ประเด็นเรื่องค่ารักษารพ.เอกชนแพง ช่วยกันเข้ามาอ่าน อย่าหลงประเด็นครับ***

ปัญหาค่ารักษาแพง ต้นเหตุจริงๆ อยู่ที่ว่า รพ.เอกชน สามารถคิดกำไรได้ตามใจชอบครับ!!!

ยาที่เราใช้ๆกันหลายๆตัว ปัจจุบันรพ.หลายแห่งลดต้นทุนโดยใช้ยาที่ผลิตในไทย หรืออินเดีย ซึ่งทุนถูกกว่ามาก แต่เวลาเอามาขายเรา ยังคงชาร์ตราคา เสมือนเป็นยาออริจินอลจากยุโรปหรืออเมริกา เช่น ยาแก้แพ้ Ceterizine  จะมียี่ห้อ Zyrtec ที่เป็นตัวออริจินอลของนอก  ปัจจุบันเราหารู้ไม่ว่าเวลารพ.เอกชนหลายๆแห่งจ่ายยาให้เรา เค้าใช้ยาที่เป็นของไทยที่เป็นตัวเทียบมา ทุนเม็ดละ 1 บาท แต่ก็ขายเม็ดละ 10 บาท เท่าของนอก ซึ่งอันนี้ใครขยันดูแผงยาหน่อยน่าจะพอรู้

****แต่ที่แย่กว่าคือ เวลาป่วย ไปนอนรพ. เรายอมจ่ายค่ารักษาแพงๆ หรือยอมซื้อประกันชีวิตแพงๆ เพื่อหวังจะได้ยาที่ดีที่สุด แต่จริงๆแล้ว ไม่ได้เป็น
อย่างนั้นนะครับ ยกตัวอย่าง คุณเป็นปอดอักเสบ ติดเชื้อ แพทย์สั่งยาฆ่าเชื้อ Ceftriaxone ฉีด ซึ่งถ้าเป็นตัวของนอก (Rocephin) ทุนหลายร้อยบาทต่อโดส ปัจจุบันรพ.เอกชนส่วนมาก เปลี่ยนมาใช้ยาผลิตอินเดีย ทุน 30-40 บาทต่อหลอดแต่ยังคงขายในราคา 400-500 บาทต่อโดส  กำไร 10 เท่า***
แต่คุณไม่รู้ (ใช่สิ จะรู้ได้ยังไง ก็พยาบาลเค้าผสมยาใส่หลอดมาฉีดให้คุณนี่ครับ คุณไม่มีทางเห็นขวดยาที่แท้จริง)

เช่นเดียวกับน้ำเกลือ คิดขวดละ 500-1000 บาท ทั้งที่ทุนมา สั่งของถูกๆ มาใช้ ส่วนมากไม่เกิน 100 บาทต่อขวด
ดังนั้นสิ่งที่เราจ่ายไป เราไม่รู้เลยว่าเราโดนชาร์ตกำไรมหาศาลขนาดไหน

การให้รพ.ต้องแจงราคาก่อน อาจได้ประโยชน์เพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น โดยส่วนมากจะได้ประโยชน์กรณีผ่าตัดทั่วไป
เช่น ส่องกล้องทางเดินอาหาร  ผ่าคลอด ผ่าตัดไส้ติ่ง

แต่หากเป็นโรคปัจจุบันทันด่วน เช่น ติดเชื้อกระแสเลือด อุบัติเหตุ อันนี้ก็เป็นช่องให้ รพ.เอกชนสามารถชาร์ตทุกอย่างได้เต็มที่โดยที่เราไม่สามารถ
ทำอะไรได้

ดังนั้นควรแก้ไขดังนี้
1. กำหนดเลยว่าราคายา ควรบวกกำไรได้ไม่เกิน ....% (ป้องกันพวกเอายาถูกๆ มาตั้งราคาแพงๆขายเราโดยเราไม่รู้)
2. ค่าหัตถการ ค่าผ่าตัด ค่าเย็บแผล ควรมีมาตรฐานว่าคิดเท่าไหร่ได้
3. ใบเสร็จ ควรมีรายการยาที่จ่ายรายตัว + ราคาแต่ละตัว *****และต้องระบุยี่ห้อที่แท้จริงที่ใช้********
4. ค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนอื่นๆ ให้รวมคิดเป็นค่าบริการรพ. หรือค่าห้อง ซึ่งจะทำให้เราเทียบได้ว่าที่ไหนถูกหรือที่ไหนแพง ป้องกันการตั้งค่าห้องไม่แพง แต่ชาร์ตค่ายาแพงเกินเหตุครับ

ใครเห็นต่างมาแสดงความคิดเห็นได้ครับ ขอบคุณครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่