
ย้อนกลับไปในสมัยรัชกาลที่ 6 หรือปีพศ. 2466 กองทัพสยามได้มีการสั่งซื้อปืนเล็กยาวอาริซากะแบบ 38 มาจากญี่ปุ่น โดยปืนที่สั่งเข้ามานี้เป็นรุ่นเฉพาะที่มี ใช้ในกองทัพสยามเท่านั้นญี่ปุ่นไม่ได้ผลิตปืนแบบนี้ขายให้กับประเทศอื่นเลยตัวปืนนั้นมีความคล้ายคลึงกับปืนต้นตำรับญี่ปุ่นเพียงแค่ระบบปฏิบัติการ ฝาครอบกันฝุ่นโคลน และโครงปืนเท่านั้นระบบศูนย์หลังของปืนเล็กยาวแบบ 66 ถอดแบบมาจากปืน รศ 121 หรือรู้จักกันในนาม Siam mauser ตัวปืนมี Serial Number เป็นเลขไทยรวมถึงตัวเลขที่อยู่บนศูนย์หลังของปืนชนิดนี้ด้วยทั้งหมดเป็นเลขไทย (ชิ้นส่วนของปลย.66 ส่วนใหญ่ไม่สามารถใช้ร่วมกับปืนอาริซากะแบบ 38 ได้) ปัจจุบันปืนชนิดนี้ก็ยังคงมีอยู่ ในไทยค่อนข้างจะไม่มากส่วนใหญ่แล้วจะส่งไปขายยังต่างประเทศ ภาพข้างล่างที่ผมเอามาให้คุณดูนี้ก็มาจากเจ้าของปืนฝรั่งตาน้ำข้าวแดนมะกัน ถ้าคุณเคยตามอ่านงานของผมจะรู้ว่ากระสุนที่ใช้ในปืนเล็กยาวแบบ 66 ก็ไม่เหมือนกับปืนอาริซากะแบบ 38 ของญี่ปุ่นเลยปืนแบบ 66 ใช้กระสุนขนาด 8x52r ซึ่งก็เป็นกระสุนที่มีใช้เฉพาะในสยามประเทศเช่นกัน
ก่อนหน้านี้ย้อนกลับไปในสมัยรัชกาลที่ 5 ในช่วงที่มีการจัดตั้งโครงการประกวดปืนเล็กยาวสำหรับทหารราบมีหลายประเทศส่งตัวอย่างมาเข้าร่วมรวมถึงญี่ปุ่นเช่นกันในเวลานั้นญี่ปุ่นนำเสนอปืนแบบอาริซากะแบบ 30 ซึ่ง ไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการในครั้งนั้นเพราะว่าระบบห้ามไกแบบตะขอบิดของมันค่อนข้างจะเชื่อถือไม่ได้ และอาจจะรวมถึงเรื่องอำนาจการหยุดยั้งของกระสุนแบบ 6.5x50sr ที่ถูกมองว่าด้อยประสิทธิภาพเกินกว่าที่จะนำมาใช้ได้ จึงทำให้ปืนที่มีต้นเเบบมาจาก Mauser M1894 ของสวีเดน เป็นปืนที่ได้รับเลือกเข้ามาบรรจุประจำการในกองทัพของสยามประเทศในครั้งนั้น.

อาริซากะแบบ 30

Mauser M1894 ที่เป็นต้นเเบบของ Siam mauser
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ในช่วงเวลานั้นกองทัพญี่ปุ่นก็ได้ปลดประจำการปืนไรเฟิลแบบอาริซากะแบบ 30 แล้วนำอาริซากะแบบ 38 ที่แก้ไขปัญหาเรื่อง Safety ตะขอบิดเปลี่ยนเป็นแบบปุ่มกดเเลัวบิดแทน ทำให้ปืนอาริซากะแบบ 38 เป็นปืนไรเฟิลที่มีความน่าเชื่อถือระบบปฏิบัติการเสถียรไว้ใจได้ Safety ก็ปลอดภัยจึงทำให้มีการสั่งซื้อปืนชนิดนี้เข้ามาใช้ในกองทัพสยามแต่ระบบศูนย์หลังและกระสุนจะต้องเป็นไปตามที่กองทัพสยามตั้งขึ้นมาจึงทำให้เกิดปืนญี่ปุ่นที่ใช้ระบบศูนย์หลังและกระสุนที่ชาวสยามเป็นผู้ตั้งขึ้นนั่นเองร่วมจำนวนทั้งสิ้น 50,000 กระบอก
( เรื่องจำนวนอ้างอิงจาก
https://en.wikipedia.org/wiki/Type_38_rifle )
ผลกระทบที่ปืนเล็กยาวแบบ 66 มีผลต่อปืนเล็กยาวแบบอื่นๆของกองทัพสยามในสมัยนั้น

ซ้าย 8x50r หัวป้าน / ขวา 8x52r หัวแหลม
ปืนเล็กยาวแบบ 66 ยังใช้กระสุนชนิดใหม่นั่นก็คือกระสุนขนาด 8x52r แบบหัวแหลม นอกจากปืนเล็กยาวแบบ 66 แล้วยังมีปืนกลเบา Madsen จากเดนมาร์กที่ซื้อเข้ามาประจำการพร้อมกันก็ใช้กระสุนชนิดนี้ด้วยทำให้กองทัพสยามต้องนำปืนรศ. 121 ทั้งหมดที่ยังคงใช้กระสุนขนาด 8x50r แบบหัวป้านรุ่นเก่ามากว้านรังเพลิงใหม่แล้วเปลี่ยนรหัสประจำการใส่เลข 66 ต่อท้ายไปเพื่อเป็นการบ่งบอกว่าได้ใช้กระสุนชนิดใหม่ดังนี้ ปลย.45/66 ปลย.46/66 เเละ ปลส.47/66

ปืนกลเบาเเบบ 66 Madsen

ทุกรุ่นถ้าผ่านการกว้านรังเพลิงใหม่แล้วรหัสจะต่อท้ายด้วย /66
"ผมขอฝากถึงทหาร-นักเรียน ร.ด.หรือใครก็ตามแต่ที่ได้จับปืนชนิดนี้ขอท่านโปรดภูมิใจเถอะครับที่มีโอกาสได้สัมผัสกับปืนชนิดนี้เพราะมันได้ปกป้องชาติมาแล้วหลายครั้ง หลายกระบอกได้ทำหน้าที่ครั้งสุดท้ายของมันด้วยการถูกส่งไปขายยังต่างประเทศหาเงินกลับมาพัฒนาประเทศที่บอบช้ำจากความขัดแย้งในตลอดหลายปีที่มันประจำการขอจงภูมิใจที่เคยได้ถือได้จับมันเถอะครับอย่าบ่นว่ามันหนักอย่างเดียวเลยขอบคุณครับ"
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 252 ปลย.66
ย้อนกลับไปในสมัยรัชกาลที่ 6 หรือปีพศ. 2466 กองทัพสยามได้มีการสั่งซื้อปืนเล็กยาวอาริซากะแบบ 38 มาจากญี่ปุ่น โดยปืนที่สั่งเข้ามานี้เป็นรุ่นเฉพาะที่มี ใช้ในกองทัพสยามเท่านั้นญี่ปุ่นไม่ได้ผลิตปืนแบบนี้ขายให้กับประเทศอื่นเลยตัวปืนนั้นมีความคล้ายคลึงกับปืนต้นตำรับญี่ปุ่นเพียงแค่ระบบปฏิบัติการ ฝาครอบกันฝุ่นโคลน และโครงปืนเท่านั้นระบบศูนย์หลังของปืนเล็กยาวแบบ 66 ถอดแบบมาจากปืน รศ 121 หรือรู้จักกันในนาม Siam mauser ตัวปืนมี Serial Number เป็นเลขไทยรวมถึงตัวเลขที่อยู่บนศูนย์หลังของปืนชนิดนี้ด้วยทั้งหมดเป็นเลขไทย (ชิ้นส่วนของปลย.66 ส่วนใหญ่ไม่สามารถใช้ร่วมกับปืนอาริซากะแบบ 38 ได้) ปัจจุบันปืนชนิดนี้ก็ยังคงมีอยู่ ในไทยค่อนข้างจะไม่มากส่วนใหญ่แล้วจะส่งไปขายยังต่างประเทศ ภาพข้างล่างที่ผมเอามาให้คุณดูนี้ก็มาจากเจ้าของปืนฝรั่งตาน้ำข้าวแดนมะกัน ถ้าคุณเคยตามอ่านงานของผมจะรู้ว่ากระสุนที่ใช้ในปืนเล็กยาวแบบ 66 ก็ไม่เหมือนกับปืนอาริซากะแบบ 38 ของญี่ปุ่นเลยปืนแบบ 66 ใช้กระสุนขนาด 8x52r ซึ่งก็เป็นกระสุนที่มีใช้เฉพาะในสยามประเทศเช่นกัน
ก่อนหน้านี้ย้อนกลับไปในสมัยรัชกาลที่ 5 ในช่วงที่มีการจัดตั้งโครงการประกวดปืนเล็กยาวสำหรับทหารราบมีหลายประเทศส่งตัวอย่างมาเข้าร่วมรวมถึงญี่ปุ่นเช่นกันในเวลานั้นญี่ปุ่นนำเสนอปืนแบบอาริซากะแบบ 30 ซึ่ง ไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการในครั้งนั้นเพราะว่าระบบห้ามไกแบบตะขอบิดของมันค่อนข้างจะเชื่อถือไม่ได้ และอาจจะรวมถึงเรื่องอำนาจการหยุดยั้งของกระสุนแบบ 6.5x50sr ที่ถูกมองว่าด้อยประสิทธิภาพเกินกว่าที่จะนำมาใช้ได้ จึงทำให้ปืนที่มีต้นเเบบมาจาก Mauser M1894 ของสวีเดน เป็นปืนที่ได้รับเลือกเข้ามาบรรจุประจำการในกองทัพของสยามประเทศในครั้งนั้น.
อาริซากะแบบ 30
Mauser M1894 ที่เป็นต้นเเบบของ Siam mauser
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ในช่วงเวลานั้นกองทัพญี่ปุ่นก็ได้ปลดประจำการปืนไรเฟิลแบบอาริซากะแบบ 30 แล้วนำอาริซากะแบบ 38 ที่แก้ไขปัญหาเรื่อง Safety ตะขอบิดเปลี่ยนเป็นแบบปุ่มกดเเลัวบิดแทน ทำให้ปืนอาริซากะแบบ 38 เป็นปืนไรเฟิลที่มีความน่าเชื่อถือระบบปฏิบัติการเสถียรไว้ใจได้ Safety ก็ปลอดภัยจึงทำให้มีการสั่งซื้อปืนชนิดนี้เข้ามาใช้ในกองทัพสยามแต่ระบบศูนย์หลังและกระสุนจะต้องเป็นไปตามที่กองทัพสยามตั้งขึ้นมาจึงทำให้เกิดปืนญี่ปุ่นที่ใช้ระบบศูนย์หลังและกระสุนที่ชาวสยามเป็นผู้ตั้งขึ้นนั่นเองร่วมจำนวนทั้งสิ้น 50,000 กระบอก
( เรื่องจำนวนอ้างอิงจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Type_38_rifle )
ผลกระทบที่ปืนเล็กยาวแบบ 66 มีผลต่อปืนเล็กยาวแบบอื่นๆของกองทัพสยามในสมัยนั้น
ซ้าย 8x50r หัวป้าน / ขวา 8x52r หัวแหลม
ปืนเล็กยาวแบบ 66 ยังใช้กระสุนชนิดใหม่นั่นก็คือกระสุนขนาด 8x52r แบบหัวแหลม นอกจากปืนเล็กยาวแบบ 66 แล้วยังมีปืนกลเบา Madsen จากเดนมาร์กที่ซื้อเข้ามาประจำการพร้อมกันก็ใช้กระสุนชนิดนี้ด้วยทำให้กองทัพสยามต้องนำปืนรศ. 121 ทั้งหมดที่ยังคงใช้กระสุนขนาด 8x50r แบบหัวป้านรุ่นเก่ามากว้านรังเพลิงใหม่แล้วเปลี่ยนรหัสประจำการใส่เลข 66 ต่อท้ายไปเพื่อเป็นการบ่งบอกว่าได้ใช้กระสุนชนิดใหม่ดังนี้ ปลย.45/66 ปลย.46/66 เเละ ปลส.47/66
ปืนกลเบาเเบบ 66 Madsen
ทุกรุ่นถ้าผ่านการกว้านรังเพลิงใหม่แล้วรหัสจะต่อท้ายด้วย /66
"ผมขอฝากถึงทหาร-นักเรียน ร.ด.หรือใครก็ตามแต่ที่ได้จับปืนชนิดนี้ขอท่านโปรดภูมิใจเถอะครับที่มีโอกาสได้สัมผัสกับปืนชนิดนี้เพราะมันได้ปกป้องชาติมาแล้วหลายครั้ง หลายกระบอกได้ทำหน้าที่ครั้งสุดท้ายของมันด้วยการถูกส่งไปขายยังต่างประเทศหาเงินกลับมาพัฒนาประเทศที่บอบช้ำจากความขัดแย้งในตลอดหลายปีที่มันประจำการขอจงภูมิใจที่เคยได้ถือได้จับมันเถอะครับอย่าบ่นว่ามันหนักอย่างเดียวเลยขอบคุณครับ"