ประสานงาน หรือ ประสานงา ? สำนวนไทย ใช้ให้ถูก

วันนี้จะมาแนะนำ การใช้สำนวน เกี่ยวกับรถชนกันให้ฟัง

ขอบ่นหน่อย
เดี๋ยวนี้ สำนักข่าว กลายเป็นแหล่งเผยแพร่ภาษาผิดๆ ปัญญาอ่อนไปหมดแล้ว 
ทั้งที่ตนเอง เป็นสื่อ ที่ต้องใส่ใจกับการใช้ภาษาอย่างที่สุด 
แต่กลับเป็นเรื่องน่าเจ็บปวด ที่สือสมัยนี้ กลับเป็นเหล่งเผยแพร่ภาษาผิดๆไปเสียเอง
กลายเป็นปัญหาสังคมไปอีก

พึ่งอ่านข่าว รถชนกันกลาง 4 แยก 
สำนักข่าวดัง ใช้คำว่า "เก๋ง กระบะ ประสานงานกันสนั่น กลาง4แยก"

ไอ้เราอ่านหัวข้อข่าว ก็นึกในใจ คนบ้าอะไรไปคุยงานกันกลาง 4 แยก (จริงๆก็เดาได้แหละว่ามันจะสื่ออะไร)
ซึ่ง พาดหัวข่าวนี้ ใช้ภาษาผิดทั้งสิ้น 2 จุดด้วยกัน (นี่แค่พาดหัวข่าวนะ ยังผิดตั้ง 2 จุด เนื้อหาข่าวไม่ต้องพูดถึง)
1. ใช้คำผิด คำที่ถูกต้องคือ ประสานงา (เป็นสำนวน)
2. ใช้สำนวนผิด ลักษณะการชน ไม่ใช่การชนประสานงา เป็นรถกระบะ ชนข้างรถเก๋ง

ทีนี้เรามาดูการใช้สำนวนที่ถูกต้องกัน

ประสานงา
คำว่า ประสานงา หมายถึง กริยาของช้าง ๒ เชือกที่ใช้งาสวนแทงกัน เช่น ช้างทรงของพระนเรศวรประสานงากับช้างทรงของพระมหาอุปราชาในการทำยุทธหัตถี. กริยาประสานงา หมายความว่า ช้างทรงทั้ง ๒ นั้น ใช้งาเสยเข้าหากัน. คำว่า ช้างประสานงา นำมาใช้เปรียบเป็นชื่อท่ารำ ชื่อทำนองเพลงไทยเดิม และเป็นชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง. กลบทช้างประสานงามีลักษณะพิเศษ คือ ใช้เสียงพยัญชนะต้นของ ๓ พยางค์หน้าในวรรคหลัง ซ้ำกับเสียงพยัญชนะต้นของ ๓ พยางค์ท้ายในวรรคหน้า สอดประสานกันต่อไปเหมือนกับงาช้างสวนแทงกันโดยตลอด ดังตัวอย่าง

ปัจจุบันคำว่า ประสานงา ใช้เป็นสำนวน หมายถึง ปะทะกันอย่างรุนแรง เช่น รถโดยสารประจำทางประสานงากับรถบรรทุกทำให้คนขับเสียชีวิตทั้ง ๒ คน. และยังใช้หมายถึง ขัดแย้งกันอย่างรุนแรง เช่นในที่ประชุมวันนี้ ประธานกับรองประธานประสานงากันเรื่องงบประมาณจัดนิทรรศการ

ซึ่งลักษณะการชนที่ใช้กับคำว่าประสานงา คือ ชนกันซึ่งๆหน้า พุ่งเข้าชนกันจากด้านหน้า ทั้ง 2 ฝ่าย เหมือนช้างที่พุ่งเข้าชนประสานงากันที่ด้านหน้า

-----

ส่วนคำว่า ประสานงาน

ความหมายของการประสานงาน คือการจัดระเบียบวิธีการทำงานเพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ร่วมมือปฎิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อลดข้อขัดแย้ง และทำให้งานดำเนินไปได้อย่างราบรื่นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบายขององค์การ เป็นการจัดให้คนในองค์การทำงานให้สัมพันธ์สอดคล้องกัน โดยจะต้องตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบ วัตถุประสงค์เป้าหมายและมาตราฐานการปฏิบัติขององค์การเป็นหลัก
การจัดระเบียบวิธีการทำงาน เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ร่วมมือปฏิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่ทำให้งานซ้ำซ้อน ขัดแย้งกัน หรือเหลื่อมล้ำกัน ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบายขององค์กรนั้นอย่างสมาณฉันทฺ์และมีประสิทธิภาพ
การติดต่อสื่อสารให้เกิดความคิดความเข้าใจในการร่วมมือปฏิบัติงานให้สอดคล้องทั้งเวลา และกิจกรรมที่จะต้องกระทำให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างสมานฉันท์เพื่อ ให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่น ไม่เกิดการทำงานซ้ำซ้อน ขัดแย้ง หรือ เหลื่อมล้ำกัน

ขอบคุณข้อมูลบางส่วน จาก เว็บไซต์ ราชบัณฑิตยสภา
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่