สามเณรอรหันต์
สามเณรอรหันต์ รวมเรื่องราวของสามเณรอรหันต์ในสมัยพุทธกาล ได้แก่ สุมนสามเณร, โสปากสามเณร, สามเณรสีวลี, สังกิจจสามเณร, สามเณรเรวตะ, สามเณราหุล, บัณฑิตสามเณร, สามเณรทัพพะ, ติสสสามเณร, สามเณรสานุ, สามเณรปิโลติกกะ, สามเณนิโครธ, จุนทะสามเณร และกุมารกัสสปสามเณร
วันนี้ขอเสนอ....
จุนทะสามเณร ผู้มีส่วนริเริ่มสังคายนา
จุนทะเป็นน้องชาย ๑ใน ๗ ของพระสารีบุตรผู้เป็นอัครสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ออกบวชเป็นสามเณรในสำนักพระสารีบุตร ผู้เป็นพี่ชายโดยมีพระอานนท์เป็นพระอุปัชณาย์ (พระผู้บวชให้)
เมื่อบวชแล้วก็บำเพ็ญเพียรเจริญวิปัสสนา ไม่นานนักก็บรรลุธรรมเป็นอรหันต์ตอนอายุ ๗ ขวบพร้อมคุณวิเศษ มักอาสาแสดงปาฏิหาริย์แทนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ประวัติสำคัญของจุนทะสามเณร เช่น
ได้เป็นพุทธอุปัฏฐาก คือผู้ปรนนิบัติรับใช้องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงโปรดให้พระอานนท์เป็นพุทธอุปัฏฐากประจำแล้ว ในบางคราวก็ทรงโปรดให้พระจุนทะถวายการรับใช้ เช่น เมื่อครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขารแล้ว (กำหนดวันตายไว้ล่วงหน้า) เสร็จไปที่เมืองกุสินารา ระหว่างทางผ่านแม่น้ำกกุธานที ทรงโปรดให้พระจุนทะปูผ้าให้เอนกายบรรทม (หลับ) ณ ริมแม่น่ำนั้น
เป็นผู้มีส่วนเริ่มสังคายนาในพระพุทธศาสนา เนื่องจากจุนทะสามเณรได้เล่าเรื่องความแตกแยกที่เกิดในลัทธิอื่นให่แก่พระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เป็นหมวดหมู่ขึ้นเรียกว่า "สังคายนา" เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่ต่อไปได้ยาวนาน
เป็นอย่างไรบ้างคะ...
จุนทะสามเณร สุดยอดมากๆเลยใช่ไหมคะ
ตัวเล็กๆแต่มีบุญมาก
พรุ่งนี้จะเป็นสามเณรท่านใด..เชิญติดตามต่อได้นะคะ
จุนทะสามเณร ผู้มีส่วนริเริ่มสังคายนา 1 ใน 14 สามเณรอรหันต์ ต้นแบบสามเณรที่ควรศึกษา
ประวัติสำคัญของจุนทะสามเณร เช่น
ได้เป็นพุทธอุปัฏฐาก คือผู้ปรนนิบัติรับใช้องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงโปรดให้พระอานนท์เป็นพุทธอุปัฏฐากประจำแล้ว ในบางคราวก็ทรงโปรดให้พระจุนทะถวายการรับใช้ เช่น เมื่อครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขารแล้ว (กำหนดวันตายไว้ล่วงหน้า) เสร็จไปที่เมืองกุสินารา ระหว่างทางผ่านแม่น้ำกกุธานที ทรงโปรดให้พระจุนทะปูผ้าให้เอนกายบรรทม (หลับ) ณ ริมแม่น่ำนั้น
เป็นผู้มีส่วนเริ่มสังคายนาในพระพุทธศาสนา เนื่องจากจุนทะสามเณรได้เล่าเรื่องความแตกแยกที่เกิดในลัทธิอื่นให่แก่พระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เป็นหมวดหมู่ขึ้นเรียกว่า "สังคายนา" เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่ต่อไปได้ยาวนาน