ยังจำได้ตอนวันที่ 5 พ.ค. ตอนแรกก็ประหลาดใจว่าการเฉลิมพระปรมาภิไธยของ ร.9 นั้นกลับไม่ได้ออกมาเป็นแบบวิเศษ แต่ก็พอเข้าใจได้ว่า อาจจะพ้นยุคพ้นสมัยของการตั้งพระปรมาภิไธยที่มีความยาวมากไปแล้ว
แต่ก็เกิดข้อสงสัยอีกประการว่า การตั้งพระปรมาภิไธยว่า
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นั้นมีความหมายภายในว่าอย่างไร เพราะดูแล้วแตกต่างจากธรรมเนียมปฎิบัติที่ใช้กันมาตั้งแต่ ร.4 ในการเฉลิมพระปรมาภิไธยย้อนหลังให้บูรพกษัตริย์
แต่ก็ดูจากชื่อคิดว่าคาดคะเนออกมาได้ 2 อย่าง
1. เป็นการเฉลิมในรูปแบบเดียวกับ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช เป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร หรือ แปลว่าโดยนัยๆว่า มหิดล, พระราชบิดา
2. เป็นการเฉลิมให้เสมอเหมือนแนวว่า ร.9 ยังคงอยู่ เปรียบเสมือนพระมหากษัตริย์ที่สละราชสมบัติเป็น พระเจ้าหลวง ถ้าพระองค์ทำเช่นนั้น การเฉลิมพระยศใหม่ ก็น่าจะออกมาในแบบเดียวกัน ดังนั้น การเฉลิมพระปรมาภิไธยในรูปแบบนี้ จึงเหมือนกับว่า ร.9 ไม่ได้จากไปไหน
ความหมายของพระปรมาภิไธยใหม่ พระบรมชนกาธิเบศร?
แต่ก็เกิดข้อสงสัยอีกประการว่า การตั้งพระปรมาภิไธยว่า
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นั้นมีความหมายภายในว่าอย่างไร เพราะดูแล้วแตกต่างจากธรรมเนียมปฎิบัติที่ใช้กันมาตั้งแต่ ร.4 ในการเฉลิมพระปรมาภิไธยย้อนหลังให้บูรพกษัตริย์
แต่ก็ดูจากชื่อคิดว่าคาดคะเนออกมาได้ 2 อย่าง
1. เป็นการเฉลิมในรูปแบบเดียวกับ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช เป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร หรือ แปลว่าโดยนัยๆว่า มหิดล, พระราชบิดา
2. เป็นการเฉลิมให้เสมอเหมือนแนวว่า ร.9 ยังคงอยู่ เปรียบเสมือนพระมหากษัตริย์ที่สละราชสมบัติเป็น พระเจ้าหลวง ถ้าพระองค์ทำเช่นนั้น การเฉลิมพระยศใหม่ ก็น่าจะออกมาในแบบเดียวกัน ดังนั้น การเฉลิมพระปรมาภิไธยในรูปแบบนี้ จึงเหมือนกับว่า ร.9 ไม่ได้จากไปไหน