อาทิตย์ที่แล้วผมขับรถผ่านไปทางพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เห็นนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศฝ่าแดดร้อนเข้าไปชม
ก็ได้แต่นึกสงสัยว่า เออเนอะ แล้วคนไทยอย่างเราทำไมไม่เคยเข้าไปชมอย่างจริงจังบ้าง
สำหรับตัวผมเองยังเคยเข้าไปชมประสาเด็กๆเมื่อสมัยโรงเรียนพามาชมเท่านั้น
จู่ๆ คำสาปแช่งของ "สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (วังหน้า)" ขณะประชวรเสด็จประทับบนเสลี่ยง
ให้มหาดเล็กเชิญเสด็จทอดพระเนตรรอบๆ พระราชวังบวรสถานมงคลซึ่งพระองค์ทรงสร้างขึ้น ก็ลอยเข้ามาในหัวว่า
"...ของใหญ่ของโตของกูดีๆ ของกูสร้าง ใครไม่ได้ช่วยเข้าทุนอุดหนุน กูสร้างขึ้นด้วยกำลังข้าเจ้าบ่าวนายของกูเอง
นานไปใครไม่ใช่ลูกกู เข้ามาเป็นเจ้าของครอบครองขอผีสางเทวดาจงบันดาลอย่าให้มีความสุข..."
เลยทำให้มานั่งคิดว่า แล้วทำไม "วังหน้า" ท่านหวงวังนัก แล้ววังหน้าใหญ่โตขนาดไหน สวยงามเพียงใด กว้างใหญ่แค่ไหน
ประกอบกับประวัติศาสตร์ช่วงนี้ เป็นช่วงที่ผมยังไม่เคยศึกษาอย่างจริงจังเลย พอได้ลองหาข้อมูลดูแล้วพบว่า
เรื่องราวของ "วังหน้า" น่าสนใจมาก ทุกอย่างทุกเรื่องเต็มไปด้วย อู้หู จริงหรือนี่ ตลอดเวลา
เมื่อศึกษาเรื่องวังหน้า ก็พบว่ามีคนส่วนเกี่ยวข้องมากมาย ทั้งนิวาสสถานเดิมแถวป้อมพระสุเมร วัดชนะสงคราม
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤทธ และที่อื่นๆมากมาย
น่าสนใจใช่ไหมครับ ถ้าสนใจก็ตามผมมาเลยครับ
ตามรอยครั้งนี้ ผมใช้กล้องมือถือถ่าย ภาพบางภาพอาจจะไม่คมชัดเท่าไหร่ขออภัยด้วยนะครับ
และขอบคุณทุกข้อมูลจากทุกแหล่งด้วยนะครับ
************************
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท มีพระนามเดิมว่า บุญมา ประสูติในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
เป็นมหาดเล็กตำแหน่งนายสุดจินดา มหาดเล็กหุ้มแพร ในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์
เมื่อข้าศึกยกมาล้อมกรุงศรีอยุธยา ขณะนั้นพระนครอ่อนแอมาก พระยาวชิรปราการ (สิน)
จึงพาสมัครพรรคพวกตีฝ่าออกจากพระนครศรีอยุธยาไปหัวเมืองตะวันออก นายสุดจินดาได้เสด็จลงเรือเล็กหลบหนีไปด้วย
เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่ข้าศึก พระยาตากสินเป็นชุมนุมหนึ่งรวบรวมไพล่พลตั้งอยู่ที่จันทบุรี
เข้าตีข้าศึกที่รักษากรุงศรีอยุธยาแตกไปแล้ว จึงเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
นายสุดจินดาได้รับการสถาปนาบรรดาศักดิ์เป็นพระมหามนตรี เจ้ากรมพระตำรวจในขวา
และ ได้กราบบังคมทูลขอไปรับสมเด็จพระเชษฐาธิราช (ด้วง) เข้าถวายตัวรับราชการด้วย
จนรัชกาลที่ 1 ดำรงตำแหน่งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ทรงสถาปนาพระอนุชาธิราชขึ้นเป็น “สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท”
วังหน้า ได้ทรงร่วมศึกสงครามขับไล่อริราชศัตรูปกป้องพระราชอาณาจักรตลอดพระชนมชีพของพระองค์
ได้เสด็จไปในการพระราชสงครามทั้งทางบก และทางเรือ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ถึง 16 ครั้ง
และในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช อีก 8 ครั้ง
เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งบูรพาภิมุขในหมุ่พระวิมาน เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2346 พระชนมายุ 60 พรรษา
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระโกศ (พระลอง)
ย่อมุมไม้สิบสองหุ้มทองคำประดิษฐานพระบรมศพไว้ที่พระที่นั่งศิวโมกขพิมานในพระราชวังบวรสถานมงคล
หลังจากการถวายพระเพลิง ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง
เสร็จสิ้น พระบรมอัฐิถูกอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่พระที่นั่งวายุสถานอมเรศ ในหมู่พระวิมาน
ปัจจุบันอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่หอพระนาคในพระบรมมหาราชวัง

ผมจอดรถไว้ที่อาคารจอดรถตรงบางลำพู แล้วเริ่มต้นเดินเท้า จากวัดบวรนิเวศ ไปยัง "ป้อมพระสุเมร" ครับ
ป้อมพระสุเมรุ เป็นป้อมปราการที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ในสมัยนั้นได้มีการสร้างป้อมปราการ 14 แห่งเพื่อป้องกันพระนคร
แต่เมื่อเวลาผ่านไป ป้อมปราการหมดความจำเป็น จึงถูกรื้อถอนไป ป้อมพระสุเมรุเป็น 1 ใน 2 ป้อมที่ยังคงเหลืออยู่
อีกป้อมหนึ่งคือป้อมมหากาฬ ชื่อป้อมพระสุเมรุได้นำมาตั้งเป็นชื่อถนนพระสุเมรุ

ก่อนหน้ากรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท จะเสด็จย้ายมาประทับยังวังหน้า
พระราชนิเวศน์เดิมของพระองค์นั้นอยู่แถวป้อมพระสุเมรุ เรียกกันว่า ‘วังริมป้อมพระสุเมรุ’
เป็นที่ประทับแรกเมื่อสมัยพระองค์ยังทรงปฏิบัติราชการกรุงธนบุรีล
ต่อมาพระองค์ได้พระราชทานที่วังริมป้อมพระสุเมรุนี้แด่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา พระอนุชา
เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎาสิ้นพระชนม์ก็ไม่ปรากฏว่ามีเจ้านายผู้ใดมาประทับอยู่อีก
ปล่อยที่ดินบริเวณนี้ไปตามกาลเวลาผ่านมาสองร้อยกว่าปี ทุกวันนี้ "วังริมป้อมพระสุเมรุ"
จึงเหลือเพียงซากก่ออิฐถือปูนที่เคยเป็นซุ้มประตูวัง
ด้านหน้าตั้งศาลพระภูมิไม้แปะป้ายว่า ‘กรมหลวงจักรเจษฎา’
ด้านหลังเป็นร้านทำผมเล็กๆ บนโต๊ะบูชาตั้งธูป เทียน และกล่องรับบริจาคเงินให้อาหารแมว

จากนั้นผมก็เดินต่อไปยังถนนพระอาทิตย์ เลียบเลาะตามแนวกำแพงกรุงรัตนโกสินทร์
ซึ่งพอพูดถึงกำแพงเมืองกรุงรัตน์โกสินทร์ ก็เลยมาฉุกคิดว่า เอ้อ ถ้าเรามีเราป้อม ก็ต้องมีกำแพงล้อมรอบเกาะเมือง เหมือนอยุธยาสิ
แล้วกำแพงนี่มีลักษณะเป็นอย่างไร แล้วปัจจุบันมันหายไปไหน เลยไปค้นดูก็พบว่า
กำแพง และ ประตูพระนคร ของกรุงเทพมหานครนั้น ตั้งอยู่ในเขตพระนคร ปัจจุบันหลงเหลืออยู่ 2 แห่ง
ก็คือ ป้อมพระสุเมรุ บริเวณกำแพงเมืองและประตูเมืองด้านทิศเหนือ และบริเวณป้อมมหากาฬ
กำแพงเมืองพระนครสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 โดยนำอิฐที่จากกำแพงกรุงศรีอยุธยามาสร้าง
รวมความยาวทั้งหมดประมาณ 7 กิโลเมตร ครอบคลุมเขตเกาะกรุงรัตนโกสินทร์
มีประตูใหญ่ 16 ประตู ประตูเล็กหรือช่องกุด 47 ประตู และมีป้อม 14 ป้อม
Credit :
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5864.15

กำแพงเมืองและประตูเมืองที่เหลืออยู่ด้านทิศเหนือ คือ ประตู หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร

ภาพนี้ เป็นภาพกำแพงเมือง ที่จะเห็น "ป้อมมหากาฬ" อยู่ใกล้ และ "ป้อมพระสุเมร" อยู่ริมสุดโน้นครับ
credit
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5864.90

วันนี้ น่าจะนอกเรื่องไปหน่อย เอาไว้วันหลังผมจะมาตามรอยเรื่อง "กำแพงเกาะรัตนโกสินทร์" นะครับ
จากนั้นผมก็เดินเข้าซอยชนะสงคราม เพื่อไปทางหลัง "วัดชนะสงคราม" ครับ

ตามรอยวังหน้า...จาก "ขุนพลคู่ราชบัลลังก์" สู่ "คำสาปแช่งแห่งวังหน้า"
ก็ได้แต่นึกสงสัยว่า เออเนอะ แล้วคนไทยอย่างเราทำไมไม่เคยเข้าไปชมอย่างจริงจังบ้าง
สำหรับตัวผมเองยังเคยเข้าไปชมประสาเด็กๆเมื่อสมัยโรงเรียนพามาชมเท่านั้น
จู่ๆ คำสาปแช่งของ "สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (วังหน้า)" ขณะประชวรเสด็จประทับบนเสลี่ยง
ให้มหาดเล็กเชิญเสด็จทอดพระเนตรรอบๆ พระราชวังบวรสถานมงคลซึ่งพระองค์ทรงสร้างขึ้น ก็ลอยเข้ามาในหัวว่า
"...ของใหญ่ของโตของกูดีๆ ของกูสร้าง ใครไม่ได้ช่วยเข้าทุนอุดหนุน กูสร้างขึ้นด้วยกำลังข้าเจ้าบ่าวนายของกูเอง
นานไปใครไม่ใช่ลูกกู เข้ามาเป็นเจ้าของครอบครองขอผีสางเทวดาจงบันดาลอย่าให้มีความสุข..."
เลยทำให้มานั่งคิดว่า แล้วทำไม "วังหน้า" ท่านหวงวังนัก แล้ววังหน้าใหญ่โตขนาดไหน สวยงามเพียงใด กว้างใหญ่แค่ไหน
ประกอบกับประวัติศาสตร์ช่วงนี้ เป็นช่วงที่ผมยังไม่เคยศึกษาอย่างจริงจังเลย พอได้ลองหาข้อมูลดูแล้วพบว่า
เรื่องราวของ "วังหน้า" น่าสนใจมาก ทุกอย่างทุกเรื่องเต็มไปด้วย อู้หู จริงหรือนี่ ตลอดเวลา
เมื่อศึกษาเรื่องวังหน้า ก็พบว่ามีคนส่วนเกี่ยวข้องมากมาย ทั้งนิวาสสถานเดิมแถวป้อมพระสุเมร วัดชนะสงคราม
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤทธ และที่อื่นๆมากมาย
น่าสนใจใช่ไหมครับ ถ้าสนใจก็ตามผมมาเลยครับ
ตามรอยครั้งนี้ ผมใช้กล้องมือถือถ่าย ภาพบางภาพอาจจะไม่คมชัดเท่าไหร่ขออภัยด้วยนะครับ
และขอบคุณทุกข้อมูลจากทุกแหล่งด้วยนะครับ
************************
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท มีพระนามเดิมว่า บุญมา ประสูติในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
เป็นมหาดเล็กตำแหน่งนายสุดจินดา มหาดเล็กหุ้มแพร ในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์
เมื่อข้าศึกยกมาล้อมกรุงศรีอยุธยา ขณะนั้นพระนครอ่อนแอมาก พระยาวชิรปราการ (สิน)
จึงพาสมัครพรรคพวกตีฝ่าออกจากพระนครศรีอยุธยาไปหัวเมืองตะวันออก นายสุดจินดาได้เสด็จลงเรือเล็กหลบหนีไปด้วย
เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่ข้าศึก พระยาตากสินเป็นชุมนุมหนึ่งรวบรวมไพล่พลตั้งอยู่ที่จันทบุรี
เข้าตีข้าศึกที่รักษากรุงศรีอยุธยาแตกไปแล้ว จึงเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
นายสุดจินดาได้รับการสถาปนาบรรดาศักดิ์เป็นพระมหามนตรี เจ้ากรมพระตำรวจในขวา
และ ได้กราบบังคมทูลขอไปรับสมเด็จพระเชษฐาธิราช (ด้วง) เข้าถวายตัวรับราชการด้วย
จนรัชกาลที่ 1 ดำรงตำแหน่งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ทรงสถาปนาพระอนุชาธิราชขึ้นเป็น “สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท”
วังหน้า ได้ทรงร่วมศึกสงครามขับไล่อริราชศัตรูปกป้องพระราชอาณาจักรตลอดพระชนมชีพของพระองค์
ได้เสด็จไปในการพระราชสงครามทั้งทางบก และทางเรือ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ถึง 16 ครั้ง
และในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช อีก 8 ครั้ง
เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งบูรพาภิมุขในหมุ่พระวิมาน เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2346 พระชนมายุ 60 พรรษา
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระโกศ (พระลอง)
ย่อมุมไม้สิบสองหุ้มทองคำประดิษฐานพระบรมศพไว้ที่พระที่นั่งศิวโมกขพิมานในพระราชวังบวรสถานมงคล
หลังจากการถวายพระเพลิง ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง
เสร็จสิ้น พระบรมอัฐิถูกอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่พระที่นั่งวายุสถานอมเรศ ในหมู่พระวิมาน
ปัจจุบันอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่หอพระนาคในพระบรมมหาราชวัง
ผมจอดรถไว้ที่อาคารจอดรถตรงบางลำพู แล้วเริ่มต้นเดินเท้า จากวัดบวรนิเวศ ไปยัง "ป้อมพระสุเมร" ครับ
ป้อมพระสุเมรุ เป็นป้อมปราการที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ในสมัยนั้นได้มีการสร้างป้อมปราการ 14 แห่งเพื่อป้องกันพระนคร
แต่เมื่อเวลาผ่านไป ป้อมปราการหมดความจำเป็น จึงถูกรื้อถอนไป ป้อมพระสุเมรุเป็น 1 ใน 2 ป้อมที่ยังคงเหลืออยู่
อีกป้อมหนึ่งคือป้อมมหากาฬ ชื่อป้อมพระสุเมรุได้นำมาตั้งเป็นชื่อถนนพระสุเมรุ
ก่อนหน้ากรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท จะเสด็จย้ายมาประทับยังวังหน้า
พระราชนิเวศน์เดิมของพระองค์นั้นอยู่แถวป้อมพระสุเมรุ เรียกกันว่า ‘วังริมป้อมพระสุเมรุ’
เป็นที่ประทับแรกเมื่อสมัยพระองค์ยังทรงปฏิบัติราชการกรุงธนบุรีล
ต่อมาพระองค์ได้พระราชทานที่วังริมป้อมพระสุเมรุนี้แด่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา พระอนุชา
เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎาสิ้นพระชนม์ก็ไม่ปรากฏว่ามีเจ้านายผู้ใดมาประทับอยู่อีก
ปล่อยที่ดินบริเวณนี้ไปตามกาลเวลาผ่านมาสองร้อยกว่าปี ทุกวันนี้ "วังริมป้อมพระสุเมรุ"
จึงเหลือเพียงซากก่ออิฐถือปูนที่เคยเป็นซุ้มประตูวัง
ด้านหน้าตั้งศาลพระภูมิไม้แปะป้ายว่า ‘กรมหลวงจักรเจษฎา’
ด้านหลังเป็นร้านทำผมเล็กๆ บนโต๊ะบูชาตั้งธูป เทียน และกล่องรับบริจาคเงินให้อาหารแมว
จากนั้นผมก็เดินต่อไปยังถนนพระอาทิตย์ เลียบเลาะตามแนวกำแพงกรุงรัตนโกสินทร์
ซึ่งพอพูดถึงกำแพงเมืองกรุงรัตน์โกสินทร์ ก็เลยมาฉุกคิดว่า เอ้อ ถ้าเรามีเราป้อม ก็ต้องมีกำแพงล้อมรอบเกาะเมือง เหมือนอยุธยาสิ
แล้วกำแพงนี่มีลักษณะเป็นอย่างไร แล้วปัจจุบันมันหายไปไหน เลยไปค้นดูก็พบว่า
กำแพง และ ประตูพระนคร ของกรุงเทพมหานครนั้น ตั้งอยู่ในเขตพระนคร ปัจจุบันหลงเหลืออยู่ 2 แห่ง
ก็คือ ป้อมพระสุเมรุ บริเวณกำแพงเมืองและประตูเมืองด้านทิศเหนือ และบริเวณป้อมมหากาฬ
กำแพงเมืองพระนครสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 โดยนำอิฐที่จากกำแพงกรุงศรีอยุธยามาสร้าง
รวมความยาวทั้งหมดประมาณ 7 กิโลเมตร ครอบคลุมเขตเกาะกรุงรัตนโกสินทร์
มีประตูใหญ่ 16 ประตู ประตูเล็กหรือช่องกุด 47 ประตู และมีป้อม 14 ป้อม
Credit : http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5864.15
กำแพงเมืองและประตูเมืองที่เหลืออยู่ด้านทิศเหนือ คือ ประตู หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร
ภาพนี้ เป็นภาพกำแพงเมือง ที่จะเห็น "ป้อมมหากาฬ" อยู่ใกล้ และ "ป้อมพระสุเมร" อยู่ริมสุดโน้นครับ
credit http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5864.90
วันนี้ น่าจะนอกเรื่องไปหน่อย เอาไว้วันหลังผมจะมาตามรอยเรื่อง "กำแพงเกาะรัตนโกสินทร์" นะครับ
จากนั้นผมก็เดินเข้าซอยชนะสงคราม เพื่อไปทางหลัง "วัดชนะสงคราม" ครับ