พุทธศาสนา ห้ามแสดงฤทธิ์จริงหรือ ?


พระพุทธเจ้า ทรงห้ามพระสาวกแสดงอิทธิปาฏิหาริย์จริงๆหรือ ?
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12
สรุปก็คือ แสดงฤทธิ์ในทางที่เป็นประโยชน์ได้โดยเฉพาะเผยแผ่ศาสนา ทรมานอัตตาสัตว์ แต่ถ้าเรื่องไม่เป็นเรื่อง เช่น เหาะให้คนดูเหมือนเล่นกล อันนี้พระพุทธเจ้าท่านน่าจะไม่ยินดีด้วยนะครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 14
ไม่ได้ห้ามแบบเด็ดขาด มีอนุโลมให้

การห้าม นั้นมีเงื่อนไขประกอบ เช่น
1.ห้ามแสดงแก่ผู้ไม่ใช่พระด้วยกัน แปลว่า กับพระด้วยกัน แสดงฤทธิ์ได้

2.ถ้าจะแสดง ให้คนธรรมดาเห็น/รู้ ให้ขออนุญาตกับพระพุทธเจ้า และให้ท่านอนุญาตก่อน

3.ถ้ามีฤทธิ์จริง แล้วแสดง แก่ผู้ไม่ใช่พระ เป็นอาบัติเล็กน้อย ปาจิตตีย์ ปลงอาบัติก็หาย

คือจริงๆแล้ว พระพุทธเจ้าท่านก็เปิดช่องให้นั่นแหละ
แต่ก็ให้ห้ามปราม เตือนๆกันหน่อย ไม่ให้เยอะไปเท่านั้น

เพราะข้อเสียของการแสดง การทำบ่อยๆ ไม่ดี เพราะมันขวางการบรรลุธรรม
ทำให้คนฟุ้งซ่าน ไปสนใจแต่จะดูเอาสนุก ไม่สนธรรมะแท้ๆ

4.ถ้าไม่มี แล้วอวดอ้าง หลอกคนว่ามี อาบัติร้ายแรง ปาราชิก
ความคิดเห็นที่ 13
เปรียบเหมือนตำรวจที่มีการฝึกใช้อาวุธปืน แต่ย่อมมีกฎควบคุมการใช้ที่เคร่งครัด เพราะถ้าใช้ตามอำเภอใจ มันมีผลเสียมากกว่าผลดี

หรือเหมือนอาวุธนิวเคลียร์ที่ต่างคนต่างมี แต่ก็ต่างคนต่างห้ามนำมาใช้ เพราะมันกระทบกระเทือนในวงกว้างอย่างมหาศาล ใครยิงนิวเคลียร์โดยไม่มีเหตุอันควร เดือดร้อนแน่ ๆ
ความคิดเห็นที่ 10
ขอสรุปแบบดื้อ ๆ ดังนี้

๑) การอวดอุตริฯ กับการห้ามแสดงฤทธิ์ คนละเรื่องเดียวกัน
๒)  การอวดอุตริมนุสสธรรม ห้าม
๓)  การแสดงฤทธิ์ ห้ามบางเรื่อง อนุญาตบางกรณี (พิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป)

๔) การเผยแผ่ศาสนาในยุคก่อน ก็อาศัยพระเถระผู้มีฤทธิ์นี่แหละ หากไม่มีฤทธิ์เข้าป่าคงไม่ได้ออกมาเป็นแน่
๕) พระเถระที่ทรงอภิญญา เป็นกำลังหลักในการเผยแผ่ศาสนาเลยแหละ

๖) เคยได้รับรายงาน (อ่าน) ว่า ภูทอก ก็สร้างได้สำเร็จด้วยอิทธิฤทธิ์ของพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
ความคิดเห็นที่ 9
๕. เรื่องโกสิยเศรษฐผู้มีความตระหนี่ [๓๗]       

  พระมหาโมคคัลลานะไปทรมานเศรษฐี              
               ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสเรียกพระมหาโมคคัลลานเถระมาแต่เช้าตรู่ ตรัสว่า
               "โมคคัลลานะ ในสักกรนิคม (ซึ่งตั้งอยู่) ไม่ไกลกรุงราชคฤห์ เศรษฐีผู้มีความตระหนี่นั่นคิดว่า ‘เราจักกินขนมเบื้อง’ จึงให้ภรรยาทอดขนมเบื้องบนปราสาท ๗ ชั้น เพราะกลัวคนเหล่าอื่นเห็น, เธอจงไป ณ ที่นั้นแล้วทรมานเศรษฐี ทำให้สิ้นพยศ๑- ให้ผัวเมียแม้ทั้งสองถือขนม และน้ำนม เนยใส น้ำผึ้งและน้ำอ้อย แล้วนำมายังพระเชตวันด้วยกำลังของตน; วันนี้ เรากับภิกษุ ๕๐๐ รูป จักนั่งในวิหารนั่นแหละ, จักทำภัตกิจด้วยขนมเท่านั้น."
               แม้พระเถระ ก็รับพระดำรัสของพระศาสดาว่า "ดีละ พระเจ้าข้า" แล้วไปยังนิคมนั้นด้วยกำลังฤทธิ์ทันทีทีเดียว เป็นผู้นุ่งห่มเรียบร้อย ได้ยืนอยู่ที่ช่องสีหบัญชร๒- แห่งปราสาทนั้น เหมือนรูปแก้วมณีลอยเด่นอยู่กลางอากาศเทียว. เพราะเห็นพระเถระนั้นแล ดวงหทัยของมหาเศรษฐีก็สั่นสะท้าน เขาคิดว่า "เรามาที่นี่ เพราะกลัวบุคคลทั้งหลายผู้มีรูปอย่างนี้นั่นแล, แต่สมณะนี้ยังมายืนอยู่ที่ช่องหน้าต่างได้" เมื่อไม่เห็นเครื่องมือที่ตนควรจะฉวยเอา เดือดดาลทำเสียงตฏะๆ ประดุจก้อนเกลือที่ถูกโรยลงในไฟ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า "สมณะ ท่านยืนอยู่ในอากาศ จักได้อะไร? แม้จงกรมแสดงรอยเท้าในอากาศซึ่งหารอยมิได้อยู่ ก็จักไม่ได้เหมือนกัน." พระเถระจงกรมกลับไปกลับมาในที่นั้นนั่นแล. เศรษฐีกล่าวว่า "ท่านจงกรมอยู่จักได้อะไร? แม้นั่งด้วยบัลลังก์๓- ในอากาศก็จักไม่ได้เช่นกัน." พระเถระจึงนั่งคู้บัลลังก์.

http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=14&p=5
ความคิดเห็นที่ 8
*-* การสร้างวิหารของนางวิสาขา ๙ เดือนแล้วเสร็จ     *-*
     
               ต่อมาวันหนึ่ง พระศาสดาทรงตรวจดูสัตวโลกในเวลาใกล้รุ่ง ได้ทอดพระเนตรเห็นอุปนิสัยสมบัติของเศรษฐีบุตรนามว่าภัททิยะ ผู้จุติจากเทวโลกแล้วเกิดในตระกูลเศรษฐีในภัททิยนคร ทรงทำภัตกิจในเรือนของอนาถบิณฑิกเศรษฐีแล้ว ก็เสด็จบ่ายพระพักตร์ไปยังประตูด้านทิศอุดร. แม้ตามปกติ พระศาสดาทรงรับภิกษาในเรือนของนางวิสาขาแล้ว ก็เสด็จออกทางประตูด้านทักษิณ ประทับอยู่ในพระเชตวัน, ทรงรับภิกษาในเรือนของอนาถบิณฑิกเศรษฐีแล้ว ก็เสด็จออกทางประตูด้านปราจีน ประทับอยู่ในบุพพาราม. ชนทั้งหลายเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จดำเนินมุ่งตรงประตูด้านทิศอุดรแล้ว ย่อมรู้ได้ว่า "จักเสด็จหลีกไปสู่ที่จาริก."
               ในวันนั้น แม้นางวิสาขาพอทราบว่า "พระศาสดาเสด็จดำเนินบ่ายพระพักตร์ไปทางประตูด้านทิศอุดร" จึงรีบไป ถวายบังคมแล้ว กราบทูลว่า "ทรงประสงค์จะเสด็จดำเนินไปสู่ที่จาริกหรือ พระเจ้าข้า?"
               พระศาสดา. อย่างนั้น วิสาขา.
               วิสาขา. พระเจ้าข้า หม่อมฉันบริจาคทรัพย์จำนวนเท่านี้ ให้สร้างวิหารถวายแด่พระองค์, โปรดเสด็จกลับเถิด พระเจ้าข้า.
               พระศาสดา. นี้ เป็นการไปยังไม่กลับ วิสาขา.
               นางวิสาขานั้นคิดว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงเห็นใครๆ ผู้สมบูรณ์ด้วยเหตุ เป็นแน่." จึงกราบทูลว่า "ถ้ากระนั้น ขอพระองค์โปรดรับสั่งให้ภิกษุรูปหนึ่ง ผู้เข้าใจการงานที่หม่อมฉันทำแล้วหรือยังไม่ได้ทำ กลับ แล้วเสด็จเถิด พระเจ้าข้า."
               พระศาสดา. เธอพอใจภิกษุรูปใด, จงรับบาตรของภิกษุรูปนั้นเถิด วิสาขา.

               แม้นางจะพึงใจพระอานนทเถระก็จริง, แต่คิดว่า "พระมหาโมคคัลลานเถระเป็นผู้มีฤทธิ์, การงานของเราจักพลันสำเร็จ ก็เพราะอาศัยพระเถระนั่น" ดังนี้แล้ว จึงรับบาตรของพระเถระไว้. พระเถระแลดูพระศาสดา.

               พระศาสดาตรัสว่า "โมคคัลลานะ เธอจงพาภิกษุบริวารของเธอ ๕๐๐ รูป กลับเถิด."
               ท่านได้ทำตามพระดำรัสนั้นแล้ว. ด้วยอานุภาพของท่าน พวกมนุษย์ผู้ไปเพื่อต้องการไม้และเพื่อต้องการหิน ระยะทางแม้ตั้ง ๕๐-๖๐ โยชน์ ก็ขนเอาไม้และหินมากมายมาทันในวันนั้นนั่นเอง, แม้ยกไม้และหินใส่เกวียนก็ไม่ลำบากเลย, เพลาเกวียนก็ไม่หัก, ต่อกาลไม่นานนัก พวกเขาก็สร้างปราสาท ๒ ชั้นเสร็จ. ปราสาทนั้นได้เป็นปราสาทประดับด้วยห้องพันห้อง คือชั้นล่าง ๕๐๐ ห้อง, ชั้นบน ๕๐๐ ห้อง.
               พระศาสดาเสด็จดำเนินจาริกไปโดย ๙ เดือนแล้ว ได้เสด็จ (กลับ) ไปสู่กรุงสาวัตถีอีก. แม้การงานในปราสาทของนางุวิสาขา ก็สำเร็จโดย ๙ เดือนเหมือนกัน. นางให้สร้างยอดปราสาทอันจุน้ำได้ ๖๐ หม้อ ด้วยทองคำสีสุกที่บุเป็นแท่งนั่นแล.
               นางได้ยินว่า "พระศาสดาเสด็จไปยังเชตวันมหาวิหาร" จึงทำการต้อนรับนำพระศาสดาไปวิหารของตนแล้ว รับปฏิญญาว่า "พระเจ้าข้า ขอพระองค์โปรดพาภิกษุสงฆ์ประทับอยู่ในวิหารนี้แหละตลอด ๔ เดือนนี้, หม่อมฉันจักทำการฉลองปราสาท."
               พระศาสดาทรงรับแล้ว.

http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=14&p=8
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่