ตามคลิปนี้นะครับ ( นาทีที่ 33.38-36.39 )
“อันนี้เป็นงานของพวกผมที่เราทำ Survey กัน พยายามจะตอบปัญหาว่าคนกรุงเทพฯ ที่ผ่านมารู้สึกอย่างไรกับความมั่นคงในชีวิต เราถามไปว่าปัจจุบันท่านและครอบครัวมีความเป็นอยู่ มีชีวิตที่มั่นคงไหม ใน 5-10 ปีข้างหน้าท่านคิดว่าจะมีความมั่นคงไหม และท่านคิดว่าบุตรหลานของท่านจะมีชีวิตที่มั่นคงไหม ก็คือปัจจุบัน อนาคตอันใกล้ และอนาคตในขั้นยาว ท่านมองไปข้างหน้าแล้วท่านรู้สึกว่าชีวิตท่านจะมั่นคงหรือเปล่า คนส่วนใหญ่ที่มีฐานะเป็นชนชั้นกลางระดับบนในกรุงเทพฯ ตอบว่าไม่มั่นคง”
“และคนที่มี Profile แบบนี้ ก็มักจะตอบ Yes กับคำถามนี้ที่เราถามว่าในบางสถานการณ์การใช้ระบอบเผด็จการให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า แปลว่าอะไร แปลว่าคนที่ไม่ยึดมั่นในประชาธิปไตย 100% ก็คือคนที่รู้สึกว่าชีวิตตัวเองไม่มั่นคงในปัจจุบันและอนาคต แล้วคนพวกนี้เป็นคนที่ฐานะค่อนข้างดี” นี่คือ Life Style ของคนที่ตอบว่าชีวิตตัวเองไม่มั่นคง คือไปเที่ยวพารากอน ไปเซ็นทรัล แทนที่จะไปบิ๊กซี-โลตัส ไปเที่ยวต่างประเทศบ่อยๆ อ่านหนังสือภาษาอังกฤษได้เป็นเล่ม มีบัตรเครดิตไม่มีบัตรอิออน อย่างนี้เป็นต้น”
“นี่คือคนที่รู้สึกว่าตัวเองไม่มั่นคง แล้วก็เลยหันไปหาระบอบอำนาจนิยม แล้วคนพวกนี้มายังไง ผมจะอธิบายอย่างนี้ ทำไมคนที่ Life Style หรูหราอย่างนี้ เป็นชนชั้นกลางบนของกรุงเทพฯ ทำไมกลับรู้สึกชีวิตมันไม่มั่นคง ผมคิดว่ามันไปด้วยกันกับปรากฏการณ์เดียวทั่วโลกที่โลกมันหันขวา เพราะความท้าทายจากโลกาภิวัตน์ เช่น เศรษฐกิจมันโตช้า อันนี้เป็นงานของท่านกอบศักดิ์* เป็นคนเขียนภาพนี้เองเมื่อ 2013 เพื่อให้เห็นภาพในช่วงเวลา 10 ปีเศษๆ นี้ เรามีปัญหาที่เรียกว่า 1% Problem เช่นเดียวกับในต่างประเทศที่เจริญแล้ว”
“คือคน 1% บนสุดอัตราการเติบโตของรายได้เขาเร็วกว่าคนอื่นประมาณ 2 เท่ากว่า แน่นอนเราเข้าสู่กระบวนการที่คนงานระดับล่างค่าแรงสูงขึ้น ก็จะไล่ตามคนชั้นกลางบน อัตราการเติบโตของรายได้ของชนชั้นกลางบน ประมาณ Percentile ที่ 60 กว่าขึ้นไปมันช้ากว่าข้างล่าง แล้วมันก็ช้ากว่าข้างบน แปลว่าเขาถูกบีบจากทั้งข้างบนและข้างล่าง เข้าใจได้ว่าทำไมเขาว่าชีวิตมันไม่มั่นคง”
รศ.ดร.อภิชาติ สถิตนิรามัย อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
15/06/2562 งานเสวนา “มองไปข้างหน้าเศรษฐกิจการเมืองไทย: กับดักหรือแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์” ที่ ม.ธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)
*กอบศักดิ์ = กอบศักดิ์ ภูตระกูล ( นักเศรษฐศาสตร์ , อดีตผู้บริหาร ธ.กรุงเทพ , อดีต รมต. สำนักนายกฯ )
-----------------------------------
ถ้าถามผม..ผมฟังที่อาจารย์แกพูดแล้วนึกถึงทฤษฎีหนึ่งที่พยายามอธิบายการเมืองไทยหลังสงครามเย็น-ปัจจุบัน ที่บอกว่า ช่วงปลายสงครามเย็น ( ปลายทศวรรษ 2520s-ก่อนปี 2540 ) ช่วงนั้นเศรษฐกิจไทยพัฒนาแบบก้าวกระโดดมาก ชนชั้นกลางใหม่ๆ เกิดเพียบในช่วงนี้ ก่อนทุกอย่างจะล่มสลายในปี 2540 จากวิกฤติต้มยำกุ้ง ทีนี้พอช่วงปี 2544-2549 รัฐบาลพรรคไทยรักไทยของทักษิณ ชินวัตรเป็นนายกฯ มีนโยบายเอาใจคนรากหญ้า-กลางค่อนล่างอย่างมาก เช่น 30 บาท , กองทุนหมู่บ้าน เรียกว่ากลายเป็นนายกฯ คนแรกที่คนระดับล่างเชิดชูอย่างที่สุดนับตั้งแต่ประเทศไทยเปลี่ยนการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย
ทีนี้แม้ทักษิณจะถูกรัฐประหารไป แต่การรัฐประหารนั้นไม่อาจหยุดยั้งความหวังของรากหญ้า-กลางค่อนล่าง ต่อรัฐบาลได้อีกแล้ว พรรคการเมืองต่างๆ จึงต้องมีชุดนโยบายเอาใจคนกลุ่มนี้ซึ่งเป็นฐานเสียงส่วนใหญ่ออกมา ทั้งทางตรงที่ใช้งบประมาณโดยตรง เช่น เรียนฟรี...ปี หรืออุดหนุนรายได้ภาคเกษตร ( บางพรรคเรียกจำนำ บางพรรคเรียกประกันราคา ) ทั้งทางอ้อมที่ใช้การแก้ไขกฎหมาย หรือใช้กฎหมายที่มีอยู่แล้วในเชิงเอื้อประโยชน์คนระดับล่าง เช่น แนวคิดเปลี่ยนกฎการใช้ที่ สปก. ให้ไม่ต้องใช้เฉพาะทำเกษตร ( อาทิ เอาไปทำรีสอร์ทได้ ) หรือการเปิดจุดผ่อนผันบนทางเท้าให้ขายของ หรือการนำพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมมาจัดสรรให้เกษตรกรทำประโยชน์ ( บางพรรคเรียกโฉนดชุมชน บางพรรคเรียกโฉนดแปลงใหญ่ ) หรือการยกเลิกการเปลี่ยนรถตู้เป็นมินิบัส-ยกเลิก Taxi OK โดยให้เหตุผลด้านต้นทุนผู้ประกอบการ ( ซึ่งจำนวนมากไม่ใช่ทุนใหญ่ แต่เป็น SMEs มีรถในสังกัดไม่กี่คน หรือเป็น Freelance มีรถของตัวเองคันเดียวแล้วมาขอร่วมวิ่งในวิน )
นโยบายแบบนี้ไม่ว่าของพรรคใด สิ่งที่เกิดขึ้นคือส่งผลให้คนระดับล่างและกลางค่อนล่างทำมาหากินได้ง่ายขึ้น หาเงินเข้ากระเป๋าได้คล่องขึ้น ในขณะที่คนชั้นกลางระดับบน ไม่มีทางตามทันคนระดับบนได้ก็เครียดพอแล้ว ยังมาเจอคนระดับล่างและกลางค่อนล่างมีฐานะดีขึ้นแบบไล่กวดตามมาติดๆ จากนโยบายข้างต้นของรัฐบาลเลือกตั้งทุกพรรค แล้วก็มองว่าทำไมชนชั้นกลางบนซึ่งเสียภาษีมากกว่าชนชั้นกลางล่าง-รากหญ้า ( ที่รายได้ไม่ถึงเกณฑ์จ่าย ภงด.-หรือบางคนอาจจะถึงแต่พอรัฐไม่มีปัญญาตรวจสอบก็ทำเนียนๆ ไป ) ไม่เห็นได้ประโยชน์อะไรจากรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย เลยหันไปหาระบอบเผด็จการดีกว่า อย่างน้อยๆ บ้านเมืองก็สะอาด เป็นระเบียบ ไม่มีแม่ค้าข้างถนน ไม่มีพวกอ้างจนแล้วไปทำมาหากินแถวๆ ป่า ไม่มีพวกมาประท้วงผลผลิตการเกษตรตกต่ำให้รัฐบาลเอาภาษีไปจ่าย
( ยังไม่ต้องนับเรื่อง 30 บาท ที่คนชั้นกลางบนบอกว่าควรเปลี่ยนเป็นร่วมจ่าย พวกระดับล่างจะได้ดูแลสุขภาพบ้าง ไม่ใช่เอาแต่กินเหล้าสูบบุหรี่ หรือนโยบายที่เอื้อให้มีลูก คนชั้นกลางบนก็บ่นอีก บอกต่อไปคงมีประชากรระดับล่างที่ด้อยคุณภาพเกิดขึ้นเต็มบ้านเต็มเมือง ) ทั้งหมดนี้เลยเหมือนกับว่าคนชั้นกลางบนเจอแรงกดดันมากที่สุด แต่ถูกเหลียวแลจากรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยน้อยที่สุด เลยพาลไม่ชอบระบอบนี้ไปด้วย
คิดเห็นอย่างไรกันบ้างครับ?
TonyMao_NK51 ( ใช้แทนอมยิ้มที่ถูกแบน )
คิดเห็นอย่างไร?นักวิชาการบอกเพราะคนชั้นกลางบนโตช้าว่าชั้นกลางล่าง-รากหญ้า เลยพาลเบื่อระบอบประชาธิปไตยไปด้วย
“อันนี้เป็นงานของพวกผมที่เราทำ Survey กัน พยายามจะตอบปัญหาว่าคนกรุงเทพฯ ที่ผ่านมารู้สึกอย่างไรกับความมั่นคงในชีวิต เราถามไปว่าปัจจุบันท่านและครอบครัวมีความเป็นอยู่ มีชีวิตที่มั่นคงไหม ใน 5-10 ปีข้างหน้าท่านคิดว่าจะมีความมั่นคงไหม และท่านคิดว่าบุตรหลานของท่านจะมีชีวิตที่มั่นคงไหม ก็คือปัจจุบัน อนาคตอันใกล้ และอนาคตในขั้นยาว ท่านมองไปข้างหน้าแล้วท่านรู้สึกว่าชีวิตท่านจะมั่นคงหรือเปล่า คนส่วนใหญ่ที่มีฐานะเป็นชนชั้นกลางระดับบนในกรุงเทพฯ ตอบว่าไม่มั่นคง”
“และคนที่มี Profile แบบนี้ ก็มักจะตอบ Yes กับคำถามนี้ที่เราถามว่าในบางสถานการณ์การใช้ระบอบเผด็จการให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า แปลว่าอะไร แปลว่าคนที่ไม่ยึดมั่นในประชาธิปไตย 100% ก็คือคนที่รู้สึกว่าชีวิตตัวเองไม่มั่นคงในปัจจุบันและอนาคต แล้วคนพวกนี้เป็นคนที่ฐานะค่อนข้างดี” นี่คือ Life Style ของคนที่ตอบว่าชีวิตตัวเองไม่มั่นคง คือไปเที่ยวพารากอน ไปเซ็นทรัล แทนที่จะไปบิ๊กซี-โลตัส ไปเที่ยวต่างประเทศบ่อยๆ อ่านหนังสือภาษาอังกฤษได้เป็นเล่ม มีบัตรเครดิตไม่มีบัตรอิออน อย่างนี้เป็นต้น”
“นี่คือคนที่รู้สึกว่าตัวเองไม่มั่นคง แล้วก็เลยหันไปหาระบอบอำนาจนิยม แล้วคนพวกนี้มายังไง ผมจะอธิบายอย่างนี้ ทำไมคนที่ Life Style หรูหราอย่างนี้ เป็นชนชั้นกลางบนของกรุงเทพฯ ทำไมกลับรู้สึกชีวิตมันไม่มั่นคง ผมคิดว่ามันไปด้วยกันกับปรากฏการณ์เดียวทั่วโลกที่โลกมันหันขวา เพราะความท้าทายจากโลกาภิวัตน์ เช่น เศรษฐกิจมันโตช้า อันนี้เป็นงานของท่านกอบศักดิ์* เป็นคนเขียนภาพนี้เองเมื่อ 2013 เพื่อให้เห็นภาพในช่วงเวลา 10 ปีเศษๆ นี้ เรามีปัญหาที่เรียกว่า 1% Problem เช่นเดียวกับในต่างประเทศที่เจริญแล้ว”
“คือคน 1% บนสุดอัตราการเติบโตของรายได้เขาเร็วกว่าคนอื่นประมาณ 2 เท่ากว่า แน่นอนเราเข้าสู่กระบวนการที่คนงานระดับล่างค่าแรงสูงขึ้น ก็จะไล่ตามคนชั้นกลางบน อัตราการเติบโตของรายได้ของชนชั้นกลางบน ประมาณ Percentile ที่ 60 กว่าขึ้นไปมันช้ากว่าข้างล่าง แล้วมันก็ช้ากว่าข้างบน แปลว่าเขาถูกบีบจากทั้งข้างบนและข้างล่าง เข้าใจได้ว่าทำไมเขาว่าชีวิตมันไม่มั่นคง”
รศ.ดร.อภิชาติ สถิตนิรามัย อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
15/06/2562 งานเสวนา “มองไปข้างหน้าเศรษฐกิจการเมืองไทย: กับดักหรือแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์” ที่ ม.ธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)
*กอบศักดิ์ = กอบศักดิ์ ภูตระกูล ( นักเศรษฐศาสตร์ , อดีตผู้บริหาร ธ.กรุงเทพ , อดีต รมต. สำนักนายกฯ )
-----------------------------------
ถ้าถามผม..ผมฟังที่อาจารย์แกพูดแล้วนึกถึงทฤษฎีหนึ่งที่พยายามอธิบายการเมืองไทยหลังสงครามเย็น-ปัจจุบัน ที่บอกว่า ช่วงปลายสงครามเย็น ( ปลายทศวรรษ 2520s-ก่อนปี 2540 ) ช่วงนั้นเศรษฐกิจไทยพัฒนาแบบก้าวกระโดดมาก ชนชั้นกลางใหม่ๆ เกิดเพียบในช่วงนี้ ก่อนทุกอย่างจะล่มสลายในปี 2540 จากวิกฤติต้มยำกุ้ง ทีนี้พอช่วงปี 2544-2549 รัฐบาลพรรคไทยรักไทยของทักษิณ ชินวัตรเป็นนายกฯ มีนโยบายเอาใจคนรากหญ้า-กลางค่อนล่างอย่างมาก เช่น 30 บาท , กองทุนหมู่บ้าน เรียกว่ากลายเป็นนายกฯ คนแรกที่คนระดับล่างเชิดชูอย่างที่สุดนับตั้งแต่ประเทศไทยเปลี่ยนการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย
ทีนี้แม้ทักษิณจะถูกรัฐประหารไป แต่การรัฐประหารนั้นไม่อาจหยุดยั้งความหวังของรากหญ้า-กลางค่อนล่าง ต่อรัฐบาลได้อีกแล้ว พรรคการเมืองต่างๆ จึงต้องมีชุดนโยบายเอาใจคนกลุ่มนี้ซึ่งเป็นฐานเสียงส่วนใหญ่ออกมา ทั้งทางตรงที่ใช้งบประมาณโดยตรง เช่น เรียนฟรี...ปี หรืออุดหนุนรายได้ภาคเกษตร ( บางพรรคเรียกจำนำ บางพรรคเรียกประกันราคา ) ทั้งทางอ้อมที่ใช้การแก้ไขกฎหมาย หรือใช้กฎหมายที่มีอยู่แล้วในเชิงเอื้อประโยชน์คนระดับล่าง เช่น แนวคิดเปลี่ยนกฎการใช้ที่ สปก. ให้ไม่ต้องใช้เฉพาะทำเกษตร ( อาทิ เอาไปทำรีสอร์ทได้ ) หรือการเปิดจุดผ่อนผันบนทางเท้าให้ขายของ หรือการนำพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมมาจัดสรรให้เกษตรกรทำประโยชน์ ( บางพรรคเรียกโฉนดชุมชน บางพรรคเรียกโฉนดแปลงใหญ่ ) หรือการยกเลิกการเปลี่ยนรถตู้เป็นมินิบัส-ยกเลิก Taxi OK โดยให้เหตุผลด้านต้นทุนผู้ประกอบการ ( ซึ่งจำนวนมากไม่ใช่ทุนใหญ่ แต่เป็น SMEs มีรถในสังกัดไม่กี่คน หรือเป็น Freelance มีรถของตัวเองคันเดียวแล้วมาขอร่วมวิ่งในวิน )
นโยบายแบบนี้ไม่ว่าของพรรคใด สิ่งที่เกิดขึ้นคือส่งผลให้คนระดับล่างและกลางค่อนล่างทำมาหากินได้ง่ายขึ้น หาเงินเข้ากระเป๋าได้คล่องขึ้น ในขณะที่คนชั้นกลางระดับบน ไม่มีทางตามทันคนระดับบนได้ก็เครียดพอแล้ว ยังมาเจอคนระดับล่างและกลางค่อนล่างมีฐานะดีขึ้นแบบไล่กวดตามมาติดๆ จากนโยบายข้างต้นของรัฐบาลเลือกตั้งทุกพรรค แล้วก็มองว่าทำไมชนชั้นกลางบนซึ่งเสียภาษีมากกว่าชนชั้นกลางล่าง-รากหญ้า ( ที่รายได้ไม่ถึงเกณฑ์จ่าย ภงด.-หรือบางคนอาจจะถึงแต่พอรัฐไม่มีปัญญาตรวจสอบก็ทำเนียนๆ ไป ) ไม่เห็นได้ประโยชน์อะไรจากรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย เลยหันไปหาระบอบเผด็จการดีกว่า อย่างน้อยๆ บ้านเมืองก็สะอาด เป็นระเบียบ ไม่มีแม่ค้าข้างถนน ไม่มีพวกอ้างจนแล้วไปทำมาหากินแถวๆ ป่า ไม่มีพวกมาประท้วงผลผลิตการเกษตรตกต่ำให้รัฐบาลเอาภาษีไปจ่าย
( ยังไม่ต้องนับเรื่อง 30 บาท ที่คนชั้นกลางบนบอกว่าควรเปลี่ยนเป็นร่วมจ่าย พวกระดับล่างจะได้ดูแลสุขภาพบ้าง ไม่ใช่เอาแต่กินเหล้าสูบบุหรี่ หรือนโยบายที่เอื้อให้มีลูก คนชั้นกลางบนก็บ่นอีก บอกต่อไปคงมีประชากรระดับล่างที่ด้อยคุณภาพเกิดขึ้นเต็มบ้านเต็มเมือง ) ทั้งหมดนี้เลยเหมือนกับว่าคนชั้นกลางบนเจอแรงกดดันมากที่สุด แต่ถูกเหลียวแลจากรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยน้อยที่สุด เลยพาลไม่ชอบระบอบนี้ไปด้วย
คิดเห็นอย่างไรกันบ้างครับ?
TonyMao_NK51 ( ใช้แทนอมยิ้มที่ถูกแบน )