คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 68
"จากปัญหาต่างๆ ที่ผมพอจะนึกออก ผมจึงอยากจะถามความคิดเห็นครับ ว่าในฐานะบัณฑิตที่จบจากราชภัฏ ธรรมดาคนหนึ่ง
จะสามารถทำอะไรได้บ้าง หรือเราควร ปรับตัวอย่างไร เพื่อให้พวกเราเป็นที่ยอมรับของบริษัทต่างๆ
ไม่ต่างจากมหาวิทยาลัยอื่นๆครับ ขอบคุณครับ"
จากคำถามข้างต้น ถ้าจะเปลี่ยนเด็กส่วนใหญ่ให้มีคุณภาพ เป็นเรื่องที่ยากมากครับ เพราะถ้าจะทำจริงๆ ก็ต้องเปลี่ยนเกือบทั้งระบบครับ
ตั้งแต่ ระบบคัดเลือกเด็ก ระบบการเรียนการสอน หลักสูตรการศึกษา และอื่นๆ
เนื่องจากเด็กราชภัฎ นั้นส่วนใหญ่(ไม่ทุกคน) พื้นฐานความรู้ไม่ดีเท่ามหาลัยรัฐครับ พอเข้าเรียนมหาลัยเจอสภาพแวดล้อมในด้านต่างๆที่สู้มหาลัยรัฐ หรือเอกชนบางแห่งไม่ได้ ทำให้เด็กที่จบมาส่วนใหญ่ไม่ได้คุณภาพเท่าที่อื่นๆ
บริษัทที่มีประสบการณ์การรับเด็กราชภัฎเข้าทำงานก็ได้รับประสบการณ์ไม่ดี โดยเฉพาะบริษัทที่ต้องใช้ความรู้ความชำนาญในวิชาชีพที่เรียนมา เพื่อทำงานให้ได้ประสิทธิภาพ ก็จะรู้สึกว่าเด็กราชภัฎส่วนใหญ่ทำได้ไม่ดีเท่ามหาลัยรัฐ หรือเอกชนบางแห่ง
เกีอบทุกภาคส่วนในการเรียนมีปัญหา จึงทำให้นักศึกษาที่เรียนตามระบบของราชภัฎแห่งนั้นไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร การที่จะไปแก้ปัญหาที่ระบบ
การศึกษา ก็ดุจะเป็นเรื่องที่ใหญ่โต และ ใช้เวลา สรุปแล้วเป็นเรื่องยากสำหรับ นักศึกษาอย่างเราๆ แต่ถ้าลองมาดูที่ตัวบุคคล กลับเห็นว่าเป็น
เรื่องที่เป็นไปได้ และไม่ยากมากถ้าตั้งใจจริง
ยกตัวอย่าง ถ้าเราเรียนวิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ ถ้าเราเรียนในราชภัฎตามหลักสูตรเค้าสอนอะไรเราก็เรียนไป แต่เราต้องรู้และยอมรับว่าวิชาการในราชภัฎไม่เพียงพอกับการทำงาน และสิ่งที่ต้องทำคือ เราต้องหาความรู้เพิ่มเติมในสายวิชาที่เราเรียนหรือเราอยากจะเป็นในอนาคต เช่นพอเข้าเรียนปีหนึ่ง ถ้าเรียนวิทคอม เราก็เริ่มศึกษาการเขียนโปรแกรม ภาษาซี จาวา php ดาต้าเบส และความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และทำการฝึกฝน ทำโปรเจ็ก application หลายๆตัว ตั้งแต่ง่ายไปจนยาก แล้วเก็บเป็นพอร์ตไว้ พอทำได้ซักพักเริ่มเก่งแล้ว จะลองรับงานฟรีแลนซ์บ้างที่ไม่ยากเกินตัว ก็พอจะหาเงินจ่ายค่าเทอมได้อยู่ ถ้าจบปี 4 เรามี application ซัก 10-20 ตัว ผมรับรองว่า คุณหางานในประเทศนี้ได้ไม่ยาก และไม่แพ้คนที่จบจากมหาลัยรัฐด้วย การหางานในปัจจุบัน และในอนาคตอันใกล้ คือนักศึกษาที่จะทำงาน ต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นจริงๆ มีความรู้ ทัศนะคติที่ดี การอิงวุฒิการศึกษาจะน้อยลงตามเทรนของโลก ขอให้คุณมีความรู้ความชำนาญในวิชาชีพ คุณก็จะหางานได้ไม่ยาก
สาเหตุสำคัญของการไม่เป็นที่ยอมรับ และหางานได้ยากนั้น เกิดจากการที่เราไม่มีความรู้ความสามารถเพียงพอ เราจึงต้องมาแก้ที่ต้นเหตุ ถึงแม้ว่าจะรู้วิธีการว่าทำอย่างไรถึงจะดี แต่ก็ใช่ว่าจะทำได้ง่ายๆ เพราะต้องอาศัยการศึกษาหาความรู้ที่ต่อเนื่อง และเป็นระยะเวลาหลายปี
แต่ถ้าทำได้ก็ตอบปัญหาของเจ้าของกระทู้ได้แน่นอน แต่อยากจะบอกว่าวิธีนี้ง่ายสุดสำหรับเด็กเรียนราชภัฎ ถ้าจะแก้ทั้งระบบ คงยาก แต่ถ้าทำเป็นคนๆไป ก็มีหลายคนที่ทำได้แล้ว
การศึกษาไม่ได้มีอยู่ในมหาลัยเพียงอย่างเดียว ปัจจุบันนี้มีความรู้ฟรีๆ ได้มาง่ายๆ มีเยอะแยะมากมาย แต่อยู่ที่เราจะมีความมานะอดทน พยายามนำความรู้เหล่านั้นใส่ตัวและฝึกฝนจนเก่งได้อย่างไร เราสามารถสร้างการยอมรับได้ด้วยตัวเราเอง สร้างให้ตัวเองมีความรู้มีคุณค่า ไม่ต้องอิงสถาบันใดๆเลย
จะสามารถทำอะไรได้บ้าง หรือเราควร ปรับตัวอย่างไร เพื่อให้พวกเราเป็นที่ยอมรับของบริษัทต่างๆ
ไม่ต่างจากมหาวิทยาลัยอื่นๆครับ ขอบคุณครับ"
จากคำถามข้างต้น ถ้าจะเปลี่ยนเด็กส่วนใหญ่ให้มีคุณภาพ เป็นเรื่องที่ยากมากครับ เพราะถ้าจะทำจริงๆ ก็ต้องเปลี่ยนเกือบทั้งระบบครับ
ตั้งแต่ ระบบคัดเลือกเด็ก ระบบการเรียนการสอน หลักสูตรการศึกษา และอื่นๆ
เนื่องจากเด็กราชภัฎ นั้นส่วนใหญ่(ไม่ทุกคน) พื้นฐานความรู้ไม่ดีเท่ามหาลัยรัฐครับ พอเข้าเรียนมหาลัยเจอสภาพแวดล้อมในด้านต่างๆที่สู้มหาลัยรัฐ หรือเอกชนบางแห่งไม่ได้ ทำให้เด็กที่จบมาส่วนใหญ่ไม่ได้คุณภาพเท่าที่อื่นๆ
บริษัทที่มีประสบการณ์การรับเด็กราชภัฎเข้าทำงานก็ได้รับประสบการณ์ไม่ดี โดยเฉพาะบริษัทที่ต้องใช้ความรู้ความชำนาญในวิชาชีพที่เรียนมา เพื่อทำงานให้ได้ประสิทธิภาพ ก็จะรู้สึกว่าเด็กราชภัฎส่วนใหญ่ทำได้ไม่ดีเท่ามหาลัยรัฐ หรือเอกชนบางแห่ง
เกีอบทุกภาคส่วนในการเรียนมีปัญหา จึงทำให้นักศึกษาที่เรียนตามระบบของราชภัฎแห่งนั้นไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร การที่จะไปแก้ปัญหาที่ระบบ
การศึกษา ก็ดุจะเป็นเรื่องที่ใหญ่โต และ ใช้เวลา สรุปแล้วเป็นเรื่องยากสำหรับ นักศึกษาอย่างเราๆ แต่ถ้าลองมาดูที่ตัวบุคคล กลับเห็นว่าเป็น
เรื่องที่เป็นไปได้ และไม่ยากมากถ้าตั้งใจจริง
ยกตัวอย่าง ถ้าเราเรียนวิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ ถ้าเราเรียนในราชภัฎตามหลักสูตรเค้าสอนอะไรเราก็เรียนไป แต่เราต้องรู้และยอมรับว่าวิชาการในราชภัฎไม่เพียงพอกับการทำงาน และสิ่งที่ต้องทำคือ เราต้องหาความรู้เพิ่มเติมในสายวิชาที่เราเรียนหรือเราอยากจะเป็นในอนาคต เช่นพอเข้าเรียนปีหนึ่ง ถ้าเรียนวิทคอม เราก็เริ่มศึกษาการเขียนโปรแกรม ภาษาซี จาวา php ดาต้าเบส และความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และทำการฝึกฝน ทำโปรเจ็ก application หลายๆตัว ตั้งแต่ง่ายไปจนยาก แล้วเก็บเป็นพอร์ตไว้ พอทำได้ซักพักเริ่มเก่งแล้ว จะลองรับงานฟรีแลนซ์บ้างที่ไม่ยากเกินตัว ก็พอจะหาเงินจ่ายค่าเทอมได้อยู่ ถ้าจบปี 4 เรามี application ซัก 10-20 ตัว ผมรับรองว่า คุณหางานในประเทศนี้ได้ไม่ยาก และไม่แพ้คนที่จบจากมหาลัยรัฐด้วย การหางานในปัจจุบัน และในอนาคตอันใกล้ คือนักศึกษาที่จะทำงาน ต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นจริงๆ มีความรู้ ทัศนะคติที่ดี การอิงวุฒิการศึกษาจะน้อยลงตามเทรนของโลก ขอให้คุณมีความรู้ความชำนาญในวิชาชีพ คุณก็จะหางานได้ไม่ยาก
สาเหตุสำคัญของการไม่เป็นที่ยอมรับ และหางานได้ยากนั้น เกิดจากการที่เราไม่มีความรู้ความสามารถเพียงพอ เราจึงต้องมาแก้ที่ต้นเหตุ ถึงแม้ว่าจะรู้วิธีการว่าทำอย่างไรถึงจะดี แต่ก็ใช่ว่าจะทำได้ง่ายๆ เพราะต้องอาศัยการศึกษาหาความรู้ที่ต่อเนื่อง และเป็นระยะเวลาหลายปี
แต่ถ้าทำได้ก็ตอบปัญหาของเจ้าของกระทู้ได้แน่นอน แต่อยากจะบอกว่าวิธีนี้ง่ายสุดสำหรับเด็กเรียนราชภัฎ ถ้าจะแก้ทั้งระบบ คงยาก แต่ถ้าทำเป็นคนๆไป ก็มีหลายคนที่ทำได้แล้ว
การศึกษาไม่ได้มีอยู่ในมหาลัยเพียงอย่างเดียว ปัจจุบันนี้มีความรู้ฟรีๆ ได้มาง่ายๆ มีเยอะแยะมากมาย แต่อยู่ที่เราจะมีความมานะอดทน พยายามนำความรู้เหล่านั้นใส่ตัวและฝึกฝนจนเก่งได้อย่างไร เราสามารถสร้างการยอมรับได้ด้วยตัวเราเอง สร้างให้ตัวเองมีความรู้มีคุณค่า ไม่ต้องอิงสถาบันใดๆเลย
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 79
จากประสบการณ์ตรงในฐานะเคยเข้าไปเป็นอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) จังหวัดไม่ไกลจาก กทม.
โดยสอนนักศึกษา (ภาคปกติ) คือ พวกที่เรียนอย่างเดียว ในช่วงวัน-เวลาราชการ
และเคยเป็นอาจารย์(พิเศษ) ม.เอกชนย่านชานกรุงฯ โดยสอนนักศึกษา (ภาคพิเศษ)
คือ คนที่จบในระดับ ปวช./ปวส. ส่วนใหญ่ ร้อยละ 95 ทำงานแล้ว และมาเรียนต่อเพื่อให้ได้ ป.ตรี ในวันหยุดเสาร์อาทิตย์
โดยผมเองสอนในรายวิชาที่คล้ายคลึงกันทั้งสองแห่งแตกต่างกันในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ
สิ่งที่ผมพบในตัวนักศึกษาทั้งสองแห่ง คือ ความรู้ความสามารถของนักศึกษาที่แตกต่างกันมาก
เพราะเมื่อดูจากผลการเรียนที่ผมเองใช้ข้อสอบแบบคู่ขนาน (ความยาก-ง่ายพอๆกัน และคล้ายคลึงกันมาก)
อีกทั้ง ผมใช้เกณฑ์ในการพิจารณาและการตรวจเดียวกันกับนักศึกษาทั้งสองกลุ่ม ผลคือ
เด็ก มรภ. มีผลการเรียนที่จัดว่าค่อนข้างน้อย คือ มีช้างเผือกได้ A สัก 1 หรือ 2 คน ที่เหลือ มี B และ C บ้างแต่ไม่มาก แต่กลับไปกองกันที่ D+ และ D ประมาณเกินครึ่งห้อง ถ้านำผลการเรียนมาพล็อตกราฟจะได้ประมาณภาพนี้

ส่วนนักศึกษา ม.เอกชน ทำได้ปกติ คือ มีทุกเกรดกระจายตัวในลักษณะโค้งปกติ คือ เกรด A D F มีอยู่บ้างแต่น้อย ส่วนใหญ่เกาะที่ B และ C
หากพล็อตกราฟจะได้แบบนี้ (ซึ่งถือว่าถูกหลักการวัดและประเมินผลปกติทั่วไป)

เมื่อผลการเรียนออกมาเช่นนี้ทำให้ผมต้องปรับวิธีการสอนและวิธีการสอบ คือ
ลดคุณภาพทั้งสองอย่างข้างต้นลงมาให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถของผู้เรียน
นี่ล่ะครับ ตัวอย่างคุณภาพ นศ. ของ มรภ.
ซึ่งหากวิเคราะห์ว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น คงหนีไม่พ้น ผลจากการคัดเลือกคนเข้ามาเรียนของ มรภ.
ต้องยอมรับว่าเด็กเก่งจากโรงเรียนดังๆ ในจังหวัดใหญ่ มักมุ่งเข้า ม.ปิด ดังๆ
ซึ่งกลุ่มที่เหลือจากข้างต้นก็หนีไม่พ้นที่จะต้องไปที่ มรภ. เพราะแข่งขันไม่ไหว
ในขณะที่ มรภ. เองก็อยู่ในฐานะที่เลือกไม่ได้ เพราะจำนวนเด็กที่เกิดขึ้นน้อยลงทุกวัน มีเท่าไรก็ต้องรับมาหมด
แต่ด้วยความเคารพนะครับเท่าที่ไปสัมผัสมานักศึกษาที่เก่ง ขยัน ตั้งใจเรียน อดทน มีความมุมานะ ก็มีอยู่แต่อาจไม่มากนัก
ส่งผลให้อาจารย์ต้องปรับเนิ้อหาและวิธีการสอนให้เหมาะกับผู้เรียนที่เป็นคนหมู่มาก
อีกทั้ง ปัญหาการผลักดันของภาครัฐที่ส่งมหาวิทยาลัยรัฐทั่วประเทศออกนอกระบบ ส่งผลให้ ม.ต่าง ๆ ต้องหารายได้เอง
นั่นยิ่งส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่สูงมากในระดับอุดมศึกษา คือ ม.รัฐ ดังๆ เปิดรับ นศ. ในภาคบ่ายและค่ำ เพื่อหารายได้เข้ามหาลัย
ส่งผลให้เด็กหัวปานกลางแต่ฐานะทางบ้านดีไหลเข้าสู่ ม.รัฐที่มีชื่อเสียงได้อีกช่องทางหนึ่ง
นั่นยิ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการคัดคนเข้าเรียนของ มรภ. มากเข้าไปอีก
นี่ยังไม่รวมถึงปัญหาสมองไหลของอาจารย์ มรภ. เพราะอาจารย์ท่านใดเก่ง มีความสามารถมากๆ ก็อาจถูกดึงตัวไปยังมหาลัยรัฐชื่อดังอีกต่อหนึ่ง
เหล่านี้เกิดจากการวิเคราะห์ที่ได้จากประสบการณ์ตรงของผมครับ ซึ่งหากผิด/ถูกประการใดก็ต้องขออภัย
เพราะมาจากมุมมองและประสบการณ์แคบๆ ของผมคนเดียว
และต้องขออภัยหากเนื้อหาอาจไม่ถูกใจใครหลายๆ ท่าน ต้องกราบขออภัยเป็นอย่างยิ่งครับ
ด้วยความรักและเคารพ มรภ. (อดีต) ที่ทำงานของผม
โดยสอนนักศึกษา (ภาคปกติ) คือ พวกที่เรียนอย่างเดียว ในช่วงวัน-เวลาราชการ
และเคยเป็นอาจารย์(พิเศษ) ม.เอกชนย่านชานกรุงฯ โดยสอนนักศึกษา (ภาคพิเศษ)
คือ คนที่จบในระดับ ปวช./ปวส. ส่วนใหญ่ ร้อยละ 95 ทำงานแล้ว และมาเรียนต่อเพื่อให้ได้ ป.ตรี ในวันหยุดเสาร์อาทิตย์
โดยผมเองสอนในรายวิชาที่คล้ายคลึงกันทั้งสองแห่งแตกต่างกันในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ
สิ่งที่ผมพบในตัวนักศึกษาทั้งสองแห่ง คือ ความรู้ความสามารถของนักศึกษาที่แตกต่างกันมาก
เพราะเมื่อดูจากผลการเรียนที่ผมเองใช้ข้อสอบแบบคู่ขนาน (ความยาก-ง่ายพอๆกัน และคล้ายคลึงกันมาก)
อีกทั้ง ผมใช้เกณฑ์ในการพิจารณาและการตรวจเดียวกันกับนักศึกษาทั้งสองกลุ่ม ผลคือ
เด็ก มรภ. มีผลการเรียนที่จัดว่าค่อนข้างน้อย คือ มีช้างเผือกได้ A สัก 1 หรือ 2 คน ที่เหลือ มี B และ C บ้างแต่ไม่มาก แต่กลับไปกองกันที่ D+ และ D ประมาณเกินครึ่งห้อง ถ้านำผลการเรียนมาพล็อตกราฟจะได้ประมาณภาพนี้

ส่วนนักศึกษา ม.เอกชน ทำได้ปกติ คือ มีทุกเกรดกระจายตัวในลักษณะโค้งปกติ คือ เกรด A D F มีอยู่บ้างแต่น้อย ส่วนใหญ่เกาะที่ B และ C
หากพล็อตกราฟจะได้แบบนี้ (ซึ่งถือว่าถูกหลักการวัดและประเมินผลปกติทั่วไป)

เมื่อผลการเรียนออกมาเช่นนี้ทำให้ผมต้องปรับวิธีการสอนและวิธีการสอบ คือ
ลดคุณภาพทั้งสองอย่างข้างต้นลงมาให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถของผู้เรียน
นี่ล่ะครับ ตัวอย่างคุณภาพ นศ. ของ มรภ.
ซึ่งหากวิเคราะห์ว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น คงหนีไม่พ้น ผลจากการคัดเลือกคนเข้ามาเรียนของ มรภ.
ต้องยอมรับว่าเด็กเก่งจากโรงเรียนดังๆ ในจังหวัดใหญ่ มักมุ่งเข้า ม.ปิด ดังๆ
ซึ่งกลุ่มที่เหลือจากข้างต้นก็หนีไม่พ้นที่จะต้องไปที่ มรภ. เพราะแข่งขันไม่ไหว
ในขณะที่ มรภ. เองก็อยู่ในฐานะที่เลือกไม่ได้ เพราะจำนวนเด็กที่เกิดขึ้นน้อยลงทุกวัน มีเท่าไรก็ต้องรับมาหมด
แต่ด้วยความเคารพนะครับเท่าที่ไปสัมผัสมานักศึกษาที่เก่ง ขยัน ตั้งใจเรียน อดทน มีความมุมานะ ก็มีอยู่แต่อาจไม่มากนัก
ส่งผลให้อาจารย์ต้องปรับเนิ้อหาและวิธีการสอนให้เหมาะกับผู้เรียนที่เป็นคนหมู่มาก
อีกทั้ง ปัญหาการผลักดันของภาครัฐที่ส่งมหาวิทยาลัยรัฐทั่วประเทศออกนอกระบบ ส่งผลให้ ม.ต่าง ๆ ต้องหารายได้เอง
นั่นยิ่งส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่สูงมากในระดับอุดมศึกษา คือ ม.รัฐ ดังๆ เปิดรับ นศ. ในภาคบ่ายและค่ำ เพื่อหารายได้เข้ามหาลัย
ส่งผลให้เด็กหัวปานกลางแต่ฐานะทางบ้านดีไหลเข้าสู่ ม.รัฐที่มีชื่อเสียงได้อีกช่องทางหนึ่ง
นั่นยิ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการคัดคนเข้าเรียนของ มรภ. มากเข้าไปอีก
นี่ยังไม่รวมถึงปัญหาสมองไหลของอาจารย์ มรภ. เพราะอาจารย์ท่านใดเก่ง มีความสามารถมากๆ ก็อาจถูกดึงตัวไปยังมหาลัยรัฐชื่อดังอีกต่อหนึ่ง
เหล่านี้เกิดจากการวิเคราะห์ที่ได้จากประสบการณ์ตรงของผมครับ ซึ่งหากผิด/ถูกประการใดก็ต้องขออภัย
เพราะมาจากมุมมองและประสบการณ์แคบๆ ของผมคนเดียว
และต้องขออภัยหากเนื้อหาอาจไม่ถูกใจใครหลายๆ ท่าน ต้องกราบขออภัยเป็นอย่างยิ่งครับ
ด้วยความรักและเคารพ มรภ. (อดีต) ที่ทำงานของผม
ความคิดเห็นที่ 20
จขกท. อย่าลบนะครับ ผมเป็น อ. ราชภัฏ ทั้งความเห็นคุณและความเห็นทุกท่านในนี้เป็นประโยชน์มาก การเรียนการสอนทุกวันนี้มันมีปัญหาแลบนี่จริง ๆ เพราะ
1. ยอดรับทุกมหาวิทยลัยรวมกันมากกว่าจำนวนคนสมัครเรียนต่อ
2. อัตราการเกิดน้อย
3. เทคโนโลยีและองค์ความรู้มันไปเร็วกว่าอาจารย์
มหาวิทยาลัยทุกแห่ง ไม่ใช่ราชภัฏ ต้องปฏิวัติ ไม่ใช่แค่ปรับปรุงหลักสูตร เพียงแต่ราชภัฏจะได้รับผลกระทบมากเป็นลำดับต้นๆ
ปล. หากพิมพ์ผิดขออภัยนะครับ พิมพ์บนรถเมล์ แบบด่วนๆ 555
1. ยอดรับทุกมหาวิทยลัยรวมกันมากกว่าจำนวนคนสมัครเรียนต่อ
2. อัตราการเกิดน้อย
3. เทคโนโลยีและองค์ความรู้มันไปเร็วกว่าอาจารย์
มหาวิทยาลัยทุกแห่ง ไม่ใช่ราชภัฏ ต้องปฏิวัติ ไม่ใช่แค่ปรับปรุงหลักสูตร เพียงแต่ราชภัฏจะได้รับผลกระทบมากเป็นลำดับต้นๆ
ปล. หากพิมพ์ผิดขออภัยนะครับ พิมพ์บนรถเมล์ แบบด่วนๆ 555
ความคิดเห็นที่ 18
Q: จะทำอย่างไรให้บัณฑิตที่จบจากราชภัฏเป็นที่ยอมรับของบริษัทต่างๆ
A: ผลิตคนแบบคุณจขกท.ให้ได้เยอะๆครับ ให้วิเคราะห์เป็น กล้าออกความเห็น กล้าลงมือทำในสิ่งที่จำเป็นแม้อยู่นอกเหนือคำสั่ง
คนที่ไม่กล้าคิดไม่กล้าทำ ควรจ้างด้วยวุฒิป.ตรีหรือไม่ล่ะครับ แล้วปัจจุบันนี้เด็กจบมาเป็นแบบไหนก็รู้กัน
A: ผลิตคนแบบคุณจขกท.ให้ได้เยอะๆครับ ให้วิเคราะห์เป็น กล้าออกความเห็น กล้าลงมือทำในสิ่งที่จำเป็นแม้อยู่นอกเหนือคำสั่ง
คนที่ไม่กล้าคิดไม่กล้าทำ ควรจ้างด้วยวุฒิป.ตรีหรือไม่ล่ะครับ แล้วปัจจุบันนี้เด็กจบมาเป็นแบบไหนก็รู้กัน
แสดงความคิดเห็น
จะทำอย่างไรให้บัณฑิตที่จบจากราชภัฏเป็นที่ยอมรับของบริษัทต่างๆ
ผมเลยลองมาวิเคราะห์ออกมาเป็นข้อๆ ว่า แล้วสาเหตุที่เขาไม่ยอมรับบุคลากรจากมหาลัยราชภัฏ เป็นเพราะเหตุใด? ในฐานะ บัณฑิตคนหนึ่งที่จบจากราชภัฏผมเลยตั้งข้อสังเกตไว้ดังนี้
1. ระบบการเรียนการสอน
เนื่องจากที่นี่เปิดโอกาสให้ นักศึกษาที่มาจาก อาชีวะได้เรียนด้วย ต่างจากมหาวิทยาลัยบางแห่งที่ สาขานี้ๆ
เปิดให้เฉพาะนักเรียนที่จบ ม.6 สาย..... เกรดขึ้นต่ำ..... (คุณสมบัติรับตรง) เท่านั้น เพราะฉะนั้นจึงมีเด็กจากสายอาชีพปะปนมามากมาย
ผมขอยกตัวอย่าง ในวิชาคณิตศาสตร์ตัวหนึ่ง เนื้อหา การเรียนการสอน สำหรับเด็กที่จบสายวิทย์-คณิต คืออะไรที่ง่าย (ความรู้ประมาณ ม.4 ม.5) บางคนไม่ตั้งใจเรียนเท่าไหร่ก็ทำตะแนนได้สูง (สังเกตว่าพวกนั้นจะจบมาจากโรงเรียนชื่อดังประจำจังหวัด) แต่สำหรับเด็กอาชีวะหลายๆคน ถึงจะตั้งใจเรียนมากแค่ไหน ก็ยังไม่เข้าใจ เป็นปัญหาความรู้พื้นฐาน ที่อาจารย์ก็จะต้องมารอนักศึกษากลุ่มนี้ การจะก้าวไปสู่เนื้อหาที่ยากขึ้น (ระดับอุดมศึกษา) เทียบเท่ามหาลัยอื่น จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก
ผลสรุปในวิชานั้นมีนักศึกษาที่ตก (เกรด E เดี๋ยวผมจะขยายความเกรดตัวนี้ให้ฟังในข้อที่ 2.) ประมาณครึ่ง Class
ในวิธีการตัดเกรดแบบ อิงกลุ่ม คือใช้คะแนนของทั้งคลาสมาเรียงแล้วตัดเกรด คนที่ได้คะแนนสูงสุดได้ A ไล่เรียงลงมาเรื่อยๆ จนถึง E (ตก)
มีบางวิชาที่อาจารย์ พยายามรักษามาตราฐานของวิชาไว้ ให้เทียบเท่ามหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆ อาจารย์มีความรู้-ความสามารถ แต่สิ่งที่ออกมาคือ เนื้อหากลับยากเกินไปสำหรับนักศึกษาราชภัฏ (ตัดเกรดตามจริงมีนศ.ได้ A 1-2 คนและมีนศ.ได้ E เยอะมาก) จนทำให้ นศ.ต้องลงเรียนวิชาเดิมซ้ำๆ หลายๆรอบ จนสาขาต้องยอมเปลี่ยนอาจารย์สอนในที่สุด
วิธีการเรียนการสอน บางวิชา อาจารย์เน้นสั่งงาน คือเขาจะมีแผนการส่งงานอยู่แล้ว ให้นศ. ไปเรียนมาเอง ทำเองแล้วมาส่งเขา เขาจะเข้าสอนแค่คาบแรกคือ อธิบายว่าให้ทำอะไร แค่นั้น ผมมองว่ามันอาจจะไม่เหมาะสมเท่าไหร่ เพราะบางเรื่อง เราควรได้คำแนะนำ ชี้แนะจากอาจารย์ผู้สอน
ตัวข้อสอบ หลายๆวิชายังใช้การออกข้อสอบแบบ 4 ตัวเลือก (หนักสุดเคยเจอวิชาที่มี 3 ตัวเลือก) ซึ่งเมื่อดูเทียบกับม.อื่น หลายๆ ที่ไม่ใช้รูปแบบนี้ในการออกข้อสอบแล้ว
วิชาบางวิชา เน้นสั่งงานเป็นงานกลุ่ม ทำให้นศ.(บางคน)ได้อานิสงค์จากแค่อยู่กลุ่มเพื่อนนี้แล้วได้ A ฟรีๆ ทั้งๆ ที่ไม่ได้ช่วยงานอะไร(เน้นจ่ายตังค์)
ในหลายบางวิชา หลักสูตรการสอนไม่มีการเปลี่ยนแปลง คือ รุ่นน้องสามารถ เอางานของรุ่นพี่มาลอกได้แทบ 100% (รวมทั้งแนวข้อสอบ) บางวิชาที่ให้เป็นข้อสอบ อัตนัย(บางวิชา) นักศึกษาสามารถรู้แนวคำถาม และเกร็ง คิดคำคำตอบไว้ล่วงหน้า เพื่อไปตอบในห้องได้สบายๆ วิชาเหล่านี้ถือเป็นวิชาเก็บเกรด
2. เกณฑ์การให้คะแนน / ตัดเกรด
เกรดของราชภัฏจะมี
ตัวอย่างวิธีการคำนวณเกรดเพิ่มเติม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
3. สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อนักศึกษาที่มีความใฝ่รู้ - ใฝ่เรียน
นศ.ที่นี่มักชอบ อาจารย์ที่ไม่ค่อยสอน เข้าช้า / ปล่อยเร็ว สำหรับคำถามท้ายคาบถ้านศ.ที่ตั้งใจเรียนมีคำถาม บางคนจะถูกเพ่งเล็งเพราะมองว่าเสียเวลาเพราะคนอื่นๆ ส่วนใหญ่ต้องการให้อาจารย์ปล่อยเร็วๆ
ในคำถามบางอย่าง อาจารย์ไม่สามารถตอบคำถามได้ ก็จะตอบแนวเลี่ยงๆ และเบี่ยงเบนประเด็น หรือหนักกว่านั้นคือ ทำให้คนถามกลายเป็นคนผิดเพราะท่านอาจไม่มีความรู้ในข้อคำถามนั้นพอที่จะตอบได้ (กรณีเป็นคำถาม ที่อยู่นอกตำราเรียน) เป็นสาเหตุให้ นศ.หลายๆคนกลัวที่จะยกมือถาม และไม่กล้าถามในประเด็นนั้น ๆ
ตัวหลักสูตร / ตำราเรียน เป็นหลักสูตรที่ค่อนข้างล้าสมัย ไม่สามารถนำไปใช้ได้จริง เช่นยกตัวอย่างโปรแกรมตระกูล Adobe ในขณะที่สอนห้องเรียนใช้โปรแกรม Version CS5 และบางฟังก์ชั่นถูกตัดออกไปแล้ว ในขณะนั้นที่ Version ล่าสุดคือ Adobe CC (โปรแกรมที่ใช้ในห้องเรียนเป็นโปรแกรมไม่ถูกลิขสิทธิ์) หนังสือสอน Excel ในห้องสมุดเท่าที่หาได้เวอร์ชั่นล่าสุดคือหนังสือ Excel 95
4. วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / เป้าหมายของมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นให้บัณฑิตที่จบออกมาเข้าทำงานในระดับ "ท้องถิ่น" มากกว่าแข่งขันใน ระดับ "ประเทศ" หรือระดับ "สากล"
ซึ่งผมเข้าใจความมุ่งหมายของมหาวิทยาลัย เพราะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีสาขาอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ซึ่งความเป็นจริง ในบางสาขาวิชาตลาดแรงงานในท้องถิ่น ไม่รองรับกับสาขาวิชาที่นักศึกษาจบออกมา ผมจึงเห็นรุ่นพี่หลายๆคน (กว่า 80-90%) ทำงานที่ไม่ตรงสาย หรือเป็นสายงานที่ ไม่จำเป็นต้องใช้วุฒิปริญญาตรีในการทำงานก็ได้ สาเหตุหนึ่งก็มาจากที่พวกเราไม่ได้รับโอกาสจากบริษัทต่างๆ ให้เข้าไปทำงานในสายงานที่เหมาะสมกับวุฒิที่จบมาเท่าที่ควร
5. เสียงตอบรับที่ไม่ค่อยดีนักในบางองค์กร เกี่ยวกับนักศึกษาฝึกงานที่มาจากราชภัฏ
ผมคิดว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ หลายๆองค์กร มีอคติกับบุคคลากรที่มาจากสถาบันนี้ ผมได้ยินเรื่องเล่าจากอาจารย์บางท่าน เกี่ยวกับวีรกรรม ที่ฝากเตือนมายังรุ่นน้องๆ เช่นทำงานไม่ได้ตามที่รับมอบหมาย / ประสิทธิภาพของงาน เมื่อเทียบกับ นักศึกษาฝึกงานของ มหาวิทยาลัยอื่นค่อนข้างต่ำกว่า/ การใฝ่รู้ใฝ่เรียนหาความรู้ในบางอย่างค่อนข้างต่ำ / หรือหนักกว่านั้น บางคนทิ้งงาน หรือทำให้บริษัทเสียหาย จนบริษัทของดรับนักศึกษาที่มาจากราชภัฏ เป็นเรื่องที่ท่านอาจารย์ฝากเตือนรุ่นน้องให้ไม่เอาไปเป็นเยี่ยงอย่าง / บางคนทำงานบไม่เป็น และไม่คิดขวนขวาย หรือพยายามทำให้ได้ ซึ่งบางเรื่องผมสังเกตได้จริง จากการฝึกงาน (ทีมเด็กฝึกงานในช่วยที่ผมฝึกงาน) คนที่มาจากราชภัฏ ซึ่งเป็นเฉพาะแค่บางคนครับ อันนี้ต้องแยกว่าเป็นที่นิสัยส่วนตัวของบางคนด้วย ที่ทำงานแบบขอไปที ทำแค่ให้เสร็จๆไปเท่านั้น แต่สำหรับหลายๆ คน พี่เลี้ยงผู้ดูแลก็มีคำชมว่า เด็กฝึกงานที่มาจากราชภัฏมีความอดทนสูง ทำได้ทุกอย่าง ไม่เกี่ยงงานก็แล้วแต่กรณีๆ ไป
จากปัญหาต่างๆ ที่ผมพอจะนึกออก ผมจึงอยากจะถามความคิดเห็นครับ ว่าในฐานะบัณฑิตที่จบจากราชภัฏ ธรรมดาคนหนึ่ง จะสามารถทำอะไรได้บ้าง หรือเราควร ปรับตัวอย่างไร เพื่อให้พวกเราเป็นที่ยอมรับของบริษัทต่างๆ ไม่ต่างจากมหาวิทยาลัยอื่นๆครับ ขอบคุณครับ
[Edit 1] 09 สิหาคม 2562, 22:27 น.
จากหลายๆความความคิดเห็นที่มีประเด็นคล้ายๆกัน ผมจึงขออนุญาติ ขยายความเพื่อชี้แจงในบางประเด็นนะครับ
• ตั้งกระทู้ถาม ต้องการทำเพื่ออะไร เพื่อใคร? ผมได้ตอบกลับไว้ใน ความคิดเห็นที่ 132-1
• ประเด็นเกี่ยวกับนักศึกษาที่มาจากสายอาชีวะ ผมได้ตอบกลับไว้ใน ความคิดเห็นที่ 29-1
• ประเด็นเกี่ยวกับม.รัฐ / ทำไมถึงไม่เรียนที่ ม.รัฐ? ผมได้ตอบกลับไว้ใน ความคิดเห็นที่ 3-1
[Edit 2] 17 เมษายน 2556, 19:34 น.
แก้ไข - เพิ่มตัวอย่างวิธีคำนวณเกรด