“มูลนิธิไชยวนา” จัดงานแสดง “ศิลปะนานาพันธุ์ ศิลปะประชาธิปไตย” แสดงผลงานทัศนศิลป์จากนักสร้างสรรค์ศิลปะมากกว่า ๔๐ ชีวิต และชมนิทรรศการภาพถ่ายศิลปะความคิดทางการเมือง "บันทึก ประวัติศาสตร์ ความทรงจำ" ผลงานของ “สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย” ผู้ได้รับรางวัลศรีบูรพา ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๒ ในวันเสาร์ที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒ ณ สวนครูองุ่น มาลิก มูลนิธิไชยวนา เลขที่ ๖๗/๑ ทองหล่อ ซอย ๓ สุขุมวิท ๕๕ แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๑๐
(ออกแบบคำว่า ศิลปะนานาพันธ์ ศิลปะประชาธิปไตย โดย คาเงะ-ธีระวัฒน์ มุลวิไล ออกแบบโปสเตอร์ โดย อาจารย์ชุตินาถ กาญจนกุล)
คุณสินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย
คุณสินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย พูดถึงความเป็นมาของงานศิลปะนานาพันธุ์ในครั้งนี้
“ปีนี้เราจัดงานศิลปะนานาพันธุ์เป็นปีที่ 2 ภายใต้ร่มไม้ชายคาของสวนแห่งนี้ที่มีร่างของครูองุ่นคอยเฝ้ามองดูพวกเราอยู่ สำหรับงานศิลปะนานาพันธุ์นี้มีรากต่อยอดมาจากงาน “ศิลปะเพื่อสังคม” ที่จัดในสถาบันปรีดี พนมยงค์ มาตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา ซึ่งจัดอย่างต่อเนื่องมาทุกปีไม่ว่าจะเป็นที่สถาบันปรีดี พนมยงค์เอง หรือที่ถนนราชดำเนิน หรือจัดที่ลานหน้าหอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และในบางครั้งก็จัดที่หอศิลป์ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ฯลฯ เป็นกิจกรรมต่อเนื่องที่ทำมาตลอด 20 กว่าปี
ตอนนี้สถาบันปรีดี พนมยงค์ อยู่ในระหว่างการปิดปรับปรุงซ่อมแซม ซึ่งตอนนี้ยังอยู่ในระยะเวลาของการระดมเงินทุนเพื่อใช้ในการซ่อมแซม สำหรับอาคารสถาบันปรีดีฯ แห่งนี้ถ้าจะซ่อมแซมบำรุงอาจจะต้องใช้เงินหลายสิบล้านบาท อาจจะถึง 50 ล้านบาทหรือ 80 ล้านบาทก็ได้ ตอนนี้อยู่ในระหว่างการระดมหาเงินทุนเพื่อซ่อมแซมสถาบันปรีดีให้กลับมารับใช้และเผยแพร่แนวความคิดของท่านปรีดี พนมยงค์ต่อไป
ส่วนพื้นที่ของสวนครูองุ่น มาลิก นี้จึงเป็นพื้นที่ของการรองรับงานศิลปวัฒนธรรมที่ขยายแนวทางมาจากสถาบันปรีดีฯ ในปีนี้เราใช้ชื่องานว่า “ศิลปะนานาพันธุ์ ศิลปะประชาธิปไตย” ซึ่งมีความหมายที่ชัดเจนอยู่ในตัวแล้ว มีงานกิจกรรมต่างๆ มากมาย โดยผลงานศิลปะที่อยู่ใต้ร่มไม้ภายในสวนครูองุ่น มาลิก แห่งนี้เป็นผลงานของมิตรทั้งหลายที่เป็นผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ ศิลปินสร้างสรรค์ผลงานแล้วส่งมาร่วมแสดงในงานครั้งนี้ โดยเป็นผลงานมาจากผู้สร้างสรรค์งานศิลปะทั้งส่วนกลาง(กรุงเทพฯ)และต่างจังหวัด มีผลงานจากศิลปินอายุน้อยที่สุดซึ่งมีอายุประมาณ 13 ปี ไปถึงศิลปินที่อาวุโสที่สุดอายุใกล้ๆ 80 ปี ซึ่งเราจะเห็นความหลากหลายของศิลปิน เราจึงเรียกงานศิลปะครั้งนี้ว่า “งานศิลปะนานาพันธุ์” ที่จัดขึ้นในสวน
สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการจัดงาน “ศิลปะนานาพันธุ์ ศิลปะประชาธิปไตย” ในครั้งนี้คือการเพิ่มพูนทางสติปัญญา โดยทุกๆ ครั้งของการจัดงานเราจะมีการเผยแพร่แนวความคิดทางด้านวิชาการเกี่ยวกับศิลปะนานาพันธุ์ โดยงานในปีนี้เรากำหนดเรื่องราวไว้ 2 หัวข้อจากนักวิชาการ 2 ท่าน โดยเรื่องราวจากนักวิชาการท่านแรกเป็นหัวข้อที่เกี่ยวกับศิลปะการแสดงละคอน ส่วนท่านที่ 2 จะเป็นนักวิชาการผู้มีความแม่นยำในเรื่องความรู้วิชาการเกี่ยวกับเรื่องของทัศนศิลป์ ซึ่งการแสดงปาฐกถาจากนักวิชาการท่านแรก ภายใต้หัวข้อ “สังคม การเมือง ในการละคอน” โดย ดร.ภาสกร อินทุมาร หัวหน้าสาขาวิชาการละคอน คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่วนท่านที่ 2 จะเป็นการแสดงปาฐกถาในหัวข้อ “ศิลปะกับการเมือง หลังรัฐประหาร 2557” โดย ดร.ถนอม ชาภักดี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ”
คุณสินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย พูดถึงงานศิลปะนานาพันธุ์ ศิลปะประชาธิปไตย
กำหนดการ “ศิลปะนานาพันธุ์ ศิลปะประชาธิปไตย”
เวลา ๑๓.๐๐ น. ลงทะเบียน
เวลา ๑๓.๓๐ น. การแสดงปาฐกถาศิลปะนานาพันธุ์ หัวข้อ "สังคม การเมือง ในการละคอน" โดย ดร.ภาสกร อินทุมาร หัวหน้าสาขาวิชาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เวลา ๑๔.๔๐ น. การแสดงปาฐกถาศิลปะนานาพันธุ์ หัวข้อ "ศิลปะกับการเมือง หลังรัฐประหาร ๒๕๕๗" โดย ดร.ถนอม ชาภักดี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เวลา ๑๕.๔๐ น. นักสร้างสรรค์ศิลปะร่วมกันเปิดงาน
-การแสดงขับเพลงซอศิลปะประชาธิปไตย : จำปา แสนพรม
-การแสดงศิลปะร่วมสมัย กลุ่ม Dee-ng : กวิน พิชิตกุล
-การแสดงศิลปะร่วมสมัย กลุ่ม B-Floor : สุรัตน์ แก้วศรีคราม วสุ วรรรลยางกูร
-การแสดงละครใบ้สันติภาพ : อรรณพ กิจเกษตร
-การแสดงละครใบ้ชุด "นายกฯ ในฝัน" : วิสุทธิ์ กุศลมโนมัย
-อ่านบทกวี ดนตรี ศิลปะการแสดงสด โดย ศรีดาวเรือง , สุชาติ สวัสดิ์ศรี , ชมัยภร แสงกระจ่าง , จิตติมา ผลเสวก , นพวรรณ ตันติเวชกุล , สมพงษ์ ทวี' , มงคล เปลี่ยนบางช้าง , ชิตะวา มุนินโท , บลูด้า , ธนวัฏ ปรีชาจารย์ , ชัยวัฒน์ คำดี , อาอีฉ๊ะ แก้วนพรัตน์ , เพียง นิดเดียว , รติรัตน์ รถทอง , สาธิต รักษาศรี ฯลฯ
รับประทานอาหารร่วมกันในบรรยากาศมิตรภาพ
“เดชา รินทพล” และ “สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย” ทำหน้าที่พิธีกร
ผลงานทัศนศิลป์จากนักสร้างสรรค์ศิลปะ
จาก “ผลงานสร้างสรรค์ศิลปะ” ของ : อรอนงค์ ไทยศรีวงศ์ , ไทเรล ฮาเบอร์คอร์น , ภรณ์ทิพย์ มั่นคง ,จิตติมา ผลเสวก , นพวรรณ ตันติเวชกุล , สินีนาฏ เกษประไพ , จารุนันท์ พันธชาติ , ปิยะนุช เกตุจรูญ , จำปา แสนพรม , ฟาริดา จิราพันธุ์ , อำนาจ เย็นสบาย , พิทักษ์ ปิยะพงษ์ , จิรภัทร อังสุมาลี , เซีย ไทยรัฐ , นิพนธ์ ขันแก้ว , โชคชัย ตักโพธิ์ , ทองธัช เทพารักษ์ , สมชาย วัชระสมบัติ , เรืองศิลป์ ศรีพุทธิรัตน์ , พงษ์ศักดิ์ รักษ์ณรงค์ , สุดใจ แต่งประกอบ , ไมตรี หอมทอง , ธวัชชัย หอมทอง , สมพงษ์ ทวี' , มงคล เปลี่ยนบางช้าง , ธีระวัฒน์ มุลวิไล , สิทธิธรรม โรหิตะสุข , อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ , ภาณุ อารี พิน , สาเสาร์ เอกลักษณ์ , จุลสุคนธ์ วสุ วรรยางกูร , ชิตะวา มุนินโท , รัชชัย รุจิวิพัฒน์ , ณัฐพล คุ้มเมธา , ทองเกลือ ทองแท้ , สุรชัย เพชรแสงโรจน์ , ประมวลศรี ยอดบางเตย , รติรัตน์ รถทอง , กัญญานันท์ สมพานนอก , ปภาวรินท์ หมื่นอาษา , ประมวลสินธุ์ ยอดบางเตย
สำหรับ “นิทรรศการ” จัดแสดงตั้งแต่วันที่ ๒๘ กันยายน จนถึงวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๒
ภาพบรรยากาศภายในงาน
พาชม “งานศิลปะนานาพันธุ์ ศิลปะประชาธิปไตย”
(ออกแบบคำว่า ศิลปะนานาพันธ์ ศิลปะประชาธิปไตย โดย คาเงะ-ธีระวัฒน์ มุลวิไล ออกแบบโปสเตอร์ โดย อาจารย์ชุตินาถ กาญจนกุล)
“ปีนี้เราจัดงานศิลปะนานาพันธุ์เป็นปีที่ 2 ภายใต้ร่มไม้ชายคาของสวนแห่งนี้ที่มีร่างของครูองุ่นคอยเฝ้ามองดูพวกเราอยู่ สำหรับงานศิลปะนานาพันธุ์นี้มีรากต่อยอดมาจากงาน “ศิลปะเพื่อสังคม” ที่จัดในสถาบันปรีดี พนมยงค์ มาตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา ซึ่งจัดอย่างต่อเนื่องมาทุกปีไม่ว่าจะเป็นที่สถาบันปรีดี พนมยงค์เอง หรือที่ถนนราชดำเนิน หรือจัดที่ลานหน้าหอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และในบางครั้งก็จัดที่หอศิลป์ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ฯลฯ เป็นกิจกรรมต่อเนื่องที่ทำมาตลอด 20 กว่าปี
ตอนนี้สถาบันปรีดี พนมยงค์ อยู่ในระหว่างการปิดปรับปรุงซ่อมแซม ซึ่งตอนนี้ยังอยู่ในระยะเวลาของการระดมเงินทุนเพื่อใช้ในการซ่อมแซม สำหรับอาคารสถาบันปรีดีฯ แห่งนี้ถ้าจะซ่อมแซมบำรุงอาจจะต้องใช้เงินหลายสิบล้านบาท อาจจะถึง 50 ล้านบาทหรือ 80 ล้านบาทก็ได้ ตอนนี้อยู่ในระหว่างการระดมหาเงินทุนเพื่อซ่อมแซมสถาบันปรีดีให้กลับมารับใช้และเผยแพร่แนวความคิดของท่านปรีดี พนมยงค์ต่อไป
ส่วนพื้นที่ของสวนครูองุ่น มาลิก นี้จึงเป็นพื้นที่ของการรองรับงานศิลปวัฒนธรรมที่ขยายแนวทางมาจากสถาบันปรีดีฯ ในปีนี้เราใช้ชื่องานว่า “ศิลปะนานาพันธุ์ ศิลปะประชาธิปไตย” ซึ่งมีความหมายที่ชัดเจนอยู่ในตัวแล้ว มีงานกิจกรรมต่างๆ มากมาย โดยผลงานศิลปะที่อยู่ใต้ร่มไม้ภายในสวนครูองุ่น มาลิก แห่งนี้เป็นผลงานของมิตรทั้งหลายที่เป็นผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ ศิลปินสร้างสรรค์ผลงานแล้วส่งมาร่วมแสดงในงานครั้งนี้ โดยเป็นผลงานมาจากผู้สร้างสรรค์งานศิลปะทั้งส่วนกลาง(กรุงเทพฯ)และต่างจังหวัด มีผลงานจากศิลปินอายุน้อยที่สุดซึ่งมีอายุประมาณ 13 ปี ไปถึงศิลปินที่อาวุโสที่สุดอายุใกล้ๆ 80 ปี ซึ่งเราจะเห็นความหลากหลายของศิลปิน เราจึงเรียกงานศิลปะครั้งนี้ว่า “งานศิลปะนานาพันธุ์” ที่จัดขึ้นในสวน
สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการจัดงาน “ศิลปะนานาพันธุ์ ศิลปะประชาธิปไตย” ในครั้งนี้คือการเพิ่มพูนทางสติปัญญา โดยทุกๆ ครั้งของการจัดงานเราจะมีการเผยแพร่แนวความคิดทางด้านวิชาการเกี่ยวกับศิลปะนานาพันธุ์ โดยงานในปีนี้เรากำหนดเรื่องราวไว้ 2 หัวข้อจากนักวิชาการ 2 ท่าน โดยเรื่องราวจากนักวิชาการท่านแรกเป็นหัวข้อที่เกี่ยวกับศิลปะการแสดงละคอน ส่วนท่านที่ 2 จะเป็นนักวิชาการผู้มีความแม่นยำในเรื่องความรู้วิชาการเกี่ยวกับเรื่องของทัศนศิลป์ ซึ่งการแสดงปาฐกถาจากนักวิชาการท่านแรก ภายใต้หัวข้อ “สังคม การเมือง ในการละคอน” โดย ดร.ภาสกร อินทุมาร หัวหน้าสาขาวิชาการละคอน คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่วนท่านที่ 2 จะเป็นการแสดงปาฐกถาในหัวข้อ “ศิลปะกับการเมือง หลังรัฐประหาร 2557” โดย ดร.ถนอม ชาภักดี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ”
เวลา ๑๓.๐๐ น. ลงทะเบียน
เวลา ๑๓.๓๐ น. การแสดงปาฐกถาศิลปะนานาพันธุ์ หัวข้อ "สังคม การเมือง ในการละคอน" โดย ดร.ภาสกร อินทุมาร หัวหน้าสาขาวิชาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เวลา ๑๔.๔๐ น. การแสดงปาฐกถาศิลปะนานาพันธุ์ หัวข้อ "ศิลปะกับการเมือง หลังรัฐประหาร ๒๕๕๗" โดย ดร.ถนอม ชาภักดี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เวลา ๑๕.๔๐ น. นักสร้างสรรค์ศิลปะร่วมกันเปิดงาน
-การแสดงขับเพลงซอศิลปะประชาธิปไตย : จำปา แสนพรม
-การแสดงศิลปะร่วมสมัย กลุ่ม Dee-ng : กวิน พิชิตกุล
-การแสดงศิลปะร่วมสมัย กลุ่ม B-Floor : สุรัตน์ แก้วศรีคราม วสุ วรรรลยางกูร
-การแสดงละครใบ้สันติภาพ : อรรณพ กิจเกษตร
-การแสดงละครใบ้ชุด "นายกฯ ในฝัน" : วิสุทธิ์ กุศลมโนมัย
-อ่านบทกวี ดนตรี ศิลปะการแสดงสด โดย ศรีดาวเรือง , สุชาติ สวัสดิ์ศรี , ชมัยภร แสงกระจ่าง , จิตติมา ผลเสวก , นพวรรณ ตันติเวชกุล , สมพงษ์ ทวี' , มงคล เปลี่ยนบางช้าง , ชิตะวา มุนินโท , บลูด้า , ธนวัฏ ปรีชาจารย์ , ชัยวัฒน์ คำดี , อาอีฉ๊ะ แก้วนพรัตน์ , เพียง นิดเดียว , รติรัตน์ รถทอง , สาธิต รักษาศรี ฯลฯ
รับประทานอาหารร่วมกันในบรรยากาศมิตรภาพ
“เดชา รินทพล” และ “สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย” ทำหน้าที่พิธีกร
ผลงานทัศนศิลป์จากนักสร้างสรรค์ศิลปะ
จาก “ผลงานสร้างสรรค์ศิลปะ” ของ : อรอนงค์ ไทยศรีวงศ์ , ไทเรล ฮาเบอร์คอร์น , ภรณ์ทิพย์ มั่นคง ,จิตติมา ผลเสวก , นพวรรณ ตันติเวชกุล , สินีนาฏ เกษประไพ , จารุนันท์ พันธชาติ , ปิยะนุช เกตุจรูญ , จำปา แสนพรม , ฟาริดา จิราพันธุ์ , อำนาจ เย็นสบาย , พิทักษ์ ปิยะพงษ์ , จิรภัทร อังสุมาลี , เซีย ไทยรัฐ , นิพนธ์ ขันแก้ว , โชคชัย ตักโพธิ์ , ทองธัช เทพารักษ์ , สมชาย วัชระสมบัติ , เรืองศิลป์ ศรีพุทธิรัตน์ , พงษ์ศักดิ์ รักษ์ณรงค์ , สุดใจ แต่งประกอบ , ไมตรี หอมทอง , ธวัชชัย หอมทอง , สมพงษ์ ทวี' , มงคล เปลี่ยนบางช้าง , ธีระวัฒน์ มุลวิไล , สิทธิธรรม โรหิตะสุข , อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ , ภาณุ อารี พิน , สาเสาร์ เอกลักษณ์ , จุลสุคนธ์ วสุ วรรยางกูร , ชิตะวา มุนินโท , รัชชัย รุจิวิพัฒน์ , ณัฐพล คุ้มเมธา , ทองเกลือ ทองแท้ , สุรชัย เพชรแสงโรจน์ , ประมวลศรี ยอดบางเตย , รติรัตน์ รถทอง , กัญญานันท์ สมพานนอก , ปภาวรินท์ หมื่นอาษา , ประมวลสินธุ์ ยอดบางเตย
สำหรับ “นิทรรศการ” จัดแสดงตั้งแต่วันที่ ๒๘ กันยายน จนถึงวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๒