[CR] เที่ยวไปกินไป by laser @ ข้าวหมูแดงสามย่าน

บ่อยครั้งที่ไปกินอาหารย่านหนึ่ง จะมีร้านอร่อยให้เทียบกัน 
บางครั้งด้วยวิธีการทำอาหารแบบเดียวกัน บางครั้งด้วยวิธีการทำที่ต่างกัน
เช่น เกาเหลาเนื้อทั้งสองร้านในย่านถนนเฟื่องนคร คือ ร้านซุงโภชนา และร้านหม่อง ราชบพิธ
ที่ต่างก็เป็นร้านเกาเหลาเนื้ออร่อยชื่อดังทั้งคู่ แต่มีวิธีทำเกาเหลาเนื้อที่อร่อยต่างกัน
ซึ่งจะนำมาเขียนถึงใน "เที่ยวไปกินไป by laser @ ถนนเฟื่องนคร" เร็ว ๆ นี้
สามย่านก็เช่นกัน ถ้านึกอยากกินข้าวหมูแดงเมื่อไปย่านนั้น มีสองร้านให้เลือกในซอยเดียวกัน คือ ซอยจุฬาฯ 50
เสาร์ที่ 22-9-19 10.30 น. มีธุระที่สามย่านมิตรทาวน์ แต่ก่อนอื่นนั่งรถไปลงที่ตลาดคลองเตย
เพราะได้ข่าวจากไซ้โหล่ว บะหมี่เกี๊ยวกุ้งปู ซึ่งเป็นน้องชายของเฮียแก้ว อดีตเจ้าของร้านนิวโล้ะเอี๋ยน 
ที่เซ้งร้านไปแล้วว่า กลับมาเป็นพ่อครัวให้กับร้านเฮียโต ผู้กว้างขวางแห่งตลาดคลองเตย ที่ท้ายตลาดคลองเตย
เริ่มเดินตั้งแต่ท้ายตลาด มีบ้านหลังหนึ่งประดับครุฑ และนกอินทรีย์อยู่ที่ชั้นบนสุด
ไม่ทราบว่าแก้ฮวงจุ้ยอะไร มองไปฝั่งตรงข้าม ก็ไม่เห็นอะไรที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน
ปรากฏว่าหาเฮียแก้วไม่เจอ เบอร์โทรศัพท์ในเครื่องใหม่ก็ไม่มี ต้องส่งข้อความไปหาลูกชาย
ถึงได้ทราบว่าเฮียแก้วเข้าโรงพยาบาลไปหลายวันเพิ่งออกมา ถ้าอย่างนั้นช่วงนี้คงหยุด
หาเฮียแก้วไม่เจอ แต่กลับเจอหมูแดดเดียว และอาคารเหมือนศิวลึงค์สีน้ำเงิน
กุยช่ายเจ๊สุนีย์ขายแล้ว แต่ขากลับต้องมาขึ้นรถแถวนี้ค่อยซื้อ กลับมาบ่ายสองโมงหมดแล้ว
"เที่ยวไปกินไป by laser @ คลองเตย : กุยช่ายเจ๊สุนีย์" https://pantip.com/topic/38643013













นั่งรถไปลงหน้าวัดหัวลำโพง จากนั้นเดินลงสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสามย่าน
เดินไปตามทางออกที่ 2 ไปสามย่านมิตรทาวน์ ทางเดินบางช่วงค่อนข้างแคบ







ผ่านทางเชื่อมกับโครงการสามย่านมิตรทาวน์ ที่ทำเป็นอุโมงค์รถไฟใต้ดิน 
ซึ่งเรียกกันหลายชื่อเช่น อุโมงค์อวกาศ อุโมงค์กาลเวลา แต่ชื่ออย่างเป็นทางการ 
คือ "อุโมงค์เชื่อมมิตร" ซึ่งค่อนข้างจำยาก





ด้วยความแปลกใหม่ ทำให้อุโมงค์แห่งนี้มีผู้คนหลั่งไหลกันมาชมมาถ่ายรูป



โดยเฉพาะช่วงที่ทำเป็นทางเดินกระจกใส ทั้งยืนทั้งนั่งถ่ายรูปกันเต็มอุโมงค์
ผู้คนหนาแน่นมีทุกวัย แต่ใจเย็นรอจังหวะเล็กน้อย ก็สามารถเก็บภาพดี ๆ ได้















สุดอุโมงค์ความยาวประมาณ 30 เมตรขึ้นสู่ชั้นใต้ดิน ของโครงการสามย่านมิตรทาวน์
ไม่ได้สนใจเดินดูร้านค้าร้านอาหาร เพราะทุกแห่งแทบจะไม่ต่างกัน



โถงชั้นหนึ่งแขวนป้ายชื่อร้านอาการดังของสามย่านบางส่วน
ทั้งร้านที่ยังอยู่และร้านที่เลิกกิจการไปนานแล้ว ในช่วงที่ทางจุฬาเอาที่คืน 
คือ นิวสามย่านภัตตาคาร ซึ่งมีทั้งชื่อไทยและชื่อจีน คือ หน่ำเฮียงฮึ้ง 
เคยกินที่ร้านนี้หลายครั้ง เพราะราคาไม่แพง ที่เด่น ๆ คือ เนื้อแพะเย็น 
และฮื่อฉี่เช็งตุ๋ง หรือหูฉลามน้ำใส ซึ่งหากินยากมาก



เดินต่อไปชั้นอื่น ๆ 



ไก่ย่างร้านนี้น่ากิน



จุดสนใจอยู่ที่ชั้น 4 ที่น่าจะทำให้ใหญ่กว่านี้
เป็นส่วนที่ไม่มีการประชาสัมพันธ์ แต่คิดว่าน่าจะมีจึงมาดู
ลงทุนกับโครงสร้างสวยงาม แต่ภาพในนิทรรศการมีน้อย
ในส่วนของ "บันทึกเรื่องราว" (สีเขียว ) ทำได้ค่อนข้างดี 





ในส่วนของร้านค้าในตำนาน (สีเขียว) เน้นแค่ร้านฝั่งตลาดสามย่าน
มีเพียงร้าน "จีฉ่อย" และ "รองเท้านพชูว์" ร้านหลังไม่รู้จัก รู้จักแต่ร้าน "ชูวนิช"
ไม่มีร้าน "ศึกษิตสยาม" ซึ่งมีต้นกำเนิดที่สามย่าน แต่อยู่ฝั่งจามจุรีสแควร์ ก่อนย้ายไปถนนเฟื่องนคร
แม้จะได้ยินมาว่า มีความพยายามเชิญร้านเก่า ๆ ของย่านนี้มาเปิดในโครงการ แต่สู้ค่าเช่าไม่ไหว 







ส่วนที่กลับได้รับความสนใจถ่ายภาพกันมาก คือ ประเพณีวัฒนธรรม (สีแดง)
แสดงเรื่องราวของศาลเจ้าแม่ทับทิม สะพานเหลือง และการแสดงงิ้ว
ทั้งสามส่วนนี้ได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่น้อยมาก แต่กลับได้รับความสนใจจากผู้สูงอายุ
ที่เคยอาศัยอยู่ในย่านนี้ มาซึมซับบรรยากาศเก่า ๆ เพราะทุกตารางนิ้วของสามย่าน 
เต็มไปด้วยเรื่องราวแห่งชีวิต ที่มีคุณค่าให้ระลึกถึง บางคนเกิดที่นี่ จนถึงวันเปลี่ยนแปลง









ไม่ได้สนใจชมสวนที่ชั้น 5  
เพราะไม่ได้พานางแบบส่วนตัวมาด้วย
และแค่ชั้น 5 มองเห็นอะไรไม่มาก

ชื่อสินค้า:   ข้าวหมูแดงสามย่าน
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่