาศในการรบครั้งนั้น)
3.การโจมตีเพิร์ล ฮาร์เบอร์
เป็นที่สังเกตได้ไม่ยากกว่าการโจมตีฐานทัพอซูร์เลนในตอนที่ 1 นั้นคล้ายกับการโจมตีเพิร์ล ฮาร์เบอร์
(แต่รายละเอียดนั้นต่างออกไป ทั้งจำนวนเรือที่มาบุก ทั้งการที่มีฝ่ายรอยัลและเรือบรรทุกเครื่องบินอยู่ที่ฐานทัพ)
และก็ได้มีผู้นำภาพในอนิเมหลังจากถูกโจมตีมาเทียบกับในภาพยนตร์เรื่อง Pearl Harbor เมื่อปี 2001 ซึ่งกำกับโดยไมเคิล เบย์
พบว่ามีการล้ออยู่หลายซีน
ภาพจาก https://www.facebook.com/TPYMSYCSTE/photos/a.533340173700125/913150369052435/
4.ความสัมพันธ์ของอาคากิ และคากะ
แม้อาคากิและคากะในอซูร์เลนจะมีบทพูดที่ทำให้รู้สึกว่าทั้งคู่เป็นพี่น้องกัน แต่ที่จริงแล้วทั้งสองไม่ได้เป็นเรือชั้นเดียวกันนะ
ในตอนที่ 2 อาคากิบอกว่า 私たちは姉妹のようなもの "พวกเราเป็นราวกับพี่น้อง"
ซึ่งเป็นการเน้นย้ำว่าทั้งคู่ไม่ใช่เรือชั้นเดียวกัน ไม่ใช่พี่น้องแท้ ๆ แต่ให้ความรู้สึกเหมือนกับว่าเป็นพี่น้องกัน
แต่มีเหตุผลอะไรต้องทำอย่างนั้น แล้วที่คากะบอกว่า この体はそもそも "แต่เดิมแล้วร่างกายนี้..." มันคืออะไรกันนะ
อาคากิและคากะ แต่เดิมแล้วญี่ปุ่นตั้งใจจะสร้างเป็นเรือประจัญบานทั้งคู่ครับ
อาคากิ
ตามแผนเดิมคือสร้างเป็นเรือลาดตระเวนประจัญบานลำที่สองในชั้น "อามากิ"
http://www.navypedia.org/ships/japan/jap_bb_amagi.htm
คากะ
ตามแผนเดิมคือสร้างเป็นเรือประจัญบานลำที่สองในชั้น "โทสะ"
แต่ก็ต้องหยุดการสร้างลงเพราะญี่ปุ่นได้ลงนามในสนธิสัญญานาวิกวอชิงตัน ในปี 1922
ซึ่งมีข้อจำกัดในการต่อเรือประจัญบาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแข่งขันทางอาวุธหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1
ข้อตกลงคือ
- เรือหนึ่งลำต้องมีระวางขับน้ำไม่เกิน 35,000 ตัน และติดตั้งปืนใหญ่ลำกล้องไม่เกิน 16 นิ้ว (406 มม.)
- สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินต้องมีระวางขับน้ำไม่เกิน 27,000 ตัน แต่ได้รับอนุฐาติให้นำ ตัวเรือ (Hull) ที่มีอยู่มาใช้เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินได้จำนวน 2 ลำ โดยต้องมีระวางขับน้ำไม่เกิน 33,000 ตัน
ทำให้ญี่ปุ่นเลือกที่จะดัดแปลงเรือชั้นอามากิ คือ "อามากิ" และ "อาคากิ" ไปเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินแทนแต่เนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในแถบคันโต ปี 1923 ทำให้อามากิเสียหายหนักเกินกว่าจะซ่อมแซมได้ ทางญี่ปุ่นจึงได้นำ "คากะ" มาดัดแปลงเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินเพื่อทดแทนอามากิ
ส่วน "โทสะ" นั้นถูกยกเลิกกสร้างเพราะสนธิสัญญาเช่นกัน แต่ก็ได้มีการถูกนำไปทดสอบเกราะ
จากการโจมตีด้วยปืนใหญ่ ทิ้งระเบิด ทุ่นระเบิด และตอร์ปิโด ก่อนที่จะถูกนำไปทำลายทิ้งที่ช่องแคบบุงโกะ
5. รูบนดาดฟ้าของเอ็นเทอร์ไพรซ์
จากอซูร์เลนตอนที่ 2 เผยให้เห็นถึงความเสียหายของอุปกรณ์
หลังจากที่เอ็นเทอร์ไพรซ์ต่อสู้กับจักรวรรดิซากุระเพื่อป้องกันฐานทัพเอาไว้ (ถึงแม้ตอนสู้จะไม่เห็นว่าไปเจ็บตัวตอนไหนก็เถอะ)
ซึ่งจะเห็นว่ามีรูอยู่บนดาดฟ้าเยื้องมาทางด้านหน้าเล็กน้อย
มีความเป็นไปได้ว่าอาจเป็นรูของลิฟต์ที่ระเบิดจากการถูกเครื่องบินญี่ปุ่นโจมตีแบบพลีชีพ
หลังจากการรบที่อ่าวเลย์เต (Battle of Leyte Gulf)
ช่วงปลายปี 1944 เอ็นเทอร์ไพรซ์ถูกเปลี่ยนเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินที่สามารถปฏิบัติการกลางคืนได้ โดยได้รหัส Hull ใหม่เป็น CV(N)-6 โดย N ในวงเล็บนี้หมายถึง "Night" นะ ไม่ใช่นิวเคลียร์ รวมถึงบรรทุกฝูงบินที่ถูกฝึกพิเศษมาสำหรับการรบกลางคืนด้วย ทำให้เป็นเรือที่สามารถปฏิบัติการได้ตลอดทุกช่วงเวลา
.
.
.
หลังจากที่ปฏิบัติหน้าที่สนับสนุนนาวิกโยธินในการรบบนเกาะอิโวจิมะแล้ว
ก็ได้เดินทางออกจากเกาะอูลิธี และปฏิบัติการในเวลากลางคืนต่อโดยการบุกคิวชูและฮอนชูของญี่ปุ่น
ในครั้งนี้เธอได้รับความเสียหายเล็กน้อย ก็เลยใช้เวลาซ่อมเพียง 6 วันที่เกาะอูลิธี แล้วกลับมาสนับสนุนการรบในยุทธการโอกินาวะ (Okinawa operation)
ซึ่งครั้งนี้ก็โดนคามิคาเสะจนต้องกลับไปอูลิธีอีกครั้ง แล้วจึงกลับมารบที่โอกินาวะต่อในอีกเกือบ 1 เดือนต่อมา
แต่ในวันที่ 14 พ.ค. 1945 เธอก็โดนเครื่องบินญี่ปุ่นเข้ามาพลีชีพอีกครั้ง
โดยในครั้งนี้เครื่องบิน A6M5 Zero ของญี่ปุ่นได้บินเข้ามาหาเอ็นเทอร์ไพรซ์จากท้ายเรือ และสามารถหลบหลีกกระสุนปืน 5 นิ้ว และ ปตอ. 40 มม. ได้ จนกระทั่งเข้าใกล้ส่วนปลายของดาดฟ้าท้ายเรือ
ในตอนนั้นนักบินได้ทำการบินควงสว่าน (Snap roll) แล้วดำดิ่งลงไปชนทะลุดาดฟ้าของเอ็นเทอร์ไพรซ์ในทันที ส่งผลให้ลิฟต์ด้านหน้าเกิดการระเบิด และปลิวขึ้นไปบนอากาศสูงถึง 400 ฟุต ทำให้ลูกเรือเสียชีวิต 14 นาย และได้รับบาดเจ็บอีกจำนวนมาก
.
.
.
ความเสียหายครั้งนี้ทำให้เอ็นเทอร์ไพรซ์ต้องเข้ารับการซ่อมแซมที่อู่ Puget Sound Naval Shipyard แต่การซ่อมแซมนั้นมีความล่าช้าอย่างมาก แม้สงครามจะสิ้นสุดลงก็ยังซ่อมไม่เสร็จ แต่ก็ได้ออกปฏิบัติภารกิจอีกครั้งนั่นคือปฏิบัติการพรมวิเศษ (Operation Magic Carpet)
ซึ่งไม่ใช่การทำสงครามแต่เป็นการนำทหารที่อยู๋ในต่างแดนกลับสู่บ้านเกิด และปลดประจำการไปในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 1947
เรียบเรียงจากบทความ
Who Knocked the Enterprise Out of the War (U.S.Naval Institute)
By Kan Sugahara
https://www.usni.org/magazines/naval-history-magazine/2008/april/who-knocked-enterprise-out-war
6 Severely wounded WWII Aircraft Carriers in the Pacific that stayed afloat and were repaired (War History Online)
by Joris Nieuwint
https://www.warhistoryonline.com/war-articles/severely-damaged-warships-that-said-afloat-and-were-repaired.html/2