ซาอุ ไม่ใช่อิสลาม เข้าใจปัจเจกมุสลิม ผ่านจารีต วัฒนธรรม และกฏหมาย

เรามักเรียนรู้อิสลามจาก มุสลิมในข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ หรือจากประเทศอิสลามต่างๆเช่นทางอาหรับ
และเข้าใจไปว่า มุสลิมในโลกคิดเหมือนๆกันหมด

ในความเป็นจริง มุสลิมมีความเป็นปัจเจกมาก และมีความแตกต่างกันมาก
การจะทำความเข้าใจเรื่องนี้ได้ เราต้องแยก ระหว่าง วัฒนธรรม กฏหมาย และศาสนาออกให้ได้ก่อน
โดยกรณีซาอุ และการหลบหนีของสาวน้อยจากครอบครัวและการเปลี่ยนศาสนา  การบังคับให้แต่งงาน จะทำให้เราเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น

แม้ซาอุจะเป็นรัฐที่ปกครองด้วยศาสนาอิสลาม แต่ วัฒนธรรมของซาอุ  กฎหมายของซาอุเอง เกิดจาก การผสมระหว่าง
สภาพสังคมซาอุ จารีต และวัฒนธรรมท้องถิ่นผสมปนเปไปกับหลักศาสนาจนออกมาเป็น ระเบียบสังคมในปัจจุบันด้วย

เรื่องแรก เกี่ยวกับการแต่งงาน
ศาสนาอิสลาม "ไม่มีการบังคับให้แต่งงานโดยผู้ปกครอง"  นี่คือส่วนของเรื่องศาสนา
ถัดมาเป็นเรื่องกฎหมายของซาอุ ในส่วนกฎหมายซาอุนั้น มีสิ่งที่เรียกว่า male guardianship หรือ ผู้ปกครองดูแลผู้หญิง ซึ่งจะครอบคลุมไปตลอดชีวิตของผู้หญิงในประเทศซาอุ
อย่างไรก็ดี กฏหมายของซาอุเอง "ไม่มีการบังคับให้แต่งงานโดยผู้ปกครอง" มีแต่"การอนุมัติให้แต่งงาน" โดยผู้ปกครองเท่านั้น
ดังนั้นการบังคับให้แต่งงาน เป็นเรื่องของ "วัฒนธรรมท้องถิ่นของซาอุเอง"
คล้ายกับการคลุมถุงชนบ้านเรา ซึ่งพึ่งจะหมดความนิยมไปไม่นานนี้ (ก่อนหน้านี้สัก 20-40 ปี ไทยยังนิยมคลุมถุงชนอยู่)
ถ้าเราเข้าใจ จารีต กฏหมาย ศาสนา  เราก็จะเข้าใจ สังคมอิสลามมากขึ้น เพราะไม่ใช่ทุกสังคมมุสลิมจะเหมือนซาอุ
เช่น สังคมมุสลิมไทย  เมื่อ 20-40 ปีก่อน ก็ยังมีการคลุมถุงชนอยู่เหมือนกับสังคมพุทธ เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป  ความนิยมคลุมถุงชน ทั้งสังคมไทยพุทธไทยมุสลิม ก็ค่อยๆเลือนหายไปด้วย การคลุมถึงชนหมดความนิยมและเปลี่ยนแปลงไปตามสังคมนั้นๆ ไม่ใช่ศาสนา

สองเรื่องโทษจากการออกจากศาสนา
เข้าแล้วออกตายไหม? คำตอบคือ ตายครับ , แต่ก็ไม่ตายด้วย
ขึ้นอยู่กับคุณเข้าไปเป็นมุสลิมประเทศไหน?

โดยหลักการเดิมของอิสลามว่า "ไม่มีการบังคับให้นับถือ"
ทำให้จริงๆแล้วการเข้าออกจากการเป็นมุสลิมนั้นเป็นเรื่องยินยอมพร้อมใจ
ตัวเป็นมุสลิมใจหมดศรัทธาแล้วเช่นนี้ก็ ย่อมหมายถึงไม่ได้เป็นมุสลิมแล้ว
เพราะศาสนาเป็นเรื่องทางจิตวิญญาณ ระหว่างคุณกับพระเจ้า ถ้าคุณไม่ศรัทธาแล้วตัวคุณเป็นมุสลิม ก็เป็นแต่ตัว
ดังนั้นโดยพื้นฐานเป็นเรื่องความยินยอมพร้อมใจ

แต่การเป็นมุสลิมนอกจากเรื่องทางจิตวิญญาณแล้วมันมีเรื่องทางสังคมด้วย ในประเทศที่เข้าใจหลักการข้อนี้ ว่า อิสลามไม่มีการบังคับให้นับถือนั้น ก็จะไม่มีกฎหมายควรมีอะไรที่มาบังคับให้เข้ารับหรือให้ห้ามออกจากการเป็นมุสลิม เช่นประเทศไทยเอง ก็ไม่มีการบังคับ รวมทั้งไม่มีการห้ามออกจากการเป็นมุสลิม(ตามกฎหมายด้วย) ดังนั้นถ้าคุณอยู่ประเทศไทยวันหนึ่งคุณไปทำหนังสือเข้ารับอิสลาม(ทางสังคม)ซึ่งอาจจะมีกฎหมายผูกพันบางตัวเพิ่มขึ้นเช่นการสมรส การทำพิธีศพ มรดก แล้ววันหนึ่งคุณอยากออกมาจากตรงนั้น ก็ย่อมทำได้ ในหนังสือ รับรองการเข้ารับอิสลามเอง ก็ย้ำว่า คุณจะหมดสภาพการเป็นมุสลิมทันทีถ้าคุณไปกราบไว้สิ่งอื่น(หรือ ทำหนังสือว่าไม่เป็นมุสลิมแล้วเพื่อมาหักล้างกับหนังสือที่ทำไปก่อนหน้านี้) เมื่อคุณไม่เป็นมุสลิมแล้วข้อผูกมัดทางกฎหมายต่างๆในแบบมุสลิมก็จะสลายไปด้วยเช่นกัน

แต่ในบางประเทศ เข้าแล้วออกไม่ได้จริงๆ ไม่ใช่เพราะตัวศาสนา เป็นเรื่องความมั่งคงของชนชั้นปกครอง ในบางประเทศอิสลามเจ้านายทั้งหลายโดยเฉพาะราชวงศ์ อยู่มั่นคงได้ เพราะมี "สถาบันศาสนาอิสลามรองรับ" โดยเฉพาะกลุ่มผู้รู้ทั้งหลายทั้งปวง ดังนั้น เพื่อให้ตัวยังอยู่ในอำนาจได้ตลอดชั่วกาลปาวสาน ก็ต้องไปทำดีลกับชนชั้นผู้รุ้ เพื่อออกกฏหมาย มาบังคับใช้ว่าใครออกจากอิสลามเท่ากับสร้างความไม่มั่นคงต่อรัฐ แล้วก็อ้างประหารเสียนั่นเอง และที่สำคัญคือกฏหมายที่ออกมาส่วนใหญ่ผูก(อ้าง)ไปยังพระเจ้าด้วย ก็เลยไม่สามารถแก้ไขได้โดยง่ายออกกฎหมายผิดๆถูกๆมากว่าบางตัวกว่าจะแก้ได้ก็ต้องผ่านไปอีกหลายปี เช่นกฏหมายโบยหญิงที่ถูกข่มขืนเป็นต้น

ยังไม่นับว่ากฎหมายของผู้ปกครองซาอุ  อาจไม่ได้รับความเห็นด้วยจากคนซาอุทั้งหมด เช่นเดียวกับ ปัญหาการเมืองในบ้านเราที่ปัจเจกชนอาจคิดไม่เหมือนรัฐบาลดังนั้นสังคมซาอุ ไม่ใช่สังคมไทย อย่าไปเอาปัญหาของมุสลิมซาอุ มาตัดสินมุสลิมไทย
ไม่ใช่ทุกคนที่คิดเหมือนกัน เช่นเดียวกับ คนพุทธในไทย คิดไม่เหมือนคนพุทธในพม่า คิดไม่เหมือน คนพุทธจีน
นั่นเอง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่