@@@ เกษตรกรเฮ ภาครัฐจับมือเอกชนศึกษาระบบความเย็นยืดอายุผลไม้ @@@@

กระทู้คำถาม
เกษตรกรเฮ!? ภาครัฐจับมือเอกชนศึกษาระบบโซ่ความเย็น
พัฒนาระบบจัดเก็บ-คงคุณภาพสินค้าเกษตรภาคตะวันออก!!!
.
ภาคตะวันออกของไทย นับเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรสำคัญ และเพื่อรองรับกำลังซื้อและตลาดส่งออกจากการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ทำให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ร่วมมือกับสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ศึกษารูปแบบการพัฒนาระบบการบริหารจัดการโซ่ความเย็น (Cold Chain) ในสินค้าเกษตร หวังเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง, การเก็บรักษาคุณภาพให้ยาวนาน และเพิ่มมูลค่าผลผลิต

นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สศก. และ สรท. ได้ร่วมกันศึกษารูปแบบการพัฒนาระบบการบริหารจัดการโซ่ความเย็น (Cold Chain) ในสินค้าพืชผักและผลไม้ อาทิ เงาะ, ทุเรียน, มังคุด, ขนุน, กะเพรา, แตงกวา, หน่อไม้ฝรั่ง และเห็ด ของสถาบันเกษตรกรในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และพื้นที่ใกล้เคียงรวม 5 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี, ฉะเชิงเทรา, ระยอง, จันทบุรี และตราด ซึ่งเป็นระบบบริหารจัดการด้านการเก็บเกี่ยว, การขนส่ง, การเก็บรักษา, การกระจายสินค้า, การขายสินค้า รวมถึงการใช้อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ  รวมถึงการทำให้สินค้าคงความสด และมีคุณภาพยาวนานที่สุด

         จากการศึกษาพบว่า ระบบ Cold Chain สามารถรักษาคุณภาพและเพิ่มมูลค่าผลผลิตได้เป็นอย่างดี โดยกระบวนการเริ่มจากการเก็บเกี่ยวและจัดการผลผลิตของเกษตรกร จากนั้นจัดส่งมายังสถาบันเกษตรกร เพื่อส่งต่อไปยังตลาดปลายทาง ตัวอย่างเช่น การจัดการโซ่ความเย็นในสินค้าทุเรียนของสหกรณ์การเกษตรเขาคิชฌกูฏ จำกัด จังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นสหกรณ์ที่รวบรวมผลไม้เพื่อกระจายสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยแต่ละปีรวบรวมผลผลิตได้ประมาณ 5,800 ตัน เป็นทุเรียนประมาณ 1,000 ตัน ซึ่งปี 2561 ที่ผ่านมา สหกรณ์ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการไทยนิยมยั่งยืนจำนวนกว่า 29 ล้านบาท และสหกรณ์สบทบเพิ่มอีก 12 ล้านบาท เพื่อสร้างอาคารห้องเย็น พร้อมอุปกรณ์แปรรูปผลไม้ โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่กลางปี 2561 และเสร็จสิ้นในเดือนเมษายน 2562 ที่ผ่านมา

         สำหรับกระบวนการคัดแยกผลผลิตและแกะเปลือก เกษตรกรสมาชิกจะตัดทุเรียนที่ระดับความสุก70% และนำส่งสหกรณ์เพื่อคัดแยกเกรด โดยเกรด A และ B จะจำหน่ายเป็นผลสด ซึ่ง90% ส่งไปจำหน่ายที่ประเทศจีน ที่เหลือ 10%  จำหน่ายตลาดในประเทศ ซึ่งเนื้อเกรด A-B จะถูกนำไปแช่แข็งที่อุณหภูมิ -35 ถึง -70 องศาเซลเซียส เก็บได้ประมาณ 1 ปี ปัจจุบันมี 250 ตันเนื้อ ซึ่งห้องเย็นสามารถรองรับได้สูงสุด 300 ตันเนื้อ หลังจากนั้นจะถูกส่งไปยังห้องเย็นของบริษัทในกรุงเทพฯ ต่อไป

          ทั้งนี้ สหกรณ์ที่ได้รับงบประมาณจัดสร้างห้องเย็น ทำให้เกษตรกรมีทางเลือกนำผลผลิตมาขายให้กับสหกรณ์ ส่งผลให้ราคาทุเรียนปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยมา จากปีที่แล้วกิโลกรัมละ 45 - 60 บาท เพิ่มเป็นกิโลกรัมละ 60 - 70 บาทในปีนี้ แสดงให้เห็นว่าการที่สหกรณ์เป็นตัวกลางรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรนั้น ส่งผลต่อการรักษาเสถียรภาพราคาผลไม้ของจังหวัดจันทบุรี และยังช่วยรัฐบาลประหยัดงบประมาณที่ต้องนำไปใช้แทรกแซงราคาผลไม้ให้กับเกษตรกรปีละไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท
.
https://www.eeco.or.th/pr/news/eec-hot-news-vol28
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
ไม่น่าเชื่อนะครับ.   เรื่องดีๆที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและประเทศ

กลับมีพวกชังชาติต้องคอยตามดีสเครดิต.   แถมยังดีสเครดิตแบบไม่ได้รู้เรื่องรู้ราว



คนกลุ่มนี้นับวันจะเตี้ยลงจริงๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่