ความจริงแล้วเราเป็นเด็กที่จบชั้นมอหกในปีการศึกษา 2559
หรือเป็นเด็กแอดรุ่นที่ 60 หรือที่ชอบเรียกติดปากกันว่า DEK60
ด้วยความที่อยากเข้าคณะนี้มากก็เลยยื่นคะแนนของทุกมหาลัยเป็นคณะนี้หมดเลย
ในรอบรับตรง เราติด 3 ที่ คือมศว มธ จุฬา (ยอมรับว่ายื่นหว่าน กลัวไม่ติด)
ความจริงติดเกษตรด้วยแต่ด้วยความที่มันเป็นภาคพิเศษ เลยตัดทิ้งไปเป็นอันแรก ด้วยความที่คะแนนในส่วนที่ใช้ยื่นมันน้อยนิดเหลือเกิน
เรารบรากับแม่อยู่นานสองนานเพราะอยากเรียนมธ แต่ที่บ้านอยากให้เรียนจุฬาเพราะใกล้บ้านและในเรื่องของชื่อเสียงด้วยบางส่วน
แต่สุดท้ายเราก็ดื้อดึงไปเรียนมธจนได้
แต่เรียนได้แค่เทอมเดียวนะ
เราก็ซิ่วออกมา
ไม่ใช่เพราะว่าเราเข้าใจผิดว่าเราชอบเศรษฐศาสตร์
ไม่ใช่เพราะว่าเรียนไม่ไหว (เพราะเรียนไปนิดเดียว 5555)
เราชอบวิชาคณะที่เราเรียน วิชานั้นคือเศรษฐศาสตร์มหภาค1 หรือที่เด็กที่นั้นชอบเรียนติดปากกันว่า หลัก2
เราปลื้มอาจารย์ที่นั้นมากเพราะน่ารักและค่อนข้างเป็นกันเอง
เราชอบสภาพแวดล้อมแม้ว่ามันจะร้อนสุดๆก็ตาม
เรารักรูมเมทสามคนที่เราอยู่ด้วย แม้สองคนจะไม่ค่อยอยู่หอ
เราโอเคกับเพื่อนสนิทเราสองสามคนที่นั้น เค้าน่ารัก
ใช่
เราไม่ชอบสังคมของที่นั่น
แล้วสังคมที่นั้นเป็นยังไงหรอ ?
จริงๆเราก็ไม่กล้าพูดหรอกนะว่าสังคมที่นั่นไม่ดี
เราคิดว่ามันแล้วแต่คนชอบ แล้วแต่สิ่งที่คนๆนั้นได้รับมากกว่า
แต่เผอิญว่าสำหรับเราแล้ว สิ่งที่โอเคมันมีน้ำหนักน้อยมากถ้าเทียบกับอีกสิ่ง
แล้วสิ่งพวกนั้นคืออะไร ??
เรื่องใหญ่จริงๆคือ
เราเจอระบบสังคมที่เรียกว่าระบบโต๊ะ
โต๊ะน่ะไม่ใช่โต๊ะจริงๆหรอก เป็นเพียงแค่ชื่อเรียกกลุ่มคนเท่านั้น
แล้วโต๊ะนั้นมีอะไร ?
โต๊ะนั้นมีความโซตัสแฝงอยู่
แน่นอนมันไม่ค่อยน่าเชื่อหรอกว่ามหาวิทยาลัยแห่งเสรีภาพนี้ จะมีความโซตัสอยู่ด้วย
แม้โซตัสจะแฝงอยู่แค่การรับน้องโต๊ะ
แต่ก็เป็นช่วงเวลารับน้องที่ทรมานทีเดียวสำหรับหลายๆคน แม้จะแค่ไม่กี่วัน
มีการชิงธงต่างๆนาในทะเล การบูมคณะที่ต้องแหกปากตะโกนดังๆ
มีการทำโทษรุ่นพี่แทนเมื่อเราทำอะไรที่ไม่ถูกใจปีสูงๆ (เพื่อการกดดัน)
และอะไรอีกหลายๆอย่างที่เป็น detail ของแต่ละโต๊ะ
เป็นความโซตัสที่พวกรุ่นพี่ชอบกรอกหูกันว่ามันคือระเบียบๆ
และสิ่งที่รุนแรงนั้นเป็นการแสดงทั้งสิ้น
แต่ถามว่ามันจำเป็นมั้ย ?
แล้วไม่มีโต๊ะได้มั้ย ?
ก็ได้ แต่คุณจะเป็นคน No Name ในคณะ เพราะเวลาจะทำกิจกรรมอะไรก็แล้วแต่ เวลากรอกชื่อใน Google form ล้วนถามชื่อโต๊ะทั้งสิ้น และแทบจะเรียกกันติดปากเป็นนามสกุล ว่าใครโต๊ะอะไร
ซึ่งมันค่อนข้างช่วยไม่ได้ เพราะว่ามันเป็นเหมือนสิ่งที่ติดตัวคนๆมาแต่เริ่มปีหนึ่ง
แล้วคุณก็ต้องยอมรับถ้าเพื่อนในโต๊ะจะเหม็นขี้หน้าคุณ
เพราะว่าโต๊ะก็เหมือนการทำงานกลุ่ม ถ้าคุณหายไปคนนึง
คนอื่นที่เหลือก็ต้องทำงานแทนนั้นๆต่อไปแทน ไม่ว่าจะเป็น รับน้องที่ใช้เงินครั้งละเหยียบแสน thankพี่(ที่มาจัดระเบียบให้เรา?) FirstDrink งานบายเนียร์และอื่นๆ
ซึ่งในแต่ละงานก็จะเป็นหน้าที่ของแต่ละปีที่จะต้องจัด เช่น ปีหนึ่งจัดThankพี่ ปีสองจัดรับน้อง
แล้วเงินที่ทำกิจกรรมล่ะ มาจากไหน ?
ก็มาจากที่เก็บๆกันนี่แหละเป็นส่วนใหญ่ เดือนละ 500 บ้าง 700 บ้างตามตกลง
ส่วนน้อยก็มาจากการหารายได้ร่วมกันของคนในโต๊ะ ไม่ว่าจะเป็นขายของในงานต่างๆ ขายเสื้อ รวมไปถึงการบูม(ไถ่ตัง)บัณฑิต
ซึ่งมักพอใกล้ๆกิจกรรมต่างๆก็มักจะไม่พอ ต้องมาเก็บเพิ่มอีกละคนละเท่าไหร่ก็ว่ากันไป
แล้วข้อดีของโต๊ะคืออะไร
ข้อดีของโต๊ะคือการทำให้เราได้สนิทกับเพื่อนมากขึ้น หรือไม่ก็ทะเลาะกันไปเลย
มีโอกาสได้รู้จักรุ่นพี่หลายๆปี รวมถึงปีที่จบไปแล้ว
ให้พี่ช่วยแนะนำเรื่องการเรียน การจัดตารางต่างๆ
ก็นะข้อดีก็มี แต่ส่วนตัวคิดว่ามันค่อนข้างขึ้นอยู่ว่าเราจะได้รับมั้ย
ถ้าเกิดเราเจอเพื่อนหรือรุ่นพี่ที่ไม่ถูกสไตล์กับเรา (ไม่ได้หมายความว่าไม่ดี แค่เข้ากันไม่ได้) ข้อดีเหล่านั้นก็หายไป
แต่สิ่งทีทุกคนต้องได้รับคือ
การจ่ายเงินทำกิจกรรมปีๆนึงก็หลายพัน
ระเบียบรับน้อง
กิจกรรมที่ค่อนข้างผลาญเวลา
ซึ่งบางคนก็ไม่ได้รู้สึกว่ามันเป็นข้อเสีย แต่สำหรับบางคนไม่เป็นแบบนั้น เช่นคนที่ตั้งกระทู้นี้ เป็นต้น
ทางแก้คืออะไร ?
ควรถามความสมัครใจก่อนเข้าร่วมโต๊ะ
ควรให้เสรีภาพทุกตารางนิ้วตรงนี้ ไม่ใช่ถูกยัดชื่อตั้งแต่ก้าวขาเข้าคณะ (ถึงแม้เวลาเลือกเราจะจับฉลากก็เถอะ)
เรื่องเล่าจากเด็กเศรษฐศาสตร์
หรือเป็นเด็กแอดรุ่นที่ 60 หรือที่ชอบเรียกติดปากกันว่า DEK60
ด้วยความที่อยากเข้าคณะนี้มากก็เลยยื่นคะแนนของทุกมหาลัยเป็นคณะนี้หมดเลย
ในรอบรับตรง เราติด 3 ที่ คือมศว มธ จุฬา (ยอมรับว่ายื่นหว่าน กลัวไม่ติด)
ความจริงติดเกษตรด้วยแต่ด้วยความที่มันเป็นภาคพิเศษ เลยตัดทิ้งไปเป็นอันแรก ด้วยความที่คะแนนในส่วนที่ใช้ยื่นมันน้อยนิดเหลือเกิน
เรารบรากับแม่อยู่นานสองนานเพราะอยากเรียนมธ แต่ที่บ้านอยากให้เรียนจุฬาเพราะใกล้บ้านและในเรื่องของชื่อเสียงด้วยบางส่วน
แต่สุดท้ายเราก็ดื้อดึงไปเรียนมธจนได้
แต่เรียนได้แค่เทอมเดียวนะ
เราก็ซิ่วออกมา
ไม่ใช่เพราะว่าเราเข้าใจผิดว่าเราชอบเศรษฐศาสตร์
ไม่ใช่เพราะว่าเรียนไม่ไหว (เพราะเรียนไปนิดเดียว 5555)
เราชอบวิชาคณะที่เราเรียน วิชานั้นคือเศรษฐศาสตร์มหภาค1 หรือที่เด็กที่นั้นชอบเรียนติดปากกันว่า หลัก2
เราปลื้มอาจารย์ที่นั้นมากเพราะน่ารักและค่อนข้างเป็นกันเอง
เราชอบสภาพแวดล้อมแม้ว่ามันจะร้อนสุดๆก็ตาม
เรารักรูมเมทสามคนที่เราอยู่ด้วย แม้สองคนจะไม่ค่อยอยู่หอ
เราโอเคกับเพื่อนสนิทเราสองสามคนที่นั้น เค้าน่ารัก
ใช่
เราไม่ชอบสังคมของที่นั่น
แล้วสังคมที่นั้นเป็นยังไงหรอ ?
จริงๆเราก็ไม่กล้าพูดหรอกนะว่าสังคมที่นั่นไม่ดี
เราคิดว่ามันแล้วแต่คนชอบ แล้วแต่สิ่งที่คนๆนั้นได้รับมากกว่า
แต่เผอิญว่าสำหรับเราแล้ว สิ่งที่โอเคมันมีน้ำหนักน้อยมากถ้าเทียบกับอีกสิ่ง
แล้วสิ่งพวกนั้นคืออะไร ??
เรื่องใหญ่จริงๆคือ
เราเจอระบบสังคมที่เรียกว่าระบบโต๊ะ
โต๊ะน่ะไม่ใช่โต๊ะจริงๆหรอก เป็นเพียงแค่ชื่อเรียกกลุ่มคนเท่านั้น
แล้วโต๊ะนั้นมีอะไร ?
โต๊ะนั้นมีความโซตัสแฝงอยู่
แน่นอนมันไม่ค่อยน่าเชื่อหรอกว่ามหาวิทยาลัยแห่งเสรีภาพนี้ จะมีความโซตัสอยู่ด้วย
แม้โซตัสจะแฝงอยู่แค่การรับน้องโต๊ะ
แต่ก็เป็นช่วงเวลารับน้องที่ทรมานทีเดียวสำหรับหลายๆคน แม้จะแค่ไม่กี่วัน
มีการชิงธงต่างๆนาในทะเล การบูมคณะที่ต้องแหกปากตะโกนดังๆ
มีการทำโทษรุ่นพี่แทนเมื่อเราทำอะไรที่ไม่ถูกใจปีสูงๆ (เพื่อการกดดัน)
และอะไรอีกหลายๆอย่างที่เป็น detail ของแต่ละโต๊ะ
เป็นความโซตัสที่พวกรุ่นพี่ชอบกรอกหูกันว่ามันคือระเบียบๆ
และสิ่งที่รุนแรงนั้นเป็นการแสดงทั้งสิ้น
แต่ถามว่ามันจำเป็นมั้ย ?
แล้วไม่มีโต๊ะได้มั้ย ?
ก็ได้ แต่คุณจะเป็นคน No Name ในคณะ เพราะเวลาจะทำกิจกรรมอะไรก็แล้วแต่ เวลากรอกชื่อใน Google form ล้วนถามชื่อโต๊ะทั้งสิ้น และแทบจะเรียกกันติดปากเป็นนามสกุล ว่าใครโต๊ะอะไร
ซึ่งมันค่อนข้างช่วยไม่ได้ เพราะว่ามันเป็นเหมือนสิ่งที่ติดตัวคนๆมาแต่เริ่มปีหนึ่ง
แล้วคุณก็ต้องยอมรับถ้าเพื่อนในโต๊ะจะเหม็นขี้หน้าคุณ
เพราะว่าโต๊ะก็เหมือนการทำงานกลุ่ม ถ้าคุณหายไปคนนึง
คนอื่นที่เหลือก็ต้องทำงานแทนนั้นๆต่อไปแทน ไม่ว่าจะเป็น รับน้องที่ใช้เงินครั้งละเหยียบแสน thankพี่(ที่มาจัดระเบียบให้เรา?) FirstDrink งานบายเนียร์และอื่นๆ
ซึ่งในแต่ละงานก็จะเป็นหน้าที่ของแต่ละปีที่จะต้องจัด เช่น ปีหนึ่งจัดThankพี่ ปีสองจัดรับน้อง
แล้วเงินที่ทำกิจกรรมล่ะ มาจากไหน ?
ก็มาจากที่เก็บๆกันนี่แหละเป็นส่วนใหญ่ เดือนละ 500 บ้าง 700 บ้างตามตกลง
ส่วนน้อยก็มาจากการหารายได้ร่วมกันของคนในโต๊ะ ไม่ว่าจะเป็นขายของในงานต่างๆ ขายเสื้อ รวมไปถึงการบูม(ไถ่ตัง)บัณฑิต
ซึ่งมักพอใกล้ๆกิจกรรมต่างๆก็มักจะไม่พอ ต้องมาเก็บเพิ่มอีกละคนละเท่าไหร่ก็ว่ากันไป
แล้วข้อดีของโต๊ะคืออะไร
ข้อดีของโต๊ะคือการทำให้เราได้สนิทกับเพื่อนมากขึ้น หรือไม่ก็ทะเลาะกันไปเลย
มีโอกาสได้รู้จักรุ่นพี่หลายๆปี รวมถึงปีที่จบไปแล้ว
ให้พี่ช่วยแนะนำเรื่องการเรียน การจัดตารางต่างๆ
ก็นะข้อดีก็มี แต่ส่วนตัวคิดว่ามันค่อนข้างขึ้นอยู่ว่าเราจะได้รับมั้ย
ถ้าเกิดเราเจอเพื่อนหรือรุ่นพี่ที่ไม่ถูกสไตล์กับเรา (ไม่ได้หมายความว่าไม่ดี แค่เข้ากันไม่ได้) ข้อดีเหล่านั้นก็หายไป
แต่สิ่งทีทุกคนต้องได้รับคือ
การจ่ายเงินทำกิจกรรมปีๆนึงก็หลายพัน
ระเบียบรับน้อง
กิจกรรมที่ค่อนข้างผลาญเวลา
ซึ่งบางคนก็ไม่ได้รู้สึกว่ามันเป็นข้อเสีย แต่สำหรับบางคนไม่เป็นแบบนั้น เช่นคนที่ตั้งกระทู้นี้ เป็นต้น
ทางแก้คืออะไร ?
ควรถามความสมัครใจก่อนเข้าร่วมโต๊ะ
ควรให้เสรีภาพทุกตารางนิ้วตรงนี้ ไม่ใช่ถูกยัดชื่อตั้งแต่ก้าวขาเข้าคณะ (ถึงแม้เวลาเลือกเราจะจับฉลากก็เถอะ)