ปลาไหลไทย กับ ปลาไหลญี่ปุ่น ต่างกันยังไง?

ปลาไหลไทย

ปลาไหลญี่ปุ่น

Noresore (โนเระโซเระ)

ปลาไหลญี่ปุ่นนั้นจะมีทั้ง "อูนางิ" และ "อานาโงะ" ปลาไหลที่แท้ต้องมีครีบตรงหู และตรงหาง แต่ปลาไหลไทยบ้านเราไม่มีเพราะมันอยู่คนละกลุ่ม ปลาไหลบ้านเรากระดูกเป็นสามเหลี่ยมและแข็ง สีเนื้อจะเข้มไม่เหมือนปลาตูหนาที่ใกล้เคียงกับปลาไหลญี่ปุ่นมากกว่าที่มีก้างเหมือนปลาปกติ

อุนางิ ตอนเด็กๆ จะอยู่ในทะเล และเข้ามาในน้ำจืดจึงถือว่าเป็นปลาไหลน้ำจืด อานาโงะจะเป็นปลาไหลทะเล 100% ส่วนปลาไหลเด็กที่เรียกว่า "โนเระโซเระ" ตัวจะใสๆ คล้ายชิราอุโอะ นั่นคืออานาโงะตอนโต คนญี่ปุ่นนิยมกินเช่นกันครับ อ้อ.. และอีกปลาไหลนึงในญี่ปุ่นที่ตัวใหญ่ๆ ที่นิยมกินกันคือปลาไหลมอเรย์ก็นิยมเอาไปต้มกินถึงจะอร่อยที่สุดอันนี้เรียกว่า "อุสึโบะ"

ปลาไหลญี่ปุ่นอย่าง อานาโงะ นั้นเนื้อเขาจะออกซุยๆ นุ่มๆ ส่วน อุนางิ ที่เรานิยมกินกันบ่อยๆ นั้นเนื้อมันจะมีเท็กเจอร์กว่า เนื้อจะหนึบ หนังปลาจะออกกรอบ อันนี้แล้วแต่คนชอบ แต่น่าเสียดายที่บ้านเราเวลาไปทานปลาไหลญี่ปุ่นตามร้านทั่วไปส่วนใหญ่จะใช้แบบแช่แข็ง ไม่ก็ปลาไหลสำเร็จรูป คือแบบว่าฉีกซองแล้วนำมาย่างให้กินประมาณนั้น

ปล. ปลาไหลไทย ก็เรียก "ปลาไหล" ปลาไหลญี่ปุ่นก็เรียกกันไป "อานาโงะ" "อูนางิ" "อุสึโบะ" ก็ว่ากันไป ไม่มีปลาไหลแท้ปลาไหลเทียมครับ
ปล2. ชอบกินผัดเผ็ดปลาไหลด้วย 555
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่